Makers
Store
Log in
You don't have any notification yet.
See All
My Wallet
null
Library
Settings
Logout
เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ
นโยบายความเป็นส่วนตัว
เพื่อใช้บริการเว็บไซต์
ยอมรับ
ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (3)
–
Chaitawat Marc Seephongsai
School Journey of Udon Thani By โครงการบัวหลวงก่อการครู
รีวิวเว้ย (1400) การออกแบบอะไรหลายอย่างของรัฐไทยมักกระทำไปในรูปแบบของคำเปรียบเปรยที่ว่าด้วยเรื่องของการ "ตัดเสื้อโหล" ที่ให้ความหมายถึงการออกแบบกฎเกณฑ์ ระเบียบ แนวทาง ข้องปฏิบัติ และอื่น ๆ ผ่านมาตรฐานเพียงอย่างเดียวและนำไปบังคับใช้ในแบบเดียวกันทั่วทั้งประเทศ ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วการกระทำในลักษณะของ one size fits all มักสร้างปัญหาอยู่บ่อยครั้งและในหนหลังตัวมันกลายเป็นปัญหาเสียงเองเพราะไม่สอดรับกับบริบทของพื้นที่ รวมไปถึงไม่สอดรับกับความต้องการของคนในแต่ละพื้นที่ แนวทาง
one size fits all ปรากฏให้เห็นอยู่บ่อยครั้งในหลายเรื่อง อาทิ ระบบการศึกษา การบริหารงานท้องถิ่น การจัดทำบริการสาธารณะ และอีกหลายเรื่องที่รูปแบบของการจัดการแบบ
one size fits all ส่งผลโดยตรงต่อการออกแบบกิจกรรมและบริการที่ตัดขาดความหลากหลายของพื้นที่ออกไปจากสมการ
หนังสือ :
School Journey of Udon Thani
โดย : โครงการบัวหลวงก่อการครู
จำนวน :
215
หน้า
.
"
School Journey of Udon Thani
" ในชื่อเต็มของหนังสือว่า "
School Journey of Udon Thani
นิเวศการเรียนรู้ผสานวิถีชุมชนในท้องถิ่นอุดรธานี" หนังสือที่แสดงให้เห็น ความสำคัญของความหลากหลายผ่านบริบทเรื่องของ "การจัดการศึกษาท้องถิ่น" ที่รูปแบบ วิถีการ ขั้นตอน กิจกรรม ที่นำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน ที่นำมาใช้ในการออกแบบการเรียนการสอน ไม่จำเป็นต้องใช้มาตรฐานหรือข้อกำหนดในแบบเดียวกันทั่งทั้งประเทศ เพราะโรงเรียน ผู้เรียน และพื้นที่ที่โรงเรียนและผู้เรียนอาศัยอยู่ ต่างก็มีศักยภาพแตกต่างกันออกไป ซึ่ง
"
School Journey of Udon Thani
" คือเครื่องยืนยันและสะท้อนให้เห็นถึงความแตกต่างหลากหลายเหล่านั้นในแต่ละชุมชนท้องถิ่น
.
ข้อความตอนหนึ่งใน
"
School Journey of Udon Thani
" ได้นำเสนอมุมมองของครูต่อการจัดการศึกษาในโรงเรียนของตัวเองเอาไว้ได้อย่างน่าสนใจ ดังข้อความว่า
"เราเอาความรู้ที่มีในท้องถิ่นมาสร้างเป็นความรู้ให้กับนักเรียนและเกิดประโยชน์กับชุมชน เป็นความรู้ที่ไม่ต้องหาซื้อ ไม่ต้องไปหาจากที่ไกล ๆ ทำให้นักเรียนรักในท้องถิ่น รักที่จะเรียนรู้จากสิ่งที่อยู่รอบตัวเขา" (น.18) ซึ่ง
"
School Journey of Udon Thani
" เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงภาพของความแตกต่างหลากหลายของทั้งพื้นที่ ท้องถิ่น และกิจกรรมที่สามารถนำมาสร้าง "นิเวศการศึกษา" ที่สอดรับกับความต้องการที่แตกต่างหลากหลายได้
.
โดยเนื้อหาของ
"
School Journey of Udon Thani
" มุ่งมั่นในการนำเสนอมุมมองผ่าน 8 โรงเรียน ที่เข้าร่วมโครงการบัวหลวงก่อการครู ในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี ที่โรงเรียนแต่ละแห่งมีเอกลักษณ์ อัตลักษณ์ ของพื้นที่ชุมชนแตกต่างกันออกไป ซึ่งเนื้อหาใน
"
School Journey of Udon Thani
" คือการนำเสนอมุมมองที่แตกต่างของโรงเรียนแต่ละแห่ง ที่จุดเน้น กิจกรรม และการขับเคลื่อนการศึกษาในโรงเรียนไม่จำเป็นต้องดำเนินไปบนมาตรฐานเดียวอย่างที่รัฐไทยนิยมอย่างในปัจจุบันนี้ สำหรับเนื้อหาของ
"
School Journey of Udon Thani
" แบ่งออกเป็น 8 บท ที่สะท้อนบริบทและกิจกรรมของโรงเรียนทั้ง 8 แห่งดังนี้
.
โรงเรียนบ้านนาคำหลวง สร้างนิเวศการเรียนรู้ สานต่อภูมิปัญญาท้องถิ่น เสริมทักษะอาชีพด้วย Active Learning
.
โรงเรียนบ้านน้ำพ่น การสอนที่เปี่ยใด้วยความเข้าใจ สู่การเรียนรู้อย่างมีสุขทั้งครูและนักเรียน
.
โรงเรียนบ้านกุดขนวน พัฒนาเด็ก พัฒนาครู เรียนรู้ไปด้วยกัน 'โปงลางโมเดล' นิเวศการเรียนรู้ที่เน้นลงมือทำจริง
.
โรงเรียนมิตรภาพ 6 บ่มเพาะความรู้ บ่มเพาะต้นกล้า นิเวศการเรียนรู้ที่หล่อเลี้ยงด้วยจิตวิญญาณความเป็นครู
.
โรงเรียนบ้านนาดีสร้างบง นิเวศการเรียนรู้ที่ไม่เคยสิ้นสุด ถ่ายทอดและสานต่อจากรุ่นสู่รุ่น
.
โรงเรียนอนุบาลหนองหานวิทยายน สานพลังครู เสริมการเรียนรู้ สร้างคนด้วยพลังแห่งความศรัทธา
.
นิเวศการเรียนรู้ของ โรงเรียนชุมชนสามพร้าว พัฒนาไปข้างหน้า ไม่ทอดทิ้งใครไว้ข้างหลัง
.
โรงเรียนบ้านหนองแวง สานพลังภาคีเครือข่าย สร้างการเรีนรรู้จากธรรมชาติและชุมชน สู่ความถนัดทางวิชาชีพ
.
โรงเรียนทั้ง 8 แห่ง ที่ปรากฏอยู่ใน "
School Journey of Udon Thani
" นับเป็นภาพสะท้อนที่ดี ที่ช่วยตอกย้ำในเรื่องของความสำคัญของความแตกต่างหลากหลายในสังคม ผ่านมิติในเรื่องของการจัดการความรู้ในโรงเรียน ที่โรงเรียนแต่ละแห่งในแต่ละพื้นที่สามารถจัดสร้างแนวทางการจัดการเรียนการสอนของตัวเองได้ และเป็นการยืนยันให้เห็นถึงความสำคัญในเรื่องของการให้อิสระ ต่อการออกแบบกิจกรรมของชุมชน เพื่อสร้างคนในชุมชนให้ออกมาในรูปแบบที่พวกเขาจะสามารถเป็นส่วนหนึ่งและส่วนสำคัญของชุมชนหนึ่ง ๆ ได้ โดยไม่จำเป็นต้องกลายเป็นคนแปลกหน้าในบ้านของตัวเอง เหมือนที่ครั้งหนึ่งระบบการศึกษาของรัฐไทยเคยพยายามที่จะกีดกันองค์ความรู้พื้นถิ่นและภาษาของท้องถิ่นออกไปจากระบบการศึกษาโดยรัฐ แน่นอนว่าในปัจจุบันปัญหาดังกล่าวยังคงมีอยู่ หากแต่มันจะลดลงอย่างมาก ถ้าทุกคนพร้อมที่จะปรับตัวเข้าหาชุมชนของตนเอง เพราะอย่างน้อย
"
School Journey of Udon Thani
" ได้แสดงให้เห็นตัวอย่างแล้วว่าสิ่งเหล่านั้นสามารถเกิดขึ้นได้ และเกิดขึ้นได้อย่างดีเสียด้วย
Chaitawat Marc Seephongsai
Report
Views
รีวิวเว้ย (3)
–
Chaitawat Marc Seephongsai
View Story
subscribe
Previous
Next
Comments
()
Facebook
(
0
)
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in
ยืนยันการซื้อ ?
เหรียญที่มีตอนนี้: null
มีเหรียญไม่พอซื้อแล้ว เติมเหรียญกันหน่อย
เหรียญที่มีตอนนี้ : null
Please Wait ...
ซื้อเหรียญเรียบร้อย
เลือกแพ็คเกจเติมเหรียญ
เลือกวิธีการชำระเงิน
Credit Card
Cash @Counter
Line Pay
ระบบจะนำคุณไปสู่หน้าจ่ายเงินของผู้ให้บริการ
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in