เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
InvestmentRamhandsomeandcool
The Dhandho Investor


  • The Dhandho Investor คือ กลยุทธ์การลงทุนแบบมีความเสี่ยงต่ำแต่ให้ผลตอบแทนสูง


    หลักการ 9 ข้อ

    1.มุ่งเน้นไปที่การซื้อธุรกิจซึ่งมีการดำเนินงานอยู่แล้ว

    นั่นมีหลายวิธี ทั้งการซื้อทั้งกิจการต่อจากผู้อื่น การร่วมลงทุนในStartup การลงทุนในหุ้น และอื่นๆอีกมากมาย แต่จากอดีตที่ผ่านมาพบว่าในระยะยาว การลงทุนในหุ้นคือการลงทุนที่ดีที่สุดเมื่อเทียบกับวิิธีัและสินทรัพย์ประเภทอื่นๆ (แต่ต้องเลือกหุ้นให้เป็นด้วย) 
    ซึ่งการลงทุนในตลาดหุ้นมีข้อดีเหนือกว่าการซื้อบริษัททั้งบริษัทอยู่ 6 ข้อ 
    - ถ้าซื้อกิจการทั้งหมด เราจะต้องบริหารหรือไม่ก็ต้องหาคนที่มีความสามารถมาบริหารบริษัท
    - การซื้อหุ้น เราจะได้เป็นเจ้าของส่วนหนึ่งของกิจการนั้นๆ แล้วยังมีผู้บริหารและการดำเนินงานอยู่แล้ว สภาพคล่องการซื้อขายหุ้นก็สูงด้วย
    - การซื้อขายกิจการ ทั้งสองฝ่ายมักจะรู้ว่า ราคาที่เหมาะสมเป็นเท่าไหร่ แม้บางครั้งที่บริษัทหรืออุตสาหกรรมอยู่ในภาวะลำบาก ผู้ซื้อก็จะได้สินทรัพย์ในราคาถูก (ถือเป็นข้อดีสำหรับคนที่เห็นโอกาส)
    - การซื้อหุ้นเริ่มต้นด้วยเงินก้อนเล็กๆได้
    - มีบริษัทให้เลือกซื้อเยอะแยะ
    - ต้นทุนในการเป็นเจ้าของกิจการต่ำ เสียค่าคอมมิชชั่นนิดหน่อย

    2.ซื้อธุรกิจเรียบง่ายในอุตสาหกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงน้อยมาก

    ▪️มูลค่าที่แท้จริงของธุรกิจ คำนวณจากการนำกระแสเงินสดไหลเข้าและออก มาคิดลดด้วยอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสม
    Ex

    ปี กระแสเงินสดอิสระ มูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดในอนาคต (10%)
    2007 100,000 90,909
    2008 100,000 82,645
    2009 100,000 75,131
    2010 100,000 68,301
    2011 100,000 62,092
    2012 100,000 56,447
    2013 100,000 51,315
    2014 100,000 46,650
    2015 100,000 42,410
    2016 100,000 38,554
    2017 ราคาขาย 400000 154,217
    รวม 774,701
    ถ้าราคาเสนอขายต่ำกว่า774,701 ก็ควรซื้อ (แต่ก็ควรซื้อที่ราคาต่ำลงไปอีก เพราะเผื่อส่วนความปลอดภัย) 
    ▪️ราคาตลาดต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงของบริษัทอย่างมาก ---> ควรซื้อหุ้นของบริษัทนั้น
    ▪️วิธีนี้ใช้ได้กับธุรกิจที่เรียบง่ายไม่ซับซ้อน เช่น อาหาร โรงแรม ค้าปลีกอื่นๆ เป็นต้น เพราะจะคำนวณกำไรได้ไม่ยาก
    ▪️ธุรกิจที่ซับซ้อนก็คือพวกเทคโนโลยี เพราะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

    3.ซื้อธุรกิจที่มีปัญหาในอุตสาหกรรมซึ่งกำลังอยู่ในภาวะยากลำบาก

    ▪️โดยส่วนใหญ่ตลาดมีประสิทธิภาพแต่ไม่ใช่ตลอด (และนั่นคือโอกาส)
    ▪️อ่านหนังสือพิมพ์ธุรกิจเพื่อติดตามข่าวสาร (เพิ่มเติมอ่านหนังสือ The Little Book That Beats the Market) ว่าบริษัทหรืออุตสาหกรรมไหนกำลังแย่ อาจเป็นโอกาสในการซื้อของถูก
    ▪️ตัดธุรกิจที่ซับซ้อนและไม่อยู่ในความเข้าใจของเรา
    เพิ่มเติมเอง เช่น KTB ก็มีปัญหาเรื่องลูกหนี้ EARTH ช่วงนั้นราคาตกแต่สุดท้ายก็กลับมาเป็นเหมือนเดิม หรือ AOT ที่เคยมีปัญหาเรื่องการเมือง มีการปิดสนามบิน รวมถึงคนเดินทางน้อยลงในช่วงนั้น ก็ทำให้ราคาตกอย่างหนักเช่นกัน และปัจจุบันราคาก็เพิ่มขึ้นไปมาก 
    เพิ่มเติมเอง Part 2 การซื้อธุรกิจในอุตสาหกรรมที่มีปัญหาต้องดูให้ดีว่ากิจการมีการปรับตัวอย่างไรด้วย เช่น Se-ed ที่มีการปรับตัวไปจากการขายหนังสือไปขายพวก Non-book มากขึ้น ก็เห็นได้ว่ามีการปรับตัวที่ผิด ซึ่งต่างจาก RS ที่ได้เปลี่ยนแผนธุรกิจมาเน้นกลุ่มเครื่องสำอาง เกิดจากการได้เห็นโอกาสจากการที่ได้ลองเข้าสู่ตลาดได้สำเร็จ ก็จากตัวอย่างก็เห็นแล้วว่าไม่ใช่จะซื้อได้ทุกกิจการ ต้องวิเคราะห์ให้ดีๆก่อน
     Lifestar BiZ ธุรกิจสุขภาพและความงาม ของ RS

    4.ซื้อธุรกิจที่มีความได้เปรียบเชิงแข่งขันอันยั่งยืน

    ▪️Ex ต้นทุน สิทธิพิเศษจากกฎหมาย เชิงความรู้สึก เป็นต้น
    ▪️ดูได้จากงบการเงิน ผลตอบแทนต่อเงินลงทุน กระแสเงินสดอิสระ
    ▪️ควรคำนวณกระแสเงินสดคิดลดไม่เกิน 10 ปี และราคาขายของบริษัทในปีที่10 ไม่ควรเกิน15เท่าของกระแสเงินสดในตอนนั้น (บวกเงินสดส่วนเกินของบริษัท)
    เพิ่มเติมเอง อยากรู้ว่าความได้เปรียบเชิงการแข่งขันคืออะไร ต้องอ่านเล่มนี้เพิ่มเติม


    5.เดิมพันหนักๆเมื่อเรามีแต้มต่ออย่างชัดเจน

    ▪️เมื่อเจอบริษัทหรืออุตสาหกรรมใดที่เกิดวิกฤตแล้วเราวิเคราะห์แล้วว่าจะกลับมาดี (ราคาหุ้นจะตกลงมาก แสดงให้เห็นว่าตลาดไม่ได้มีประสิทธิภาพตลอด) ให้ลงทุนไปเยอะๆเลย(ใช้ Kelly Formula ถ้าต้องการเปอร์เซ็นต์การลงทุนที่ชัดเจน)
    วิธีการใช้ Kelly Formula
    https://library.jitta.com/th/blogs/calculating-investment-proportions-with-loss-chance-th?fbclid=IwAR32zZWRsNuQKwm28O7SHJqRj1fEn18lzNWvoBkEoXje7JxGnPRcu1HZ19Y

    6.มองหาโอกาสทำอาร์บิทราจ

    มี4รูปแบบ
    ▪️การทำอาร์บิทราจสินค้าโภคภัณฑ์
    เช่น ทองคำซื้อขายที่ตลาดลอนดอนที่600 ดอลลาร์ต่อออนซ์ และเปลี่ยนมือกันที่ออนซ์ละ610 ดอลลาร์ในนิวยอร์ค ทำกำไรจากส่วนต่าง
    ▪️การทำอาร์บิทราจหุ้นที่มีความเกี่ยวข้องกัน
    ในไทยยังไม่มีหุ้นในรูปแบบนี้
    ▪️การทำอาร์บิทราจการควบรวมกิจการ
    เมื่อบริษัท A ประกาศ ว่าจะซื้อบริษัท B ที่ราคาหนึ่ง ก็ขายทำกำไรจากผลต่างที่ซื้อมากับราคาที่บริษัท A เสนอ
    ▪️การทำอาร์บิทราจแบบ Dhandho
    คือเป็นประเมินการเข้ามาของคู่แข่งใหม่ยากหรือไม่ ถ้ายากช่องว่างอาร์บิทราจก็กว้าง ซึ่งเป็นสิ่งที่ดี และเราควรประเมินว่า ช่องว่างการทำธุรกิจนั้นๆจะอยู่ได้นานแค่ไหนด้วย
    (ไม่ง่ายเลยที่จะสามารถทำอาร์บิทราจในเวลานี้ได้)

    7.ซื้อธุรกิจในราคาที่ต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงอย่างมาก

    ▪️ใช้ Kelly Formula ในการคำนวณเงินที่จะลงทุน
    ▪️ส่วนเผื่อเพื่อความปลอดภัย ต้องซื้อธุรกิจที่ราคาตลาดอยู่ในระดับต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงแบบอนุรักษ์นิยมมาก (น้อยกว่า1/2ยิ่งดี)
    เพิ่มเติมเอง ส่วนนี้สำคัญมาก เพราะยิ่งซื้อที่ราคาถูกมากเท่าใด อัตราผลตอบแทนก็จะมากขึ้นเท่านั้น แต่ถ้าราคาหุ้น +แค่1-3%จากราคาที่จะซื้อก็ซื้อไปเลย อย่าไปเกี่ยงราคา เพราะบางทีราคาหุ้นอาจจะขึ้นไปเรื่อยๆจนเราไม่กล้าซื้อ

    8.มองหาธุรกิจที่มีความเสี่ยงต่ำแต่มีความไม่แน่นอนสูง

    คือธุรกิจที่ไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลงบ่อยแต่มีปัจจัยที่ส่งผลต่อการประกอบการเยอะ
    ?ธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงบ่อย เช่น พวกเทคโนโลยี
    เหตุผลว่าทำไมต้องเลือกธุรกิจที่มีความเสี่ยงต่ำแต่ไม่มีความแน่นอนสูง เพราะส่วนใหญ่แล้วราคาหุ้นกลุ่มนี้มักมีราคาที่ต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง เนื่องจากตลาดเกลียดความไม่แน่นอนและจะแสดงความเกลียดโดยการเทขายหุ้น จึงทำให้มีโอกาสสูงที่เราจะได้หุ้นในราคาถูกซึ่งสร้างผลตอบแทนที่ดี

    9.การเลียนแบบดีกว่าการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ

    Ex ▪️McDonald's เรย์ ครอคซื้อสิทธิการใช้ชื่อและข้อมูลการดำเนินงานธุรกิจร้านแฮมเบอร์เกอร์ของพี่น้องตระกูลแมคโดนัลด์มาต่อยอดโดยแทบไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไรเลย
    อยากรู้รายละเอียดมากกว่านี้ก็ดูจากหนังละกัน
    ▪️Microsoft ก็ลอกเลียนแบบโปรแกรมจาก Apple 
    macintosh ของApple ทำให้บิลเกตส์นำแนวคิดมาใช้กับนวัตกรรมของตนเอง

    สรุป การเลียนแบบจะเสี่ยงน้อยกว่า เพราะสิ่งที่เป็นต้นแบบได้รับการพิสูจน์แล้วว่าใช้ได้จริง ดังนั้นไม่ต้องกลัวเลยว่าจะล้มเหลว
    ความเห็นส่วนตัว มองได้ 2 มุมมอง จริงอยู่ที่ว่าการลอกเลียนแบบมีความปลอดภัยกว่าการสร้างสรรค์เอง แต่หากการสร้างสรรค์เองประสบความสำเร็จก็จะได้ผลตอบแทนที่มหาศาล เช่น Apple ที่สร้าง IPod IPhone สำเร็จจนสามารถดึงส่วนแบ่งการตลาดจากคู่แข่งอื่นๆและสร้างกำไรจากการเป็นผู้นำของธุรกิจ เราจึงคิดว่าบริษัทที่ดีก็ควรจะมีค่าใช้จ่ายสำหรับResearch & Development เพื่อการสร้างความแตกต่างและตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าในอนาคต

    จบ

Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in