สวัสดีครับ ผมยำนาเบะ ผู้ชื่นชอบวัฒนธรรมญี่ปุ่น เป็นนักศึกษาในมหาวิทยาลัยรัฐบาลธรรมดา ๆ ที่หาได้ทั่วไป
ครั้งนี้อาจจะเป็นบันทึกที่แปลกสักเล็กน้อยครับ (ฮา)
นั่นก็คือ การสมัครงานในบริษัทญี่ปุ่นครับ
---------------------------------------------------------------------------
เรื่องของเรื่องก็คือ อาทิตย์ก่อนผมได้มีโอกาสเข้าไปฟังการบรรยายเกี่ยวกับความต่างของการสมัครงานระหว่างคนไทยกับคนญี่ปุ่นโดยคุณ 香山恆毅 (Koyama Koki) มาครับ
แน่นอนครับว่าเนื้อหาแน่นปึ๊ก
อ้าวแล้วผู้อ่านจะอ่านรู้เรื่องไหมนะ?
(ฮา)
ไม่ต้องห่วงครับ เดิมทีผมก็ไม่ได้ตั้งใจจะเขียนบล๊อกที่มีเนื้อหายาก hardcore ขนาดนั้น
โดยภาพรวมก็คือ วันนี้ผมจะมาพูดเรื่องพื้นฐานเกี่ยวกับการสมัครงานของคนญี่ปุ่น
นั่นก็คือ
.
..
...
ความต่างระหว่าง 自己PR กับ 志望動機 นั่นเอง!!
---------------------------------------------------------------------------
/ โหนั่นโคตรจะเบสิคเลยน้อง
ถูกต้องแล้วครับ (ฮา)
---------------------------------------------------------------------------
/ อิหยังนิ ทำไมผมไม่รู้จัก
ผมก็เพิ่งทราบเหมือนกัน 555
---------------------------------------------------------------------------
แต่โดยส่วนตัวแล้ว ผมว่าก็ยังมีคนหลาย ๆ คนที่ไม่รู้เรื่องนี้ (ผมก็เป็นหนึ่งในนั้น เทเฮะ:)
ส่วนสาเหตุที่ไม่รู้จักน่ะเหรอ แน่นอนครับ
อาจจะเป็นเพราะประสบการณ์น้อย หรือยังเป็นวัยเรียนกันอยู่
อย่างผมเองเนี่ยก็ออกตัวไปตั้งแต่บันทึกแรกแล้วครับว่าเป็นวัยเรียนอยู่
แต่ ๆๆ
ตอนนี้ผมก็ทำงานในบริษัทญี่ปุ่นมาสักพักแล้วนะครับ (แม้ว่าจะเรียนไปด้วย)
คือตอนเข้าการบรรยายนี้ผมอึ้งมากเลย
ทำไมตอนผมสัมภาษณ์เข้าบริษัทxxx (บริษัทผมมีกฎห้ามเปิดเผยชื่อบริษัท) ถึงไม่มีกรรมการคนไหนพูดถึง自己PR กับ 志望動機 กันนะ (ฮา)
อ้าว แล้วผมสัมภาษณ์งานผ่านได้ยังไง
ผมก็ไม่ทราบเหมือนกันครับ...
..
...
....
เอาล่ะ เรื่องน้ำ ๆ เราพอไว้แค่นี้ละกันครับ
มาเข้าเนื้อหากันเลยดีกว่า
ก่อนอื่นครับ การสมัครเข้าทำงานในญี่ปุ่นเนี่ยทุกคนน่าจะทราบเรื่อง 履歴書 กันอยู่แล้วใช่ไหมครับ
ภาษาบ้าน ๆ ก็ CV นั่นแล..
ณ ที่นี้ผมคงไม่ขออธิบายมาก เนื่องจากว่าทุกคนสามารถใช้อากู๋ในการค้นหาข้อมูลได้อยู่แล้ว
.
..
...
ดังนั้นเรามาพูดถึงการแนะนำตัวกันดีกว่า
เท่าที่ผมทราบมา หลาย ๆ บริษัทในไทยก็มักจะชอบคนที่แนะนำตัวเองด้วยผลงานและเหตุผลที่เราเลือกบริษัทนี้ (ใช่ไหมนะ ?)
แต่ของที่ญี่ปุ่นไอส่วนนี้มันจะการแบ่งเนื้อหาออกเป็น 2 ส่วนด้วยกันครับ
นั่นก็คือ 自己PR กับ 志望動機 นั่นเอง
---------------------------------------------------------------------------
มาพูดถึง 自己PR กันก่อนดีกว่า
ก่อนอื่นเลย สิ่งที่คนญี่ปุ่นไม่ชอบใน 自己PR ก็คือการเอาสิ่งที่อยู่ใน 履歴書 หรือ CV มาพูดซ้ำครับ
สิ่งที่บริษัทญี่ปุ่นต้องการจาก 自己PR ก็คือ ลักษณะนิสัย มุมมองและทัศนคติครับ
โดยมากแล้วจะมีการยกตัวอย่างสิ่งที่เราเคยทำมาประกอบการอธิบายครับ
(แค่ว่าไม่ได้อวดผลงานในResumeใหม่ก็เท่านั้นเอง)
เช่น
- ผมเคยทำงานพาร์ทไทม์ที่หนึ่งครับ วันหนึ่งมีลูกค้าท่านหนึ่งซื้อสินค้าจากในร้านไปและทำตกตรงหน้าร้านจนมีรอยแตก ลูกค้าคนนั้นอ้างว่าขอเปลี่ยนสินค้าใหม่เพราะสินค้าชิ้นนี้มีชำรุดตั้งแต่วางขายหน้าร้าน ซึ่งผมเห็นครับว่าไม่ใช่แบบนั้น แต่ในฐานะพนักงานคนหนึ่งผมก็ต้องยอมลดทิฐิตัวเอง ก้มหัวขอโทษลูกค้าที่วางขายสินค้ามีตำหนิในร้าน และรับมือกับลูกค้าตามกฎระเบียบของทางร้านโดยแจ้งไปว่า "รับทราบแล้วครับ เดี๋ยวจะดำเนินการตรวจสอบจากโรงงานให้ หากตรวจสอบเสร็จแล้วพบว่ามีปัญหาตั้งแต่ตอนผลิตที่โรงงานจริง ทางร้านจะโทรไปเปลี่ยนสินค้าชิ้นใหม่ให้นะครับ" และแล้วเรื่องก็จบลงด้วยดี ทำให้ผมเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่า การทำงานจริง สิ่งสำคัญคือการลดทิฐิตัวเองและปฏิบัติตามกฎขององค์กรอย่างเคร่งครัด
ประมาณนี้ครับ
สิ่งที่บริษัทญี่ปุ่นต้องการจาก自己PRคือทัศนคติในการทำงานครับ
เขาอยากทราบว่าเราเป็นคนอย่างไร เราโลกแบบไหน เรามีทัศนคติแบบไหนครับ
---------------------------------------------------------------------------
***ห้ามพูดว่าตัวเองเป็นคนตรงต่อเวลาโดยเด็ดขาดครับ***
เพราะคนญี่ปุ่นจะมองว่า それ、当たり前のことじゃない?
(แอบแรง แต่ก็จริง555)
---------------------------------------------------------------------------
.
..
...
ต่อไป เรามาพูดถึง 志望動機 กันดีกว่า
อธิบายเป็นภาษาไทยง่าย ๆ ก็คือ ทำไมเราถึงเลือกบริษัทนี้ครับ
ฮันแน่ พอพูดเป็นภาษาไทยแล้วทุกคนก็คงจะกำลังยิ้มมุมปากพร้อมกับหัวเราะร่าว่า
"ฮ่า ๆ ได้ยินจนเบื่อแล้ว"
ใช่ไหมละครับ
(หรือไม่ใช่นะ ฮา)
ซึ่งหากเคยได้ยินมาก็แสดงความยินดีด้วยครับ
สิ่งที่คุณเคยได้ยินมาน่าจะใช้ได้กับบริษัทญี่ปุ่นในระดับหนึ่งแล้วครับ
"อ้าว แล้วมันขาดอะไรไปเหรอครับ?"
"ปรัชญาขององค์กรรรรรรรรรรรรรรรรรร"
ไอ้ของแบบนั้นมันมีด้วยเรอะ?!
นั่นแหละครับ ความคิดแรกแว๊บเข้ามาในหัวหลังจากได้ยินเรื่องปรัชญาขององค์กร
ปรัชญาขององค์กร/บริษัทญี่ปุ่นนั้นคือสิ่งที่เราจะต้องสืบค้นมาก่อนและพยายามลิงก์ตัวเราให้เข้ากับปรัชญานั้นครับ
ซึ่งโดยปกติแล้วบริษัทญี่ปุ่นจะมีปรัชญาเป็นของตัวเอง
(ใช่ครับ ผมก็เป็นคนหนึ่งที่ไม่เคยรู้มาก่อน ToT)
อ่ะจริงไม่จริงลองเข้าเว็บบริษัทญี่ปุ่นสักที่ดูครับ
ผมลองเสิร์ชจาก ダイソー ดูนะครับ
ภาพอาจจะแตกเล็กน้อย แต่ลองกดเข้าไปที่ 企業情報 แล้วกดตรง 社是・経営理念 ดูครับ
แฮร่ เจอแล้วใช่ไหมครับ ตัวอักษรตัวเป้ง ๆ ตามนี้เลยครับ
社是 – ステートメント
世界中の人々の生活をワンプライスで豊かに変える
〜感動価格、感動品質〜
สิ่งนี้แหละครับที่เขาเรียกว่าปรัชญาองค์กร
หรืออย่างUniqloก็มีเหมือนกันนะครับ
"服を変え、常識を変え世界を変えていく"
ปรัชญาเหล่านี้แหละครับคือสิ่งที่เราต้องค้นหาจากเว็บไซต์บริษัทนั้น ๆ ก่อนที่เราจะสมัครงาน
และเราก็ควรจะพยายามลิงก์ตัวเองเข้ากับองค์กรนั้น ๆ ในส่วนของ 志望動機
(เขาจะได้รู้ว่าไอ้หมอนี่ไม่ใช่พวกสมัครงานแบบขอไปที 55)
การจะลิงก์ตัวเองให้เข้ากับปรัชญานั้น ๆ คือโจทย์ที่ทุกคนต้องตีให้แตกครับ
หรือจะพูดว่าสกิลปั้นน้ำให้เป็นตัวก็ได้ครับ (ฮา)
.
..
...
เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับบันทึกนอกตำรา สกู๊ปพิเศษเรื่องการสมัครงานในบริษัทญี่ปุ่น
ทั้งนี้ทั้งนั้นอย่างไรก็ต้องขอขอบคุณ 香山恆毅 อีกครั้งที่เปิดการบรรยายเรื่องเหล่านี้
เพราะไม่แน่ว่าต่อให้ผมทำงานไปอีกสัก 10 ปีผมก็อาจจะยังไม่รู้สึกถึงการมีตัวตนอยู่ของ 志望動機 ก็ได้ครับ (ฮา)
สำหรับท่านใดที่สนใจเนื้อหาเชิงลึก อย่างเช่น สำนวน ไวยากรณ์ คำศัพท์ที่คนญี่ปุ่นมักจะใช้เวลาสมัครงาน และความต่างระหว่างคนไทยกับคนญี่ปุ่นก็สามารถเสิร์ชชื่อคุณ "Koyama Koki" แล้วเปิดอ่านได้ที่เว็บ car chula ได้เลยเด้อ
ถ้าอย่างนั้นแล้ว วันนี้ผมขอปิดบันทึกการเรียนภาษาญี่ปุ่นนอกตำรา #2(พิเศษ)ไว้เพียงเท่านี้ครับ
ไว้พบกันใหม่ครับ
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in