สวัสดีครับ กลับมาเจอกันอีกครั้งแล้วนะครับ
ผมยำนาเบะ ผู้ชื่นชอบวัฒนธรรมญี่ปุ่น เป็นนักศึกษาในมหาวิทยาลัยรัฐบาลธรรมดา ๆ ที่หาได้ทั่วไป
เป็นอย่างไรบ้างครับตั้งแต่ที่ได้อัพบล๊อกคราวที่แล้วไป
ไม่ได้เจอกันนานเลยนะครับ
พอดีช่วงนี้ผมติดธุระอะไรหลาย ๆ อย่าง ต้องขออภัยด้วยนะครับ
เผื่อเป็นการไถ่โทษ เรามาเข้าเนื้อหากันเลยดีกว่า
วันนี้ผมจะมานำเสนอหัวข้อเกี่ยวกับ...........คำยกย่อง คำถ่อมตัวครับ!
-------------------------------------
อ้าวพี่ ไหนล่ะภาษาญี่ปุ่นนอกตำรา นี่มันภาษาญี่ปุ่นในตำราชัด ๆ
.
..
...
ถูกครึ่งนึงครับ (ฮา)
คือก่อนอื่นเนี่ยถ้าถามว่าทำไมผมถึงเอาประเด็นนี้มาพูด ผมจะขอเล่าคร่าว ๆ ก่อนครับ
คือช่วงที่ผ่านมา ผมลองไปไล่เปิดตำราเรียนภาษาญี่ปุ่นชั้นต้นที่มีแปลเป็นภาษาไทยมาดูเล่น ๆ ครับ
แล้วผมก็เปิดไปถึงส่วนของคำยกย่อง คำถ่อมตัว (หรือเรียกรวมว่า 敬語)
พบว่า
หนังสือจะเขียนอธิบายถึงโดยมากแล้ว สถานการณ์ที่อยู่ในหนังสือเรียนจะเป็นสถานการณ์ที่ได้คุยกับคนที่ต้องการยกย่องต่อหน้าครับ
แน่นอนครับ
ผมไม่ได้คิดจะพูดทำนองว่า "หนังสือเรียนควรจะยกตัวอย่างที่ยากกว่านี้หน่อย" หรอกครับ
นั่นก็เพราะ นั่นมันหนังสือเรียนชั้นต้น!
ดังนั้น วันนี้ผมจะมาอธิบายสถานการณ์ที่หากว่าเรากำลังพูดคุยกับคนอื่น แล้วพูดถึงคนที่สูงกว่าเราครับ
เนื่องจากว่าบันทึกนี้จะโฟกัสไปที่การเรียนภาษาญี่ปุ่นระดับกลางถึงสูง จึงคิดว่าเป็นเรื่องที่รู้ไว้ก็ไม่เสียหายครับ
(แอบเสริมว่า อีกหนึ่งสาเหตุที่ผมอยากเขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้ก็เพราะตอนผมเรียนเรื่องนี้ด้วยตัวเอง ผมมึนมาก ๆ ถ้าสักวันเราเข้าใจเร่ื่องนี้แล้วก็อยากจะเขียนบล๊อกเพื่อช่วยคนอื่นบ้างครับ)
ก่อนอื่นเลย มาย้อนความทรงจำสักเล็กน้อย
เวลาเห็น お~になります กับ รูป 受け身 ขอให้จำไว้นะครับว่ามันคือ 尊敬語(ในรูป丁寧形) ใช้เพื่อยกย่องการกระทำของคนที่อยู่สูงกว่าเรา
ส่วนเวลาเห็น お~にします ก็ขอให้จำไว้นะครับว่ามันคือ 謙譲語(ในรูป丁寧形) ใช้เพื่อกดการกระทำของตัวเองให้ต่ำลง พอใช้แล้วเขาจะไม่รู้สึกว่าเราไปสร้างบุญคุณให้เขาหรือเราอยากเหนือกว่าเขา
เช่น 手伝いしますね มันจะรู้สึกแบบเหมือนคนข้างบ้างคุยกัน
แต่ถ้าพูดว่า お手伝いしますね。มันเหมือนเราเป็นศิษย์อาจารย์กันเลย
แต่ถ้าเราอยากจะพูดกับเพื่อนล่ะว่าเราอยากไปช่วยอาจารย์มาล่ะ???
นี่แหละครับสิ่งที่ผมจะนำเสนอในวันนี้
คำตอบนั้นง่ายมาก เราต้องใช้ 尊敬語(ในรูป普通形)
เช่น
สถานการณ์ : เราถือกระเป๋าของอาจารย์ยามาดะให้
山田先生のかばんをお持ちしますね。
แต่พอเราพูดกับเพื่อน
昨日、山田先生のかばんをお持ちしたよ。
คือเราก็ยังยกย่องอาจารย์อยู่ครับ แต่เราไม่ได้พูดสุภาพกับเพื่อน
Pointหลักของเรื่องนี้มีอยู่ 2 อย่างครับ
1. เราจะยกย่องบุรุษที่ 3 ไหม ถ้าเราจะยกย่องเราก็ใช้ 尊敬語 ตามปกติ
2. เรากำลังคุยอยู่กับใคร ถ้าเราคุยอยู่กับเพื่อนสนิทอะไรแบบนี้ เราก็ใช้ 尊敬語 ที่อยู่ในรูป 普通形
ถ้าเราไม่ได้คุยกับคนสนิท เช่น เราคุยกับอาจารย์ A ว่า เมื่อวานผมถือของให้อาจารย์ B ด้วยล่ะ เราก็ใช้ お持ちしました รูปますปกติครับ
แล้วก็อันนี้แถมครับ
โดยปกติแล้วเราจะใช้ 尊敬語 หรือ 謙譲語 เมื่อไรให้ดูที่คนทำกริยานั้น ๆ ครับ
เช่น เราจะพูดว่าขอดูภาพนั้นหน่อยได้ไหม
เราจะพูดว่า
その絵を拝見させてください。
แน่นอนครับว่าประโยคเราขออนุญาตจากบุรุษที่ 2
หากเราเอาแต่ท่องจำว่า เราคุยกับใคร เราก็จะเผลอใช้ 尊敬語 กับตัวเองในประโยคนี้ไปครับ
เพราะบางทีในหัวสมองเราอาจจะคิดว่า ก็เราขออนุญาตจากเขา เขาเป็นคนอนุญาตเราให้ทำกริยาตัวนี้
ก็ต้องใช้ 尊敬語 สิ
ซึ่งมันผิดครับ
คนที่จะทำกริยา ดู (拝見) คือเราต่างหาก เราไม่สามารถใช้ 尊敬語 ได้
ดังนั้นผมเลยอยากฝากให้ทุกคนเน้นย้ำครับว่า "เราจะใช้ 尊敬語 หรือ 謙譲語 ให้ดูที่คนทำกริยาครับ"
----------------------------------------------------------------------
เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับหัวข้อเรื่องคำยกย่อง คำถ่อมตน
หลาย ๆ คนอาจจะเห็นผ่านหูผ่านตามากันจนเบื่อแล้ว
ไม่ต้องห่วงครับผมก็เป็นหนึ่งในนั้น (ฮา)
หวังว่าบล๊อกนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนภาษาญี่ปุ่นในระดับที่สูงขึ้นนะครับ
ไว้พบกันใหม่ครับ
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in