เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
เรื่องเล่าจากเพื่อนๆNoi Beleza
รับมือ..กับโลกยุคใหม่


  • โลกมีความไม่แน่นอนสูง พลิกผัน เปลี่ยนไว
    พยากรณ์ได้ยาก และคลุมเครือ
    นี่คือโลกที่พวกเราทุกคน
    และเด็กในวันนี้ต้องเผชิญ
    อาจารย์ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวาณิชย์
    ประธาน TDRI มาบรรยายให้
    ผู้ปกครองที่โรงเรียนลูกฟังเมื่อสัปดาห์ก่อน

    ขออนุญาตสรุปส่วนหนึ่งจากที่อาจารย์
    เล่าให้ฟังประมาณนี้ค่ะ

    ? โลกปัจจุบันเป็นโลกแห่งความเร็ว
    ความเร็วเป็นสิ่งสำคัญ
    และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนั้น
    ไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงธรรมดา
    แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงแบบผลิกผัน

    หรือที่เรียกว่า VUCA ซึ่งมาจาก
    Volatility / Uncertainty
    Complexity / Ambiguity
    (การเปลี่ยนแปลงง่าย/ความไม่แน่นอน
    ความซับซ้อน/ความคลุมเครือ)

    ? ปัจจุบันทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
    อาจไม่เพียงพอแล้ว
    แต่ต้องเป็นทักษะศตวรรษที่ 21 ++
    ซึ่งมีองค์ประกอบสำคัญ 3 อย่างคือ

    1. Attitude ทัศนคติและอุปนิสัย
    อันเป็นพื้นฐานสำคัญอันดับแรก
    ได้แก่ ใฝ่หาความรู้ มีความอดทน
    รับผิดชอบ เปิดใจกว้าง
    ปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลง
    กล้าทดลอง ยอมรับความผิดพลาด
    เรียนรู้จากความล้มเหลว
    และมีจิตใจแห่งการเติบโต
    มี growth mindset
    ทำผิดไม่เป็นไร..สำคัญที่ได้เรียนรู้อะไร

    2. Skill ทักษะในการทำงานต่างๆ ได้แก่
    ทักษะการคิดเชิงวิพากษ์
    ทุกอย่างไม่ได้มีคำตอบเดียวเสมอไป
    ทักษะการสื่อสาร การทำงานเป็นทีม
    มีความคิดสร้างสรรค์
    มองภาพใหญ่เป็น
    วาดภาพสถานการณ์ได้

    3. Knowledge ความรู้
    มีทักษะพื้นฐานอย่างน้อย 3 อย่าง คือ
    คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ การอ่าน
    และยังต้องรู้ความเป็นไปในโลก
    เข้าใจทฤษฎีแห่งความรู้
    รู้ว่ามันสร้างมาได้อย่างไร
    ตลอดจนมีความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีที่พลิกผัน

    ตัวอย่างการเรียนรู้ที่สร้างทักษะ
    แห่งศตวรรษที่ 21 ได้แก่
    ศิลปะ การทดลอง การเล่นละคร
    การฝึกงาน โครงงานร่วม
    กิจกรรมนอกเวลา
    อาสาสมัคร
    การคิดเชิงออกแบบ
    ซึ่งเหล่านี้เป็นการเรียนรู้ที่ได้ลงมือทำจริง
    ได้เผชิญสถานการณ์ต่างๆ
    ได้ฝึกแก้ไขปัญหา

    เมื่อเราให้โอกาสเด็ก
    ได้เจอสถานการณ์ที่หลากหลาย
    จนเขาค้นเจอว่าอะไรคือความชอบความสนุก
    เขาก็จะเปลี่ยนเป็นความหลงใหล
    มี passion ที่จะทำได้โดยไม่เบื่อ
    เกิดการอยากเรียนรู้จากภายใน

    การถูกบังคับ..
    เป็นแรงจูงใจที่ทำให้การเรียนรู้
    ของเด็กคนหนึ่งไม่ยืนยาว
    การเรียนอะไรที่ไม่มีความสุขนั้น
    เด็กจะอยู่ยากมาก

    สิ่งที่สำคัญคือ ..
    ทำให้เด็กมีความอยากเรียนรู้ก่อน
    สนุกกับการค้นคว้าหาคำตอบ

    การสร้างทัศนคติที่ดี
    --> ฝึกทักษะต่างๆตามมา
    --> ความรู้เกิดขึ้น ...
    มิใช่การยัดเยียดเนื้อหาทางวิชาการให้กับเด็ก

    ความรู้มีอายุสั้นแต่ชีวิตนั้นยืนยาว
    หมายถึงอายุขัยเฉลี่ยของมนุษย์มากขึ้น
    แต่ความรู้หลายอย่างในปัจจุบัน
    หมดอายุแล้ว ล้าสมัย

    ความรู้อาจจะถูก disrupt ได้
    ทฤษฎีต่างๆล้มได้
    การเรียนแบบท่องจำฝังใจนั้น
    สิ่งที่เรียนรู้ไปอาจไม่มีประโยชน์

    เด็กไทยในอนาคตจึงต้องฝึกทักษะ
    จนเกิดเป็นการเรียนรู้ด้วยตัวเองตลอดชีวิต
    เพื่อรับมือกับการเติบโตของเทคโนโลยี
    และโลกที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างทันท่วงที

    เมื่อโลกเปลี่ยน การศึกษาเปลี่ยน
    อาชีพก็เปลี่ยน
    ในอนาคตทุกอาชีพจะถูกกระทบ
    และเกิดการเปลี่ยนแปลงหมด
    มากน้อยแตกต่างกันไป

    บางอาชีพอาจจะหายไปเลยก็ได้
    เมื่อคอมพิวเตอร์เข้ามาทำงานแทน
    ขณะนี้เทคโนโลยีก็เข้ามาป่วนในทุกวงการแล้ว

    ส่วนงานที่เทคโนโลยียังมาแทนได้น้อย
    มักจะเกี่ยวกับงานที่ต้องเข้าใจคน
    งานจิตวิทยา งานใช้ความคิดสร้างสรรค์
    Social Intelligent ต่างๆ

    การเปลี่ยนงานเปลี่ยนอาชีพ
    จะไม่ใช่เรื่องแปลกอีกต่อไป
    สิ่งสำคัญคือ ความสามารถในการเรียนรู้ใหม่ๆ
    การปรับตัวได้มากน้อยขนาดไหนต่างหาก

    ดังนั้นคำถามที่เราควรค้นหาคำตอบคือ
    #ทำอะไรดี..ไม่ใช่เป็นอะไรดี

    ดังคำกล่าวของ Henry Mintzberg (Professor of Management Studies, McGill University)

    "เมื่อโลกพยากรณ์ได้
    เราต้องการคนฉลาด
    แต่เมื่อโลกพยากรณ์ไม่ได้
    เราต้องการคนที่ปรับตัวได้"

    Cr บทความ : FB คุณ Chayanan Kunathai Sawangkaphat

    Cr ภาพ : llnnln

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in