จริงๆ เรื่องยาบ้า 50 สตางค์นี่ท้าทายความรู้เดิมๆ เรามาก (ซึ่งไม่มีเลย นอกจากความเชื่อที่ว่ายาบ้าแม่งเชี่ย แม่งเลว คนเสพตายคนขายติดคุกอะไร วาทกรรมที่บ่มๆ กันมาน่ะ) พอออกข่าวว่ามีแนวคิดจะทำยาบ้า 50 สตางค์ แล้วเห็นว่าสนข. หลายๆ หัวเอามาพาดว่า "ยาบ้าเป็นสินค้าเศรษฐกิจ" บ้าง หรือออกแนวว่า คนเสพกันทั่วเมืองล่ะทีนี้ ก็เลยพยายามหาข้อมูลเท่าที่จะหาได้มาดูๆ ว่ามันเป็นยังไง
จากนี้พูดในมุมของคนที่ไม่รู้อะไรมาก่อน ถ้าผิดก็ว่ากันได้ในคอมเมนต์นะครับ
ก็ไปเจอเคสของโปรตุเกส ที่เขา Decriminalize ยาเสพติดทั้งหมดเลย (ตั้งแต่ปี 2001) ก็คือถ้าใครถูกตรวจสอบแล้วพบว่ามียาเสพติดตั้งแต่กัญชาไปจนถึงเฮโรอีน ในปริมาณที่เสพได้ 10 วัน เขาก็จะถูกส่งไปที่คณะกรรมการร่วมที่มีทนาย, หมอ และคนทำงานด้านสังคมรวมกัน เพื่อให้แนะนำมาตรการที่เหมาะสมต่อไป (ซึ่งอาจเป็นการปรับเล็กน้อย ใช้คำว่า minor fine หรือไม่ลงโทษอะไรเลยด้วยซ้ำ ซึ่งอาจจะน่าช็อคมากสำหรับบ้านเรา)
ตอนนี้ 15 ปีหลังจากที่ decriminalize drug แล้ว ก็พบว่ามีการใช้ยาเสพติดลดลงตามกราฟ (สำรวจถึงปี 2012) มีการตายที่เกิดจากยาเสพติดลดลง (หลังๆ ทำไมเพิ่มไม่รู้) และมีอัตราการติดเชื้อ HIV จากการใช้เข็มฉีดยาเสพติดลดลง
บทความจาก Mic ก็บอกว่า การ Decriminalize ยาเสพติด ไม่ใช่ทางแก้ (cure) แต่ก็ไม่ได้เป็นหายนะ (disaster) อย่างที่ใครกลัวกัน
ทีนี้ในรายงานก็บอกด้วยว่าในโปรตุเกสมีการย้ายอำนาจการควบคุมยาเสพติดโดยเปลี่ยนจากกระทรวงยุติธรรมไปเป็นกระทรวงสาธารณสุข และมีการปรับปรุงสวัสดิการพื้นฐานของประชาชนด้วย ซึ่งก็จะเห็นว่าก็ไม่ได้ทำแค่ Decriminalize ยาเสพติดแล้วจบแต่ก็ทำทั้งระบบ เปลี่ยนวิธีคิดไป
อีกชิ้นหนึ่งที่น่าสนใจมาจาก Washington Post ปีนี้เอง (เดือนมีนาคม) รายงานว่า "ผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์บอกว่าเราควร Decriminalize ยาเสพติดทั้งหมดและควรทำมากกว่านั้นอีกด้วยซ้ำ" โดยเป็นมติมาจาก panel ด้านการแพทย์ 22 คนที่เสนอให้ประเทศต่างๆ รวมถึงสหรัฐฯ ค่อยๆ ขยับไปทางตลาดยาเสพติดที่ควบคุมดูแลโดยรัฐ (regulated) โดยผ่านวิธีการวัดผลอย่างเป็นระบบ โดยบอกว่าการลงโทษยาเสพติด การครอบครอง การใช้ การค้าขายนั้นไม่ได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานวิทยาศาสตร์
โดยบอกว่า "การคิดว่าการใช้ยาเสพติดทั้งหมดเป็นการ 'abuse' นั้น จึงทำให้เกิดมาตรการดังกล่าว (ที่ว่าห้ามใช้ยาเสพติดทั้งหมด หรือ abstinence ไปเลย)" แล้วก็ยกตัวอย่างโปรตุเกสนี่แหละที่ประสบความสำเร็จในการจัดการยาเสพติดโดยการ decriminalize มันขึ้นมา
ทีนี้ส่วนตัวก็ไม่ได้จะบอกว่า Decriminalization นั้นโอเคแบบโอเคจบ ทำเลย ยาบ้า 50 สตางค์ แต่ก็ต้องมองด้วยว่าตัวแปรในประเทศเรานั้นเป็นอย่างไร สมมติรัฐทำยาบ้า 50 สตางค์จริงๆ หรือมีการ decriminalize ยาเสพติดจริงๆ แล้วระบบการจัดการของรัฐรอบๆ จะเปลี่ยนไปอย่างไรไหม ที่ยิ่งไปกว่านั้นคือ มุมมองทางวัฒนธรรมต่อผู้เสพยา ก็ควรจะเปลี่ยนไปด้วยไหม ซึ่งการ decriminalization ทางวัฒนธรรมนี่น่าจะเป็นเรื่องที่ยากกว่าเรื่อง decriminalization ทางกฎหมายเสียอีก เพราะอย่างที่บอก รัฐมีความสำเร็จมากๆ ในการใส่วาทกรรมอะไรลงมาในประชาชน ผ่านทางการศึกษาและระบบศีลธรรม
อ้างอิงจาก
https://mic.com/articles/110344/14-years-after-portugal-decriminalized-all-drugs-here-s-what-s-happening#.L8BuIM8uxhttps://www.washingtonpost.com/news/wonk/wp/2016/03/24/top-medical-experts-say-we-should-decriminalize-all-drugs-and-maybe-go-even-further/
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in