เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
นายอ่านอะไรsunnyside1909
อังกฤษบนแผ่นฟิล์ม: อลิซาเบธ ฟิลลิปส์ จอร์จ เอดเวิร์ด เชอร์ชิล
  • ไม่ได้มารีิวิว Darkest Hour แต่วันนี้เราจะมาแนะนำภาพยนตร์และซีรีย์ที่เกี่ยวข้อง (และอาจจะไม่เกี่ยวข้องมากนัก) กันก่อน

    รีวิวนี้เขียนเนื่องในโอกาสที่ Gary Oldman ได้รับรางวัลลูกโลกทองคำสาขานำชาย กับเรื่อง Darkest Hour 
    (แม้ว่าส่วนตัวเราจะเชียร์น้องทิมมี่ก็ตาม และ Darkest Hour เราก็ยังไม่ได้ดูด้วย)



     


    1. The Crown

    คนที่รักประวัติศาสตร์อังกฤษในช่วงยุคอลิซาเบธที่สองหรือก่อนหน้านั้นต้องไม่พลาดซีรีย์เรื่องเยี่ยมจาก Netflix เรื่องนี้แน่นอน (เอาจริงแค่ไตเติ้ลก็กินขาดแล้ว แล้ว Main Theme ของเรื่องนี้ก็ยังทำโดย ฮานส์ ซิมเมอร์นะ ผ่างงงผ่างงง/มันก็ไม่ได้ผ่างขนาดนั้น แต่ก็ดีงามอยู่ดี)

    The Crown เป็นซีรีย์ที่เราจะแนะนำทุกคนที่สนใจประวัติศาสตร์อังกฤษแม้เพียงนิดเดียว ก็ดูได้ หรือไม่สนใจก็ยังดูได้ เพราะมันสนุกมากๆ มันเริ่ด มันขี้เม้า มันแซ่บ มันไม่มีความน่าเบื่อเลยแม้แต่น้อย และเราคิดว่าคนไทยคงจะรู้สึก relate กับความเป็นราชวงศ์ไม่มากก็น้อยนั่นแหละ

    The Crown ดำเนินเรื่องในช่วงคิงจอร์จ(พ่อของควีนอลิซาเบธที่สอง)และเปิดฉากด้วยการแต่งงานของควีนอลิซาเบธ (ที่ตอนนั้นยังเป็นปริ้สเซสอลิซาเบธ) กับ ฟิลิปส์ ดยุคแห่งเอดินเบิร์ก

    ซีรีย์จะพาเราไปพบกับความขัดแย้งความซับซ้อนในครอบครัวของราชวงศ์ และตัวละครที่มีเสน่ห์มากๆเช่น
    คิงจอร์จผู้ติดอ่าง
    ลิลิเบธหรือควีนอลิซาเบธที่สอง  เธอเป็นความดีงามของซีรีย์นี้จริงๆ
    ฟิลลิปส์ ดยุคออฟเอดินเบิร์ก แสดงโดย แมท สมิธ ผู้ไม่มีคิ้ว ฟิลลิปส์อาจจะเป็นบทที่ทำให้คุณต้องไปหาอ่านเพิ่มเติมว่านิสัยของตัวละครนี้ในความเป็นจริงเป็นยังไงกันแน่
    ปริ้นเซส มากาเรต มีเสน่ห์ ซุกซน อ่อนหวาน ร้ายกาจ เอาแต่ใจ ตกหลุมรักทหารอากาศที่มีครอบครัวแล้ว
    วินสตัน เชอร์ชิล นายกรัฐมนตรี ผู้หัวร้อน เสียงดัง โช้งเช้ง ขวัญใจประชาชนช่วงสงคราม 
    คิงเอดเวิร์ด ที่สละบัลลังก์ให้น้องชายเพื่อผู้หญิงม่ายชาวอเมริกัน และวอลลิส ผู้หญิงคนนั้น

    The Crown นำเสนอทุกประเด็นในตอนนั้น ทั้งข่าวซุบซิบกอซซิป คนนั้นรักคนนี้ คนนั้นนิสัยแบบนั้น วิกฤตการณ์ทั้งหลายที่เกิดขึ้น หรือการเมืองบนเก้าอี้นายก ความรู้สึกอันซับซ้อนของพระราชินีและพระสวามีของเธอ

    สั้นๆว่า มันแซ่บมาก ดูเถอะ!




    2. Dunkirk

    ผู้ชายหล่อมาก นี่บอยแบนด์หรือทหาร ผมก็เป้ะมากด้วย แม้จะไม่มีบทพูดกันเท่าไหร่ แต่ความหล่อน่ารักมันพุ่งพล่านสุดๆ
    เล่าเรื่องเป็นเส้นขนานสามเส้นที่เริ่มและจบคนละที่
    คริสโตเฟอร์ โนแลน ขนทุกคนที่คุ้นเคยมาหมด
    คิลเลียน เมอร์ฟี
    ทอม ฮาร์ดี
    ฮานส์ ซิมเมอร์
    (ไปดูไอแมกซ์มา เกือบจะอ้วก/เมาเรือ)

    สมรภูมิการรบที่ดันเคิร์ก จะเอาทหารเป็นแสนออกจากหาดได้ยังไง
    เรื่องนี้อยู่ในสมัยของคิงจอร์จผู้ติดอ่าง และนายกรัฐมนตรีหัวร้อนวินสตัน เชอร์ชิล

    งานภาพดีงามอลังการล้านแปด สมควรแก่การดูในโรงอย่างยิ่ง

    สุดท้ายของเรื่องนี้แอบร้องไห้ด้วยตอนที่ Kenneth Branagh (เจ้าของบทกิลเดอรอล ลอกฮาร์ต และนักสืบปัวโรต์ปี 2017) พูดว่าจะอยู่รอที่นี่ (ฮือออ อินมาก ประเทศตัวเองรึก็ไม่ใช่)



    3. King Speech

    หนังกวาดรางวัลแห่งปี

    โคลิน เฟิร์ท เป็นคิงจอร์จผู้ติดอ่าง
    เฮเลนา บอนแฮม คาร์เตอร์ เป็นควีนอลิซาเบธ เดอะควีนมาเธอร์ (ควีนของคิงจอร์จ เดอะควีนมาเธอร์หมายถึงแม่ของควีนอลิซาเบธที่สอง)

    ในหนังเรื่องนี้จะเริ่มต้นในยุคของคิงเอดเวิร์ด และเป็นช่วงที่คิงเอดเวิร์ดสละบัลลังก์ไปกับวอลลิส แล้วให้น้องชาย คิงจอร์จขึ้นมาแทน
    ในเรื่องนี้เราจะได้เห็นบุคลิกของคิงจอร์จ ความพร้อมไม่พร้อมในการครองบัลลังก์ของเขา และการประกาศสงครามต่อฝ่ายนาซีของอังกฤษ
    Speech การประกาศสงครามนี้เกิดขึ้นก่อนยุทธการ dunkirk แค่ปีเดียว

    และเรายังมีนายกรัฐมนตรีหัวร้อนเป็นแขกรับเชิญในเรื่องเช่นเดิม



    4. W/E

    ถ้าใครดู The Crown และ King Speech จะเห็นว่าสองเรื่องนี้มีมุมมองต่อ คิงเอดเวิร์ดไม่ดีนัก ไปจนถึงไม่ดีมาก (ใน The crown เล่าว่าคิงเอดเวิร์ดเป็นตัวปัญหาต่อราชวงศ์ ไม่มีเงินก็กลับมาขอ...อะไรทำนองนั้น)
    แต่ในหนังที่กำกับโดย Madonna อย่าง W/E (มาจาก Wallis และ Edward) นั้นเล่าเรื่องของทั้งคู่ในแง่ของความโรแมนติก รักต้องห้ามของคิงเอดเวิร์ดกับแม่ม่ายชาวอเมริกันอย่าง wallis Simpson
    การต่อสู้เพื่อความรักของทั้งคู่แม้ว่าคิงเอดเวิร์ดจะต้องสละราชบัลลังก์ก็ตาม

    (ถ้าใน The Crown และ King speech จะเห็นชัดเลยว่าผลกระทบของการที่คิงเอดเวิร์ดสละราชบัลลังก์มันเป็นยังไง)

    เรื่องนี้ได้รับคำวิจารณ์ไม่ค่อยดีนัก ไม่ว่าจะสำนักไหน แต่โดดเด่นอย่างมากด้วย Score และเพลงประกอบ
    เพลงประกอบร้องโดย Madonna เอง และ Score นั้นทำโดย Abel Korzeniowski (ดีงามล้านแปด)



    ขอจบไว้เท่านี้
    ดูทั้งหมดนี่เราจะได้รู้จักกับ ควีนอลิซาเบธที่สอง วินสตัน เชอร์ชิล คิงจอร์จและคิงเอดเวิร์ด รวมถึงวอลลิส ในหลายๆแง่ อย่างแน่นอน


    สำหรับเชอร์ชิล ยังจะสามารถพบนายกรัฐมนตรีผู้เกรี้ยวกราดคนนี้ได้ในภาพยนตร์อีกหลายเรื่องนอกจาก Darkest Hour เช่น

    Inglourious Basterds หนังเควนติน เลือดสาดกระจาย ไทม์ไลน์หลัง dunkirk นิดหน่อย แต่เส้นเรื่องบ้าบอคอแตกและเป็นโลกคู่ขนาน (แนะนำ!! จริงๆเชอร์ชิลไม่ค่อยมีบทอะไรนัก 5555 เค้าเน้นความบ้าคลั่งมากกว่าน่ะเรื่องนี้)

    Into the Strom/ Churchill at war อันนี้เป็นเรื่องของเชอร์ชิลโดยตรงเลย


    ปล.ไว้ว่างๆเราจะมาแนะนำหนังสงครามโลกครั้งที่สองที่เราชอบ เย่
Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in