เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
เรื่องเล่าจากออดิทYour writer
ว่าด้วยเรื่อง 'คนขาด'
  • ก่อนจะเริ่มอ่านคอนเทนต์นี้ เราอยากจะให้คุณผู้อ่านมารู้จัก ศัพท์เฉพาะในวงการของเรากันสักนิด

    คนทำงาน = พนักงานระดับ associate / senior associate ที่เป็นผู้ลงไปตรวจลูกค้าจริงๆ
    Team member = ทีมที่เข้าไปตรวจลูกค้า เมื่อพวกเราชาวออดิทพูดถึงทีม มักจะไม่หมายความรวมถึงพี่เมเนเจอร์ด้วย โดย team member ก็คือ คนทำงาน นั่นเอง
    พมนจ = พี่เมเนเจอร์ ซึ่งจะเป็น boss ด่านแรกในการรีวิวงานที่ team member ได้ไปตรวจมา จากนั้น พี่เมเนเจอร์ก็จะเอางบที่เราตรวจไปให้ director / partner รีวิวอีกครั้ง
    พอช = พี่อินชาร์จ เป็นที่ที่โตสุดในทีม / อยู่ในจ็อบมานานที่สุด โดยจะต้องทำหน้าที่เป็นอับดุล ตอบทุกอย่างเกี่ยวกับจ็อบนั้นๆได้ เมื่อพี่เมเนเจอร์ถาม

    แม้จะเป็นที่ทราบกันดีว่า auditor เป็นงานที่ turnover สูงมากไม่ไหว 
    การจะผ่าน 3 ปีอันแสนหนักหน่วงไปได้ จะเก่งและอดทนไม่พอ พื้นดวงนั้นเป็นเรื่องสำคัญ
    อาจกล่าวได้ว่า เป็นอาชีพที่คนโชคดีอยู่ได้นาน
    และการที่ turnover ของคนทำงานสูงขึ้นเรื่อยๆ ก็ส่งผลให้เกิดปัญหาคนขาดเรื้อรัง
    หากไม่ได้รับผลกระทบจากโควิด ตอนนี้ ปัญหาคนขาดน่าจะทำให้กลุ่มผู้เหลือรอดต้องแบกงานหนักกว่าที่เป็นอยู่อย่างแน่นอน

    เมื่อไม่กี่วันก่อน ขณะกำลังปัด IG story เพลินๆ ฉันก็ได้เห็น re-post ของเพื่อนคนหนึ่ง
    พี่ๆในทีมถ่ายสตอรี่ขอบคุณเพื่อนของฉันค่ะ

    'น้องเก่งมากๆ ช่วยพี่ๆได้เยอะเลย ขอบคุณมากๆ คุ้มค่ากับการยอมตัด OT ของพี่ๆมาบุ้คน้อง'

    แวบแรกที่ฉันอ่านข้อความเหล่านี้ สิ่งที่คิด คือ 'น่าอิจฉาจังเลยนะ'
    ฉันอยากเป็นคนเก่งแบบนี้บ้างจังเลยค่ะ 55555
    จ็อบประจำของฉันมีแต่บุ้คฉันไม่เต็ม time แล้วให้พี่ๆเก็บต่อ 
    ซึ่งเดาได้ว่า การบุ้คฉันต่อนั้น เป็นการเปลืองต้นทุนนั่นเอง

    อย่างไรก็ตาม ฉันก็คิดต่อไปอีกว่า 'นี่มันสมเหตุสมผลไหมนะ?'
    ทำไมพี่ๆในทีมถึงต้องยอมตัด OT ตัวเองมาเพื่อบุ้คน้องมาช่วยงานหล่ะ?
    ถ้าจำเป็นต้องบุ้คน้องมาช่วยก็แสดงว่า งานไม่สมดุลกับคน มิใช่หรือ
    แม้การที่ปริมาณงานมากกว่าคนทำงาน จนพวกเราจะต้องทำ OT จะเป็นเรื่องปกติไปแล้วก็ตาม
    แต่ขนาดที่บุ้คน้องมาช่วยแล้ว ทีมนี้ก็ยังกลับบ้านกันราวๆ 4 ทุ่มอยู่ดี
    ถ้าไม่ได้น้องมาช่วย พี่ๆน่าจะไม่ได้นอนนะคะ 55555

    อาชีพนี้สอนฉันหลายอย่างมากๆเลยค่ะ
    งานนี้ สอนให้ฉันเห็น engagement leader หลากหลายรูปแบบ
    สอนให้ฉันตระหนักว่า เพื่อนร่วมงานแบบไหนที่ฉันไม่ควรเป็น หัวหน้าแบบไหนที่ฉันอยากจะเป็น
    สอนให้ฉันเห็นอกเห็นใจผู้อื่น (ซึ่งฉันจะเล่าแบบละเอียดในบทความต่อไปค่ะ)
    สอนให้ฉันเห็นคุณค่าของเวลา ที่เงินซื้อไม่ได้
    สอนให้ฉันรับมือกับปัญหาเฉพาะหน้าและตัวแปรที่ควบคุมไม่ได้มากมาย
    ทั้งหมด ทำให้ฉันเข้าใจได้ว่า ทำไมการเป็นออดิท โดยเฉพาะจาก Big4 ถึงเป็นดั่งใบการันตี (ความถึก)

    พี่ๆ S1 S2 หลายคนเคยบอก ฉันค่ะ
    ในสมัยเค้ายังเป็น A1 A2 งานไม่ได้หนักเท่ารุ่นน้องๆ benefits และอัตราการเติบโตของ base salary ก็ดีกว่าจะเห็นได้จาก listed หลายๆตัวที่อยู่มานาน จากทีม 7-8 คน ก็เหลือ 5-6 คน แต่ตรวจเพิ่มขึ้น
    น้องๆที่เข้าใหม่ล้มหายตายจากกันไปเร็วขึ้น บางทีมก็ออกยกทีมแบบไม่รอโบนัสแล้ว

    ปัญหามันอยู่ที่ตรงไหนกันนะ? บางทีฉันก็สงสัยจริงๆค่ะ
    เรื่องเหล่านี้เกิดขึ้นมาได้ สองสามปีแล้ว และดูเหมือนจะหนักขึ้นเรื่อยๆ
    แต่กลับไม่มีการแก้ปัญหาที่ได้ผลจริงอย่างเป็นรูปธรรมเสียที
    (Townhall ไปกี่ครั้งก็ยังได้รับการยืนยันเสมอว่า ค่าตอบแทนของเรา competitive ที่สุดในวงการนี้แล้ว)

    จะว่าอย่างไรได้หล่ะคะ
    การจะอยู่หรือไป เป็นการตัดสินใจของเรา
    การจบบัญชี มาเป็น ออดิท ก็เหมือนคนต่อแพทย์เฉพาะทาง ที่ไม่ว่า โรงเรียนแพทย์จะโขกสับอย่างไรก็ต้องทนขายวิญญาณกันต่อไป เพื่อเป้าหมายที่เราตั้งใจไว้

    หากออกกลางคันก็อาจไม่คุ้มค่ากับต้นทุนเวลาที่ได้ลงทุนไป แต่หากถู่ซี้ต่อไปก็อาจไปไหนไม่ได้อีกต่อไป
    ฉันคิดว่า สิ่งนี้เป็นปัญหาโลกแตกของใครหลายๆคนที่กำลังซัฟเฟอร์กับงานอยู่ใช่ไหมคะ?
    ฉันเองก็ยังพาตัวเองออกมาจากลูปนี้ไม่ได้ แต่ก็ดีขึ้นมากแล้วค่ะ

    ลองเขียนโจทย์ที่เราตั้งไว้ในการเข้ามาทำงานนี้ลงในกระดาษ
    แล้วคิดดูว่า ตอนนี้ เราตอบโจทย์นั้นได้ครบทุกข้อหรือยัง จุดคุ้มทุนของเราอยู่ตรงไหน
    นี่เป็นวิธีที่ฉันใช้ในการช่วยตัดสินใจค่ะ และเมื่อตัดสินใจไปแล้วก็เลิกฟุ้งซ่าน 
    วิธีนี้ช่วยให้เราโฟกัสกับงานได้ดีขึ้นมาก แถมอาการนอนไม่หลับก็ค่อยๆดีขึ้นด้วยค่ะ

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in