เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
บันทึกน้อยๆNarut Sirithip
อนาคต จะเหลืออะไรให้ทำ
  •      เคยอ่านในหนังสือ 21lesson มีการพูดถึง AI หรือ ROBOT ที่จะเข้ามาแทนที่มนุษย์ แทนที่ในที่นี้ไม่ได้มาฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ แต่มาเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์เรานี่แหละครับ 

        ตอบสนองยังไง ไม่มีใครอยากทำงานหนัก อยากใช้แรงงาน robot ก็จะเข้ามาทำแทน คนเราขี้เกียจตรวจ ขี้กียจมานั่งเฝ้า มา key งาน มันก็จะเข้ามาทดแทนในรูปแบบเครื่องทุ่นแรง 

        นายจ้างต้องการแรงงานที่ไม่ต้องมาดูแลตามกฏหมาย มันก็จะเข้ามาแทน จ่ายแพงครั้งเดียวแต่ไม่ต้องมาฟังมันบ่น หรือเข้าออก ไม่ต้องกลัวมันทุจริต (กรณีไม่โดน hack) ฟังแบบนี้ กลายเป็นว่าชนชั้นแรงงาน หรือ ระดับปฏิบัติการ ก็อาจเดือดเนื้อร้อนใจ เห้ย คอมมันจะเข้ามาแทนเราแล้ว เราจะตกงาน

         มั้ยนะ รู้งี้ตั้งใจเรียนไปเป็นหมอ ไปเป็นทนายความ หรืออาชีพเฉพาะทาง ก็ดี ซึ่งก็ต้องบอกว่าเป็นไปไม่ได้เพราะมันย้อนเวลาไม่ได้ และสำคัญกว่านั้น อาชีพเฉพาะทางเหล่านี้ก็ไม่ได้มั่นใจนักว่าในอนาคต จะไม่มี AI มาทดแทน ก็ในเมื่อ เราต้องจ่ายให้อาชีพเหล่านี้ด้วยความที่มันเป็นเฉพาะทาง มันยากที่จะเข้าใจ แต่มันอาจไม่ใช่เรื่องยากสำหรับคอม อาชีพเหล่านี้ที่พึ่งเพียงความรู้ ในอนาคตคอมก็ย่อมสามารถเรียนรู้ได้เช่นกัน เหตุจูงใจในการพัฒนาระบบ ทดแทนอาชีพเหล่านี้ก็สูงเนื่องจากทุกวันนี้ที่เราทุกคนต้องจ่ายให้กับอาชีพเหล่านี้เมื่อไปใช้บริการ 

           ดังนั้นเหตุจูงใจมีไว้แล้ว เทคโนโลยีก็น่าจะรอพร้อมแล้วก็คงเหลือ แต่การยอมรับของผู้คน ไปหาหมอคอมพิวเตอร์ได้มั้ย ทนายคอมตัดสินเราโอเคมั้ย (ทุกวันนี้มี ai โต้วาทีแล้วด้วยนะครับ) งั้นสบายใจหน่อย เราเป็นศิลปิน นักดนตรี นักร้อง จิตรกร นักสร้างคอนเทนต์ ซึ่ง นั่นเป็นอาชีพที่จะไม่มี AI ได้แน่ๆเพราะมันใช้อารมณ์ คอมไม่มีอารมณ์ดังนั้นนี่สิทางรอดของเรา ซึ่งก็ต้องขอแสดงความเสียใจด้วย 
             ทุกวันนี้ เราทุกคนก็สามารถวาดภาพสวยๆผ่านแป้นพิมพ์ได้แล้ว และสวยมากด้วย เราสามารถไปเซิดดู "MidJourney" 
              แต่งเพลง แต่งดนตรีเหรอ ai สามารถเรียนรู้ความนิยมของผู้คนผ่าน คลิปยูทูป หรือ โซเชียลได้ ว่าคนส่วนใหญ่ชอบเพลงไหน ฟังเพลงไหนมากกว่ากัน ทำนองจังหวะแบบไหน ภาษาคำร้องยังไง ทีู่้คนชอบ ลองเปลี่ยนลองแต่ง และแชร์ออกไปเพื่อทดสอบได้ และทำได้ไม่จำกัดด้วย เหมือนที่ศิลปินบางคนที่ทำ 100 เพลง ดังซัก 1 ก็ ดังขึ้นมา แต่สำคัญคือคอมทำ 100 เพลง ได้ภายในเวลาเร็วกว่าผู้คนหลายเท่า อาจไม่ถึง ชั่วโมง หรือ วินาที 

         งั้นก็ต้องเป็นผู้บริหาร การตัดสินใจอันนี้เองก็เช่นกันมันมีเหตุจูงใจในส่วนค่าจ้างมารองรับการพัฒนาอยู่แล้ว ความยากคือ การตัดสินใจมันต้องมาพร้อมกับการประมวลผลดึงตรงนู้นนี้มา ซึ่งถึงคอมมีข้อมูลมากกว่าเราเป็นล้านๆ แต่มันอาจประมวลและตัดสินใจสู้คนไม่ได้ ซึ่งถ้าควอนตัมคอมพิวเตอร์เกิดขึ้นมา (จริงๆเกิดมาแล้ว) ใช้ได้ทั่วไป พลังการประมวล จะมากกว่าปัจจุบันเป็นล้านเท่า ถึงตอนนั้นถ้ามันรู้การตัดสินใจทุกรูปแบบ นำตัวแปรทุกอย่างมาคิดได้ทั้งหมดนับล้านๆรูปแบบเหมือน dr.strang แล้วเลือก 1 วิธีที่ดีที่สุดออกมาได้ ภายในเวลาที่ทันท่วงที ถึงตอนนั้น ผู้บริหาร หรือผู้นำ ก็อาจไม่ได้จำเป็นอีก หรือแม้แต่การตัดสินใจในชีวิตเราก็อาจต้องโยนให้ AI ไปทั้งหมด แต่เราเองนั่นแหละจะยอมรับได้รึป่าวที่จะรับคำชี้แนะหรือคำสั่งจากคอม ( แต่ทุกวันนี้เราก็วิ่งตาม google map ลงนาได้อย่างไม่มีข้อโต้เถียงกันนะ ) 

        แล้วมันจะเหลืออะไรให้เราได้ทำหล่ะในอนาคต 

       เรื่องแรก ข้อดีของอนาคตคือไม่มีใครรู้แน่ชัด และ ทุกอย่างก็จะไม่เกิดขึ้นทันที มันจะค่อยๆไป อาจเปลี่ยนเร็วบ้าง ช้าบ้าง แต่จะไม่ใช่เพียงหลับตื่นเดียวแน่นอน ถ้าเราสามารถประครองชีวิต ยอมละทิ้งของเก่า เรียนรู้สิ่งใหม่ไปได้เรื่อยๆ นั่นอาจเป็นแนวทางรอดของเราได้ 

        จะเห็นว่าสิ่งที่ขัดขวาง AI มากที่สุดก็คือการยอมรับและผู้คน ดังนั้นถ้าคุณยังอยู่ในอาชีพที่ต้องยึดการยอมรับและใส่ใจกับผู้คนเป็นหลัก นั่นก็อาจเป็นสิ่งที่ AI เข้ามาทดแทนได้ยากที่สุด เช่น พยาบาลที่เอาใจใส่ผู้คน พนักงานต้อนรับที่มีความรู้สึก อาชีพบริการ ที่ ผู้คนยังคงต้องให้เป็นคนจริงๆทำมากกว่าหุ่นยนต์ ความผูกพันธ์ ยกตัวอย่างแบบให้เห็นภาพ สุนัข robot ถึงเหมือนสุนัขยังไงก็จะยังแตกต่างกับสุนัขโง่ๆที่อึไม่เป็นที่อยู่ดี

        ความเฉพาะเจาะจงแตกต่างก็อาจเป็นสิ่งหนึ่งที่ช่วยเราได้ เพราะคอมพิวเตอร์ มีความสามารถที่ จะคงอยู่ไปยืนยาวกว่าผู้คน และมีได้หลาย copy หรือมีได้ง่าย และไม่จำกัด ในระหว่างที่คนเรา สิ่งมีชีวิตเมื่อเทียบกับคอม คงมีชีวิตที่แสนสั้น มีความเป็นปัจเจก และสิ่งที่มีจำกัดนี้เองก็อาจทำให้เรายังมีคุณค่าอยู่

       อีกสิ่งที่ ยากสำหรับ AI ถึงแม้ AI จะเรียนรู้ได้ แต่ถ้ามันต้องเริ่มจาก 0 หรือไม่มีข้อมูล อะไร นั่นคือจุดที่ คน หรือ สิ่งมีชีวิตได้เปรียบ หรือก็คือความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ที่แท้จริง ทักษะ การต่อยอด พัฒนา จาก 1 ไป 2 ไปจน 100 เป็นทักษะหนึ่ง แต่การ เปลี่ยนจาก 0 ให้เป็น 1 นั้น เป็นอีกทักษะที่แตกต่างกันเลย อัลกอริทึ่ม มักมาจากข้อมูล ระบบ ขั้นตอน แต่ยังไม่มีอัลกอริทึ่มไหนที่เริ่มจากไม่มีอะไรเลย เช่น เจอน้ำ แล้วยังไง ในระหว่างที่คน เจอน้ำ เกิดเป็น บ่อน้ำ ถังน้ำ น้ำอัดลม ท่อน้ำ เครื่องดูดน้ำ สบู่เหลว สระว่ายน้ำ และอื่นๆอีกมากมาย และนั่นคือความต่างของ การเปลี่ยน 0 เป็น 1 กับการต่อยอดจาก 1 -> 100



Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in