เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
สามล้อถีบ คนไทยไม่พูดถึงWe Hello
สามล้อถีบ คนไทยไม่พูดถึง ตอน 3 : เพราะสามล้อถีบ แท็กซี่ต้องติดมิเตอร์
  • รถสามล้อถีบอยู่คู่กรุงเทพฯ จนมาถึงปีพ.ศ. 2500 รถสามล้อถีบเริ่มถูกมองว่า เป็นปัญหาของชาวกรุงเทพฯ ทั้งปัญหาสภาพแวดล้อมของกรุงเทพฯเพราะคนอพยพมาจากต่างจังหวัด (มากที่สุดคือภาคอีสาน ) มารับจ้างถีบสามล้อ แล้วสร้างที่อยู่อาศัยเป็นกระต๊อบทั่วกรุงเทพฯทำให้บ้านเมืองในกรุงรกรุงรัง ดูไม่สะอาดเรียบร้อย[1]อีกหนึ่งปัญหา คือ ปัญหาการจราจรบนท้องถนน เพราะรถสามล้อมีมากถึงหมื่นคันเต็มท้องถนนทั่วกรุงเทพฯ มาใช้ถนนร่วมกับรถยนต์ ส่งผลให้จราจรติดขัด

    ทำให้ในปี พ.ศ. 2503รัฐบาลของจอมพลสฤษดิ์ ประกาศยกเลิกสามล้อในกรุงเทพฯ และปริมณฑลสาเหตุเพราะปัญหาการจราจรในกรุงเทพฯ ขับคั่ง สืบเนื่องมาจาก การเจริญเติมโตของเศรษฐกิจทำให้คนเริ่มใช้รถยนต์มากยิ่งขึ้น กลับส่งผลให้ ปัญหาระหว่างรถสามล้อกับรถยนต์มักเกิดปัญหากันบ่อยๆ รัฐบาลของจอมพลสฤษดิ์ ได้ประกาศผ่านคำปราศรัยในวันครบรอบปีแห่งการตั้งคณะรัฐมนตรี  หัวข้อว่า “ห้ามสามล้อ” จอมพลพลสฤษดิ์ ยืนยันว่าให้คนถีบสามล้อกลับไปทำนากันตามเดิม[2]  ให้คำมั่นกับประชนและคนประกอบอาชีพสามล้อถีบว่า “ในช่วงคณะนี้สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ กลุ่มกสิกรรม”

     

                “…กสิกรรมเป็นวิถีทางอันแน่นอนที่สุดจะให้คนเรามีชีวิตเป็นหลักฐานมั่นคงเป็นอิสระแก่ตัว ช่วยตัวเองได้ ไม่ต้องพึ่งอาศัยผู้อื่นเสมอไป ที่พูดกันว่า “ตั้งตัว” นั้นเราตั้งตัวในทางกสิกรรมเป็นความแน่นอนมากกว่าทางอื่น...เคหะสถานแม้ไม่อยู่ในสภาพยากจนยังมีความสุขความร่มเย็นเพราะเป็นที่ของเราเอง แต่ก่อนมารับความเข้าใจกันว่าชีวิตกสิกรรมเป็นชีวิตที่ต้อยต่ำไม่มีทางรุ่งเรืองก้าวหน้าหรือมั่นคั่งใหญ่โตอะไรมาถึงสมัยนี้สภาพการณ์ได้เปลี่ยนไปเป็นอันมาก เนื่องจากวิชาการเกษตรได้ก้าวหน้าไปมากกสิกรรมจะบันดาลความมั่นคง...โลกได้ให้เกียรติแก่กสิกรรมมากขึ้นทุกทีชาติถือว่ากสิกรเป็นส่วนสำคัญที่สุด เรียกกันว่า กระดูกสันหลังของชาติเป็นผู้หล่อเลี้ยงชาติ...รัฐบาลและโดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวข้าพเจ้าเองได้ให้ความเอาใจใส่แก่กสิกรเป็นอย่างยิ่งพยายามบำรุงให้ความสนับสนุนด้วยความการสร้างเสริมชลประทายด้วยโครงการขุดบ่อน้ำปรับปรุงและเพิ่มทางคมนาคมการสาธารณสุข พัฒนาท้องถิ่น เพื่อบำรุงความเป็นอยู่ของกสิกรให้ดียิ่งขึ้นทุกทีแต่กสิกรทั้งหลายมีมากมาย ทำให้เห็นผลทันทีทันใดทั่วไปทังหมดไม่ได้ต้องทำเป็นโครงการใหญ่ ต้องใช้เวลาและเงินทองมาก แต่เป็นความตั้งใจอันเด็ดเดี่ยวแน่นอนของข้าพเจ้าผดุงชีวิตและความผาสุกของกสิกรให้มากที่สุดที่ข้าพเจ้าจะทำได้...”[3]

     

    วันที่ 1 มกราคมพ.ศ. 2503  อาชีพสามล้อถีบถูกยกเลิก เริ่มยกเลิกการจดทะเบียน
    ในเขตกรุงเพทฯ และธนบุรี บังคับให้โอนทะเบียนไปอยู่ต่างจังหวัดแทน ให้เหตุผลการยกเลิกสามล้อว่าเพื่อลดปัญหาจราจร,ปัญหาจากการอพยพของคนต่างจังหวัดเข้ามาประกอบอาชีพถีบสามล้อ, ปัญหาความสะอาด,และความเป็นระเบียบของบ้านเมือง แต่การยกเลิกรถสามล้อรัฐบาลได้รองรับกลุ่มอาชีพสามล้อ จัดหางานตามต่างจังหวัดต่างๆ ทำให้อาชีพสามล้อเริ่มกระจายไปต่างจังหวัดส่วนคนไม่ทำอาชีพสามล้อถีบ กลับบ้านเกิดไปประกอบอาชีพอื่นๆ แทน

    หลังยกเลิกสามล้อถีบไม่นาน มีรถยนต์และพาหนะต่างๆเข้ามาแทนที่รถสามล้อถีบ ได้แก่ รถสามล้อเครื่อง และรถแท็กซี่ อย่างรถแท็กซี่ หลังรัฐบาลประกาศยกเลิกสามล้อ ปรากฏว่ารถแท็กซี่ขับรถเร็วมากเพราะถนนไม่จอแจ แค่ 4 วัน รถแท็กซี่ชนกันเองและชนรถคันอื่น รวมทั้งหมด 40 ราย แท็กซี่ยังโกงค่าโดยสารทำให้ทางราชการสั่งให้แท็กซี่ติดมิเตอร์ทุกคัน ดังข่าวออกมาว่า“หลังรัฐบาลประกาศยกเลิกสามล้อในปีพ.ศ. 2503” ในหนังสือพิมพ์ สารเสรี เขียนข่าวใน วันที่ 7มกราคม 2503 ดังนี้ว่า

     

    “...หลังเลิกรถสามล้อในกรุงเทพฯ เพื่อมิให้จราจรคับคั่งและให้สามล้อมีอาชีพที่ดีกว่านี้ไปแล้ว ปัญหาที่ตามมาคือรถแท็กซี่ขับรถเร็วมาก(เพราะถนนไม่จอแจ) แค่วันที่ 1-4 นี้ปรากฏว่ารถแท็กซี่ชนกันเองและชนรถอื่นด้วยตั้ง 40 รายแถมแท็กซี่ยังฉวยโอกาสขึ้นค่าโดยสารด้วยผลการพิจารณาแล้วทางราชการ สั่งให้แท็กซี่ติดมิเตอร์ต่อไป...”[4]



      [1] เล่มเดียวกัน. หน้า 157.

    [2]ทักษ์ เฉลิมเตียรณ. การเมืองระบบพ่อขุนอุปถัมภ์แบบเผด็จการ,กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2526, หน้า276.

    [3] เล่มเดียวกัน. หน้า 276.

    [4] เล่มเดียวกัน. หน้า 187.

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in