เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
What I watchedDetached Girl
The Fundamental of Caring/บทเรียนพื้นฐานของการใส่ใจ
  • ALOHA - Ask, Listen, Observe, Help, Ask again
    ไม่มากไปกว่านี้ ไม่น้อยไปกว่านี้


    บังเอิญได้ดูเรื่องนี้เพราะตามไปฟังเพลง Take Me As I Am ของ Au Revoir Simone (จากเรื่อง Please Stand By) ในยูทูปมา แล้วเห็นคนคมเมนท์ว่าตามมาจากเรื่องนี้กันเยอะมาก เป็นหนึ่งในหนังที่ดี บวกกับมีให้ดูในเน็ทฟลิกซ์ด้วย ก็เลยจัดซะเลย

    หนังเป็นเรื่องของเบน ผู้ชายวัยกลางคนที่เปิดเรื่องมาก็ดูหม่นหมองเสียเหลือเกินแล้ว งานไม่มีชีวิตรักก็ล่ม เขาได้สมัครเป็นผู้ดูแลเทรเวอร์ ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อลีบดูเชนน์ (ใครคุ้นๆ มาจากไบโอบีมบ้าง) ที่ไม่เคยใช้ชีวิตนอกห้องนั่งเล่นนานๆ ต้องนั่งวีลแชร์และได้จะมีชีวิตอยู่ได้ไม่นาน หนังมันก็ตามสูตร ทั้งสองคนได้เปิดมุมมองใหม่ๆ ให้ชีวิตของกันและกันผ่านการผจญภัย

    แต่หนังเรื่องนี้ละเอียดอ่อนและคุ้มค่าแก่การดูมากกว่านั้น

    เทรเวอร์ เบน พีชชี่ และด็อธ


    ใช้อารมณ์ขันเป็นกลไกรับมือกับสถานการณ์

    จากเรื่องจะเห็นว่าเทรเวอร์นางเป็นคนมีอารมณ์ขันที่ต่างชาติเรียกว่า ironic/sacarstic คือเป็นแนวประชดประชัน ตลกหน้าตายทำนองนั้น ซึ่งจริงๆ มันเป็นกลไกรับมือทางจิตวิทยาของของมนุษย์จริงๆ อย่างเทรเวอร์คือถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคตั้งแต่สามขวบ พ่อรับไม่ได้หนีไป แน่นอนว่ามันต้องมีเรื่องแย่ๆ สารพัดในชีวิตนางจนเกิดเป็นความรู้สึกแบบ เอ้อ มีอะไรแย่กว่านี้อีกมั้ย พรุ่งนี้ตื่นมากินแพนเค้กจะติดคอตายมั้ยวะ เราว่ากว่าการที่คนเราจะผ่านจุดอะไรหลายๆ อย่างจนกว่าจะมายืน (หรือนั่ง ในกรณีของเทรเวอร์) ขำให้กับชีวิตของตัวเองได้นี่มันต้องหนักหนาพอควร ซึ่งเทรเวอร์ของเราอยู่ในจุดๆ นี้


    ความรู้สึกไถ่บาป?

    เราสะดุดใจฉากนึงมากที่เทรเวอร์บอกเบนว่าที่เบนมารับงานดูแลผู้ป่วยเพราะอยากไถ่โทษในสิ่งที่ตัวเองทำผิดไปเมื่อก่อน ซึ่งเบนปฏิเสธไป แวบแรกเราก็คิดเหมือนเทรเวอร์จนกระทั่งเบนบอกนี่แหละ ทำให้เราตีความุมมองของเบนใหม่ เขาเคยทำเรื่องผิดพลาดมาก่อน เขาอาจจะผ่านจุดที่โทษตัวเอง โศกเศร้าเสียใจ อยากกลับไปแก้ไขสิ่งที่ตัวเองทำลงไปหรือถ้าย้อนเวลาไม่ได้ อย่างน้อยให้ทำดีชดใช้ก็ยังดี

    แต่สำหรับเรา เราว่าเบนเองก็ผ่านจุดนั้นมาแล้วเหมือนกัน เราชอบการตีความตัวละครนี้ (บวกกับการแสดงของพอล รัดด์) ที่ทำให้เห็นว่าแววตาของเบนส่วนมากว่างเปล่า เขาไม่ได้เศร้า หรือจมอยู่กับความเสียใจตลอดเวลา มันเหมือนเบนได้ผ่านการปิดกั้นตัวเองมาแล้ว เขากลายเป็นคนด้านชาไร้ความรู้สึก ยิ่งประกอบกับภรรยาขอหย่ามันยิ่งทำให้ชีวิตเคว้างคว้าง ไม่มีสิ่งยึดเหนี่ยวอยู่กับใคร เราว่าการที่เบนเลือกมาเป็นผู้ดูแลเพราะทางเดียวที่จะทำให้เบนกลับมามีความรู้สึกได้คือผ่านผู้อื่น

    "ฉันไม่สามารถดูแลผู้อื่นได้ ถ้าฉันไม่สามารถดูแลตัวเอง"



    ช่วยฉันช่วยเธอ

    และนี่แหละที่เราคิดว่ามันคือใจความหลักของเรื่อง ทั้งเทรเวอร์และเบนต่างผ่านจุดที่ปิดรับทุกสิ่งใดๆ จมอยู่กับความทุกข์และความเศร้าเสียใจ จนมาถึงจุดที่อยากจะผ่านมันไปให้ได้ซักทีแล้ว เทรเวอร์เองก็ใช้ชีวิตแบบ +/0 ถ้าวันไหนมีเรื่องดีๆ ก็เป็นกำไร ถ้าบังเอิญมีเรื่องแย่ก็คิดซะว่าเราเคยรู้สึกแย่มากกว่านี้และผ่านมาได้ ส่วนเบน เขาก็เริ่มเรียนรู้ที่จะใช้ชีวิตอีกครั้งหนึ่ง หัดพาตัวเองไปผูกติดกับโลกใบนี้ที่เขาเคยหันหลังให้มัน และการช่วยให้เทรเวอร์ได้ทำสิ่งใหม่ๆ มีความสุขในชีวิตก็ทำให้เบนเริ่มกลับมารับรู้ว่าการกลับมามีความรู้สึกอีกครั้งมันเป็นยังไง


    สรุป

    บรรยากาศของ The Fundamental of Caring สำหรับเรา เอาจริงๆ มันเหมือนพ่อมดออซผสม The Breakfast Club 555 ก็คือระหว่างทางสองตัวเอกของเราก็ไปเจออีกสองสาวที่ชีวิตค่อนข้างวุ่นวายเหมือนกันแล้วก็บังเอิญมาขอติดรถเทรเวอร์และเบน สุดท้ายก็ประสบการณ์ดีๆ ให้กันและกัน หนังเสนอให้เห็นว่าแต่ละคนก็ต่างมีปัญหาและเรื่องของตัวเองให้คิด แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีโอกาสได้เจอเรื่องดีๆ ระหว่างปัญหานั้น ดังนั้นถ้ามีโอกาสก็เก็บเกี่ยวมันไว้ซะ

    จริงอยู่ที่พื้นหลังของตัวละครมันออกเป็นแนวเรียบๆ โทนกลางๆ หมดเลย ข้อเสียก็คือบางจุดที่มันดึงอารมณ์เราไม่สุด ไม่อินกับหนังมากอย่างที่คิดว่าเราจะอิน ซึ่งเข้าใจได้ว่าหนังไม่ได้ต้องการเสนอมุมมองนั้น ข้อดีจริงๆ คือการที่หนังถ่ายทอดตัวละครออกมาได้ดีและกลมกล่อมมากๆ ต่างหาก เราชอบเรื่องราวของทั้งสองตัวละครหลักและของสองสาวด็อธและพีชชี ถึงตอนจบต่างคนก็ต่างแยกย้ายกันไป แต่เราว่าถ้าคนพวกนี้เคยดู The Breakfast Club ตอนจบพวกเขาก็คงจะชูกำปั้นขึ้นสูงๆ เหนือหัว (แน่นอนว่าเทรเวอร์ทำได้) เหมือนที่เราทำในใจตอนดูจบแน่ๆ

    ป.ล. เราว่าตอนจบเรื่องนี้ iconic ไม่แพ้เรื่อง The Breakfast Club เลยนะจริงๆ55
     



Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in