เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
Urban in Love Projecturbaninlove ♡
สาเหตุของผังเมืองกรุงเทพฯ
  • ผังเมืองกรุงเทพในปัจจุบัน กล่าวได้ว่าเป็นผังเมืองที่อยู่ในสภาพค่อนข้างวิกฤต เนื่องจากเป็นผังเมืองที่ขาดความเป็นระบบระเบียบ อาคารและสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ถูกสร้างขึ้นมาอย่างไร้แบบแผน ส่งผลให้เกิดปัญหาจราจรติดขัด อากาศร้อนและพื้นที่สาธารณะไม่เพียงพอ 


              อย่างไรก็ตามกรุงเทพไม่ได้มีผังเมืองที่เป็นปัญหาแบบนี้มาตั้งแต่แรก เห็นได้จากโซนเมืองเก่าอย่างราชดำเนิน เสาชิงช้า เจริญกรุง สี่พระยา ที่ถนนแต่ละสายเชื่อมถึงกันทั้งหมด เห็นได้ว่าช่วงก่อนการขยายตัวของเมืองหลวง กรุงเทพค่อนข้างมีระเบียบแบบแผน มีการตัดถนนที่เอื้อต่อการเดินทาง


    ปัญหาผังเมืองเริ่มก่อตัวขึ้นในช่วงยุค 1950-1960 หรือช่วงปี พ.ศ. 2493-2512 เนื่องจากช่วงเวลานี้เป็นช่วงที่เศรษฐกิจไทยเฟื่องฟูมากจากการเข้ามาของทุนนิยมตะวันตก และเมื่อผนวกเข้ากับความเจริญที่กระจุกตัวอยู่แค่ในเมืองหลวง ทำให้กรุงเทพเติบโตและขยายตัวอย่างรวดเร็ว ผู้คนอพยพเข้ามาทำงานในกรุงเทพเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดการก่อสร้างใหม่และจัดสรรพื้นที่อย่างเร่งด่วนเพื่อรองรับการขยายตัวอย่างรวดเร็วของเมือง แต่การก่อสร้างดังกล่าวเป็นไปด้วยความไม่เป็นแบบแผน ขาดการกำหนดทางกฎหมาย จึงส่งผลต่อเนื่องทำให้ผังเมืองกรุงเทพเดิมที่เคยถูกจัดวางไว้เป็นสัดส่วนนั้นถูกทำลายไปด้วย แต่ละเขตพื้นที่จึงมีทั้งบ้านและอาคารพานิชย์อยู่รวมกันอย่างไม่เป็นสัดส่วน


    นอกจากนี้ ในช่วงยุค 60 ภาคเอกชนจำนวนมากเป็นเจ้าของที่ดินผืนใหญ่ในกรุงเทพ และเพื่อความสะดวกในการแบ่งขาย จึงจำเป็นต้องแบ่งที่ดินออกเป็นผืนเล็กๆ และทำถนนขนาดเล็กหรือซอยกันเพื่อเป็นตัวแบ่งพื้นที่ ทำให้กรุงเทพมีซอยและเกิดซอยตันเป็นจำนวนมากในเวลาต่อมา ลักษณะพื้นที่แบบนี้เป็นอีกสาเหตุของผังเมืองกรุงเทพที่ยย่ำแย่ เกิดการจราจรติดขัดเนื่องจากการเดินทางไปยังถนนใหญ่ทำได้ยากลำบาก และยังเป็นการกีดกันผู้คนจากการเข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะอีกด้วย


    อีกหนึ่งสาเหตุสำคัญที่ส่งผลต่อผังเมืองคือ กฎหมาย Zoning policy หรือกฎหมายข้อกำกับของรัฐที่กำหนดการสร้างสิ่งปลูกสร้างในโซนต่าง ๆ เป็นการกำหนดว่าพื้นที่โซนนี้ควรเป็นเขตที่อยู่อาศัยหรือย่านธุรกิจและสามารถสร้างอะไรได้บ้างในพื้นที่ที่กำหนด แต่ในช่วงที่กรุงเทพมีการขยายตัวของเมืองกลับยังไม่มีการบังคับใช้กฎนี้ กฎหมายนี้พึ่งถูกบังคับใช้ในปี 1990 ซึ่งช้าเกินไป และอาคารพาณิชย์และบ้านเรือนต่างๆ ถูกสร้างขึ้นมาหมดแล้ว ทำให้แก้ปัญหาอะไรแทบไม่ได้ เราจึงเห็นตึกสูงกับที่อยู่อาศัยอยู่ในบริเวณที่ทับซ้อนกันจนกลายเป็นเรื่องปกติ

    - urbaninlove ♡



    อ้างอิง

    - พงศ์พรหม, ยามะรัต. “ผังเมืองพัง ทำอะไรได้บ้าง ตอน 1.” โตโจ้, 4 มีนาคม  2564. https://tojo.news/columnist-4032021/.

    - พูด. “ทำไมกรุงเทพถึงมีซอย.” พฤศจิกายน 3, 2563. วีดิทัศน์, 5:23. https://youtu.be/MFWxkGjsA_E.

    - มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. “เมืองป่วย ต้องปรับ จับเข่าคุยอาจารย์ผังเมือง เรื่องไหนกรุงเทพฯ ต้องเร่งแก้.” สืบค้นเมื่อ ธันวาคม 18, 2565. https://tu.ac.th/thammasat-010265-tds-analysis-city-plan-bangkok.


Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in