เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (3)Chaitawat Marc Seephongsai
อำนาจของภาษาและวรรณกรรมไทย By สุจิตต์ วงษ์เทศ
  • รีวิวเว้ย (1260) ปัญหาสำคัญของโลกในศตวรรษที่ 21 ใครจะไปเชื่อว่าในยุคปัจจุบัน สงคราม และการเรียกร้องความเป็นเอกลักษณ์สำคัญในฐานะของผู้ถือครองเพียงหนึ่งเดียว อาทิ วัฒนธรรม ทรัพยากร และอื่น ๆ จะยังคงเป็นประเด็นสำคัญของโลกในทุกวันนี้ ทั้งที่งานวิชาการ งานศึกษาหลายชิ้นก็ชี้ให้เห็นแล้วว่าเขตแดนของรัฐในปัจจุบันเป็นเพียงเส้นเขตแดนที่กั้นและสร้างความเป็นประเทศหนึ่ง ๆ ขึ้นมา แต่มิใช่เขตแดนกันชนของการเคลื่อนย้ายทางวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และอื่น ๆ อีกมากมาย แต่ในท้ายที่สุดเขตแดนสมมติก็ยังนำพาไปสู่หายนะอย่าง สงครามทางกายภาพ และสงครามในโลกเสมือน ที่เกิดขึ้นเพื่อแย่งชิงดินแดนทั้งในรูปแบบของดินแดนทางกายภาพ และดินแดนทางวัฒนธรรม น่าแปลกใจว่าเป็นเพราะอะไรรัฐหลายแห่งและคนหลายคนจึงละเลยและหลงลืมเรื่องของความหลากหลายและการกลืนกลายทางวัฒนธรรม ทั้งที่ความหลากหลายนี้เองเป็นส่งผลให้รัฐหนึ่ง ๆ มีสถานะและรูปแบบของรัฐดังที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน สาระหลักของการแย่งชิงทั้งในเชิงกายภาพและวัฒนธรรมอยู่ที่ตรงไหนกันแน่ (?) และมันเกิดขึ้นมาเพื่ออะไรกันนะ (?)
    หนังสือ : อำนาจของภาษาและวรรณกรรมไทย
    โดย : สุจิตต์ วงษ์เทศ
    จำนวน : 523 หน้า

    "อำนาจของภาษาและวรรณกรรมไทย" หนังสือที่พาเราย้อนกลับไปไกลถึงช่วงเวลาก่อนประวัติศาสตร์ของพื้นที่แถบอุษาคเนย์ เพื่อพาเราย้อนไปทำความเข้าใจถึงรากฐานและที่มาที่ไปของสิ่งที่เรียกว่า "ภาษาไท-ไต" กลุ่มภาษาก่อนที่จะพัฒนาต่อมาจนเป็นภาษาของหลายประเทศในแถบอุษาคเนย์ โดยที่ "อำนาจของภาษาและวรรณกรรมไทย" พาเราย้อนกลับไปไกลถึง 3,000 ปีก่อนที่มีหลักฐานว่าพบวรรณกรรมไทยในหลักฐานเก่าตั้งแต่ครั้งกระโน้นในบริเวณพื้นที่โซเมีย (Zomia) กระทั่งถึงช่วงเวลาก่อนสมัยใหม่ของสยาม-ไทย (พ.ศ. 2400) ที่วรรณกรรมของไทยกำลังจะก้าวเข้าสู่ช่วงยุคของวรรณกรรมราชสำนักสยาม

    "อำนาจของภาษาและวรรณกรรมไทย" พาผู้อ่านย้อนกลับไปทำความเข้าใจรากของภาษาและวรรณกรรมไทยในหล่กหลายช่วงเวลานับตั้งแต่เริ่มแรกที่มีการพบหลังฐานในช่วงโซเมีย ไล่มาจนถึงช่วงเวลาการเข้ามาของวัฒนธรรมอินเดีย ที่ค่อย ๆ กลินกลายกับชุดความเชื่อเดิมของสังคมจนกลายมาเป็น "ไทย" ทั้งศาสนาไทย ภาษาไทย วัฒนธรรมไทย ชุดความเชื่อแบบไทย และมีสารพัดอย่างที่ถูกหลอมรวมเข้าจน "กลายเป็นไทย" โดยเนื้อหาของ "อำนาจของภาษาและวรรณกรรมไทย" แย่งออกเป็น 6 บทหลัก 1 คำ (บท) นำ ดังต่อไปนี้

    คำนำ

    (1) ภาษาและวรรณกรรมไทยสมัยแรกเริ่ม

    (2) คำบอกเล่าเริ่มแรกในดินแดนไทย

    (3) วัฒนธรรมอินเดียแผ่ถึงอุษาคเนย์

    (4) อำนาจของภาษาไทย

    (5) วัฒนธรรมนานาชาติในภาษาและวรรณกรรมไทย

    (6) ก่อนเข้าสู่ความเป็นสมัยใหม่

    ความน่าสนใจในการอ่านงานของ "สุจิตต์ วงษ์เทศ" ในหลายครั้งคือชุดความรู้ เครื่องมือ วิธีการ ที่ถูกหยิบมาใช้บอกกล่าวเล่าความ เป็นชุดวิธี ชุดความรู้ และชุดหลักฐานที่ในหลายหนก็ท้าทายชุดวิธีเหล่าหลักของสังคม (ประวัติศาสตร์กระแสหลัก) ซึ่งในทุกครั้งที่อ่านข้อเขียน หรือฟังบรรยายจากสุจิตต์ ไม่มีครั้งใดเลยที่เราจะเกิดเครื่องหมายคำถามตัวโต ๆ ต่อชุดวิธีคิดของประวัติศาสตร์กระแสหลักเมื่อสิ่งเหล่านั้นมาเจอเข้ากับชุดข้อมูลของสุจิตต์ แน่นอนว่าตลอดความยาวของ "อำนาจของภาษาและวรรณกรรมไทย" ต่างก็เป็นการท้าทายผู้อ่านให้ตั้งคำถามกับชุดความรู้และชุดข้อมูลที่เคยได้รับมาในตลอดช่วงชีวิตหนึ่งของผู้อ่านเป็นอย่างดี

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in