เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (3)Chaitawat Marc Seephongsai
อัจฉริยกษัตริย์พระองค์หนึ่งแห่งประเทศไทย By พีระ เจริญวัฒนนุกูล
  • รีวิวเว้ย (1406) 25 พฤศจิกายน (ของทุกปี) ถูกกำหนดให้เป็นวันสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า หรือที่หลายคนรู้จักในอีกวันหนึ่งอย่าง "วันลูกเสือไทย" ที่สมัยเป็นเด็กหากใครเป็นผลผลิตจากโรงเรียนไทยที่ถูกบังคับให้เรียนวิชาลูกเสือก ในทุกวันลูกเสือไทยจะถูกเกณฑ์ให้มาเข้าแถว สวนสนาม และมีบทเพลง "ราชสดุดี" ที่ร้องว่า "ข้าลูกเสือเชื้อไทยใจเคารพ ขอน้อมนบบาทบงส์พระทรงศรี พระบาทมงกุฎเกล้า จอมเมาลี ทรงปรานีก่อเกื้อลูกเสือมา" นับเป็นบทเพลงที่ถูกใช้ในวันดังกล่าวอย่างพร้อมหน้าในทุกโรงเรียนไทยที่มีสอนวิชาลูกเสือโดยทั่วกัน
    หนังสือ : "อัจฉริยกษัตริย์พระองค์หนึ่งแห่งประเทศไทย": รัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม กับพระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 6
    โดย : พีระ เจริญวัฒนนุกูล
    จำนวน : 21 หน้า
    .
    "อัจฉริยกษัตริย์พระองค์หนึ่งแห่งประเทศไทย": รัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม กับพระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 6 หนึ่งในบทความที่น่าสนใจในวารสารศิลปวัฒนธรรม ลำดับที่ 529 ปีที่ 45 ฉบับที่ 1 เดือนพฤศจิกายน 2566 โดยที่บทความชิ้นนี้ว่าด้วยเรื่องของการสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 6 โดยมีวัตถุประสงค์ของบทความดังนี้
    .
    "บทความนี้จะพาผู้อ่านไปตอบคำถามสำคัญว่า ความคิดในการสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 6 เริ่มมาได้อย่างไร ใครเป็นผู้ผลักดันโครงการดังกล่าว และความหมายเชิงสัญลักษณ์ของพระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 6 คืออะไรกันแน่ โดยบทความจะเล่าที่มาที่ไปจวบจนกระทั่งการเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ ณ สวนลุมพินี" -- (น. 128)
    .
    ความรู้สึกหนึ่งที่ปรากฏขึ้นหลังจากที่อ่าน"อัจฉริยกษัตริย์พระองค์หนึ่งแห่งประเทศไทย": รัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม กับพระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 6 จบลง คือ คำถามว่าเหตุใด จอมพล ป. จึงให้ความสำคัญ เอาจริงเอาจังและดูกระตือรือร้นกับการสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 6 ที่สวนลุมพินีนัก ซึ่งน่าสนใจว่าในส่วนท้ายของบทความผู้เขียนได้ตั้งคำถามต่อปัญหาดังกล่าว ที่เปิดโอกาสให้กับผู้อ่านลองทำความเข้าใจความคิดของจอมพล ป. อีกทางหนึ่ง โดยมิได้ชี้นำว่าเพราะเหตุใด "จอมพล ป. จึงเอาจริงเอาจัง" กัลเรื่องดังกล่าวนัก เพราะหากใครเคยอ่านงานชิ้นอื่น ๆ ที่ว่าด้วยเรื่องของอนุสาวรีย์ สถาปัตยกรรม เราอาจจะเห็นคำตอบของเรื่องนี้ในมิติที่แตกต่างกันออกไปตามแต่สิ่งที่ผู้อ่านสั่งสมไว้แต่กาลก่อน

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in