รีวิวเว้ย (1443) "ชัดเจนขึ้นทุกที ว่าเมื่อเรากล่าวถึงสุขภาพจิตและสุขภาวะในระดับเมืองแล้ว ขอบเขตการพิจารณาของเราต้องไปไกลเกินกว่าแค่วอดโรงพยาบาลมากนัก อีกทั้งความรับผิดชอบต่อแง่มุมดังกล่าวก็ไม่ใช่เรื่องของจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาคลินิกเท่านั้น การตัดสินใจออกแบบระหว่างผังเมืองส่งผลต่อชีวิตผู้คนในหลายรูปแบบ การตัดสินใจเหล่านี้เป็นใจกลางของขอบเขตที่ว่าเมืองแห่ง หนึ่ง จะรองรับและสนับสนุนสุขภาพจิตและสุขภาวะของประชากรเมืองแห่งนั้นแค่ไหน หรือในทางกลับกันก็คือ ขอบเขตที่ว่าเมืองแห่งนี้จะมีส่วนก่อให้เกิด หรือยืดเยื้อปัญหาสุขภาพจิตแค่ไหน ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องตระหนักถึงอิทธิพลเช่นนี้ รวมถึงบทบาทและโอกาสต่างๆของสภาพแวดล้อมเมืองอย่างเป็นทางการ นี่ล่ะคือวิทยาการปรับปรุงเมืองเพื่อการเยียวยา" (น. 388)หนังสือ : RESTORATIVE CITIES ให้นครเยียวยาใจ
โดย : ธาม โสธรประภากร แปล
จำนวน : 544 หน้า
.
"RESTORATIVE CITIES ให้นครเยียวยาใจ" หนังสือที่มุ่งเน้นคยามสำคัญของเมืองและการออกแบบเมืองไปที่เรื่องของ "การออกแบบเมืองเพื่อสุขภาพจิตและสุขภาวะ" โดยการบอกเล่าของหนังสือ "RESTORATIVE CITIES ให้นครเยียวยาใจ" คือความพยายามในการนำเสนอมุมมองที่สำคัญอีกประการหนึ่งของเมืองผ่านมิติเรื่องของสุขภาพวะทางจิตใจของผู้อยู่อาศัยในเมือง ที่ตลอดหลายปีนับตั้งแต่มีเมืองและมีการออกแบบเมือง การออกแบบเมืองมักละเลยในเรื่องของการศึกษาผลกระทบทางจิตใจและการออกแบบเมืองเพื่อรักษาและเยียวยาหัวใจของคนที่อาศัยอยู่ในเมือง
.
ด้วยความที่ "RESTORATIVE CITIES ให้นครเยียวยาใจ" นำเสนอมุมมองในเรื่องของการออกแบบเมืองผ่านใจความสำคัญในเรื่องของสิ่งที่ในหนังสือเล่มนี้ให้นิยามว่าเป็น "วิทยาการปรับปรุงเมืองเพื่อการเยียวยา" ซึ่งแน่นอนว่าสิ่งที่หนังสือ "RESTORATIVE CITIES ให้นครเยียวยาใจ" พยายามทำคือการนำเสนอมุมมอง แนวทางและเหตุผลในการออกแบบและปรับปรุงเมืองให้เมืองแต่ละแห่งโอบรับและช่วยเยียวยาผู้อยู่อาศัยในเมืองทั้งใหม่และเก่า ผ่านการบอกเล่าถึงเทคนิค วิธีการ ขั้นตอน แนวทาง ความสำคัญและเมืองตัวอย่าง ผ่านการอ้างอิงผลงานวิจัยและงานศึกษาหลายร้อยชิ้นที่ส่าด้วยเรื่องของ "การออกแบบเมืองเพื่อการเยียวยา"
.
สำหรับเนื้อหาของ "RESTORATIVE CITIES ให้นครเยียวยาใจ" ในแต่ละบท มีรูปแบบของการนำเสนอในลักษณะที่ใกล้เคียงกันในแต่ละบทของหนังสือ คือ เริ่มต้นจากการบอกเล่าว่าเมืองในแต่ละลักษณะคืออะไร มีความสำคัญและจำเป็นอย่างไร มีกรอบคิดหรือทฤษฎีอะไรรองรับในเรื่องของเมืองแต่ละรูปแบบ การกล่าวถึงกิจกรรมการดำเนินงาน เมืองตัวอย่าง รูปแบบในลักษณะของตุ๊กตาในการออกแบบย่านและเมือง โดยปิดท้ายแต่ละบทด้วยภาพที่เป็นการจำลองพื้นที่เมืองในแต่ละบทให้ปรากฎขึ้นเป็นรูปธรรม ซึ่งเนื้อหาทั้ง 8 เมืองและ 1 บทนำของ "RESTORATIVE CITIES ให้นครเยียวยาใจ" แบ่งไว้ดังนี้
.
01 บทนำสู่วิทยาการปรับปรุงเมืองเพื่อการเยียวยา
.
02 เมืองสีเขียว
.
03 เมืองสีน้ำเงิน
.
04 เมืองแห่งผัสสะ
.
05 เมืองที่เป็นมิตร
.
06. เมืองแห่งกิจกรรม
.
07. เมืองแห่งการละเล่น
.
08 เมืองที่ครอบคลุมคนทุกกลุ่ม
.
09 เมืองแห่งการเยียวยา
.
เมื่ออ่าน "RESTORATIVE CITIES ให้นครเยียวยาใจ" จนจบในแต่ละส่วนของเนื้อหาเราจะพบว่าเหตุใดการออกแบบหรือปรับปรุงเมืองให้สอดรับกับความเปลี่ยนแปลงและวิถีของผู้คนในเมืองเป็นเรื่องสำคัญ และ "RESTORATIVE CITIES ให้นครเยียวยาใจ" ช่วยให้เราเห็นภาพของการออกแบบเมืองที่จะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ซึ่งเนื้อหาตลอดเล่ม "RESTORATIVE CITIES ให้นครเยียวยาใจ" ทำให้เราเห็นด้วยกับข้อความที่ปรากฏอยู่บนคำโปรยปกหลังของหนังสือที่ว่า "เมืองแห่งอนาคตไม่จำเป็นต้องอาศัยวิสัยทัศน์สุดโต่งหรือดูล้ำสมัย เพียงแค่นำเอาสุขภาพจิต ความเป็นอยู่ที่ดี และคุณภาพชีวิตมาเป็นปัจจัยแรกสุดของการวางผังและออกแบบเมือง" ซึ่ง "RESTORATIVE CITIES ให้นครเยียวยาใจ" ช่วยตอกย้ำว่าความสำคัญของเมืองหาใจสิ่งปลูกสร้างหากแต่เป็นเรื่องคุณภาพชีวิตของผู้คนทั้งคนในเมืองเองและคนที่อยู่โดยรอบเมืองเหล่านั้นด้วย
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in