เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (3)Chaitawat Marc Seephongsai
เราไม่ได้ไปคีร์กีซสถานกันทุกวัน By พลอยอาภา ชุณหะนันทน์
  • รีวิวเว้ย (1476) ภายหลังการสิ้นสุดสงครามเย็นในปี ค.ศ. 1991 มีความเปลี่ยนแปลงหลายอย่างเกิดขึ้น ณ ช่วงเวลานั้น ทั้งในเรื่องของการแผ่ขยายของอุดมการณ์ประชาธิปไตยที่ถูกมองว่าจะกลายมาเป็นอุดมการณ์หลักเพียงชุดเดียวของโลกในกาลต่อมา (ซึ่งปัจจุบันพิสูจแล้วว่าไม่จริง) และการเกิดขึ้นของกลุ่มประเทศเกิดใหม่ที่เกิดขึ้นมาจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ออกม่เป็นประเทศต่าง ๆ หลายประเทศ อาทิ กลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช (Commonwealth of Independent States: CIS) ที่ได้รับเอกราชและตั้งเป็นประเทศภายหลังเหตุการณ์ดังกล่าว ซึ่งนอกจากประเทศในกลุ่ม CIS แล้วยังมีอีกหลายประเทศที่เกิดขึ้นภายหลังการสิ้นสุดสงครามเย็น และบทบาทรวมถึงอิทธิพลของโซเวียตถูกสลัดออกจากประเทศต่าง ๆ โดยรอบบริเวณ ทำให้เรามีโอกาสได้ยินชื่อของประเทศที่ไม่คุ้ยเคยหลากหลายประเทศ และหนึ่งในนั้นคือ "คีร์กีซสถาน" หนึ่งในประเทศที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน และมีเรื่องราวที่น่าสนใจให้เราได้ค้นหา
    หนังสือ : เราไม่ได้ไปคีร์กีซสถานกันทุกวัน
    โดย : พลอยอาภา ชุณหะนันทน์
    จำนวน : 224 หน้า
    .
    ในฐานะของนักเรียนวิชารัฐศาสตร์ เรารู้จัก "คีร์กีซสถาน" ในฐานะของประเทศเกิดใหม่ที่เกิดขึ้นภายหลังสงครามเย็นสิ้นสุด และเกิดขึ้นพร้อมกับประเทศตระกูล "สถาน" อีกหลายประเทศ นอกจากนั้นเราแทบไม่รู้อะไรเกี่ยวกับประเทศในกลุ่มนี้อีกเลย นอกจากข้อมูลทางภูมิศาสตร์ที่ว่ามีพื้นที่ติดกับประเทศจีนและเป็นเส้นทางค้าขายสำคัญในยุคโบราณที่เรียกกันว่า "เส้นทางสายไหม"
    .
    กระทั่งเมื่อได้อ่าน "เราไม่ได้ไปคีร์กีซสถานกันทุกวัน" หนังสือที่ทำหน้าที่เป็นบันทึกเรื่องราว 11 วันของการเดินทางใน "คีร์กีซสถาน" ประเทศที่ไม่อยู่ในความรับรู้ของใครหลายคน โดยสิ่งที่ปรากฏในเนื้อหาของ "เราไม่ได้ไปคีร์กีซสถานกันทุกวัน" คือการบอกเล่าเรื่องราวการเดินทางของ 2 นักเดินทาง 1 คนนำทางและอีก 1 เพื่อนคนนำทาง ที่พากันเดินทางสำรวจพื้นที่ต่าง ๆ ของคีร์กีซสถาน ทั้งวิถีชีวิตผู้คน อาหาร ธรรมชาติ ภูมิประเทศ วัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของกลุ่มคนที่ยังคงรักษาวัฒนธรรมของชนเผ่าเร่ร่อนที่มีวัฒนธรรมของการเลี้ยงสัตว์ในทุ่งหญ้าได้อย่างน่าสนใจ
    .
    อีกทั้ง "เราไม่ได้ไปคีร์กีซสถานกันทุกวัน" ยังบอกเล่าถึงที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของคีร์กีซสถานว่าวางตัวอยู่บนแนวเทือกเขาเทียนซานอีกด้ายของมณฑลซินเจียง ทำให้เรานึกถึงนวนิยายจีนกำลังภายในหลาย ๆ เรื่องที่มีโอกาสได้อ่านและได้ดู โดยเฉพาะ "เราไม่ได้ไปคีร์กีซสถานกันทุกวัน" ทำให้เราเข้าใจว่าทำไม "นิกายเม้งก้า" ถึงมีสาขาหลักอยู่ในดินแดนตะวันออกกลางหรือเอเชียกลางได้ และทำไมชนเผ่าเร่ร่อนที่อาศัยบนหลังม้าถึงได้เข้าไปมีบทบาทในประวัติศาสตร์จีนและนวนิยายหลาย ๆ เรื่องของจีน

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in