เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
sheisphere: Annapurna Base Camp trekkingmiddlmidch
Preparing
  • 1. Agency

    หลังจากเราตั้งหมุดหมายแล้วว่าจะไป ABC ขั้นตอนต่อมาคือการหาทัวร์ที่จะพาเราเดิน trekking

    โดยหลักแล้ว เส้นทางนี้เราสามารถ trekking ด้วยตัวเองหรือจะมีไกด์นำทางก็ได้ ไม่ถือเป็นข้อบังคับ แล้วแต่ความสมัครใจ ความพร้อม เวลา งบของแต่ละคน ซึ่งสำหรับเราที่เป็นมือใหม่ newbie ในวงการ ทั้งชีวิตเคยเดินขึ้นแค่ภูกระดึงที่เดียว การจะไปในที่ที่สูงขนาดนั้น ต่างถิ่นต่างแดน เรารู้สึกอยากเดินแบบสบายใจ ไม่ต้องกังวลเรื่องใดนอกจากแค่เรื่องเดิน การใช้บริการเอเจนซี่ถือเป็นเรื่องที่ตอบโจทย์และเหมาะสมสำหรับเรามาก

    แล้วเราควรจะเลือกใคร?

    trekking ในเส้นทางนี้มีบริษัทให้เราเลือกสรรเยอะมาก เราอาศัยจากการพูดคุยกับหลายบริษัท มีข้อกำหนดคือ 
    1. เราไปกับแม่อายุ 61 (แต่ๆ... แม่เรานักวิ่ง วิ่งมาเป็นสิบปี ลงแข่งหลายสนาม พูดกันตามจริงคือแข็งแรงกว่าเราเยอะมาก 55555) 
    2. ประสบการณ์ trekking มีแค่เขาภูกระดึง
    3. private tour เนื่องจากเดินช้า กลัวเป็นภาระคนอื่น ไม่อยากกังวลมาก
    จากนั้นให้แต่ละที่เสนอราคาและตารางการเดินทางมา 

    ผลจากการพูดคุย (ต้องขอบคุณกลุ่ม Thailand Mountain Lovers มา ณ โอกาสนี้ที่มีคนแนะนำหลายเอเจนซี่ให้รู้จักนะคะ) เราพิจารณาเลือกใช้บริการเอเจนซี่ที่เนปาล ชื่อบริษัท incredibletreks คนที่เราติดต่อด้วยชื่อคุณ Nabin ซึ่งกรณีเราได้มาในราคา 575 USD ต่อคน ราคานี้จะรวมค่าใช้จ่ายการเดินทางไปกลับ Kathmandu และ Pokhara (รถบัส), ค่าที่พักที่ Kathmandu และ Pokhara, ค่าที่พักและอาหาร 3 มื้อที่ Tea house บนเขา, ค่าประกันให้ไกด์และลูกหาบ  ระยะเวลารวม 12 วัน ซึ่งโอเคเลย ทั้งราคาและระยะเวลา 

    เมื่อได้เอเจนซี่แล้ว ต่อไปก็ถึงเวลาเตรียมร่างกายกันต่อ :D //ปาดเหงื่อ

  • 2. Physical & Mental strength

    สำหรับหญิงวัยทำงานอายุ 29 ปี ที่ชีิวิตทำงานเป็นเภสัชกรในโรงพยาบาล เดินไปมาบ้าง ส่วนใหญ่นั่ง (และกินแล้วนอน) ยืดเหยียดบ้าง (ตามแต่ความขยัน ซึ่งก็ไม่ค่อยขยัน แหะ) ไม่เน้นออกกำลังกาย สังขารก็จะไปเร็วกว่าชาวบ้านหน่อย เราเริ่มมีอาการปวดคอ บ่า ไหล่ หลัง และเข่า โดยเฉพาะหลังๆเริ่มปวดเข่าชัดเจนมาก (หลังจากไปนั่งทับเข่าผิดท่าหรืออย่างไรไม่ทราบ) สัญญาณเหล่านี้ค่อนข้างทำให้เรากังวล เราลองออกกำลังพวกกลุ่ม low impact ใน youtube ก็พอช่วยได้บ้าง แต่อาการปวดเข่าก็ยังคงดำเนินไป 


    เราจึงหาข้อมูลไปเรื่อยๆ จนพบช่อง Chase mountains พี่แกเป็น trainer ที่มีวิธียืดเหยียดได้น่าอัศจรรย์ (ปนงงๆ ในครั้งแรกที่เราเห็น) เรานั่งไล่อ่านคอมเม้นท์ก็คือคนมาเยินยอแกเยอะมาก ไอ้เราก็ 'เอ มันดีขนาดนั้นเลยหรอ' เลยลองทำตามที่แกสอนดู ปรากฏว่า เห้ย เวิร์กแฮะ ลองทำสักสัปดาห์นี่ใช้ได้เลย แต่ทั้งนี้ แค่เท่านี้เรามองว่ายังไม่เพียงพอ เราต้องการตารางวันที่ออกกำลังชัดเจน อยากให้เป็นระเบียบหน่อย ลองไล่ดูของฟรีในช่องพี่แกก็ไม่ค่อยปะติดปะต่อเท่าไหร่นัก (ซึ่งพี่แกก็บอกอยู่ว่า จะให้ทำเป็นฟรีทั้งหมดก็ไม่ได้ ลองไปดูในคอร์สเพิ่มเติมนะจ๊ะ 55555) เราเลยไปลองนั่งอ่านรายละเอียดในเว็บ


    ด้วยความที่เราก็ทุนทรัพย์จำกัด เรามันน้องใหม่ ขอเริ่มต้นจาก Elements ก่อนละกันเนอะ ก็เลยซื้อคอร์สแรกมา โหลดแอพเสร็จสรรพ ซึ่งในแอพก็จะมี sequences ของการออกกำลังกายให้ 4 สัปดาห์ มี introduction ทั้งแบบ paper และ video รวมถึง instructions ของแต่ละท่า ระดับความยากของท่า 1 ท่าที่สามารถปรับได้ตามความแข็งแรงของแต่ละคน คือจัดว่าเป็นคอร์สที่ดูง่ายแต่ก็ทำให้ยากได้เหมือนกัน 

    เราเริ่มออกกับพี่แกจริงจังเดือนพฤษภาคม 2566 (กำหนดการเดินทางคือ 26 ตุลาคม - 7 พฤศจิกายน 2566) ในตารางที่เป็น 4 สัปดาห์ เราจึงยืดยาวออกมา โดยเฉพาะของสัปดาห์ที่ 4 เราออกอยู่ซ้ำเรื่อยๆเกือบ 2 เดือน (โดยเพิ่มจำนวนครั้งที่ทำให้มากขึ้น) รวมถึงการไปลองเดินขึ้นเขาแถวบ้าน อยู่ประมาณเดือนกว่า (พยายามจัดให้ได้อย่างต่ำสัปดาห์ละ 1 วัน) ทั้งนี้บางวันเวลาไม่อำนวยก็เดินขึ้นบันไดในบ้านทดแทน ก็แต่งตัว ใส่กระเป๋าความจุเท่ากับที่เราคิดว่าจะแบกใส่หลัง เดินขึ้นลงไปเรื่อยๆ เพื่อให้ร่างกายฝึกหายใจให้อยู่ใน aerobic zone กับเดินให้ถูกต้อง

    กระบวนการนี้เรียนรู้เรื่อง consistency is the key ของแท้เลย

    บางวัน (จริงๆก็หลายวัน) รู้สึกขี้เกียจมาก เหนื่อยมาก คร้านจะลุก แต่พอคิดว่า 'เออ เดี๋ยวเดินไม่ได้นะ จ่ายตังค์ไปแล้วนะ' ก็ต้องกัดฟัน ฝืนความขี้เกียจมากออกกำลังกาย พอออกแล้วรู้สึกยาก รู้สึกเหนื่อย บางแวบก็รู้สึกว่า 'ทำไมเราต้องไปทำให้ตัวเองลำบากด้วยนะ นอนอยู่บ้านก็สบายดี' แต่ก็ทำอะไรไม่ได้ ก็ต้องออกให้จบ เพราะจ่ายตังค์ไปแล้ว ยกเลิกไม่ได้ (เพราะเสียดายเงิน) สารพัดวิธีที่เอามาใช้จูงใจให้ตัวเองมีวินัย ทั้ง playlist โดนใจ ทั้งลูกล่อลูกชน การสู้กับตัวเองนี่ก็ใช้พลังงานเยอะไม่เบาเหมือนกัน

    // ทั้งนี้เรามองว่า routine ของพี่แกได้ผลดีกับเราเลยนะ ตอนที่เราเดิน ABC จบ เรารู้สึกว่าเราอยากไปขอบคุณพี่แกมากว่า 'เอ้อ ยู เราทำได้แล้วนะ ขอบคุณยูมากๆเลย' เงินที่เสียไป คุ้มค่ามากๆ
  • 3. Gear lists

    ปัญหาโลกแตกสำหรับเรา (รองจากเรื่องสังขาร) แล้วต้องเตรียมอะไรไปบ้าง เราลองหาข้อมูลจากหลายแหล่ง สรุปออกมา เราแพ็คของไปตามนี้

    เสื้อผ้า
    - เสื้อ Down jacket (ยืม Agency) = 1 ตัว
    - เสื้อกันลม Hard shell (Forclaz) = 1 ตัว
    - เสื้อ Teca Cálido Hooded Jacket (Cotopaxi) = 1 ตัว (เราใช้แทนชั้น fleece; เวิร์กมาก แนะนำเลย)
    - เสื้อแขนยาวแบบแห้งเร็ว (ซื้อจาก Thamel) = 1 ตัว
    - เสื้อแขนยาว Merino wool (Forclaz) = 1 ตัว
    - เสื้อแขนสั้น Airism (Uniqlo) = 1 ตัว
    - เสื้อแขนสั้น Anti-odour (Uniqlo) = 1 ตัว
    - เสื้อ heattech extra warm (Uniqlo) = 2 ตัว
    - เสื้อสำหรับใส่นอน = 1 ตัว (อันนี้ไม่จำเป็น ไม่ต้องใช้ก็ได้ เพราะของจริงเราใส่ heatteach + down jacket นอนในถุงนอนเลย)
    - กางเกงเดินป่า = 4 ตัว (เน้นว่าควรเป็น polyester เกือบ 100%  จะทำให้ชีวิตดีขึ้นมาก กางเกงจะแห้งไว พอตากคืนนี้ พรุ่งนี้เช้าก็แห้ง พอใส่ซ้ำต่อได้ ของเราบางตัวมันก็แห้งช้าก็เลยเตรียมไปเผื่อ ซึ่งก็ได้ใช้ครบทุกตัวที่เตรียมไปเลยนะ 5555)
    - กางเกง heattech extra warm (Uniqlo) = 2 ตัว
    - กางเกงเลกกิ้งบุขน (Wool studio) = 1 ตัว
    - ถุงเท้าแยกนิ้วโป้งเท้า (Safari) = 2 คู่
    - ถุงเท้า Merino wool (Nature hike) = 2 คู่
    - กางเกงในกระดาษ เสื้อชั้นใน
    - ถุงเท้าไหมพรมบุฟลีซสำหรับนอน (ซื้อที่ Thamel) = 1 คู่
    - ถุงมือไหมพรมบุฟลีซ (ซื้อที่ Thamel) = 1 คู่
    - หมวกไหมพรมบุฟลีซ (ซื้อที่ Thamel) = 1 อัน
    - หมวกปีกกว้างแห้งไว (ซื้อที่ Thamel) = 1 อัน
    - ผ้าบัฟ Merino wool (Forclaz) = 1 ชิ้น (กันแดด เช็ดน้ำมูก กันฝุ่น เป็นให้เธอทุกอย่าง)
    - ปลอกแขน Airism = 1 คู่ (ไม่ได้ใช้เลย ไม่ต้องเอาไปก็ได้)
    - ผ้าเช็ดตัวแห้งไว (Nature hike) = 1 ผืน

    อุปกรณ์
    - Trekking poles (ซื้อที่ Thamel) = 1 คู่ (เราได้มาคู่ละ 600 บาท ใช้ได้เลย อุปกรณ์ช่วยชีวิต)
    - กระเป๋าคาดเอว (พี่ให้) = 1 ชิ้น (ใส่ passport, เงิน)
    - Water bladder 1L (Decathlon) = 1 ชิ้น (เพื่อนแนะนำมา ดีมากก หิวปุ๊บ ดูดเลย ไม่ต้องเสียเวลาดึงเข้าออกกระเป๋า มีให้เลือกหลายขนาด ถ้าแบกว่าก็ซื้อ 2L ได้เลยจ้า)
    - กระบอกน้ำ Thermos = 1 ชิ้น (ใส่น้ำร้อนกินช่วงเย็น-เช้า จำเป็นมาก)
    - แว่นตากันแดด
    - Knee support = 1 คู่ (อุปกรณ์ลูกรัก เดินเหมือนบินได้ เหมือนไม่เคยเจ็บเข่ามาก่อน วะซั่น)
    - รองเท้าเดินป่า Salomon x ultra 4 mid gtx w = 1 คู่ (รองเท้าคู่บุญ ขอบคุณที่ดูแลเท้าเราอย่างดี เตะก้อนหินทั้งเขาแล้ว ลื่นก็เกาะพื้นอยู่ ลุยน้ำก็ได้ เบาอีก ข้อไม่พลิก คุ้มเงินมาก)
    - รองเท้าแตะ = 1 คู่ (สำหรับพักเท้าตอนอยู่ Tea house)
    - ไฟฉายคาดหัว (Decathlon) aka ไฟส่องกบ = 1 ชิ้น (จำเป็นมากสำหรับเวลามืด)
    - Solar power bank 20,000 mAh (AJ) = 1 ชิ้น (เดินไปชาร์จไป คนอินเดียสนใจมาก เดินมาทักหลายคนเลยว่าอันนี้คืออะไร ราคาเท่าไหร่ ทั้งนี้รุ่น 20,000 mAh จะไม่มีสายหิ้ว ดังนั้นเราต้องหากระเป๋าใสเพื่อให้หิ้ว power bank ระหว่างเดินได้)
    - กระเป๋าใส Dry bag (Nature hike) = 1 ใบ (ฟังก์ชันตอนขายคือกระเป๋าสำหรับกิจกรรมทางน้ำ ใส่มือถือแล้วยังเล่นมือถือได้ แต่เราเอามาประยุกต์ใช้กับ power bank ก็สามารถชาร์จได้นะ)
    - ที่คลุมกระเป๋า Day bag (Nature hike) = 1 ชิ้น
    - เสื้อกันฝน (Mr.DIY) = 1  ตัว
    - ถุงนอน (ยืม Agency) = 1 อัน (พูดเลยว่าผ้าห่มยังไงก็ไม่พอ ถุงนอนช่วยได้เยอะมาก)

    Body & Face Care
    - ผ้าอาบน้ำ (BRE) = 2 sets (ดีมากกก ไป trekking 8 วัน ร่างกายเราแตะน้ำแค่ 3 วัน นอกนั้นเราเช็ดตัวเอา สบายตัวแบบไม่เสี่ยงเป็นไข้หวัด)
    - แผ่นเช็ดผม (Kose) = 2 ห่อ (มีก็ได้ ไม่มีก็ได้ แต่เราชอบให้ผมไม่มีกลิ่น ก็เลยแฮปปี้)
    - แปรงสีฟัน ยาสีฟัน ไหมขัดฟัน ยาสระผม ครีมนวด
    - ครีมกันแดด (La Roche-Posay Anthelios UVMUNE400 Oil Control Fluid SPF50+) = 1 ชิ้น (ดีมาก ลูกรัก หอม กันแดดดีมาก ไม่ได้ฝ้ากลับมาเลย ** แต่อย่าลืมทาคอนะ มีวันนึงที่เราลืมทาคอ โอ้โห เผาจัด แผ่นดินแยกสีชัดเจนเลย)
    - Balm (Eucerin aquaphor) = 1 กระปุกเล็ก (ดีมากก ใช้ทั้งทาปาก ทาศอก ทาเท้า ทาทุกที่ที่เราประสงค์จะทา ชอบมาก ซื้อหมดหลายกระปุกแล้ว)
    - แป้งเต่าเหยียบโลก = 1 ขวด (ดีมากกก ไกด์แนะนำให้ใช้โรยในถุงเท้าตอนเดิน คือดี คือเท้าแห้ง ไม่เหม็นอับ ถุงเท้าเราใส่ต่อกันได้ 3-4 วันเลย //แหะๆ)
    - โลชัน (เอาไปหรือไม่ก็ได้จ้า เพราะไม่ค่อยได้อาบน้ำ 5555)

    แล้วก็มียาประจำตัว ยาปฐมพยาบาล ยาสำหรับไข้หวัด ท้องเสีย พ่นจมูก สโลแกนเอาไปเยอะดีกว่าไม่มีใช้จ้า

    จริงๆเราเตรียมของไปเยอะกว่าที่หลายคนแนะนำนะ บางคนแนะนำเสื้อแค่ 2 ตัว กางเกง 2 ตัว ซึ่งสำหรับคนเหงื่อเยอะแบบเรา มันแห้งไม่ทันใช้วันต่อไป อากาศข้างบนจะทั้งเย็นทั้งชื้น เราว่าจำนวนเสื้อหรือกางเกงนี่แล้วแต่การผลิตเหงื่อของแต่ละคนเลย ต้องพิจารณากันดีๆ เสื้อผ้าที่เราเตรียมไป ได้ใช้ทุกตัว คือการได้ใส่เสื้อที่แห้งเดินมันก็เป็นความสุขอีกอย่างหนึ่งเลยนะ

    ส่วนเสื้อ cotopaxi นี่อยากสรรเสริญเยินยอมาก ตามหลักการที่เราได้เรียนรู้มาคือ ควรจะมี base layer  -> soft shell -> hard shell ซึ่งตัว soft shell เขาแนะนำว่าควรจะเป็นผ้า fleece เพื่อให้ร่างกายอุ่น ทั้งนี้พี่เราเพิ่งซื้อตัวนี้มาให้ เราก็อยากใช้ตัวที่พี่ซื้อให้ ด้วยความที่คุณสมบัติเป็น water-resistant แล้วก็อุ่นในระดับหนึ่งเลย ฉะนั้นสำหรับวันที่ไม่ได้ขึ้น ABC เราจะพกแค่ตัวนี้ คลุมทับ base layer ฝนตกก็กันน้ำได้ ทั้งยังอุ่นอยู่ ร้อนหน่อยก็ถอดออก ผึ่งลมแปปเดียวก็แห้ง เบาด้วย แถมยังใส่ได้ 2 ด้าน พับเก็บได้ ถ้าวันไหนหนาว เราก็ใส่ base layer -> cotopaxi -> กันลม/down jacket ก็เอาอยู่ ไม่รู้จะชื่นชมยังไงแล้ว คุ้มค่ามาก สมกับที่พี่หิ้วมาให้


เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in