เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
สมคบคิด(เอาเอง)I-love-thee
Canned Theory(ทฤษฎีอัดกระป๋อง) ดื่มน้ำอะไรก็ได้จากกระป๋องแล้วจะรู้สึกดี
  • *คำเตือน :ข้อความต่างๆ ในบทความนี้เป็นเพียงความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นจึงไม่สามารถนำไปอ้างอิงหรือให้เหตุผลตามหลักวิชาการได้ 

    ในบางครั้งเวลาที่เราดื่มน้ำอะไรก็ตามจากกระป๋องไม่ว่าจะเป็นน้ำอัดลม นม กาแฟ เบียร์ น้ำผลไม้ หรืออื่นๆ คนส่วนใหญ่จะบอกว่าที่รู้สึกว่ามันอร่อยกว่าก็เพราะเครื่องดื่มจะมีความซ่าที่มากกว่า นั่นคือกรณีของเครื่องดื่มประเภทอัดแก๊ส แล้วถ้าพูดถึงเครื่องดื่มประเภทไม่อัดแก๊สล่ะคุณคิดว่ามันเป็นเพราะอะไร

    จากการคิดเอาเองของเรา คิดว่ามีเหตุผลอยู่ 2 ข้อที่ทำให้รู้สึกดีเมื่อดื่มน้ำจากกระป๋อง

    1. กระป๋องทำจากโลหะ เมื่อสัมผัสแล้วจะให้ความรู้สึกเย็นและยิ่งถ้ากระป๋องถูกนำไปแช่เย็นจะยิ่งทำให้รู้สึกเย็นมากขึ้นไปอีก ดังนั้นมีแนวโน้มว่าเครื่องดื่มที่อยู่ในกระป๋องก็น่าจะเย็นกว่าเครื่องดื่มที่อยู่ในบรรจุภัณฑ์ประเภทอื่นด้วยเช่นกัน และถ้ายิ่งดื่มโดยไม่ใช้หลอดคือยกขึ้นดื่มโดยให้ปากแนบติดกับขอบกระป๋องที่เย็นๆจะยิ่งรู้สึกฟินแบบสุดๆ (แนะนำให้เช็ดหรือคำความสะอาดส่วนฝากระป๋องเสียก่อนเพราะอาจมีสิ่งสกปรกติดอยู่)

    2. ท่าทางในการดื่ม โดยส่วนมากแล้วในโฆษณาเครื่องดื่มส่วนใหญ่ที่เป็นประเภทกระป๋องหรือขวด พรีเซนเตอร์มักจะใช้ท่าทางในการยกดื่มมากกว่าใช้หลอด โดยเฉพาะกระป๋องที่ถูกออกแบบมาให้เอื้อต่อการยกดื่ม เพราะมีขอบกระป๋องยกสูงขึ้นนิดหน่อยมีที่ให้ริมฝีปากยึดเกาะ ช่องที่เปิดออกแคบและเล็กบังคับให้เครื่องดื่มออกมาในปริมาณที่พอเหมาะไม่หกกระเด็นและกระฉอกได้ง่าย และจากที่เราเคยได้อ่านหนังสือแนวจิตวิทยาก็ได้พบว่ามีอยู่ 2-3 เล่มที่บอกว่าการแสดงออกด้วยท่าทางที่มั่นใจและเข้มแข็ง(ทั้งๆที่ในใจก็รู้สึกกังวลและกลัว) จะช่วยลดความประหม่าและกังวลลงได้ ซึ่งท่าทางในการยกดื่มนั้นเป็นไปในลักษณะที่บังคับให้ต้องเงยหน้าขึ้นพร้อมกับยกแขนขึ้นหนึ่งข้างเป็นอย่างน้อย ดูคล้ายๆกับการที่เราพร้อมที่สู้กับอะไรสักอย่างซึ่งต่างจากการดื่มโดยใช้หลอดที่ต้องก้มหน้าหรืออยู่ในลักษณะหน้าตรง

    นี่เป็นสิ่งที่เราลองจับสังเกตหลังจากเจอเหตุการณ์ที่ทำให้เสียใจเสียสมองแล้วดื่มอะไรสักอย่างจากกระป๋อง ถึงแม้ว่ามันอาจจะไม่ได้ทำให้ปัญหานั้นหายไปแต่อย่างน้อยมันก็เป็นการบังคับให้จังหวะของการรู้สึกจมกับปัญหาสะดุดลงและเริ่มคิดเพื่อตั้งท่าพร้อมสู้อีกครั้ง

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in