สวัสดีค่า クマグミ กลับมาจากสงครามสอบ final แล้วว เย่555555 (ノ◕ヮ◕)ノ*.✧ เรานำบทเรียนในคาบ App Jp Ling มาฝากันอีกแล้วค่ะ ในครั้งนี้เกี่ยวกับการเล่าเรื่องเป็นภาษาญี่ปุ่น คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับหลาย ๆ คนนะคะ ไม่แน่ว่าอ่านบทความนี้จบแล้วอาจจะเล่าเรื่องทั้งภาษาไทยและภาษาญี่ปุ่นได้ดีขึ้นก็ได้นา?
การเล่าเรื่อง หรือ story telling นั้นฟังดูเหมือนเป็นสิ่งง่าย ๆ ที่ใครก็ทำได้ใช่ไหมคะ แต่ในความเป็นจริงถ้ายังไม่รู้ว่าการเล่าเรื่องที่ดีเป็นยังไงหรือขั้นตอนควรเป็นแบบไหน ก็อาจทำให้เรื่องเข้าใจยาก และไม่สามารถถ่ายทอดเรื่องราวไปสู่ผู้ฟังได้อย่างครบถ้วนค่ะ แล้วถ้าเล่าเป็นภาษาญี่ปุ่นอีกเนี่ย อาจจะยิ่งสับสนเลยว่าควรเริ่มตรงไหนยังไงดี
ดังนั้นก่อนที่เราจะลองเล่าเรื่องเป็นภาษาญี่ปุ่นกัน เพื่อให้เรื่องเล่าของเราทั้ง “เข้าใจง่าย” และ “สนุก” เรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ โครงสร้างของเรื่องเล่า และ เทคนิคการเล่าเรื่อง กันก่อนดีกว่าค่า
✏️โครงสร้างของเรื่องเล่า✏️
โครงสร้างที่จะมาแนะนำในวันนี้เรียกว่า
3 Act Structure หรือ
โครงสร้าง 3 องก์ค่ะ เป็นโครงสร้างการเล่าเรื่องที่สามารถนำไปใช้กับบทละคร นิยาย หรือการ์ตูนก็ได้เช่นกัน การแบ่งเรื่องแบบนี้จะช่วยให้เราเห็นภาพรวมของเรื่องที่จะเล่า และช่วยให้เรื่องเข้าใจง่ายขึ้นด้วยค่ะ ซึ่งโครสร้างนี้จะแบ่งเนื้อเรื่องออกเป็น 3 ส่วนดังนี้
ส่วนที่ 1 – การปูเรื่อง ในส่วนนี้จะเป็นการอธิบายว่าใครกำลังทำอะไร อยู่ในสถานการณ์แบบไหน และมีปมเรื่องอะไรค่ะ
ส่วนที่ 2 – การดำเนินเรื่อง ในส่วนนี้ก็จะเป็นการลงรายละเอียดว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง ดำเนินไปในทิศทางไหนต่อ และแก้ปมปัญหาในเรื่องอย่างไร
ส่วนที่ 3 – บทสรุป ส่วนนี้จะเป็นส่วนสุดท้ายของเรื่องและเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดด้วยค่ะ เพราะนอกจากปมปัญหาจะคลี่คลายในส่วนนี้แล้ว ก็ต้องเป็นส่วนที่ทำให้ผู้ชม/ผู้ฟัง/ผู้อ่านเข้าใจแล้วว่า "เรื่องทั้งหมดเป็นยังไง” นั่นเองค่ะ
คร่าว ๆ ก็ประมาณนี้น้า ขอไม่ลงรายละเอียดเยอะนะคะ เพราะแค่อยากให้รู้ว่าโครงสร้างคร่าว ๆ ควรจะเป็นยังไง จะได้จัดลำดับเรื่องเล่ากันง่ายขึ้น ถ้าสนใจก็ลองเข้าไปอ่านเพิ่มเติมในลิงก์ด้านล่างได้นะคะ
?เทคนิคการเล่าเรื่องให้น่าสนใจ?
ถ้ารู้แค่เรื่องโครงสร้างอย่างเดียว การเล่าเรื่องก็อาจจะไม่ได้สนุกและเข้าใจง่ายตามที่เราคิดใช่ไหมล่ะคะ งั้นเราลองไปดูเทคนิคการเล่าเรื่องให้น่าสนใจที่เราได้มาจากการเรียนในคาบกันค่า
1. เรื่องควรมีความสมจริง – การที่เรื่องมีความสมจริง หรือ
リアリティがある อยู่บ้างจะช่วยให้เรื่องของเราสามารถคิดตามได้ง่ายขึ้น ไม่ต้องใช้เวลามากในการทำความเข้าใจค่ะ
2. มีลักษณะเฉพาะตัวของเรา – ถ้าเรื่องมีความ 個性的 หรือแสดงให้เห็นลักษณะเฉพาะในการเล่าเรื่องของเรา ก็จะยิ่งทำให้เรื่องน่าสนใจขึ้นได้ค่ะ
3. ชื่อเรื่องและตอนเปิดเรื่องก็สำคัญ – นอกจากการใส่รายละเอียดต่าง ๆ ในเนื้อเรื่องแล้ว การตั้งชื่อเรื่องที่ดีก็ช่วยให้เรื่องน่าสนใจขึ้น และถ้าในตอนเปิดเรื่องมีการปูเรื่องที่ดี ก็จะทำให้ผู้อ่าน/ผู้ฟังอยากติดตามเนื้อเรื่องไปจนจบนั่นเองค่ะ
4. จุด climax ของเรื่อง – ก่อนที่จะถึงจุด climax หรือจุดสำคัญของเรื่อง ควรไปแบบช้า ๆ ชัด ๆ ค่ะ เพื่อที่ตอนถึง climax แล้วจะได้ไม่เกิดอาการงงหรือตามไม่ทัน และเรื่องของเราก็จะฟังดูว้าวขึ้นมากเลยค่ะ
5. จบแบบหักมุม – ทุกคนน่าจะเคยเห็นเรื่องแบบนี้มาบ้างแล้วใช่ไหมคะ55555 การจบแบบหักมุมหรือมีสิ่งที่เหนือความคาดหมาย (意外性) ก็ทำให้เรื่องราวของเราดูมีลูกเล่นมากขึ้นได้ค่ะ
6. ตอนจบสำคัญมาก – ข้อนี้คล้ายกับที่บอกไปตอนอธิบายโครงสร้างเลยค่ะ ในตอนจบผู้ฟัง/ผู้อ่านควรจะเข้าใจแล้วว่าเรื่องของเราต้องการจะสื่ออะไร ถึงแม้จะปูเรื่องมาเป็นอย่างดี ถ้าจบแบบงง ๆ ก็อาจทำให้เรื่องทั้งหมดของเราดูเป็นเรื่องที่เล่าได้ไม่ดีไปเลยค่ะ
?เรื่องเล่าที่ดีหน้าตาเป็นแบบไหน??
ในเมื่อตอนนี้เรารู้แล้วว่าการเล่าเรื่องให้สนุกและเข้าใจง่ายควรทำยังไงบ้าง เราลองเอาเทคนิคเหล่านี้มาใช้เล่าเรื่องเป็นภาษาญี่ปุ่นกันเถอะ!
ภาพนี้ชื่อว่า 外国人 ค่ะ เป็นภาพที่ใช้จริงในการสำรวจว่า คนญี่ปุ่นคิดว่าการเล่าเรื่องแบบไหนเป็นการเล่าที่ดีค่ะ ในแบบสำรวจนี้จะให้ผู้ทำแบบสำรวจอ่านเรื่องเล่าเกี่ยวกับภาพนี้จากผู้เล่า 8 คน และโหวตว่าการเล่าเรื่องแบบไหนที่เข้าใจง่ายและดีที่สุดค่ะ
แต่ก่อนที่จะไปดูตัวอย่างการเล่าเรื่องที่ดี อยากให้ทุกคนลองเล่าเรื่องและอัดเสียงเก็บไว้ หรือ เขียนเรื่องจากภาพนี้ตามสไตล์ของตัวเองกันดูค่ะ จะได้เห็นว่าการเล่าเรื่องของเรามีอะไรที่แตกต่างไปจากตัวอย่างการเล่าเรื่องที่ดีต่อไปนี้บ้าง เอ้ออ แล้วก็ห้ามแอบดูก่อนด้วยนะคะ เสร็จแล้วค่อยเลื่อนลงไปน้า
ขอขั้นด้วยรูปตามเคยค่ะ5555
.
.
.
(ไม่ได้เลื่อนลงมาแอบดูใช่ไหมน้า ?)
ด้านล่างเป็นเรื่องเล่าซึ่งได้รับการโหวตว่าเป็นการเล่าเรื่องที่ดีและเข้าใจง่ายที่สุด จากเรื่องของผู่เล่าทั้งหมด 8 คนค่ะ
ペエスケはホテルに来ている。ロビーにあるソファーに座り、特に何をするでもなく ボーッとしている。同じソファーには新聞を読むおじさんも座っている。ペエスケはふと 視線を移すと、地図を手に持った外国人のおじさんと目が合った。どうやら日本に旅行に 来た人らしい。すると突然そのおじさんはにっこり笑い、何か頼みごとをしたそうな表情 でペエスケに歩み寄ってきた。地図を広げているところを見ると、道でも聞きたいのだろうか。「やばい!」日本人はどうにかしてその場をやりすごし、面倒が起こる前に逃げた くなるだろう。ペエスケも例にもれずそんな日本人である。とっさにペエスケはある行動 に出た。隣に座っているおじさんが読んでいる新聞のかげに隠れてしまったのだ。おじさ んもいきなり自分の胸の中に入ってきた小さな男にびっくり。外国人のおじさんも言葉を 失っていた。
ซึ่งเหตุผลของคนที่โหวตเรื่องนี้เป็นเรื่องที่เข้าใจง่ายสุดก็คือ เรื่องนี้มีการอธิบายฉากและสถานการณ์ในเรื่องว่าอยู่ที่ไหน และมีใครอยู่บ้าง อีกทั้งยังแยกตัวละครทั้ง 3 ตัวได้อย่างชัดเจน จึงทำให้ไม่สับสนว่าใครเป็นใคร แล้วก็มีการอธิบายว่าเหตุการณ์ต่าง ๆ ในเรื่องเกิดจากสาเหตุอะไร และการเล่าเรื่องโดยใส่มุมมองของตัวละครทั้ง 3 รวมไปถึงอารมณ์ความรู้สึกของตัวละคร ก็ช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจเรื่องและเห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น แม้จะไม่เคยดูภาพนี้มาก่อนก็ตามค่ะ
เป็นยังไงกันบ้างคะ พอได้เห็นการเล่าเรื่องของคนญี่ปุ่นแล้วพอจะเห็นจุดที่แตกต่างกับเรื่องเล่าของตัวเองกันบ้างรึเปล่า คราวหน้าเราจะมาดูกันว่าความแตกต่างในการเล่าเรื่องของคนไทยกับคนญี่ปุ่นมีอะไรบ้าง และเราควรจะปรับการเล่าเรื่องของเรายังไง ถึงจะเล่าได้ใกล้เคียงกับคนญี่ปุ่นค่ะ
อย่าลืมติดตามกันด้วยน้า เจอกัน part 2 ค่า?
クマグミ
สรุปคำศัพท์
リアリティ = ความเป็นจริง
個性的 (こせいてき) = ที่มีเอกลักษณะเฉพาะตัว
意外性 (いがいせい) = สิ่งที่ไม่ได้คาดคิด/อยู่นอกเหนือความคาดหมาย
外国人 (がいこくじん) = คนต่างชาติ
座る (すわる) = นั่ง
特に (とくに) = เป็นพิเศษ/โดยเฉพาะ
ボーッとする = เหม่อ/ใจลอย
同じ (おなじ) = เหมือน/คล้าย
新聞 (しんぶん) = หนังสือพิมพ์
視線を移す (しせんをうつす) = เหลือบมอง
地図 (ちず) = แผนที่
手に持つ (てにもつ) = ถือในมือ
目が合う (めがあう) = สบตากัน
旅行 (りょこう) = การท่องเที่ยว
突然 (とつぜん) = จู่ ๆ /อย่างกะทันหัน
笑う (わらう) = ยิ้ม
頼む (たのむ) = ขอร้อง
表情 (ひょうじょう) = สีหน้า
歩み寄る (あゆみよる) = เดินเข้าใกล้
広げる (ひろげる) = กางออก
道 (みち) = ถนน
どうにかして = ทำอะไรสักอย่าง/ทำอย่างไรก็ได้ (เพื่อให้...)
その場をやりすごす (そのばをやりすごす) = หนีจากสถานการณ์นั้น
面倒が起こる (めんどうがおこる) = เกิดความยุ่งยาก/ลำบาก
逃げる (にげる) = หนี
例に漏れず (れいにもれず) = โดยไม่มีข้อยกเว้น
とっさに = อย่างรวดเร็ว
行動 (こうどう) = การกระทำ/พฤติกรรม
隠れる (かくれる) = ซ่อน
いきなり = ในทันที/จู่ ๆ
自分 (じぶん) = ตัวเอง
胸 (むね) = อก
びっくり = ตกใจ
言葉を 失う (ことばをうしなう) = อึ้ง/พูดไม่ออก
Source:
http://moviediy.net/home/2018/screenwriting/โครงสร้างแบบ-3-องก์-3-act-structure/
https://tvtropes.org/pmwiki/pmwiki.php/Main/ThreeActStructure
https://blog.reedsy.com/guide/story-structure/three-act-structure/
เอกสารประกอบการเรียนเรื่อง Storytelling
近藤めぐみ 2014「「語り」において「話題に対する自分の態度を示す」重要性―日本語母語話者と学習者のストーリーテリングからみ る一考察―」 2223742言語習得入門レポート
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in