Melodrama เป็นงานที่คล้ายกับการเกิดใหม่ของตัวนักร้องสาวคนนี้ด้วยการเปลี่ยนแปลงไม่ว่าจะเป็นเรื่องของลุคที่ดูมีความสดใส ทิ้งความเป็น goth และความมืดหม่นในอัลบั้มแรกออกไป
ในด้านดนตรีที่ตัว Lorde ได้จับมือกับ Jack Antonoff โปรดิวเซอร์มากฝืมือที่ทำเพลงให้กับป๊อบสตาร์มากมาย อาทิ Taylor Swift (และเขายังคือมือกีต้าร์ของวง fun. และเจ้าของโปรเจค Bleachers อีกด้วย) ดนตรีแนวหลักใน Melodrama ได้ผันจากการเล่นดนตรีสาย minimal อย่าง dream pop หรือ electronic ใน Pure Heroine มาจับต้องดนตรีสาย pop ที่ผสมผสานความ maximal และ minimal ออกมาได้อย่างดีเยี่ยม แถมเพลงในอัลบั้มยังมีการเล่นกับซาวน์ใหม่ๆที่ไม่มีในชุดแรกอย่างกีต้าร์ เปียโน หรือเครื่องสายต่างๆบวกกับบีท hip-hop อีกด้วย ผลลัพท์ออกมาจึงทำให้งานเพลงในชุดนี้มีมิติ และเข้าถึงคนฟังในวงกว้างได้มากขึ้น
1. Green Light
ซิงเกิ้ลแรกและ Opening Track ของ Melodrama ที่ผู้ฟังจะได้สัมผัสถึงจุดเริ่มต้นใหม่ของ Lorde เพลงนี้ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของอัลบั้มนี้ เพราะเป็นการใช้ความสดใหม่ทั้งในด้านของดนตรีที่เอาเสียงเปียโนและบีทแบบที่ผู้ฟังไม่เคยได้ยินมาก่อนใน Pure Heroine บวกกับเนื้อหาที่ใช้สัญลักษณ์ของไฟเขียวมาเป็นตัวบอกถึงว่านักร้องสาวพร้อมที่จะเริ่มต้นการใช้ชีวิตแบบใหม่หลังจากความผิดหวังในความรักมา ทั้งยังมีการเริ่มสอดแทรกความ melodramatic ในแง่ที่ตัวนักร้องมีความสับสนในเรื่องของการปล่อยวางอดีตและการวิ่งเข้าสู่โลกของอบายมุขต่างๆที่จะได้รับการพูดเพิ่มขึ้นในเพลงต่อๆไป
2. Sober
หลังจากพบกับ "ไฟเขียว" ที่ปล่อยให้ Lorde ได้ออกไปเริ่มต้นใช้ชีวิตใหม่ เธอก็ได้เข้าสู่ภวังค์ของยาเสพติด แอลกอฮอล์ และ sex กับในเพลง "Sober" สำหรับเพลงที่สองของงานชุดนี้ (ส่วนตัวคือเพลงที่ดีที่สุดใน Melodrama ในความคิดผู้เขียน) ยังคงความเป็น Lorde ในเพลงด้วยดนตรีแบบ minimal แต่เพิ่มความ tribal เข้าไปเพลงด้วยจังหวะกลองแบบชนเผ่า บวกกับเสียงของเครื่องเป่ามาในท่อนฮุคที่ช่วยเพิ่มความเท่ในเพลง แต่ในด้านเนื้อหาก็ยังคงแฝงข้อคิดที่พูดการหลุดในความมึนเมาของอบายมุขต่างๆในแง่ที่ว่า หากเราตื่นขึ้นมาจากภวังค์เหล่านั้น แล้วเราจะใช้ชีวิตอย่างไรกันต่อไป? ("But what will we do when we're sober?")
3. Homemade Dynamite
เพลงที่สามของอัลบั้มที่ได้รับการ premier ครั้งแรกใน Coachella "Homemade Dynamite" ถือเป็นเพลงที่ตอกย้ำความเป็น party song ได้ดีที่สุดในอัลบั้ม เพราะเนื้อหาที่กล่าวถึงการออกไปมีความสุขกับคนรักและผองเพื่อน เนื้อหาของเพลงได้ใช้ metaphor ของความรุนแรงของไดนาไมท์มาเป็นตัวเปรียบเทียบกับการใช้ชีวิตของวัยรุ่นที่ต้องการกบฏ (rebel) ในด้านดนตรีก็เป็นเพลง uptempo ที่ใช้ซาวน์ของ synth มาเดินจังหวะให้เพลงที่เหมาะกับการไปเปิดในงานปาร์ตี้เป็นอย่างมาก แถมเพลงนี้ยังมี Tove Lo มาช่วยแต่งเนื้อร้องให้อีกด้วย
4. The Louvre
ในบรรดาความมืดหม่นของเนื้อร้องของทุกเพลงในอัลบั้ม "The Louvre" คือเพลงที่มีความ optimistic มากที่สุด Lorde ได้ทำการกล่าวถึงการที่ได้เจอคนรักคนใหม่ (ที่อาจจะเจอในปาร์ตี้ของสองเพลงก่อนหน้านี้) และต้องการประกาศความรักของทั้งสองให้โลกได้รู้ด้วยการนำรูปของทั้งคู่ไปแขวนไว้ที่ The Grand Louvre (พิพิธพันธ์งานศิลปะที่ใหญ่ที่สุดโลกที่ปารีส) ตัวเพลงเปิดมาด้วยเสียงกีต้าร์ก่อนที่จะสาดมาด้วยซาวน์อิเล็กทรอนิกส์ในช่วงฮุคที่เพิ่มให้เพลงมีมิติซับซ้อนมากขึ้น บวกการกับร้องสไตล์ Lorde ที่ชวนให้ขนลุกกับท่อน "Broadcast the boom, boom, boom, boom / And make 'em all dance to it" ที่มีการโยงกลับไปที่ไดนาไมท์ของเพลงที่แล้วอีกด้วย
5. Liability
และเมื่อปาร์ตี้จบลง ความเป็นดราม่าควีนก็สิงกลับเข้าร่างของ Lorde อีกครั้ง ส่งผลให้เกิดเป็น "Liability" ที่พูดถึงความคิดมากที่ส่งผลให้คนรักรอบกายของเธอต้องขยาดและกลายมาเป็นความจิตตกมองว่าตนเองคือ "ภาระ" ตัวเพลงมีความย้อนแย้งกัน (paradox) ในเรื่องที่พูดถึง self-loathing และ self-love ซึ่งสองความรู้สึกนี้ก็ช่วยทำให้ผู้ฟังได้เข้าใจถึงปัญหาของคนคิดมากที่มักตกเป็นเหยื่อของความคิดตนเอง ในด้านของดนตรี เพลงนี้คือความสดใหม่ที่สุดที่ผู้ฟังจะได้ทึ่งกับการที่ Lorde ใช้แค่เปียโนเป็นเครื่องดนตรีชิ้นเดียวในการถ่ายทอดออกมาเป็น ballad เยือกเย็นชวนให้เศร้า
6. Hard Feelings/Loveless
บทเพลงมหากาพย์หกนาทีที่ปิดครึ่งแรกของอัลบั้มอยากยิ่งใหญ่กับ "Hard Feelings" และ "Loveless" ในส่วนของเพลงแรกมีการใช้ดนตรี electronic ทำเป็นเพลงช้าๆ โดยมีเนื้อร้องที่พูดถึงการที่ Lorde ได้สงบสติลงการสติแตกในเพลงที่แล้ว และเริ่มมีความเข้าใจเกี่ยวกับการเลิกลาและความผิดหวังของความรัก โดยในเพลงมีการใช้การเปรียบเทียบความสุขที่เหมือนฤดูร้อนที่ได้จบลงและเข้าสู่ความหนาวเหน็บและโดดเดี่ยวในฤดูหนาว ในเพลงที่สอง "Loveless" ก็ยังคงเป็นเพลงแนว electronic ที่มีจังหวะเร็วมากขึ้น แต่เนื้อหากลับเป็นขั้วตรงข้าม Lorde ได้พูดการที่เธอสามารถเรียนรู้ถึงความเจ็บปวดจากความรักและใช้มันสร้างกำลังใจในการใช้ชีวิตต่อไปโดยไม่ต้องแคร์คนรักเก่า และเธอยังมีการพูดถึงวัยรุ่นในยุคของเธอว่าเป็นพวกที่อยู่ได้โดยไม่ต้องมีความรัก
7. Sober II (Melodrama)
Opening Track ของเพลงครึ่งที่สองใน Melodrama ที่เปิดเพลงมาด้วยการเดินดนตรีด้วยเครื่องสายต่างๆ และสับขาหลอกด้วยบีทฮิปฮอปแบบจัดหนักในครึ่งของเพลง "Sober II" คือภาคต่อของเพลงชื่อเดียวกันที่ใช้ไอเดียเรื่องการสร่างเมาและตื่นจากภวังค์ของเหล่าอบายมุขมาต่อยอด Lorde ได้ทำการเตือนคนฟังอีกหนึ่งครั้งกับความดราม่าเกินเหตุของเพลงในอัลบั้ม "We told you this was melodrama." และเพลงยังช่วยให้เราเข้าใจถึงการที่ความทุกข์ต่างๆที่พรั่งพรูเข้ามาหลังจากการหนีปัญหาของคนเราผ่านสิ่งเสพติดต่างๆ
8. Writer in the Dark
อีกหนึ่ง piano ballad ทรงพลังในอัลบั้มที่ตอกย้ำความเป็นคนเสพติดดราม่าของ Lorde "Writer in the Dark" บอกเล่าเรื่องราวความโศกเศร้าและความคิดถึงคนรักเก่า Lorde ในเปรียบเทียบตัวเองเป็น "นักเขียน" ที่ได้บอกเล่าเรื่องราวความรักของเธอต่อสาธารณะชน และมีความคิดที่ว่าคนรักเก่าของเธอนั้นต้องรู้สึกผิดพลาดกับการได้มีความสัมพันธ์กับเธอ เนื้อเพลงท่อน "I am my mother's child / I'll love you 'til my breathing stops / I'll love you 'til you call the cops on me." จัดว่าเป็นท่อนที่แสดงการอุทิศต่อความรักที่แท้จริง แต่ก็ดูมากเกินไปจนดูมีความจิต ซึ่งก็จัดว่าตรงกับคอนเสปต์ melodramatic ของอัลบั้มได้อย่างดี
9. Supercut
หนึ่งในแทรค uptempo ของ Melodrama ที่ไม่ได้มีโทนของเนื้อหามืดมนเท่ากับเพลงอื่นๆ supercut คือรูปแบบของการตัดต่อวิดีโอโดยใช้ภาพเหตุการณ์ต่างๆมาเชื่อมกันออกมาเป็นวิดีโอสั้นๆ Lorde ได้ใช้ของสิ่งนี้มาใช้สื่อเรื่องราวความรักของเธอกับแฟนเก่า โดยพูดถึงแต่ควาทรงจำดีๆที่ทั้งสองเคยมีร่วมกัน และอยากให้เหตุการณ์เหล่านั้นกลับมามีชีวิตอีกหนึ่งครั้ง
10. Liability (Reprise)
ภาคต่อของ "Liability" ที่เป็น ballad เศร้าๆตอกย้ำเรื่องราวของความเข้าใจที่แท้จริงของชีวิตและปัญหาต่างๆที่คนเรามักจะหลีกหนีด้วยการเข้าหาอบายมุขต่างๆ ("But you're not what you thought you were.") เพลงนี้จัดเป็นแทรคก่อนสุดท้าย (penultimate) ของ Melodrama ที่เชื่อมเข้ากับ "Perfect Places" ได้อย่างดีเยี่ยม
11. Perfect Places
แทรคปิดอัลบั้มที่เป็นบทสรุปของประสบการณ์ต่างๆที่ Lorde ได้ถ่ายทอดมาในสิบเพลงก่อนหน้านี้ Lorde ได้ใช้ธีมหลักของอัลบั้มที่มักพูดถึงเรื่องราวของยาเสพติด เหล้า ความรัก และ sex มาเป็นตัวจำกัดความคำว่า "Perfect Places" เธอได้ทำการยิงคำถามให้กับผู้ฟังว่า สิ่งของเหล่านั้นคือสิ่งที่ทำให้มนุษย์มีความสุขได้จริงๆหรอ ("What the fuck are perfect places, anyway?") บทเพลงนี้จึงเป็นเหมือนการสื่อให้เห็นถึง enlightenment ของตัวนักร้องที่ได้เข้าใจว่าสิ่งเสพติดเหล่านั้นเป็นแค่ตัวช่วยให้คนเราหลุดออกจากปัญหาได้แค่ชั่วขณะ แต่เมื่อของเหล่านั้นหมดฤทธิ์ เราก็ต้องกลับเข้าสู่ความเป็นจริงของโลกอีกครั้ง ในด้านของดนตรี "Perfect Places" คือเพลงที่มีความ pop และฟังง่ายที่สุดในอัลบั้ม และมีแนวโน้มจะได้เป็นซิงเกิ้ลที่สองของอัลบั้มอีกด้วย
Ps.เขียนอ่านเพลินดีครับ