โครยอและโชซอนเป็นประเทศที่ถือ “การบันทึก” เป็นสิ่งที่สำคัญมาก โดยเฉพาะสิ่งที่เกิดขึ้นภายในราชวังโชซอนเกือบทุกอย่างจะถูกบันทึกใน “พงศาวดารราชวงศ์โชซอน” ข้าราชการที่บันทึกประวัติศาสตร์จะเป็นคนที่แม้แต่กษัตริย์ก็ควรให้เกียรติ
มีบันทึกสมัยพระเจ้าแทจงที่แสดงให้เห็นลักษณะพิเศษนี้อย่างดี:
วันหนึ่งพระเจ้าแทจงเดินก้าวผิดทางจนเกือบล้มลง พอข้าราชการบันทึกเรื่องนี้แทจงขอร้องว่า “เรื่องนี้ข้าอาย ลบมันไปได้ไหม ข้าขอร้อง” ข้าราชการคนนั้นก็บันทึกว่า “กษัตริย์ก้าวผิดทางเกือบล้ม องค์ทรงสั่งให้ลบเรื่องนี้เพราะทรงอับอาย”
Thug Life 55555555ในประเทศแห่งติ่งการบันทึกการเยี่ยมของคณะทูตเป็นหัวข้อที่สำคัญมาก แต่คุณรู้ไหมครับว่าอยุธยาก็เคยส่งคณะทูตยังเกาหลี?! คณะทูตของสยามปรากฏตัวเป็นครั้งแรกในบันทึกยุคปลายโครยอและในพงศาวดารราชวงศ์โชซอนมีบันทึกทั้งหมดตั้ง 8 เรื่องที่เขียนถึงคณะทูตของสยามหรือคนสยาม ในโพสต์นี้ผมขอแปลบันทึกโบราณเหล่านี้แต่ละเรื่องตั้งแต่บันทึกของสมัยโครยอ
คณะทูตของอยุธยาเยี่ยมโครยอแต่ทางโครยอไม่เชื่อว่าเป็นคณะทูตทางการ
3 สิงหาคม 1391(ประวัติโครยอ เซกา เล่มที่ 46 พระเจ้าคงยังปีที่ 3 ถึงปีที่ 4)
จากสยามมี 8 คนรวมถึงคนที่ชื่อ นาย มาถวายของพื้นเมืองและมอบจดหมายที่เขียนว่า “กษัตริย์แห่งสยามแต่งตั้ง นาย เป็นทูตเอาของพื้นเมืองไปมอบกษัตริย์แห่งโคยรอ” แต่ในจดหมายไม่มีชื่อและสกุลหรือการผนึก มีแต่ตราประทับกลมๆ ยืนยันไม่ได้ว่าเป็นของจริงหรือไม่ กษัตริย์กับข้าราชบริพารไม่แน่ใจกับเรื่องนี้บอกว่า “ไม่น่าเชื่อถือ แต่ไม่เชื่อก็ไม่ได้ อย่างไรพวกเราควรต้อนรับดูแลคนที่เดินทางมาไกลด้วยไมตรีจิต แต่เราไม่ควรรับจดหมายนั้นเพื่อแสดงความไม่ไว้วางใจถึงจะถูก
กษัตริย์เรียกคนสยามมาแล้วแสดงการชมเชยในความมุมานะ พวกเขาตอบว่า “ข้าพระเจ้าได้รับการสั่งให้ออกเรือในปีมูจิน(1388)เปลืองเวลาที่ญี่ปุ่นทั้งปี พอเข้าเฝ้าฝ่าพระบาทอย่างนี้ข้าพระเจ้าลืมความยากลำบากของการเดินทางทั้งหมดแล้วพ่ะย่ะค่ะ”
กษัตริย์ถามว่าจากสยามมาถึงที่นี่ใช้เวลานานแค่ไหนพวกเขาก็ตอบว่า “หากมีลมเหนือพัดมาถึงได้ใน 40 วันพ่ะย่ะค่ะ”
บางคนในนั้นไม่ใส่เสื้อส่วนบน บางคนไม่ใส่รองเท้า คนชนชั้นสูงสวมผ้าคาดหัวปกปิดผม ส่วนคนรับใช้ไม่ใส่เสื้อ ภาษาสยามต้องแปลซ้ำ 3 รอบถึงจะเข้าใจ
บันทึกนี้พูดถึงการเยี่ยมโครยอของคณะทูตสยาม(น่าจะเป็นอยุธยา) สยามกับโครยอคงรู้จักกันมาก่อนเพราะทั้งสองประเทศเป็นรัฐที่ส่งบรรณาการราชวงศ์หมิง แต่ดูจากที่เขาพรรณนาลักษณะการแต่งกายของคนสยามอย่างละเอียดสังเกตได้ว่าสองประเทศนี้ไม่ได้มีการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมโดยตรงมากเท่าไหร่
อีกอย่าง ในบันทึกนี้เขาเรียกทูตสยามว่า “내공(แนกง)” ซึ่งเป็นคำผสมคำว่า นาย ของภาษาไทยและคำว่า กง ที่ใช้เรียกคนที่มีตำแหน่ง แปลว่าคนโชซอนเขาได้ยินคนสยามคนอื่นเรียกเขาว่า “นาย~บลาๆ” ก็เดากันว่าคำว่า นาย เป็นชื่อของคนคนนี้ ยังไงคณะทูตที่พกจดหมายของกษัตริย์สยามเอากดหมายนั้นกลับไปโดยไม่ได้รับอะไรอย่างเป็นทางการเนื่องจากทางโครยอเห็นว่าจดหมายไม่น่าเชื่อถือ
คณะทูตสยามเยี่ยมมาอีกรอบแต่ที่คาบสมุทรเกาหลีไม่มีประเทศโครยอแล้ว
6 เดือนที่ 6 ปีที่ 1393(พงศาวดารพระเจ้าแทโจ เล่มที่ 3)
ทางสยามส่งข้าหลวงที่ชื่อว่านายจังซาโด[นายเป็นชื่อตำแหน่งของประเทศเขา]และอีก 20 คน ถวายฝาง 1,000 คึน(ประมาณ 600 กิโลกรัม) ไม้กฤษณา 1,000 คึน และคนท้องถิ่น 2 คน กษัตริย์สั่งคนท้องถิ่น 2 คนนั้นให้เฝ้าประตูของราชวัง
คณะทูตที่กลับไปสู่สยามในปีที่ 1391 ก็เยี่ยมเกาหลีอีกทีหนึ่งในปีที่ 1393 ครั้งนี้เขาพกจดหมายที่มีการผนึก แต่ตอนที่พวกเขามาถึงคามสมุทรเกาหลีประเทศที่ชื่อว่าโครยอไม่มีอีกแล้วเพราะ ลี ซองกเย หรือพระเจ้าแทโจ ทำรัฐประหารสร้างประเทศใหม่ที่ชื่อว่า โชซอนในปีที่ 1392 อ้าวเฮ้ย!
ในบันทึกนี้คำว่า นาย ก็ปรากฏตัวอีกครั้ง ทางโชซอนเห็นว่าคำนี้เป็นชื่อตำแหน่ง อย่างน้อยมันถูกต้องกว่าเห็นว่าเป็นชื่อคน บันทึกนี้บอกว่าชื่อของ “นาย” คนนั้นว่า จังซาโด ถ้าอ่านคำนี้แบบจีนก็คือ จาง ซือ เด่า(zhāng sī dào) ผมเห็นว่าชื่อของทูตคนสยามคนนี้น่าจะออกเสียงคล้ายกับแบบจีนมากกว่าแบบเกาหลีทางโชซอนยินยอมการเยี่ยมของคณะทูตสยามอย่างเป็นทางการ สองปีต่อจากนั้นทางโชซอนอนุญาตให้คณะทูตสยามกลับไปสู่สยามพร้อมกับทูตโชซอนที่ชื่อว่า แบ ฮู และทรัพย์สินจำนวนมาก แต่สุดท้ายพวกเขาก็ไปไม่ถึงสุวรรณภูมิ กลับมาที่เกาหลีอีกครั้งเพราะ...
สถานทูตสยามโดนโจรสลัดญี่ปุ่นปล้นแล้วกลับมาที่โชซอน
5 เดือนที่ 7 ปีที่ 1396(พงศาวดารพระเจ้าแทโจ เล่มที่ 6)
จังซาโดผู้เป็นทูตของสยามกลับมาจำทูลว่า “ในเดือนที่ 12 ที่ผ่านมา ข้าพระเจ้ากับแบฮูผู้เป็นเจ้าหน้าที่การตอบแทนคณะทูตได้ไปถึงญี่ปุ่นถูกโจรสลัดปล้น ของขวัญที่องค์ประทานและชุดเดินทางทั้งหมดก็ถูกเผาไปหมดแล้วพ่ะย่ะค่ะ หากพระเจ้าทรงช่วยประทานเรืออีกลำหนึ่งข้าพระเจ้าจะรอฤดูหนาวแล้วกลับไปสู่เมืองของตนพ่ะย่ะค่ะ” แล้วเขาก็ถวายดาบ เสื้อเกราะ ชามทองแดง และคนผิวดำอีก 2 คน
คณะทูตสยามของจังซาโดและคณะทูตโชซอนของแบ ฮู ก็โดนโจรสลัดปล้นที่ทะเลหน้าญี่ปุ่น เขาเร่ร่อนเป็นเวลา 7 เดือนและกลับมาที่โชซอน กษัตริย์โชซอนก็สั่งให้เตรียมเรือและชุดเดินทาง และมอบตำแหน่งที่สูงมากเป็นชั่วคราวเพื่อให้เขาอยู่สบายในโชซอน
กษัตริย์โชซอนแต่งตั้งทูตสยามให้อยู่ในตำแหน่งสูง7 เดือน 8 ปีที่ 1394(พงศาวดารพระเจ้าแทโจ เล่มที่ 6)
(กษัตริย์)ทรงแต่งตั้งจังซาโดผู้เป็นคนสยามเป็นเยบินกยอง(ตำแหน่งราชการชั้นตรีจอง) และจินออนซัง(คนชวา)เป็นซออุนบุชอง(ชั้นจัตวาจอง)
ตำแหน่งราชการชั้นตรีจองเป็นตำแหน่งอันสูงมากที่พบกษัตริย์ได้ตัวต่อตัว ถ้าเทียบกับปัจจุบันก็เป็นระดับรัฐมนตรีช่วยว่าการ
FYI คนชวาที่ชื่อว่า จินออนซัง ก็เป็นทูตที่กลับมาที่โชซอนหลังจากโดนโจรสลัดปล้นในระหว่างที่กลับบ้าน
จังซาโดได้กลับไปสู่สยาม 1 ปีครึ่งต่อจากนั้นหรือในปีที่ 1395 ครั้งนี้กษัตริย์โชซอนส่งแบฮู ทูตโชซอน และลีจายองที่เป็นล่าม แล้วทางสยามส่งคนที่ชื่อว่า ลิมดึกจัง เป็นทูตอีกทีหนึ่ง แต่ลิมดึกจังกับทูตโชซอนที่ไปสยามพบโจรสลัดญี่ปุ่นอีกครั้งระหว่างทางที่มาสู่โชซอน
ลีจายองที่โดนโจรสลัดญี่ปุ่นลักพาตัวหนีมาที่โชซอน
11 เดือน 7 ปีที่ 1396(พงศาวดารพระเจ้าแทโจ เล่มที่ 10)
ลีจายองกลับมาจากญี่ปุ่น ตอนแรกจายองได้ไปสู่สยามในฐานะล่ามกับแบฮูผู้มีตำแหน่งเยบินโซกยองเพื่อตอบแทนสิ่งที่ได้รับจากทูตสยาม แต่ในระหว่างทางกลับมาพร้อมกับลิมดึกจังผู้เป็นทูตของสยามอีกคนได้พบโจรญี่ปุ่นที่กลางทะเลใกล้นาจูจังหวัดช็อนลาโด คนที่อยู่บนเรื่อถูกฆ่าหมด จายองคนเดียวรอดชีวิตถูกจับไปญี่ปุ้นแล้วหนีกลับมาในวันนี้
ลีจายองที่โดนโจรสลัดลักพาและใช้ชีวิตที่ญี่ปุ่นเป็นเวลาเกือบ 1 ปีหนีกลับมาที่โชซอนคนเดียว เขารายงานว่าทุกคนในคณะทูตที่เดินทางมาจากสยามเสียชีวิตแล้ว แต่อันที่จริงพวกเขาไม่ได้ตายแต่ถูกลักพาตัวเหมือนกันและใช้ชีวิตเป็นทาส
คณะทูตสยามและคณะทูตโชซอนหนีมาถึงโชซอน
4 เดือน 6 ปีที่ 1397(พงศาวดารพระเจ้าแทโจ เล่มที่ 11)
ทูตสยาม 6 คนรวมถึงลิมดึกจังซึ่งหนีมาที่นี่หลังจากถูกลักพาตัวไปอยู่ที่ญี่ปุ่น (กษัตริย์)พระราชทานเสื้อผ้าให้ 4 คนได้แก่ลิมดึกจัง และทาสของเขา คนละ 1 ชุด
ฤดูใบไม้ผลิปีที่ 1397 คณะทูตสยามที่โดนลักพาตัวก็หนีมาถึงโชซอน พวกเขาโดนกักตัวที่ญี่ปุ่นเกือบ 2 ปีกว่าจะมาถึงโชซอน บันทึกเกี่ยวกับคณะทูตสยามก็มีแค่นี้ บันทึกต่อไปก็คือบันทึกเรื่องข้าราชการสยามไปจีนขออนุญาตปราบปรามญี่ปุ่น(กล้ามาก)
พอญี่ปุ่นรุกรานโชซอน สยามขออนุญาตโจมตีญี่ปุ่นในท้องพระโรงจีน
4 เดือน 6 ปีที่ 1592(พงศาวดารพระเจ้าซอนโจ เล่มที่ 33)
ชองกนซูจำทูลว่า “สยามไปถึงจีนขออนุญาตให้เขาสงเคราะห์โชซอนแล้วทางจีนมีพระราชกฤษฎีกาพ่ะย่ะค่ะ สยามได้บอกว่าเขาจะส่งกองทหารปราบปรามญี่ปุ่น” กษัตริย์มีพระราชดำรัสว่า “กุบไลข่านเองก็เคยไปต่อสู้ญี่ปุ่นแต่กลับแพ้มัน สยามจะไปสู้ญี่ปุ่นได้อย่างไร” ซิมอูซึงจำมูลว่า “ทางสยามพูดเหมือนมันง่าย แต่เขาจะปราบญี่ปุ่นไม่ได้แน่พ่ะย่ะค่ะ”
ปีที่ 1592 เป็นปีที่เจ็บปวดมากที่สุดสำหรับโชซอน ญี่ปุ่นของโทโยโทมิ ฮิเดโยชิรุกรานโชซอน ฆ่าคนโชซอน 1 ใน 3 คน ลักพาผู้หญิงและเด็กๆ ใช้เป็นทาส ตัดหูกับจมูกของคนโชซอนเป็นของที่ระลึก
พอได้ยินข่าวนี้ทางหมิงก็เริ่มกลัวมากเพราะถ้าโชซอนถูกญี่ปุ่นเข้ายึดอย่างสมบูรณ์แบบเป้าหมายต่อไปจะเป็นหมิงแน่ เพราะฉะนั้นทางหมิงก็อนุญาตให้สยามยกทัพไปต่อสู้ญี่ปุ่น แต่ทางโชซอนก็ไม่ได้เห็นว่าสยามจะเอาชนะญี่ปุ่นได้
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in