เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (3)Chaitawat Marc Seephongsai
In Ghostly Japan and Other Stories By กรกิจ ดิษฐาน แปล
  • รีวิวเว้ย (1669) ตั้งแต่เด็กจนอายุก้าวเข้าสู่วัยเลข 3 หน่อย ๆ เราเติบโตขึ้นมาพร้อมกับวัฒนธรรมญี่ปุ่นในหลายกิจกรรมของชีวิต ทั้งหนัง เพลง การ์ตูน และรวมไปถึงสินค้าต่าง ๆ จากประเทศญี่ปุ่น ทั้งที่นำเข้ามาขายและทั้งจากการย้ายเข้ามาตั้งฐานการผลิตในประเทศไทยอันเป็นผลพวงจากข้อตกลงพลาซ่า (Plaza accord) และการเติบโตขึ้นมากับบรรดาวัฒนธรรมและสินค้าญี่ปุ่นนี้เอง ยังผลให้ใครหลายคนให้ความสนใจญี่ปุ่นในหลากมิติ อย่างกรณีของการ์ตูนญี่ปุ่น มังงะ หรืออนิเมะ เป็นวัฒนธรรมหนึ่งที่ในปัจจุบันคนไทยที่ผูกพันกับวัฒนธรรมดังกล่าว เป็นกลุ่มคนที่อายุไม่น้อยและเชื่อว่าหลายคนในปัจจุบันก็ยังคงดูและอ่านมังงะ ดูอนิเมะจากญี่ปุ่นกันอย่างต่อเนื่อง ซึ่งพอเมื่อโตขึ้นเรามองเห็นเรื่องราวของญี่ปุ่นที่วางตัวอยู่ในมังงะและอนิเมะแต่ละเรื่องได้อย่างน่าประหลาดใจ จากที่เคยดูเพื่อความสนุกก่อนไปโรงเรียนและหลังจากตื่นนอนในวันหยุด กลายเป็นว่าในวัย 30 เราได้รับสารบางอย่างที่มากไปกว่าเรื่องของความสนุกและความเพลิดเพลิน อย่างมังงะและอนิเมะเรื่อง "ดันดาดัน" เราเห็นอะไรมากไปกว่าแค่เรื่องของการตามหาไข่และกล้วยของตัวเอกในเรื่อง อาทิ ตำนานและเรื่องเล่าปรัมปราของญี่ปุ่นที่ปรากฏตัวอยู่ในมังงะและอนิเมะ เป็นต้น
    หนังสือ : In Ghostly Japan and Other Stories
    โดย : กรกิจ ดิษฐาน แปล
    จำนวน : 290 หน้า
    .
    "ญี่ปุ่น ในเงาอสุรกาย" ได้แปลผลงานจาก In Ghostly Japan และเนื้อหาบางส่วนจากงานเขียนของแพทริก ลาฟคาดิโอ เฮิร์น งานเขียนชิ้นต่าง ๆ ที่ถูกรวบรวมเอาไว้ใน "ญี่ปุ่น ในเงาอสุรกาย" ได้รวมเอาเรื่องราวของเรื่องลึกลับ ตำนาน การละเล่นโบราณ บทกวี พุทธศาสนา และเรื่องของแมลงกับวัฒนธรรมญี่ปุ่น ซึ่งเป็นผลจากความชื่นชอบและความหลงไหลของผู้เขียน 
    .
    สำหรับเนื้อหาของ "ญี่ปุ่น ในเงาอสุรกาย" แบ่งเป็น 3 บทหลัก ๆ ได้แก่ In Ghostly Japan ที่จะบอกเล่าเรื่องราวของความลึกลับ ตำนาน บทต่าง ๆ ของญี่ปุ่น และ Shadowing ที่บอกเล่าเรื่องราวของนิทาน วัฒนธรรมที่ปรากฏอยู่ในหลากหลายพื้นที่ของวัฒนธรรมญี่ปุ่น ในส่วนของบทสุดท้ายได้แก่ Exotics and Retrospective ที่บอกเล่าเรื่องราววรรณกรรม
    .
    เนื้อหาทั้ง 3 บทที่ปรากฏอยู่ใน "ญี่ปุ่น ในเงาอสุรกาย" ไม่ง่ายนักที่จะอ่านเนื่องด้วยงานเขียนดังกล่าวในภาษาต้นฉบับถูกสร้างขึ้นตั้งแค่ช่วง ค.ศ. 1890-1920 ทำให้ทั้งภาษา สำนวน และการทำความเข้าใจไม่ใช่ของง่าย และรวมไปถึงเรื่องราวที่ถูกหยิบเลือกมาเล่าถึงใน "ญี่ปุ่น ในเงาอสุรกาย" ยังเป็นเรื่องราวของความเชื่อ วัฒนธรรม ตำนาน และศาสนา ของดินแดนที่มีปรัชญา วิธีคิด ที่สลับซับซ้อน นั่นก็ยิ่งทำให้เนื้อหาของ "ญี่ปุ่น ในเงาอสุรกาย" เข้าใจยากขึ้นไปอีกระดับ ด้วยตัวของงานเขียนเอง

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in