เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
Vantage PointTeepagorn W.
On Magazine
  • คิดมานานแล้วว่าคนอ่านบทความในเว็บเยอะกว่าคนอ่านบทความในนิตยสาร เช่น ถ้าคนอ่านบทความในเว็บ 10,000 วิว เทียบกับยอดพิมพ์นิตยสารเคลมว่า 100,000 เล่ม ซึ่งจริงๆ เคลมไว้เกิน 5-10 เท่า = 10,000-20,000 เล่ม แถมมีโอกาสที่คนจะซื้อไปแล้วไม่ได้อ่านอีก (ไม่เหมือนคนอ่านในเว็บที่คลิกเข้ามาแล้วสามารถ track ได้ว่าอ่านจนจบไหม) ดังนั้นพูดกันในเชิงตัวเลขลุ่นๆ การเขียนอะไรๆ บนเว็บ (เฟซบุ๊ก บล็อก เว็บอื่น) ก็น่าจะมีอิมแพคมากกว่าการเขียนในนิตยสาร

    เช่น ถ้าคนมีเพจที่มี reach สักสามสี่แสน แล้วเขาจะเขียนคอลัมน์ในนิตยสารทำไม

    แต่สุดท้ายเราก็ไม่ได้วัดทุกอย่างที่ตัวเลข นิตยสารก็มีคุณค่าของมันที่ตีออกมาเป็นตัวเลขไม่ได้ด้วย (จริงๆ อาจจะได้ แต่มันเห็นไม่ชัด) เช่น เรื่องความเป็นสถาบันซึ่งไอ้ความเป็นสถาบันนี้ goes a long way มาก ตั้งแต่เรื่องคอนเนคชั่นต่อสื่อต่างๆ ต่อแหล่งข่าว ไปจนถึงการคอนเฟิร์มว่าสิ่งที่จะอยู่ในนิตยสารนั้นเป็นสารที่ดี ที่ 'ควรค่า' พอ มีการคัดกรองมาแล้วโดยกองบรรณาธิการ นอกจากนี้ก็มีเรื่อง reach ต่อผู้คนอีก demographics หนึ่ง (ซึ่งอาจเป็น demographics ที่ทรงคุณค่าและสามารถสร้างอิมแพคต่อบ้านเมืองได้อย่างเข้มข้นกว่าคนอ่านในเนตทั่วไป ; อันนี้ก็มองแบบคลาสสิกมาก)

    ก็ไปตอบคำถามด้านบนว่าคนที่มีเพจที่ reach สูงๆ เขียนคอลัมน์เพื่อ 1. เงินค่าตอบแทน (ไม่มาก) 2. การ 'ได้ชื่อ' ว่าเขียนคอลัมน์ลงที่นี่ๆ นะ เป็นสถานะ

    ปัญหาคือไม่ใช่นิตยสารทุกเล่มที่มีการคัดกรองแบบนั้น ไม่ใช่สื่อคลาสสิกทุกอย่างที่ทำงานในแบบนั้น เราจะเห็นว่ามันมีการพลาดการหลุด และยิ่งสื่อนิตยสารนำข้อมูลมาจากอินเทอร์เนตและผ่านการตีความไม่ซับซ้อนไม่กี่ชั้น (ทำให้ไม่เกิดความหมายใหม่ๆ) บทบาทของนิตยสารก็จะลดลงอย่างช้าๆ ซึ่งวิธีแก้ไม่น่าจะใช่การเน้นความเร็ว (เพราะสู้ไม่ได้) แต่น่าจะไปเน้นที่ความลึกนั่นแหละ

    ซึ่งความลึกเองก็อาจจะมาได้จากหลายทาง เช่น การให้คอลัมนิสต์ทำสกู๊ป in-depth โดยใช้เวลามากกว่าเดิมเช่นนิตยสารบางเล่มอาจส่งนักข่าวลงไปพื้นที่สงครามเลย ซึ่งเรื่องแบบนี้คนในเนตโดยทั่วไปทำไม่ได้ ก็จะได้คอนเทนต์ที่มีความ unique กว่า (ซึ่งก็ได้มาด้วย 'ทุน' ของนิตยสารที่เหนือกว่านั่นแหละ) ไปจนถึงการจ้างคอลัมนิสต์ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านนั้นๆ จริงๆ (ไม่ใช่เอาใครก็ได้ที่อ่านในเนตแล้วมาพูดตามความเข้าใจที่ไม่ลึกของตัวเอง)

    จะเห็นว่าการที่นิตยสารจะอยู่ต่อได้ก็มีแต่การใช้อภิสิทธิ์ต่างๆ หรือสถานะของตัวเอง หรือกระทั่งทุนที่สูงกว่า เพื่อแลกมาซึ่งคอนเทนต์ที่ดีกว่าเดิมเท่านั้น (ไม่สามารถทำงานง่ายได้แล้ว)

    ในฐานะคอลัมนิสต์เองก็รู้สึกว่างานยากขึ้น ตรงที่ว่าเราต้องคิดให้มากขึ้นกว่าเดิม ในขณะที่เรื่องอาจจะยังต้องสดใหม่ แต่ทำยังไงให้บทความที่อยู่ในนิตยสารมีความพิเศษ มีความคุ้มค่าที่คนจะต้องอ่าน เพราะยิ่งทำงานชุ่ย หรือลวกเท่าไหร่ ก็เท่ากับว่าเร่งวันตายของตัวเองให้เร็วขึ้นเท่านั้น
Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in
Pimchaya (Tarn) Aokchim (@fb1130012692434)
Whether i'm free at that time?