รีวิวเว้ย (1433) งานหลายชิ้นที่ศึกษาเรื่องเมืองต่างบอกไปในทิศทางเดียวกันว่าเมืองเป็นเสมือนสนามประลองของการจัดการในยุคใหม่ (อันหมายถึงตั้งแต่อดีตมา) เพราะเมืองเป็นพื้นที่ที่รวมเอาหลากปัญหามารวมเข้าไว้ด้วยกัน ครั้งหนึ่งนักวิชาการด้านปรัชญาและรัฐศาสตร์คนสำคัญของไทย เคยตั้งคำถามเอาไว้ว่า "วิชาใดเป็นวิชาพี่-น้อง กับวิชารัฐศาสตร์" คำตอบของคำถามคือ "วิชาสถาปัตยกรรม" เพราะรัฐและตลาด (เมือง) คือสิ่งที่เกิดขึ้นเกี่ยวเนื่องกัน เมืองกลายเป็นจุดท้าทายของหลายปัญหามาตั้งแต่อดีตกระทั่งปัจจุบันความท้าทายดังกล่าวก็ไม่ได้ลดหายไป หากแต่เปลี่ยนรูปแบบไปตามการพัฒนาของยุคสมัยหนังสือ : CITY SIGHTโดย : สรณรัชฏ์ กาญจนะวณิชย์จำนวน : 192 หน้า."CITY SIGHT" ในชื่อภาษาไทยว่า "เมืองที่มองไม่เห็น" หนังสือรวมบทความจำนวน 30 ชิ้น ที่จะถ่ายทอดมุมมองเกี่ยวกับเมืองที่หลายครั้งหลายหนคนในเมืองเองก็ละเลยเรื่องเหล่านั้น บ้างจงใจบ้างหลงลืมว่าเมืองยังคงมีองค์ประกอบที่หลายหลายทั้งที่ "มองเห็น" และ "มองไม่เห็น" แต่สิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นล้วนประกอบสร้างขึ้นมาเป็นเมืองหนึ่งเมือง ทั้งเรื่องที่ดีและเรื่องที่ดูจะเป็นปัญหาสำคัญในเมืองต้องแก้ไข
.
ย้อนกลับไปเมื่อ 7 ปีก่อน เราอ่าน "CITY SIGHT" ครั้งแรกตอนที่หนังสือออกมาใหม่ ๆ น่าสนใจว่าเมื่อเรากลับมาอ่าน "CITY SIGHT" หลังจากผ่านไป 7 ปีพบว่าปัญหาของเมืองในหลายเรื่องที่เคยปรากฏอยู่ในเล่มก็ยังคงปรากฏอยู่ในปัจจุบัน และปัญหาบางประการที่เคยเกิดขึ้นในเล่มโดยเฉพาะกับเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพฯ ได้รับการแก้ไขในสมัยปัจจุบัน ผ่านการดำเนินงานของกรุงเทพมหานคร ภายใต้การบริหารงานของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนใหม่ ที่ออกแบบระบบในการรับปัญหาและส่งต่อให้กับหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อแก้ไขอย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะเรื่องของการแก้ปัญหาที่เป็นเรื่องเกี่ยวเนื่องกับหน่วยงานอื่น ๆ ที่นอกขอบเขตของกรุงเทพมหานคร น่าสนใจว่าปัญหาของเมืองหลายประการที่ได้ถูกเขียนไว้เมื่อ 7 ปีก่อน กลับได้รับการแก้ไขด้วยความเปลี่ยนแปลงในเรื่องของเทคโนโลยีและการบริหารเมืองผ่านการทลายข้อจำกัดของระบบราชการไทย
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in