Makers
Store
Log in
You don't have any notification yet.
See All
My Wallet
null
Library
Settings
Logout
เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ
นโยบายความเป็นส่วนตัว
เพื่อใช้บริการเว็บไซต์
ยอมรับ
ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (3)
–
Chaitawat Marc Seephongsai
ชลารักษ์บพิตร: การจัดการน้ำของกษัตริย์ไทยจากพิธีกรรมสู่การพัฒนา
รีวิวเว้ย (1621) "
ย่างเดือนสิบเอ็ด น้ำเริ่มไหลนอง
พอเดือนสิบสอง น้ำในคลองก็เริ่มจะทรง ครั้นถึงเดือนยี่ น้ำก็ลี่ ไหลลง ไหลลง ตกเดือนสาม แล้วน้ำก็คงแห้งขอด ตลอดลำคลอง" (
น้ำลงเดือนยี่ - รุ่งเพชร แหลมสิงห์) ตอนเด็กเคยได้ยินเพลงน้ำลงเดือนยี่ทางวิทยุตอนหัวค่ำก่อนเข้านอน เราก็ไม่เคยสนใจว่าทำไม "ย่างเดือนสิบเอ็ดน้ำเริ่มไหลนอง" หรือแม้กระทั่งเพลงอย่าง "น้ำท่วม" จากปลายปากกาของครูไพบูลย์ บุตรขัน ที่ร้องว่า "
น้ำท่วม น้องว่าดีกว่าฝนแล้งพี่ว่าน้ำแห้ง ให้ฝนแล้งเสียยังดีกว่า น้ำท่วมปีนี้ทุกบ้านล้วนมีแต่คราบน้ำตา พี่หนีน้ำขึ้นบนหลังคา น้ำตาไหลคลอสายชล" และอีกหลายเพลงที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของ "น้ำ" และฤดูกาลที่มีน้ำเข้าไปเกี่ยวข้อง ซึ่งในปัจจุบันเราอาจจะหลงลืมไปว่า "น้ำ" เป็นวิถีสำคัญของชีวิตชาวสยามนับเนื่องมาจากครั้งอดีต กระทั่งการปฏิวัติเขียนและการเข้ามาของระบบชลประทานในสยามได้เปลี่ยนการรับรู้เกี่ยวกับเรื่องของน้ำและฤดูน้ำจากสยามถึงไทยไปเสียสิ้น
หนังสือ : ชลารักษ์บพิตร: การจัดการน้ำของกษัตริย์ไทยจากพิธีกรรมสู่การพัฒนา
โดย : อาสา คำพา และ ทิพย์พาพร อินคุ้ม
จำนวน : 288 หน้า
.
"
ชลารักษ์บพิตร: การจัดการน้ำของกษัตริย์ไทยจากพิธีกรรมสู่การพัฒนา" หนังสือชื่อยาวที่ว่าด้วยเรื่องของ "น้ำ" และประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับน้ำในสังคมสยามถึงไทยผ่านบทบาทของสถาบันกษัตริย์นับตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงการจัดการน้ำสมัยใหม่ในสมัยของ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช โดยที่หนังสือมุ่งการบอกเล่าให้ผู้อ่านเห็นถึงปฏิสัมพันธ์ระหว่างน้ำ สังคมสยามถึงไทย ที่ผูกโยงอยู่กับสถาบันกษัตริย์ทั้งการบอกเล่าผ่านพิธีกรรม ประวัติศาสตร์ เทคโนโลยี กระทั่งถึงเรื่องของพระราชอำนาจนำ (
royal hegemony
) ในการจัดการเรื่องของน้ำในสังคมจากสยามถึงไทย
.
ในส่วนของเนื้อหาใน
"
ชลารักษ์บพิตร: การจัดการน้ำของกษัตริย์ไทยจากพิธีกรรมสู่การพัฒนา" แบ่งออกเป็น 6 บท ที่บอกเล่าเรื่องของสถาบันกษัตริย์กับปฏิสัมพันธ์กับเรื่องของน้ำในมิติทางประวัติศาสตร์ที่บอกเล่าผ่านพิธีกรรม ธรรมเนียม ประเพณี และการจัดการน้ำในรูปของมนุษยนิยมที่บริหารจัดการน้ำผ่านเทคโนโลยีและโครงการที่เกี่ยวข้องกับการจัดการน้ำในด้านต่าง ๆ ของสถาบันกษัตริย์ โดยเนื้อหาทั้ง 6 บท แบ่งเป็นดังนี้
.
(1) ความสัมพันธ์ระหว่างพระมหากษัตริย์กับสังคม "เมืองน้ำ" ในประวัติศาสตร์ไทย
.
(2) สังคม "เมืองน้ำ" ในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยาและพระมหากษัตริย์ผู้เสด็จฯ มาใน "ฤดูน้ำ"
.
(3) เทคโนโลยีและวิธีวิทยาในการบริหาร จัดการน้ำสมัยจารีตถึงต้นรัตนโกสินทร์
.
(4) ชลประทานหลวงสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์
.
(5) "พระราชอำนาจนำ" กับ "การบริหารจัดการน้ำ" ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
.
(6) บทสรุป
.
"
ชลารักษ์บพิตร: การจัดการน้ำของกษัตริย์ไทยจากพิธีกรรมสู่การพัฒนา" ทำให้เราย้อนกลับมาคิดถึงเรื่องของสังคมไทยในฐานะของ "เมืองน้ำ" ที่หากเราย้อนกลับไปช่วงที่เราเป็นเด็ก หรือในสมัยที่ปู่-ย่า พ่อ-แม่ ของเราเป็นเด็กการใช้ชีวิตอยู่กับสายน้ำและฤดูกาลดูจะเป็นเรื่องปกติ โดยเฉพาะกับเด็กที่เกิด เติบโต และอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่แม่น้ำ 2 สายมาบรรจบกันด้วยแล้ว การอ่าน
"
ชลารักษ์บพิตร: การจัดการน้ำของกษัตริย์ไทยจากพิธีกรรมสู่การพัฒนา" ทำให้เราย้อนคิดถึงคบามสัมพันธ์ของคนในสังคมแห่งนี้กับวิถีของสายน้ำ ที่ในปัจจุบันเราแทบจะหลงลืมไปแล้วว่าการท่วมของน้ำในฤดูน้ำหลากมันเคยเป็นความปกติของผู้คนในยุคหนึ่งในอดีต หากแต่การบริหารจัดการน้ำในยุคปัจจุบันและความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ยังผลให้การตกของฝนที่นำไปสู่การท่วมของน้ำเป็นเรื่องใหญ่ยิ่งกว่าที่เคยผ่านมาในอดีตของสังคมนี้
Chaitawat Marc Seephongsai
Report
Views
รีวิวเว้ย (3)
–
Chaitawat Marc Seephongsai
View Story
subscribe
Previous
Next
Comments
()
Facebook
(
0
)
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in
ยืนยันการซื้อ ?
เหรียญที่มีตอนนี้: null
มีเหรียญไม่พอซื้อแล้ว เติมเหรียญกันหน่อย
เหรียญที่มีตอนนี้ : null
Please Wait ...
ซื้อเหรียญเรียบร้อย
เลือกแพ็คเกจเติมเหรียญ
เลือกวิธีการชำระเงิน
Credit Card
Cash @Counter
Line Pay
ระบบจะนำคุณไปสู่หน้าจ่ายเงินของผู้ให้บริการ
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in