เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (3)Chaitawat Marc Seephongsai
ฝนโปรยปรายใต้มงกุฎ By สันติสุข กาญจนประกร
  • รีวิวเว้ย (1246) ในฐานะของคนอ่านและรีวิวหนังสือมาบ้าง ในทุกครั้งที่ต้องหยิบเอาหนังสือในกลุ่มของวรรณกรรมมารีวิว เรายังคงหนักใจทุกครั้งเพราะการรีวิวหนังสือกลุ่มนี้ "ไม่เคยง่าย" ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะเรื่องของความต้องระวังที่อาจจะเผลอเปิดเผยเนื้อหาที่สำคัญของชิ้นงานนั้น ๆ จนอาจจะสร้างความเสียหายต่อการนำพาผู้อ่านไปพบกับสิ่งที่ซ่อนหาอยู่ในเนื้อหาด้วยตัวเอง และความลำบางอีกประการหนึ่งคือหนังสือในกลุ่มนี้ "เล่นกับผู้อ่าน" โดยที่ผู้อ่านแต่ละคนอาจจะได้รับสารที่สื่อออกมาจากชิ้นงานได้แตกต่างกัน ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ ความคิด ความรู้ ความเชื่อและอีกสารพัดสิ่งที่ อาจารย์เดชา ผู้สอนปรับชญาตอนเราเรียนเรียกสิ่งเหล่านั้นว่า "ถุงเครื่องหลัง" ด้วยความที่ทุกคนมีสิ่งของที่อยู่ในถุงเครื่องหลังแตกต่างกันออกไป การกล่าวถึงหนังสือในกลุ่มนี้จึงไม่ง่ายด้วยประการทั้งปวง
    หนังสือ : ฝนโปรยปรายใต้มงกุฎ
    โดย : สันติสุข กาญจนประกร
    จำนวน : 280  หน้า

    "ฝนโปรยปรายใต้มงกุฎ" หนังสือรวม 10 เรื่องสั้น 1 บทเกริ่นนำและอีก 1 บทส่งท้าย ที่ผู้เขียนตั้งใจบอกเล่าเรื่องราวผ่านตัวละครในเรื่องสั้นแต่ละเรื่อง ที่สิ่งเหล่านั้นสะท้อนภาพของสังคมหนึ่ง ๆ อยู่ตลอดเวลาในเรื่องสั้นแต่ละชิ้น ความน่าสนใจประการหนึ่งของการอ่าน "ฝนโปรยปรายใต้มงกุฎ" ที่เกิดขึ้นกับตัวเราในฐานะผู้อ่าน คือ เราไม่แน่ใจว่าตอนที่อ่านเรื่องสั้นหลายเรื่องใน "ฝนโปรยปรายใต้มงกุฎ" อยู่นั้น เรากำลังอ่านเรื่องจริงหรือเรื่องเล่า แล้วอันไหนกันแน่ที่เป็นเรื่องเล่าและอันไหนกันนะที่เป็นเรื่องจริง

    ในบทเกริ่นนำก่อนเข้าสู่เนื้อหาได้เขียนเอาไว้ในตอนหนึ่งว่า "ในความคิดของดิฉัน ฝนโปรยปรายใต้มงกุฎ คือ การบันทึกประวัติศาสตร์สามเหตุการณ์ข้างต้น (การรัฐประการ 2549, การสลายการชุมนุม 2553 และ การรัฐประหาร 2557) 'ระลอกสอง' ซึ่งผู้เขียนมีความแจ่มชัดว่าควรรู้สึกหรือคิดเห็นต่อสามเหตุการณ์ข้างต้นเช่นใด มากกว่าหลังเกิดเหตุการณ์ใหม่ ๆ หรือ 'ระลอกแรก' ... วรรณกรรมในระยะนั้นโดยการนักเขียนจึงราวกับสัมผัสเหคุการณ์อย่างกล้า ๆ กลัว ๆ และมีระยะห่างกับเหตุการณ์แบบคนนอก" (น. 6-7)

    แต่สำหรับเราแล้ว เรากลับคิดว่า "ฝนโปรยปรายใต้มงกุฎ" คือวรรณกรรมที่เป็นผลสืบเนื่องจากสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2563 วันที่เปลี่ยนโฉมหน้าและทะลุเพดานการเมืองไทยให้สังคมก้าวไปสู่ความเปลี่ยนแปลงที่ทุกคนเคยรู้อยู่แก่ใจหากแต่ไม่กล้าพอที่จะพูดถึงสิ่งเหล่านั้น ในฐานะของคนอ่าน "ฝนโปรยปรายใต้มงกุฎ" เป็นผลงานวรรณกรรมอีกชิ้นหนึ่งสำหรับเราที่เป็นผลผลิตจากช่วงเวลาของการเปลี่ยนผ่านในวันนั้นที่ชัดเจน

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in