เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (3)Chaitawat Marc Seephongsai
ระหว่างทางศรัทธา By อัสมาดี บือเฮง
  • รีวิวเว้ย (1231) หลายเดือนมานี้เรามักได้ยินคำถามนี้อยู่บ่อยครั้งว่า "มันจะมีคนที่ยอมตายเพื่ออุดมการณ์อะไรบางอย่างจริง ๆ หรือ?" ซึ่งข้อคำถามนี้ส่งน้ำเสียงหรืออาจจะอยู่ที่บริบทของการเย้ยหยัน ว่ามันจะมีคนแบบนั้นอยู่จริง ๆ บนโลกนี้หรือ (?) ซึ่งคำถามดังกล่าวเกิดขึ้นกับกรณีของ "ตะวันแบม" สองนักกิจกรรมทางการเมืองที่อดอาหารและน้ำเพื่อประท้วงต่อความอยุติธรรมที่นักกิจกรรมทางการเมืองต้องเผชิญ แต่หากสังคมแห่งนี้มีสายตา สมองและความทรงจำที่ดีและยาวนานกว่าสิ่งที่ปรากฏตรงหน้าสักหน่อย เราจะพบว่าคำถามอย่าง "มันจะมีคนที่ยอมตายเพื่ออุดมการณ์อะไรบางอย่างจริง ๆ หรือ?" ไม่ใช่สิ่งที่ควรถามเพื่อตลอดห่วงระยะเวลาของสังคม สังคมแห่งนี้ล้วนมีคนที่เอาชีวิตของตัวเองเข้าแลกเพื่อรักษาและส่งต่ออุดมการณ์ที่พวกเขายึดถืออยู่เสมอ อาทิ สืบ นาคะเสถียร, นวมทอง ไพรวัลย์ และอีกหลายคนที่จบชีวิตลงเพื่อความเชื่อและอุดมการณ์ของตนโดยที่ไม่เคยมีใครได้เห็นหน้ากระทั่งไม่แม้กระทั่งได้ยินชื่อ
    หนังสือ : ระหว่างทางศรัทธา
    โดย : อัสมาดี บือเฮง
    จำนวน : 132 หน้า

    "ระหว่างทางศรัทธา" หนังสือจากผลผลิตของ "โครงการทัน เถียง ทน" ที่ได้ถ่ายทอดเรื่องราวของผู้คนมุสลิม โดยเฉพาะคนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ผ่านบทบันทึกจำนวน 17 บทบันทึก ที่สะท้อนและถ่ายทอดเรื่องราวของบุคคลสามัญธรรมดาที่ไม่รู้ชื่อ ไม่รู้หน้า ไม่รู้ตัวตน หลายคนที่ปรากฎอยู่ในเรื่องเล่าของ "ระหว่างทางศรัทธา" ต่างก็เป็นการบอกเล่าจากความทรงจำของคนในครอบครัวหรือคนที่รัก

    "ระหว่างทางศรัทธา" เป็นหนังสือที่สะท้อนเรื่องเล่าและเรื่องราวของคนมุสลิมที่หลายคนมีความหวัง ความฝัน ความศรัทธา ที่ถูกกดทับและบังคับจากรัฐไทยว่าสิ่งที่พวกเขาเหล่านั้นยึดมัน เชื่อถือเป็น "สิ่งต้องห้าม" ไม่สามารถกระทำได้ เมื่อรัฐเตือนแล้วไม่หยุดรัฐย่อมใช้กำลังและความรุนแรงปราบปราม กดขี้ ฆ่าทำลาย ภายใต้นิยาม "ในนามของความสงบ" แต่รัฐเองกลับลืมไปเสียสิ้นว่าตัวมันเอง ทั้งเรืองของอำนาจอธิปไตย เขตแดน บูรณภาพแห่งดินแดนล้วนเป็นสิ่งที่ "เพิ่งสร้าง" และสิ่งเหล่านั้นล้วนแต่สามารถปรับปรุงแก้ไขให้สอดรับกับความเปลี่ยนแปลงของโลก

    "ระหว่างทางศรัทธา" ทำให้เราย้อนนึกถึงวิธีคิดหนึ่งเกี่ยวกับการใช้ความรุนแรงที่รัฐทำหน้าที่เป็นเพียงผู้เดียวที่ผูกขาดการใช้ความรุนแรงไว้กับตัวได้ แต่ในทางหนึ่งการที่รัฐมีอำนาจเหล่านี้อยู่ในมือและรัฐอยู่ในสถานะของรัฐที่บอดใบ้ไม่เข้าใจความแตกต่งหลากหลาย เราจะยังคงเห็นการกดปราบและความตายของอีกกี่คนที่พวกเขาต่อสู้ เรียกร้อง ให้กับอุดมการณ์ที่แตกต่างและมุ่งหวังอยากสร้างสังคมที่หลากหลาย เพื่อให้สังคมแห่งนั้น ๆ เป็นพื้นที่ที่โอบรับทุกคนเอาไว้ไม่ให้ร่วงหล่น

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in