Makers
Store
Log in
You don't have any notification yet.
See All
My Wallet
null
Library
Settings
Logout
เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ
นโยบายความเป็นส่วนตัว
เพื่อใช้บริการเว็บไซต์
ยอมรับ
ไม่ยอมรับ
จ-สระใอ-ใจ
–
Worakhun Boon
ตอนที่ 4 สติ
ก๊อก! ก๊อก!
ผมเคาะประตูบ้านพี่หนุ่ม สักพักพี่หนุ่มก็เดินมาเปิดประตู
"เข้ามานั่งข้างในก่อนสิ อาหารกำลังทำอยู่ เดี๋ยวคงจะเสร็จ"
ผมไม่ค่อยได้เข้ามาที่บ้านพี่หนุ่มบ่อยนัก ส่วนใหญ่จะเป็นเจ้าบ้านชวนพี่หนุ่มไปที่บ้านมากกว่า ผมเดินเข้าไปนั่งที่ตั่งไม้สัก เพิ่งสังเกตเห็นว่าบ้านพี่หนุ่มตกแต่งแบบเรียบง่าย เฟอร์นิเจอร์ส่วนใหญ่จะเป็นไม้ ทั้งไม้สัก ไม้แดง หรือไม้มะค่า มีชั้นหนังสืออยู่ด้านหนึ่งของห้องรับแขก ไม่เห็นมีโทรทัศน์ แต่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งอยู่หนึ่งตัว
พี่หนุ่มหยิบน้ำกระเจี๊ยบมาให้ผม พร้อมทั้งบอกว่าต้มเองกับมือ ผมคิดว่าพี่หนุ่มคงจะรับรู้ได้ว่าผมมีความกระตือรืนล้นอยากจะคุยกับพี่หนุ่มขนาดไหนเพราะผมมาก่อนเวลาตั้งครึ่งชั่วโมง แต่พี่หนุ่มก็ไว้หน้าผมไม่ถามเรื่องนี้ พี่หนุ่มชวนคุยเรื่องอากาศ เรื่องเส้นทาง เรื่องรถติดในกรุงเทพฯ เรื่องร้านอาหารที่มาเปิดใหม่แถวนี้ จนผมยังไม่มีโอกาสถามเรื่องสติ
"หนุ่ม ๆ อาหารพร้อมแล้ว เชิญที่โต๊ะอาหารเลยค่ะ" พี่อุ้มภรรยาพี่หนุ่มเรียกเราสองคน
ผมเดินไปที่โต๊ะอาหาร เห็นกับข้าววางอยู่สี่อย่าง มีแกงส้มไหลบัว วุ้นเส้นผัดไข่ ปลาทอด และ ไข่ลูกเขย พอนั่งที่โต๊ะผมก็แปลกใจว่าทำไมพี่อุ้มถึงจัดเอาช้อนมาวางทางซ้าย แล้วส้อมวางอยู่ทางขวา จะว่าพี่อุ้มถนัดซ้ายก็ไม่น่าจะใช่เพราะผมก็กินข้าวกับพี่หนุ่ม พี่อุ้มอยู่บ่อย ๆ ก็เห็นว่าถนัดมือขวา จนกระทั่งพี่หนุ่มเฉลยว่า
"จักร วันนี้เราจะมีกฎกติกาการกินอาหารเล็กน้อยนะ จักรถนัดมือขวาใช่ไหม" พี่หนุ่มเอ่ยขึ้น ผมพยักหน้าแบบงง ๆ
พี่หนุ่มจึงพูดต่อว่า"ข้อแรกเราจะกินอาหารโดยถือช้อนด้วยมือซ้าย และถือส้อมด้วยมือขวา ข้อสองคือหลังจากที่เราตักอาหารเข้าปากแล้วให้วางช้อนและส้อมจนกว่าจะเคี้ยวอาหารเสร็จจึงจะหยิบช้อนส้อมขึ้นมาอีกที"
ผมเดาว่ามันคงจะเกี่ยวข้องกับเรื่องสติ ก็เลยไม่ได้ถามอะไรต่อ
"แล้วระหว่างกินเราค่อยคุยกันเรื่องสตินะ" พี่หนุ่มไม่ได้ลืมเรื่องที่เราจะคุยกัน แต่ดูเหมือนจะให้ทดลองอะไรบางอย่าง
การใช้ช้อนด้วยมือซ้ายต้องอาศัยความระมัดระวังมากกว่าปกติ โดยเฉพาะอาหารมื้อนี้ที่ตักยากทั้งวุ้นเส้น ทั้งต้องแกะปลา ทั้งตักไหลบัวที่พี่อุ้มตัดยาวกว่าปกติที่เคยกิน ไหนจะไข่ลูกเขยที่ไม่ได้ผ่าครึ่งมา เสิร์ฟมาทั้งลูกเหมือนแกล้งกัน
"เป็นยังไงบ้าง กินข้าวด้วยมือซ้ายต้องใช้ความตั้งใจมากกว่าปกติที่กินข้าวด้วยมือขวาไหม" พี่หนุ่มถาม
"ต้องระมัดระวังมากเลยครับ" ผมตอบขณะตักอาหารเข้าปาก
"อ้าว! ตักอาหารเข้าปากแล้ววางช้อนด้วย อย่ามัวเตรียมอาหารคำต่อไปสิ อย่างนี้ก็ผิดกฎสิคะ" พี่อุ้มทัก
"ผมลืมตัวครับ มันคุ้นเคยกับการถือช้อนส้อมไว้ตลอดเพื่อเตรียมอาหารคำต่อไปให้พร้อมน่ะครับ" ผมตอบแบบเขิน ๆ
"อย่างนี้เค้าเรียกว่าขาดสติไง การทำอะไรตามความคุ้นเคย มักจะไม่มีสติคอยกำกับ การที่ให้เราวางช้อนส้อมทุกครั้ง ฝืนกับความเคยชิน เราจะได้มีสติระลึกถึงอาหารที่เคี้ยวในปาก ได้ลิ้มรสชาติที่แท้จริงของอาหาร แทนที่จะไปคิดว่าคำต่อไปจะกินกับข้าวอะไรดี อย่างนั้นก็เป็นการขาดสติเหมือนกันคือกำลังเคี้ยว แต่ใจไประลึกถึงอาหารคำต่อไป" พี่หนุ่มอธิบาย
"การใช้ช้อนด้วยมือซ้ายก็เช่นกัน เราต้องมีสติระลึกรู้ตลอดเวลาเพราะต้องคอยกำกับ พอจะเข้าใจการมีสติไหม" พี่หนุ่มถามขึ้น
"เข้าใจแบบเห็นชัดเลยครับ เมื่อเช้าที่พี่หนุ่มบอก ผมยังไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่ครับ ตอนนี้เห็นเลยว่ามีสติเป็นอย่างไร ไม่มีสติเป็นอย่างไรครับ"
"การเรียนเรื่องสติ ต้องอาศัยการปฏิบัติจริงจึงจะเข้าใจ การเรียนรู้แบบนี้เรียกว่ารู้จากการปฏิบัติจริง ไม่ใช่รู้จากการฟัง หรือรู้จากการคิดเอาเอง" พี่หนุ่มอธิบายพลางหยิบส้มมาจากบนโต๊ะหนึ่งลูก
"ถ้าผมถามจักรว่าส้มลูกนี้เปรี้ยวไหม จักรจะตอบว่าอย่างไร" พี่หนุ่มถาม
"ไม่ทราบครับ" ผมตอบ
"ถ้าผมบอกว่าส้มลูกนี้เปรี้ยว จักรจะเชื่อไหม" พี่หนุ่มถามอีก
"ต้องลองดูก่อนครับจึงจะรู้ว่าเปรี้ยวรึเปล่า" ผมตอบพร้อมกับเสริมว่า "อย่างนี้ต้องชิมเพื่อจะได้รู้จากการทำจริงใช่ไหมครับ"
พี่หนุ่มไม่ตอบ แต่หันไปหยิบมะนาวมาจากไหนไม่รู้หนึ่งลูก พร้อมกับถามว่า "ถ้าผมถามว่ามะนาวลูกนี้เปรี้ยวไหมล่ะ"
"ผมคงตอบว่าเปรี้ยวครับ"
"ทำไมล่ะ เพราะจักรเคยรู้มาก่อนว่ามะนาวเปรี้ยวใช่ไหม แต่มะนาวลูกที่จักรเคยชิมมันอาจจะไม่เหมือนกับลูกนี้ก็ได้ แต่เพราะเราเทียบเคียงเอาตามที่เราเคยรู้ อย่างนี้เค้าเรียกว่า "หมายรู้" อาจจะจริง หรือไม่จริงก็ได้ แต่มีโอกาสจริงได้สูง" พี่หนุ่มเสริมต่อว่า "การเรียนรู้สติก็เหมือนกัน บางคนเคยอ่านมาบ้างแล้ว พออธิบายไปก็หมายรู้ว่าสติคืออะไร แต่อาจจะถูกหรือไม่ถูกก็ได้ จึงต้องให้ทำจริง เห็นจริง เข้าใจจริง จึงจะไม่ถูกหลอกจากภาษา"
"หลอกจากภาษา?" ผมขึ้นเสียงสูงแสดงความสงสัย
"ใช่ เพราะเราสมมติภาษาขึ้นมาเพื่อสื่อสารกัน ภาษาไทยเรียกว่า "สติ" แต่ภาษาอังกฤษเรียกว่า "mindfulness" มันคืออาการเดียวกันแต่คนเรียกต่างกัน ในทางกลับกันคำเดียวกัน คนอาจจะอธิบายอาการได้ไม่เหมือนกันตามประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้มา แต่ถ้าจักรได้สัมผัสมันจริง ๆ จักรก็จะไม่สงสัยกับเรื่องสติ เวลามีคนพูดเรื่องสติ จักรก็จะเข้าใจตามความรู้ที่มี เมื่อฝึกฝนมากเข้า ความเข้าใจก็จะมากขึ้นอีกเป็นลำดับ" พี่หนุ่มอธิบายเพิ่มเติม
"แล้วผมต้องทำอย่างไรให้มีสติล่ะครับ นอกเหนือจากการกินข้าวด้วยมือซ้าย" ผมเริ่มคิดตาม และมองถึงการจะนำไปใช้
"แสดงว่าจักรเริ่มมองไปอีกก้าวแล้ว ผมใช้วิธีหากิจวัตรประจำวันที่ใช้เวลาไม่นานเป็นตัวฝึก เช่นฝึกมีสติในการแปรงฟัน ทุกครั้งที่แปรงฟันเราจะระลึกรู้ว่ากำลังแปรงฟัน ไม่คิดเรื่องอื่น ๆ แล้วก็เริ่มขยายออกไปยังกิจวัตรหรือกิจกรรมอื่น ๆ เช่น ตอนอาบน้ำ ตอนเดินไปกินข้าวกลางวัน ตอนเดินไปเข้าห้องน้ำ ตอนขับรถ เป็นต้น" พี่หนุ่มตอบ
"ผมฝึกสติแล้วจะได้อะไรล่ะครับ เมื่อเช้าพี่พูดถึงการมีสติจะทำให้เราไม่กระโจนเข้าไปในความคิด เฝ้าดูความคิดโดยไม่ไปวุ่นวายกับมัน ผมก็ยังไม่แน่ใจว่ามันจะเป็นได้ยังไง แต่จะลองกลับไปทำดูก่อนครับ"
"มันต้องอย่างนั้นสิ ต้องทำดูก่อน ถ้าฟังผมเล่าทั้งหมดจักรก็จะได้แค่ความรู้จากการฟังเท่านั้น ไม่รู้จริงเหมือนได้ทำเอง จักรกลับกรุงเทพฯ วันไหนล่ะ"
"วันจันทร์ครับ"
"งั้นตอนนี้เรากินข้าวกันให้เสร็จก่อน พรุ่งนี้ค่อยคุยกันต่อ เย็นวันนี้ลองอาบน้ำ แปรงฟันอย่างมีสติดู แล้วมาเล่าให้ฟังหน่อยว่าเป็นยังไง"
ผมพยักหน้าตอบ และตั้งใจไว้ว่าจะลองกลับไปทำตามนี้ดูเพราะฟังดูแล้วไม่ได้ยากอะไร
Worakhun Boon
Report
Views
จ-สระใอ-ใจ
–
Worakhun Boon
View Story
subscribe
Previous
Next
Comments
()
Facebook
(
0
)
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in
ยืนยันการซื้อ ?
เหรียญที่มีตอนนี้: null
มีเหรียญไม่พอซื้อแล้ว เติมเหรียญกันหน่อย
เหรียญที่มีตอนนี้ : null
Please Wait ...
ซื้อเหรียญเรียบร้อย
เลือกแพ็คเกจเติมเหรียญ
20
20 บาท
50
50 บาท
100
100 บาท
300
300 บาท
500
500 บาท
เลือกวิธีการชำระเงิน
Credit Card
Cash @Counter
Line Pay
ระบบจะนำคุณไปสู่หน้าจ่ายเงินของผู้ให้บริการ
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in