พี่ไปเข้าอบรมทึ่บริษัท การบริหารการเงินเตรียมตัวก่อนเกษียณ อายุ 50 ปีขึ้นไป
เค้าแจกเอกสาร มีตารางด้านซ้าย สินทรัพย์
มีอะไรบ้าง บ้าน ที่ดิน ทองคำ เงินสด รถ มูลค่าเวนคืนกรมธรรม์ ทรัพย์สินในบ้านที่สามารถขายได้
ตารางด้านขวา หนี้สิน เช่น หนี้บัตรเครดิต หนี้บ้าน ผ่อนรถ ผ่อนเครื่องใช้ไฟฟ้า หนี้นอกระบบ
เพื่อให้เราคำนวณ สินทรัพย์ - หนี้สิน แล้วเรายังมีเงินคงเหลือ เก็บไว้ใช้ยามหลังเกษียณรึเปล่า
สมมติว่า เราเกษียณ อายุ 60 ปี
เราใช้จ่ายเดือนละ 1 หมื่นบาทปีละ 1.2 แสนบาท
ถ้าอยู่ถึง 80 ปี ตัองมีเงินเตรียมไว้
20 ปี × 120,000 บาท/ปี = 2,400,000 บาท
ถ้า 2 สามีภรรยา ก็ใช้เงิน 4,800,000 บาท
ซึ่งยังไม่นับอัตราเงินเฟ้อ ค่าใช้จ่ายเวลาเจ็บป่วยกันเลยนะ
คิดได้ เราก็ต้องเริ่มมีวินัยทางการเงิน ทำอย่างไรให้มีเงินออมกัน
หากอายุ 30 ปี ทำงานได้อีก 30 ปี ก็ต้องออมเงิน
2,400,000 บาท / 30 ปี / 12 เดือน
= 6,666 บาท/ เดือน / คน
หากอายุ 40 ปี ทำงานอีก 20 ปี ก็ต้องออมเงิน
2,400,000 บาท / 20 ปี / 12 เดือน
= 10,000 บาท/ เดือน / คน
และมีสูตรว่า : รายรับ - เงินออม = ค่าใช้จ่าย
เราใช้จ่ายได้หลังหักเงินออมไว้แล้ว ก็จะออมได้สำเร็จตามเป้าหมาย
อันนี้ยกตัวอย่างง่ายๆ ชีวิตจริง ซับซ้อนมีปัจจัยอื่น ที่มาบั่นทอนการออมเงินเยอะมาก เราต้องอดทน มีวินัยต่อตนเอง และให้เงินออมนั้น มีดอกเบี้ยด้วย โดยการฝากธนาคาร ซื้อสลากออมสิน, ซื้อสลาก ธกส, ซื้อกองทุน, ซื้อทอง ก็จะช่วยให้มีเงินเพื่มขึ้น
มีกรณีตัวอย่าง น้องคนหนึ่ง เป็นหนี้บัตรเครดิต 4 หมื่นบาท จ่ายรายเดือนต่ำสุด เพียง 10% เค้าจะถูกธนาคารคิดดอกเบี้ย 20% บางครั้งจ่ายช้า ก็มีค่าปรับด้วย และหากรูดบัตรเพิ่ม หนี้ก็ทบเป็นดินพอกหางหมูกันทีเดียว
หมายความว่า ปีหนึ่งๆ เค้าจ่ายดอกเบี้ยเกือบหมื่นบาท 4 ปี ปาเข้าไปเกือบเท่ายอดเงินต้นเลย ในขณะที่เค้าห้อยสร้อยทอง 2 บาท ราคาใกล้เคียงกัน
หากเค้าขายสร้อยทอง ชำระหนี้บัตรเครดิตเลย เค้าสามารถเก็บเงินได้ปีละร่วมหมื่นบาท 4 ปี เค้าสามารถซื้อทองได้ 2 บาท และไม่มีหนี้สิน
หากเราหัดวิเคราะห์ มีวินัยต่อตนเอง ออมเงินตั้งแต่วันนี้ ชีวิตวัยชราก็ไม่ต้องรอคอยพึ่งลูกหลาน เป็นคนสูงวัยที่มีคุณภาพนะคะ
?????
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in