สวัสดีค่ะ วันนี้ขอแชร์ประสบการณ์ไปเดินเล่นแถวหิมาลัยให้ฟัง ^^ ทริปนี้เกิดจากที่เราชอบความหิมาลัยและเนปาลมาก น่าจะชอบมาจากสารคดีหิมาลัยที่เคยดูตอนเด็ก ๆ เราเลยมี wishlist ฝังหัวไว้เลยว่า วันหนึ่งต้องไปเห็นหิมาลัยให้ได้ พอมีเงินเก็บก้อนหนึ่งบวกกับมีเวลาพอดี ก็เลยรีบแพลนไปเลย เดี๋ยวสังขารไม่ไหวก่อน ต้องรีบไปตอนมีแรง
แล้วทำไมถึงไปคนเดียว? กลัวรอคนอื่นแล้วไม่ได้ไป 55555 ความจริงคุยกับเพื่อนอีกคนไว้ว่าจะไปด้วยกันนานแล้ว ไป ๆ มา ๆ เวลาไม่ลงล็อคกันทั้งคู่ เลยตกลงแยกกันไป เราเลยรีบหาเวลาและแพลนข้อมูลทุกอย่างเองให้อยู่ในงบ 30,000 บาท สรุปได้ไปวันที่ 1-15 มีนาคม 2018
เราขอเริ่มด้วยการเตรียมตัวตั้งแต่ต้นนะ เข้าใจว่าคนที่ไม่เคยไปเทรคมาก่อนมีเรื่องให้คิดหลายเรื่อง นั่นจะดีไหม นู่นจะดีรึเปล่า จะเตรียมนู่นนี่นั่นก็ดูเยอะไปหมด เราเลยพยายามสรุปเรื่องสำคัญไว้ในตอนต้น ๆ ก่อนจะแยกบันทึกแต่ละวัน มาเริ่มที่เรื่องสำคัญอันดับแรก ๆ ก่อนเลย Let's go!
ก่อนอื่นเราต้องเลือกเส้นทางที่จะไปก่อนว่าเราจะไปเส้นไหนเพราะแต่ละเส้นทางใช้เวลาเดินไม่เท่ากัน และแต่ละเดือนก็เห็นวิวไม่เหมือนกันด้วย (ขอข้ามข้อมูลเส้นทางและสภาพอากาศไปนะเพราะหาได้ทั่วไป) ส่วนเทรคเส้นนี้ควรมีเวลาอย่างต่ำประมาณ 7-10 วัน สำหรับผู้หญิงที่ไม่ได้แข็งแรงมากจะใช้เวลาเดินเส้นนี้ประมาณ 10 วันเราต้องวางแผ่นเส้นทางเดินคร่าว ๆ ไว้ให้ดีว่าจะเดินขึ้นกี่วันลงกี่วัน อย่างเราแพลนไว้ว่าเดินขึ้น 6 วัน ลง 4 วัน ซึ่งความจริงพอไปหน้างานลูกหาบจะเป็นคนคำนวณเส้นทางให้เราอีกทีว่าควรเดินตรงนี้ถึงตรงนี้ภายในกี่วัน ๆ
เส้นทางที่เราเดินตามนี้
วันที่ 1 Nayapul (1,070 m.) > Ulleri (1,960 m.)
วันที่ 2 Ulleri (1,960 m.) > Ghorepani (2,750 m.)
วันที่ 3 Ghorepani (2,750 m.) > Poonhill (3,193 m.) > Tadapani (2,630 m.)
วันที่ 4 Tadapani (2,630 m.) > Sinuwa (2,340 m.)
วันที่ 5 Sinuwa (2,340 m.) > Deurali (3,210 m.)
วันที่ 6 Deurali (3,210 m.) > ABC (4,130 m.)
วันที่ 7 ABC (4,130 m.) > Chhomrong (2,180 m.)
วันที่ 8 Chhomrong (2,180 m.) > New Bridge (2,180 m.)
วันที่ 9 New Bridge > Deurali (2,100 m.)
วันที่ 10 Deurali (2,100 m.) > Phedi (1,440 m.)
สำหรับผู้หญิงที่จะไปคนเดียว ลูกหาบน่าจะเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญมาก ๆ รองจากสภาพร่างกาย และเงิน 555 เพราะเราต้องฝากชีวิตไว้กับเขาเลยก็ว่าได้ดังนั้น ใช้เวลาในการเลือกคู่หูการเดินทางนานหน่อยเพื่อความชัวร์ คือตอนแรกจะเปรี้ยว ๆ ไม่จ้างไกด์ ไม่จ้างลูกหาบ แต่คิดว่าเสี่ยงเกินไปหากมีอะไรฉุกเฉินขึ้นมาเราจะลำบากได้ เลยหาสักคนดีกว่า
สุดท้ายเราเลือกลูกหาบที่พูดภาษาอังกฤษได้ เรียกว่า
เราหาจากรีวิวเว็บต่างประเทศ แล้วเมลล์ติดต่อกันโดยตรง เลือกเจ้าที่ตอบเร็วที่สุด และดูอัธยาศัยในการคุย ได้ราคา 2,000 รูปีเนปาลต่อวัน เป็นค่าแรงเพียว ๆ ไม่รวมค่าที่พักค่าอาหาร และค่าเดินทาง
ไม่จ้างเลยไปได้ไหม? ไปได้ ถ้าร่างกายแข็งแรง อึด ถึกทนแดดทนฝนเป็นสีเบเยอร์ แนะนำให้แบกของไปเองดีกว่า ไม่ต้องจ้างก็ได้ ได้เดินชิว ๆ เรื่อย ๆ ดีด้วย ไม่ต้องขึ้นกับใคร เดินไปไม่น่าหลง เพราะทางค่อนข้างชัดเจน อาจจะงงเวลามีทางแยกนิดหน่อย เราเห็นชาวต่างชาติมาเดินกันเองแบบไม่มีลูกหาบกันเยอะมาก แต่สำหรับผู้หญิงทั่วไปที่เพิ่งมาเดินครั้งแรกแนะนำให้จ้างนะ เราจะได้เดินตัวปลิว ๆ มาดูก่อนว่าร่างกายเราได้แค่ไหน ไหวไหม ถ้าไหว ทริปต่อไปค่อยแบกเองก็ได้
วีซ่าเนปาลยื่นแป๊บเดียวได้ ไม่มีอะไรยุ่งยากซับซ้อนเลย แค่เตรียมเอกสารให้ครบตามที่สถานทูตระบุไว้ ใช้รูปพื้นขาวนะ จากนั้นก็เอาเอกสารไปยื่นที่สถานทูต (เรานั่ง BTS ไปลงสถานีพระโขนง แล้วเรียกพี่วินโลด) อีก 1-2 วันก็ไปรับเอกสารได้ที่เดิม หรือจะไปทำแบบ on arrival ก็ได้ มีบริการเหมือนกัน แต่เราอยากจัดการทีเดียวให้เสร็จที่ไทยเท่าที่จะทำได้ เผื่อวันจริงมีเรื่องยุ่ง ๆ จะได้ไม่เดือดร้อน (วันที่ไปจริงคนทำ Visa on Arrival เยอะมาก)
เอกสารที่ใช้ยื่นวีซ่า (เช็คกับเว็บไซต์อีกทีก่อนทำจริงน้า)
- หนังสือเดินทาง (ที่มีอายุการใช้ไม่น้อยกว่า 6 เดือนนับจากวันยื่นขอวีซ่า)
- สำเนาหนังสือเดินทาง 1 ฉบับ
- แบบฟอร์มการขอวีซ่า(ซึ่งผู้ขอต้องกรอกหรือพิมพ์ข้อมูลทุกข้อเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น)
- รูปถ่ายสี 1 รูป ขนาด 2×2 นิ้ว
- ค่าธรรมเนียม
ค่าธรรมเนียมวีซ่าประมาณ 1, 000 บาท สำหรับเดินทาง 15 วัน แต่ถ้ามากกว่านี้ ก็จะอีกราคาหนึ่ง
https://th.nepalembassy.gov.np/visa-information-thai/
ข้อมูลการติดต่อสถานทูตเนปาลประจำประเทศไทย (The Embassy of Nepal)
4/1, Soi 27, Sukhumvit 71 Road, Klong Ton, Watthana, Bangkok 10110, Thailand
Telephone: +662 3902280, 02 3917240
Fax: +662 3812406
Email: [email protected]; [email protected]
Website: https://th.nepalembassy.gov.np
Facebook: https://www.facebook.com/nepalembassybangkok/
Twitter: https://twitter.com/NepalBangkok
ไม่ว่าจะไปไหนการทำประกันการเดินทางก็จำเป็น ยิ่งทริป Trekking นี่ยิ่งเสี่ยง เราไม่รู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นบ้าง บางคนอาจแพ้ความสูง (AMS) ซึ่งเป็นโรคที่เราไม่มีทางรู้มาก่อนว่าเราเป็นรึเปล่า จนกว่าจะไปอยู่บนที่สูงจริง ให้ทำเผื่อไว้เลยค่ะ ดูให้ครอบคลุมเรื่องค่ารักษาพยาบาล สำหรับการเดินทางแบบ
ต้องฟิตร่างกายก่อนไปน้า ยังไงก็ต้องเตรียมไม่งั้นเราจะเที่ยวแบบไม่สนุก เราเป็นคนหนึ่งที่ไม่ค่อยแข็งแรงเลยปอดไม่ค่อยดีด้วย เมื่อก่อนออกกำลังกายไม่ได้เลย เหนื่อยง่ายสุดแต่พอช่วงหลังเริ่มมาออกกำลังกาย เริ่มปรับตัวเองไปเรื่อย ๆ ก็ออกได้นานขึ้น แต่ยังไม่ถือว่าอยู่ในกลุ่มที่ออกกำลังกายเป็นประจำอยู่ดีก่อนไปเลยต้องฟิตเยอะหน่อย พยายาม cardio ไปเรื่อย ๆ ล่วงหน้า 2-3 เดือน ให้ร่างกายชิน แต่อันความขี้เกียจเราเลยมาฟิตหนักจริง ๆ ช่วง 1 เดือนก่อนไป 55555
วิธีฟิตคือ
ข้อมูลฟิตร่างกายก่อนไปเทรคมีเยอะมาก ทำตามเว็บต่าง ๆ ได้เลย เช่น
https://www.backpacker.com/skills/bodyweight-exercises-for-hikers-in-quarantine
(มีต่อ)
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in