เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
บันทึกการเรียนภาษาญี่ปุ่นนอกตำราhidden1hand
บันทึกการเรียนภาษาญี่ปุ่นนอกตำรา #5
  • แฮร่ สวัสดีครับ

    ผมยำนาเบะ ผู้ชื่นชอบวัฒนธรรมญี่ปุ่น เป็นนักศึกษาในมหาวิทยาลัยรัฐบาลธรรมดา ๆ ที่หาได้ทั่วไป

    วันนี้มาพบกันที่พาร์ทต่อในหัวข้อการสมัครงานของคนญี่ปุ่น (พาร์ท3) กันดีกว่าครับ


    เป็นอย่างไรกันบ้างครับหลังจากที่ได้ลองตั้งคำถามขำ ๆ ในบล๊อกฉบับที่แล้ว พอจะคาดเดากันได้ไหมเอ่ยว่าทำไมผมถึงพูดเรื่องการฝึกงานของคนญี่ปุ่นกัน

    .

    ……

    ……..

    ……….



    คำตอบนั้นก็คือ 

    ถ้าคุณไม่ฝึกงาน คุณจะมี connection น้อยลงและโอกาสที่คุณจะสมัครงานได้น้อยลงนั่นเอง

    อ้าวก็แค่สมัครไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะหางานทำได้ก็พอไม่ใช่เหรอครับ


    โนว ๆๆๆๆๆๆ

    ในความเป็นจริงแล้ว มันเป็นไปได้ยากครับ และที่ญี่ปุ่น เรื่องนี้มันก็เป็นปัญหาที่ผมจะเขียนในบล๊อกนี้ด้วยครับ


    อันดับแรกเลย

    คนที่เคยฝึกงาน จะได้เปรียบในตอนสมัครงานครับ

    แน่นอนว่าเรื่องประสบการณ์ก็ส่วนหนึ่ง แต่อีกส่วนหนึ่งคือส่วนที่ไม่ค่อยดีเท่าไรครับ

    นั่นก็คือในกรณีที่เด็กฝึกงานคนนั้นสมัครเข้าทำงานในบริษัทเดิม 

    มันมีแนวโน้มว่าบริษัทนั้นจะรับเด็กที่เคยฝึกงานมากกว่าเด็กจบใหม่ที่ไม่รู้จักอยู่ครับ

    นั่นทำให้เด็กจบใหม่ที่มีประสบการณ์การฝึกงานได้เปรียบมากกว่าเด็กจบใหม่ด้วยกันครับ

    และโควต้ารับสมัครลูกจ้างก็จะลดลงเพราะเด็กที่เคยฝึกงานกินที่ไประดับนึงแล้ว


    และมันจะนำมาสู่ปัญหาที่ 2 ครับ

    เมื่อคุณหางานไม่ได้ระยะเวลานึงคุณจะไม่ถูกนับว่าเป็นเด็กจบใหม่และโอกาสถูกจ้างงานจะลดลงไปอีก

    สิ่งนี้ผมเรียกว่า 既卒の問題 ครับ

    เรามาทำความรู้จักกับการแบ่งแยกคนสมัครงานในประเทศญี่ปุ่นกันดีกว่า

    1. 新卒 หมายถึงเด็กที่เพิ่งเรียนจบ อาจจะเป็นโรงเรียน โรงเรียนเฉพาะทาง(専門学校)หรือมหาวิทยาลัยก็ได้ และยังไม่มีประสบการณ์การทำงาน

    2. 既卒 หมายถึงคนที่มีประสบการณ์ทำงานและอาจจะกำลังเปลี่ยนที่ทำงานหรือลาออกจากที่ทำงานเก่าไปแล้ว


    ก่อนอื่นอย่างที่ผมบอกไปว่าบริษัทญี่ปุ่นขะมีช่วงที่ครับรับสมัครพนักงานหน้าใหม่ ๆ อยู่

    หรือก็คือ ในกรณีที่คุณไม่ผ่านการสัมภาษณ์งานในปีนั้น คุณจะรอเก้อ 1 ปีเต็ม ๆ จนกว่าจะถึงช่วงเดือน 4 ของปีถัดไปเลยทีเดียว

    —---------------------------------------------------------- 

    โดยทั่วไปแล้วบริษัทต่าง ๆ ในญี่ปุ่นจะนิยมทำสัญญาจ้างงานกับเด็กจบใหม่จนมีคำว่า 新卒主義 เกิดขึ้นมาครับ

    *ป.ล.ทั้งคำว่า 新卒 และ 既卒 ไม่ได้มีการบัญญัติศัพท์ทางกฎหมายแต่อย่างใด เป็นเพียงแค่คำที่ใช้เพื่อแบ่งแยกคนเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ เท่านั้น


    —----------------------------------------------------------


    อ้าวแล้วถ้าเราไม่ผ่านการสัมภาษณ์งานหลังจบการศึกษามันทำให้โอกาสถูกจ้างงานจะลดลงยังไงเหรอ


    —-----------------------------------------------------------

    นี่แหละครับประเด็นใหญ่


    บริษัทจำนวนหนึ่งในญี่ปุ่นจะพิจารณาว่าคุณเป็น 既卒 เมื่อคุณจบการศึกษามาแล้ว 3 ปีเป็นต้นไป

    นั่นหมายความหากหากคุณสมัครงานแล้วล้มเหลว 3 ปี คุณจะไม่ได้รับอภิสิทธิ์ในระบบการจ้างงานที่นิยมเด็กจบใหม่ (既卒主義)อีกต่อไป

    แล้วคุณจะมีคู่แข่งเป็น 既卒 ที่มีประสบการณ์ทำงานมาแล้วหลายปี


    ลองนึกภาพว่าคุณเป็น HR ของบริษัทหนึ่งดูก็ได้ครับ

    บริษัทนี้ต้องการคนมาทำงานในตำแหน่ง xx (เป็นตำแหน่งที่ require คนมีประสบการณ์ทำงาน คุณจึงต้องการ 既卒 ที่มากความสามารถ) 

    คุณจะเลือกอะไรระหว่างคนที่ตกงานมา 3 ปี กับคนที่ทำงานมาแล้ว 10 ปี

    แน่นอนครับว่าเป็นอย่างหลังอยู่แล้ว


    —------------------------------------------------------------------


    อ้าวแล้วทำไมถึงต้องกีดกันไม่ให้เป็น 新卒 ล่ะ?

    แล้ว 新卒 มีดีอะไร?


    —--------------------------------------------------------------------


    เรื่องของเรื่องก็คือ เขามองว่าการทำสัญญาว่าจ้าง 新卒 จะเป็นผลดีกับบริษัทมากกว่าครับ

    เหตุผลแรกคือ ประหยัดค่าใช้จ่ายเพราะเป็นเด็กจบใหม่

    บริษัทไม่ต้องจ่ายเงินเดือนสูง 


    แน่นอนครับว่าบริษัทยังต้องการคนที่มีทักษะสูงเข้ามาทำงานในองค์กร

    แต่ทางเลือกที่บริษัทหลาย ๆ แห่งในประเทศญี่ปุ่นเลือกก็คือ

    เราก็แค่คัดเด็กจบใหม่มา แล้วทำสัญญาจ้างงานให้ทำงานกับบริษัทตัวเองนาน ๆ

    ทีนี้เราก็แค่ปั้นให้เด็กคนนั้นมีความเชี่ยวชาญขึ้นในระหว่างที่ยังให้เงินเดือนเทียบเท่ากับเด็กจบใหม่ได้

    และโดยมากแล้วบริษัทในญี่ปุ่นจะนิยมทำสัญญาจ้างงานระยะยาวกันอีกด้วย ทำให้คนญี่ปุ่นไม่ค่อยจะเปลี่ยนที่ทำงานกันบ่อย ๆ


    และ เหตุผลถัดไปก็คือ

    เขามองว่าคนที่เพิ่งจบใหม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมขององค์กรได้ง่ายกว่าคนที่จบมานานแล้วครับ

    พูดง่าย ๆ ก็คือองค์กรสามารถหล่อหลอมเด็กจบใหม่ได้ง่ายกว่านั่นเอง

    เพราะฉะนั้นถ้าบริษัทอยากได้คนมาทำงานระยะยาวเขาจะเลือกเด็กจบใหม่ (新卒)มากกว่า 既卒

    ***และเหตุผลสุดท้ายที่เขาไม่อยากจ้าง 既卒 ที่ไม่มีประสบการณ์ที่สำคัญที่สุดคือเขามองว่าคุณไม่น่าไว้วางใจเพราะคุณเคยถูกบริษัทปฏิเสธงานไปหลายครั้ง

    อ้าวแล้วถ้าคุณไม่ได้ถูกปฏิเสธงาน แต่คุณแค่ไปทำงานฟรีแลนซ์หรือเปิดกิจการที่บ้านล่ะ

    บริษัทเขาจะรู้ได้ไง


    คำตอบคือ

    ….

    …….

    ……….

    เขาเหมารวมหมดเลย

    แล้วเขาก็จะปฏิเสธคุณตั้งแต่ยื่นใบสมัครเลย


    นั่นทำให้ระบบการจ้างงานของบริษัทญี่ปุ่นมีข้อบกพร่องครับ

    • คนที่ไม่ได้ทำงานในบริษัทเพราะไปทำฟรีแลนซ์ ไปเปิดกิจการหลังเรียนจบจะถูกมองว่าเป็น 既卒 ที่ไม่มีประสบการณ์ทำงาน อัตราการสมัครงานสำเร็จของคนเหล่านี้จึงมีน้อย

    • 新卒 ที่กลายเป็น 既卒 จะไม่มีโอกาสได้ปรับปรุงตัวเพราะคุณเสียความน่าเชื่อถือ / ถูกมองว่าไม่น่าไว้วางใจ จึงสมัครงานยากกว่า 新卒 และ 既卒 โดยทั่วไป


    โดยสรุประบบการจ้างงานของคนญี่ปุ่นเนี่ย ถือว่าเป็นระบบที่มีการแข่งขันที่สูงมาก

    เรียนมหาวิทยาลัย ขึ้นชั้นปีที่ 2 สมัยที่เพิ่งเป็นผู้ใหญ่หมาด ๆ ก็ต้องดิ้นรนหาที่ฝึกงานกันแล้ว

    ปี 3 ปี 4 ก็ต้องเริ่มหางานเพื่อทำสัญญาจ้างงานหลังจบปี 4

    หากหางานทำหลังจบปี 4 ไม่ได้ คุณก็มีโอกาสให้แก้ตัวได้ภายใน 3 ปีเท่านั้น ถ้าผ่านไป 3 ปีแล้วยังหางานไม่ได้ก็จะถูกมองว่าเป็นคนที่ไม่พร้อมอีก

    แถมคนที่ไปทำงานฟรีแลนซ์ คนที่ไปเปิดกิจการที่บ้านก็ไม่มีอะไรไปใส่เรซูเม่ บริษัทก็นึกว่าเป็น 既卒 ที่ไม่ผ่านการสัมภาษณ์งานอีก

    ไหนจะตัวระบบนิยมเด็กจบใหม่ 新卒主義 อีกนะ


    โอย

    หัวจะปวด

    ทำไมชีวิตนี้ต้องดิ้นรนขนาดนี้ อยากถูกหวยสักพันล้านจัง (ฮา)


    —-------------------------------------------------------------


    เป็นอย่างไรบ้างครับกับการนำเสนอระบบการจ้างงานและการสมัครงานของคนญี่ปุ่น (พาร์ทสุดท้าย)

    ครั้งนี้ถ้าเทียบกับครั้งก่อนถือว่าค่อนข้างยาวเลยใช่ไหมละครับ

    นั่นแหละครับเหตุผลที่ผมตัดออกเป็น 2 พาร์ท

    // ไม่ใช่ว่าเพราะผมไม่มีไอเดียเขียนบล๊อกนะ (ฮา)


    แล้วก็อย่างที่บอกไปครับว่าเป็นเรื่องที่ค่อนข้างไกลตัว

    เราไม่จำเป็นต้องเข้าไปยุ่งก็ได้

    อย่างเราเป็นคนต่างชาติก็ไม่ได้ใช้ระบบนี้เวลาสมัครงานในประเทศญี่ปุ่นอยู่แล้ว

    ขึ้นอยู่กับว่าเรามีทักษะอะไรที่จะดึงดูด HR ให้เขามาจ้างเรา


    ในส่วนของปัญหาของคนญี่ปุ่นก็ให้คนญี่ปุ่นเขาแก้ไขกันเองเถอะเนาะ (ฮา)

    -------------------------------------------


    หากใครอ่านมีความคิดเห็นข้อเสนอแนะก็สามารถเขียนลงในช่องความคิดเห็นได้เลยนะครับ ผมจะตามอ่านอยู่เสมอ


    ถ้าอย่างนั้นแล้ว 

    ไว้พบกันใหม่ครับ




เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in
Sodasado (@Sodasado)
คนญี่ปุ่นหางานไว เห็นแล้วเครียดเลยค่ะ
k.l.k (@k.l.k)
ลักษณะการคัดเลือกคนของญี่ปุ่นจริงๆ แต่ตอนนี้ได้ยินว่าเขาคิดจะเปลี่ยน (เพราะไม่ได้สร้างการแข่งขัน) หลายบริษัทเริ่มเปลี่ยนเป็น ジョブ型雇用 คือไม่ได้จ้างมาก่อนแล้วค่อยให้งาน (นศ.จบใหม่) แต่กำหนดงานก่อนแล้วหาคนให้เข้ากับงาน เลยอาจจะไม่จำเป็นต้องรับพร้อมกันในบางครั้ง
k.l.k (@k.l.k)
ลักษณะการคัดเลือกคนของญี่ปุ่นจริงๆ แต่ตอนนี้ได้ยินว่าเขาคิดจะเปลี่ยน (เพราะไม่ได้สร้างการแข่งขัน) หลายบริษัทเริ่มเปลี่ยนเป็น ジョブ型雇用 คือไม่ได้จ้างมาก่อนแล้วค่อยให้งาน (นศ.จบใหม่) แต่กำหนดงานก่อนแล้วหาคนให้เข้ากับงาน เลยอาจจะไม่จำเป็นต้องรับพร้อมกันในบางครั้ง
k.l.k (@k.l.k)
ลักษณะการคัดเลือกคนของญี่ปุ่นจริงๆ แต่ตอนนี้ได้ยินว่าเขาคิดจะเปลี่ยน (เพราะไม่ได้สร้างการแข่งขัน) หลายบริษัทเริ่มเปลี่ยนเป็น ジョブ型雇用 คือไม่ได้จ้างมาก่อนแล้วค่อยให้งาน (นศ.จบใหม่) แต่กำหนดงานก่อนแล้วหาคนให้เข้ากับงาน เลยอาจจะไม่จำเป็นต้องรับพร้อมกันในบางครั้ง