Makers
Store
Log in
You don't have any notification yet.
See All
My Wallet
null
Library
Settings
Logout
เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ
นโยบายความเป็นส่วนตัว
เพื่อใช้บริการเว็บไซต์
ยอมรับ
ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (3)
–
Chaitawat Marc Seephongsai
UNPACKED JAPAN เปิดแง้มแย้มมองญี่ปุ่น By ศิริพร วัชชวัลคุ บรรณาธิการ
รีวิวเว้ย (1622) ญี่ปุ่นเป็นประเทศหนึ่งที่เข้ามามีบทบาทอย่างมากต่อประเทศไทย โดยเฉพาะภายหลังจากการลงนามในข้อตกลงพลาซา (
Plaza accord
) ในช่วง พ.ศ. 2527 ที่ส่งผลให้ญี่ปุ่นต้องย้ายฐานการผลิตสินค้าหลายชนิดออกจากประเทศ ซึ่งประเทศที่เป็นปลายทางของหลายอุตสาหกรรมในช่วงเวลานั้นคือประเทศไทย ทำให้เกิดการจ้างงาน การขยายนิคมอุตสาหกรรม และการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยภายหลังการลงนามข้อตกลงพลาซาระหว่างญี่ปุ่นกับอีก 4 ชาติสมาชิกในข้อตกลง หากแต่เมื่อย้อนมองไปไกลกว่า พ.ศ. 2527 จะพบว่าญี่ปุ่นเข้ามามีบทบาทในสังคมสยาม-ไทย ย้อนกลับไปได้ไกลถึงสมัยอยุธยา ดังที่มีปรากฏหลักฐานอยู่หลายที่ในหน้าบันทึกประวัติศาสตร์ ซึ่งบทบาทของญี่ปุ่นในแต่ละช่วงเวลามีความแตกต่างกันออกไปตามแต่ละบริบทของช่วงเวลานั้น ๆ แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของญี่ปุ่น-ไทย ที่มีมาแต่ช้านาน กระทั่งในปัจจุบัน (พ.ศ. 2567) ความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ประเทศยังคงมีต่อกันในหลากหลายรูปแบบและหลากหลายประเด็น
หนังสือ : UNPACKED JAPAN เปิดแง้มแย้มมองญี่ปุ่น
โดย :
ศิริพร วัชชวัลคุ บรรณาธิการ
จำนวน : 452 หน้า
.
"
UNPACKED JAPAN เปิดแง้มแย้มมองญี่ปุ่น" หนังสือขนาดยาวที่ว่าด้วยเรื่องราวของญี่ปุ่นจากหลากหลายมุมมอง ที่ผ่านการบอกเล่าของนักวิชาการที่ทำงานในประเด็นเรื่องของประเทศญี่ปุ่นมาช้านาน โดยเริ่มตั้งแต่ภาพใหญ่ในระดับนโยบายและลึกลงไปถึงเรื่องของวิถีชีวิตของผู้คน
.
สำหรับเนื้อหาของ
"
UNPACKED JAPAN เปิดแง้มแย้มมองญี่ปุ่น" แบ่งการเขียนออกเป็น 6 ภาค 11 บทความ 2 ปริทัศน์หนังสือ ที่แต่ละบทความของแต่ละภาคนั้นแยกขาดออกจากกันในรูปแบบของบทความวิชาการ ซึ่งเราอาจจะเรียก
"
UNPACKED JAPAN เปิดแง้มแย้มมองญี่ปุ่น" ว่าเป็นหนังสือ/วารสารวิชาการ ที่ว่าด้วยเรื่องของญี่ปุ่นและความสัมพันธ์ญี่ปุ่น-ไทย ที่มีเรื่องราวที่หลากหลายอยู่ในแต่ละบทของหนังสือ โดยบทความทั้ง 6 ภาคแบ่งไว้ดังนี้
.
[ภาค 1 ญี่ปุ่นศึกษา]
.
บทที่ 1 ความสัมพันธ์ ญี่ปุ่น-ไทย และญี่ปุ่นศึกษาในประเทศไทย โดย ศิริพร วัชชวัลคุ
.
บทที่ 2 ญี่ปุ่นศึกษาและการศึกษาการเปลี่ยนแปลง โดย นรุตม์ เจริญศรี
.
[ภาค 2 การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจของญี่ปุ่น]
.
บทที่ 3 สังคมผู้สูงอายุและพลวัตทางสังคมของญี่ปุ่น โดย นรุตม์ เจริญศรี
.
บทที่ 4 อุตสาหกรรมทางวัฒนธรรมกับการสร้างแบรนด์แห่งชาติญี่ปุ่น: กรณีศึกษาอานิเมะและมังงะ
.
[ภาค 3 การฟื้นฟูชนบท]
.
บทที่ 5 "Furusatonozei" กับภารกิจฟื้นฟูท้องถิ่นของประเทศญี่ปุ่น โดย เบญจางค์ ใจใส แดร์ อาร์สลานิออง
.
บทที่ 6 "มิจิซุกุริ" ปรากฏการณ์การออกแบบเมืองจากการฟื้นฟูท้องถิ่นทางประวัติศาสตร์อย่างมีส่วนร่วม โดย อัมพิกา ชุมมัธยา
.
[ภาค 4 ตัวแสดงที่ไม่ใช่รัฐ]
.
บทที่ 7 ความร่วมมือระหว่างรัฐกับภาคประชาสังคมในการลดขยะอาหารและการสูญเสียอาหาร: กรณีศึกษาธนาคารอาหารญี่ปุ่น โดย สิรินทิพย์ นรินทร์ศิลป์
.
บทที่ 8 ภาคประชาสังคมและอิทธิพลต่อนโยบายความร่วมมือเพื่อการพัฒนาของญี่ปุ่น โดย ธนิกุล จันทรา
.
[ภาค 5 ญี่ปุ่น-ไทย ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง]
.
บทที่ 9 งานวิจัยในฐานะนิยาย: "เรื่องเล่าแม่บท" ของคลังสมองญี่ปุ่นต่อเศรษฐกิจการเมืองไทย จากรัฐประหาร 2006 ถึงการเลือกตั้ง 2023 โดย เอกสิทธิ์ หนุนภักดี
.
บทที่ 10 ญี่ปุ่นในจินตนาการของสังคมไทย: การสร้างภาพแทนญี่ปุ่น โดยอินฟูเอนเซอร์รางวัลผู้สร้างคุณประโยชน์ด้านความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่น โดย นิศากร ทองนอก
.
[ภาค 6 ทบทวน บทเรียน เปลี่ยนแปลง]
.
บทที่ 11 ญี่ปุ่น: การเปลี่ยนแปลงเพื่ออนาคต โดย ศิริพร วัชชวัลคุ
.
บทที่ 12 ปริทัศน์หนังสือ
.
อย่างที่เกริ่นเอาไว้ก่อนหน้าว่าบทความแต่ละชิ้นใน
"
UNPACKED JAPAN เปิดแง้มแย้มมองญี่ปุ่น" มีความเป็นอิสระจากกันในการบอกเล่าเรื่องของญี่ปุ่น-ไทย ทำให้ผู้อ่านสามารถเลือกที่จะเริ่มต้นอ่านเนื้อหาตามความสนใจของตัวเอง และสามารถข้ามไปอ่านเนื้อหาในบทอื่น ๆ โดยไม่จำเป็นต้องอ่านแบบบทต่อบทตามแบบของหนังสือทั่ว ๆ ไป
.
ความน่าสนใจประการหนึ่งของบทความหลาย ๆ ชิ้นที่ปรากฏอยู่ใน
"
UNPACKED JAPAN เปิดแง้มแย้มมองญี่ปุ่น" คือการนำเสนอมุมมองในประเด็นปัญหาและความสำเร็จ รวมถึงการรับมือของญี่ปุ่นในมุมมองที่เป็นปัจจุบัน (2567) และอาศัยการบอกเล่าชุดข้อมูลผ่านการใช้หลักฐานชั้นต้นที่เป็นภาษาญี่ปุ่นในการบอกเล่าเรื่องราวต่าง ๆ รวมถึงเรื่องที่ปรากฏในข้อเขียนของแต่ละบทยังนำเสนอและขยายความในบางประเด็นที่เราอาจจะเคยได้ยินถึงการดำเนินการที่เคยมีมาก่อน แต่ไม่เคยได้รู้หรือติดตามต่อว่าการดำเนินงานหรือปัญหาและผลสำเร็จในเรื่องเหล่านั้นเป็นเช่นไร อย่างในบทความตอนหนึ่งที่บอกเล่าเรื่องของ "ภาษีบ้านเกิด (
Furusatonozei ;
Hometown Tax
)" ที่ถ้าหาอ่านเรื่องของ
Furusatonozei ในภาษาไทยตามอินเทอร์เน็ตเราจะพบแต่บทความที่เขียนบอกเล่าถึงความสำเร็จและความน่าเอาอย่างของ
Furusatonozei อยู่เต็มไปหมด หากแต่บทที่ 5 ของ
"
UNPACKED JAPAN เปิดแง้มแย้มมองญี่ปุ่น" ได้พยายามนำเสนอมุมมองอีกด้านภายหลังการใช้งานภาษีบ้านเกิดมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง ที่ใช่ว่าจะมีแต่เรื่องดีและเรื่องที่ประสบผลสำเร็จแต่เพียงเท่านั้น
.
ซึ่งบทความหลายชิ้นที่ปรากฏอยู่ใน
"
UNPACKED JAPAN เปิดแง้มแย้มมองญี่ปุ่น" มุ่งนำเสนอมุมมองที่มีต่อญี่ปุ่นในมุมหรือมิติที่เราอาจจะมองไม่เห็น มองข้าม หรือหลายหนเรานั่งมองมันจากสายตาของ "คนนอก" แน่นอนว่าความพยายามในการนำเสนอเรื่องต่าง ๆ ใน
"
UNPACKED JAPAN เปิดแง้มแย้มมองญี่ปุ่น" อาจจะไม่ครอบคลุมเรื่องราวของญี่ปุ่นได้ทั้งหมด แต่เราอาจจะเรียกได้ว่าข้อเขียนต่าง ๆ ที่ปรากฏใน
"
UNPACKED JAPAN เปิดแง้มแย้มมองญี่ปุ่น" นับเป็นการกระตุ้นเตือนให้เราลองเปลี่ยนมุมมองและลองปรับสายตาในการมองเหตุการณ์ต่าง ๆ ให้รอบด้านยิ่งขึ้น
Chaitawat Marc Seephongsai
Report
Views
รีวิวเว้ย (3)
–
Chaitawat Marc Seephongsai
View Story
subscribe
Previous
Next
Comments
()
Facebook
(
0
)
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in
ยืนยันการซื้อ ?
เหรียญที่มีตอนนี้: null
มีเหรียญไม่พอซื้อแล้ว เติมเหรียญกันหน่อย
เหรียญที่มีตอนนี้ : null
Please Wait ...
ซื้อเหรียญเรียบร้อย
เลือกแพ็คเกจเติมเหรียญ
20
20 บาท
50
50 บาท
100
100 บาท
300
300 บาท
500
500 บาท
เลือกวิธีการชำระเงิน
Credit Card
Cash @Counter
Line Pay
ระบบจะนำคุณไปสู่หน้าจ่ายเงินของผู้ให้บริการ
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in