เรื่องย่อเรียกน้ำย่อย
ประเทศเกาหลีอูรีนาราของเรานั้นแสนสงบร่มเย็น จนกระทั่งเดือนตุลาคม 1986 พบศพหญิงสาวถูกฆาตกรรมทิ้งไว้ที่ริมท้องนา ศพนั้นถูกมัดมือไขว้หลัง ในปากคาบสิ่งของเอาไว้ และมีกางเกงในของผู้ตายครอบไว้ที่ศีรษะ ตรวจสอบสภาพศพพบว่ามีร่องรอยของการโดนข่มขืนและสิ่งของต่างๆ ที่ใช้ในการก่อคดีล้วนแต่เป็นทรัพย์สินของผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น หลังจากนั้นไม่นานก็พบศพที่ 2 ศพที่ 3... ตามมาอีกเรื่อยๆ กลายเป็นคดีสะเทือนขวัญเหตุฆาตกรรมต่อเนื่องคดีแรกของเกาหลีใต้
(based on true story: ลองเสิร์ชไปว่า "คดีHwaseong" ดูได้)
ตัวละครหลักประกอบด้วยนักสืบ 3 คน คนที่หนึ่งเล่นเป็นคุณพ่อในเรื่องปรสิต อีกคนเป็นลูกสมุนของคุณพ่อ คนสุดท้ายเป็นเจ้าหน้าที่จากโซลที่เข้ามาช่วยทำการสอบสวน เรื่องราวจะเป็นอย่างไร? จะมีอีกกี่ศพที่ถูกสังเวยในคดีฆาตกรรมต่อเนื่องในครั้งนี้? ติดตามต่อได้ในภาพยนตร์เพราะเกินกว่านี้ก็สปอยแล้วจ้า
ป.ล. คุณพ่อปรสิต (Song Kang Ho) ถือเป็น 1 ใน 3 นักแสดงตัวท็อประดับตำนานของเกาหลีด้วยนะ
เรื่องนี้แนะนำว่าถ้าใครชอบแนว Zodiac (2007) รับประกันเลยว่า must watch ขอใช้คำว่าหนังแนวนี้คือหนังแนวสืบสวนสอบสวน for สืบสวนสอบสวน's sake --- นึกภาพยอดนับสืบจิ๋ว เห็นสิ่งนู้นโยงกับสิ่งนี้ พึมพัมพูดคนเดียว ปิ๊ง! รู้ตัวคนร้ายแล้ว = ไม่ใช่แนวนั้น --- เพราะความจริงไม่ได้มีกล้องซูมอินไปที่หลักฐาน การทำงานของเจ้าหน้าที่นั้นไม่ได้เห็นปุ๊ปรู้ปั๊ปคลายปมได้ง่ายดายราวกับเล่นกล แต่เป็นการงมเบาะแสในมหาสมุทรและหาความจริงผ่านหลักฐานที่ไม่ได้ใกล้เคียงคำว่าง่ายเหมือนจับวางเลยสักนิด
นอกจากการสร้างจากเรื่องจริงแล้ว Cinematography (ไม่รู้ว่าแปลไทยว่าอะไร ลายเส้นทางภาพยนตร์?) ก็เป็นอีกหนึ่งทีเด็ดของหนังเรื่องนี้ อาทิ ภาพ แสง สี มุมกล้อง วิธีการตัดต่อเปลี่ยนฉาก มีอยู่หลายซีนที่ทำให้อยากจะนั่งคุยกับผู้กำกับว่าได้ไอเดียมาจากไหน intertexualityคืออะไร มีความหมายsubtextว่าอย่างไร
ยกตัวอย่างเช่นซีนนี้ แสงที่ลอดผ่านจากปลายอุโมงค์กับการปมปริศนาในการคลี่คลายคดีนั้นยังคงตราตรึงอยู่ในใจของเรา (เว่อมาก แต่ตอนที่ดูก็เป็นซีนนี้แหละที่พยายามคิดตามแล้วคิดว่า เออ ดีจังที่ถ่ายออกมาให้เห็นภาพแบบนี้)
ปกติดูหนังแค่ตั้งใจดูเก็บรายละเอียดของเนื้อเรื่องก็ว่ายากแล้ว เรื่องไหนที่วิธีการถ่ายทอดเรื่องราวมันโดดเด่นจนสามารถเตะตาทำให้คนที่ไม่รู้ภาษาภาพยนตร์สนใจขึ้นมาได้ก็ถือว่าสุดยอด และบงจุนโฮก็เป็นอีกหนึ่งคนที่ถ่ายทอดสุนทรีย์ในการรับชมภาพยนตร์ได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว
เสริมให้อีกนิดว่าด้วยความที่เป็นคดีตำนานของเกาหลี ทำให้คดีนี้ยังเป็นแรงบันดาลใจให้กับซีรีส์และภาพยนตร์อีกหลายเรื่อง ที่เห็นดังๆ ก็มีซีรีส์เรื่อง Signal (2016) แล้วก็เรื่อง Tunnel (2017)
ขอสปอยเลยละกันนะ เรื่องราวเริ่มต้นจากเหตุฆาตกรรมศพแรก ตำรวจเข้ามาสอบสวนอะไรกันไป พอมีศพต่อมาสื่อก็เริ่มให้ความสนใจกับคดีมากขึ้น และพี่ตำรวจจากกรุงโซลก็ถูกส่งตัวให้มาร่วมคดีด้วย ประกอบกับด้วยความที่เป็นคดีฆาตกรรมต่อเนื่องคดีแรกของเกาหลี จากที่เคยทำแต่คดีเล็กๆ น้อยๆ ไปวันๆ เจอไปแบบนี้พี่ตำรวจก็ไปไม่เป็นเหมือนกัน
โดยเราจะเห็นได้ว่าบรรยากาศการทำงานของเจ้าหน้าที่ในสมัยก่อนนั้นมันช่าง... เอ่อ... จะใช้คำว่าอะไรดี ตามมีตามเกิดละกัน ด้วยความที่เทคโนโลยียังไม่มีประสิทธิภาพเหมือนในสมัยนี้ นักข่าวชาวบ้านชาวช่องแถวนั้นก็เข้ามะรุมมะตุ้มที่เกิดเหตุเละเทะวุ่นวาย ทำให้พวกforensicต่างๆ ไม่ได้ทำงานเท่าที่ควร
ลองนึกภาพตามดูก็รู้สึกใจหายกับกระบวนการยุติธรรมในสมัยก่อนอยู่เหมือนกัน คดีที่ไม่เคยเจอมาก่อน เครื่องไม้เครื่องมือก็ไม่ค่อยพร้อม แต่เจ้าหน้าที่ทุกคนก็ยังเต็มที่กับการทำงาน ลงทุนลงแรงและลงพื้นที่ต่างๆ แรงกดดันจากสื่อมวลชนภายนอกและผู้นำในองค์กรรวมถึงแรงปราถนาที่ต้องการเกิดเผยความจริงของเจ้าหน้าที่แต่ละคนนั้นล้วนสะท้อนออกมาผ่านวิธีการทำงาน --- ในรูปแบบที่ตนสามารถทำได้
พี่ใหญ่จะออกแนวใช้สัญชาตญาณในการสืบสวน (ได้หรอวะ?) เป็นตัวแทนของตำรวจที่ใช้วิธีการแบบเก่า พี่แกบอกว่าแกมีตาวิเศษที่สามารถแยกแยะคนดีและผู้ร้ายออกจากกันได้ ในหนังเราก็จะได้เห็นภาพสายตาของคุณซองคังโฮจ้องตรงมาที่หน้าจอราวกับเป็นเครื่องจับเท็จที่กำลังจับโกหกเราอยู่ อีกทั้งพี่แกยังเป็นตำรวจสายมูเตลู ใช้ไสยศาสตร์ในการสืบสวนสอบสวนและให้แม่หมอช่วยจับคนร้ายอีกด้วย --- เหมือนจะขำ แต่อย่าลืมว่าเรื่องนี้สร้างจากเรื่องจริง ไม่มุกไม่เปลือกหอยอะไรทั้งนั้น
ต่อมาลูกสมุนก็จะออกแนวลูกน้องเกาหลีที่เราเคยเห็นในละคร ตัวละครชั้นผู้น้อยที่ต้องพึ่งบุญบารมีพี่ใหญ่ ระบบอาวุโสของเกาหลีเข้มข้นและรสชาติก็ไม่แปลกลิ้นสำหรับคนไทย (ได้ครับพี่ ดีครับผม เหมาะสมครับท่าน /โค้งตัวลง90องศา) ในขณะเดียวกันรุ่นน้องที่แสนเชื่องของรุ่นพี่นั้นกลับเป็นตัวแทนของการใช้ความรุนแรงในกระบวนการสืบสวนสอบสวนและช่องโหว่ในกระบวนการยุติธรรม พอจับผู้ต้องสงสัยได้ก็ เอะอะฟาด เอะอะใช้กำลัง --- ไม่ยอมรับผิดใช่มั้ย ป้าบ!!! จะสารภาพได้หรือยัง ไอ้XXX ป้าบ!!!!! --- แล้วถ้าเขาไม่ผิดเขาจะเลือกอะไรได้ไหมอ่ะพี่ พระเจ้าจะคุ้มครองผู้บริสุทธิ์เองงั้นหรอ
คนสุดท้ายพี่หนุ่มกรุงโซลเป็นตัวแทนของคนจากเมืองหลวงที่เข้ามาทำงานในต่างจังหวัด(stereotypeคนกรุงvs.คนบ้านนอก) พี่คนนี้ก็จะออกแนวเชื่อในวิทยาศาสตร์ มีกระบวนการทำงานเป็นขั้นเป็นตอนเป็นเหตุเป็นผลตามแบบฉบับผู้มีการศึกษา แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าพี่หนุ่มคนนี้เป็นตำรวจดีแล้วคนอื่นเป็นตำรวจเลวนะคะ เรียกว่าวิธีการทำงานที่ต่างกันนั้นมาจากปัจจัยแวดล้อมที่ต่างกันมากกว่า
ภาพนี้คือตัวละครโรคจิตจาก Webtoon เรื่องนรกคือคนอื่น คล้ายกับพี่ผู้ต้องสงสัยไหมคะ? (ฟีเจอร์โดยรวมของหน้าคือ เป็นคนรูปหน้ายาว และมีลูกตาดำที่ใหญ่) ตอนเราเห็นพี่ผู้ต้องสงสัยครั้งแรกเราก็นึกถึงหน้าตัวการ์ตูนหน้านี้ขึ้นมาทันทีเลยค่ะ ไม่รู้เหมือนกันว่าเป็นความบังเอิญหรือคุณนักเขียนได้รับแรงบันดาลใจมาจากในหนัง แต่สิ่งหนึ่งที่แน่ใจได้เลยว่าหน้าตาแบบนี้น่าจะถูกstereotypedให้เป็นลักษณะของตัวร้ายในสายตาของใครหลายคน อย่างน้อยก็มีเรากับคุณคนเขียนเว็บตูนแล้วแหละหนึ่ง --- ถ้าเราเกิดมาเป็นคนที่หน้าตาดูโรคจิต คงรู้สึกแย่น่าดู ไม่รู้ว่าในชีวิตนี้เผลอstereotypeคนอื่นไปแล้วกี่ครั้ง คิดว่าคงยากที่จะห้ามตัวเอง เป็นเรื่องที่อยู่เหนือจิตสำนึกที่จะควบคุมไปอีกค่ะ เพราะเราก็เพิ่งจะมารู้ตัวเหมือนกัน แต่ต่อไปจะระวังความคิดให้มากขึ้น
ต่อมาเรื่องราวก็อิรุงตุงนัง เลเวลของความสาหัสและความสะเทือนใจทะยานสูงขึ้นเรื่อยๆ ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์เพิ่มขึ้นทั้งผู้เสียหายจากคดีและผู้ที่เกี่ยวข้อง ผู้ต้องสงสัยคนอื่นๆ รวมถึงเหล่านักสืบเอง แต่แล้วผลสรุปคือพี่คนนี้ก็ยังไม่ใช่คนร้ายที่ตามหา พิสูจน์ความบริสุทธิ์จากการส่งDNAไปตรวจที่อเมริกาแล้วผลออกมาไม่ตรงกัน ทิ้งให้ความจริงยังคงเป็นปริศนาต่อไป
เวลาผ่านไปหลายปี พี่ใหญ่ก็เปลี่ยนจากอาชีพตำรวจมาเป็นเซลส์แมน (ก็คนมันต้องอยู่ต้องกินอ่ะเนอะ) วันหนึ่งเมื่อความบังเอิญได้ทำให้เขาได้กลับมาเยือนสถานที่แห่งความทรงจำจึงกลับไปที่สถานที่เกิดเหตุอีกครั้ง --- ก่อนหน้านี้ในช่วงระหว่างการสืบสวน เจ้าหน้าที่ตำรวจก็ใช้เทคนิคนี้ในการสืบสวนเช่นเดียวกันค่ะ เพราะเชื่อว่าคนร้ายมักจะกลับมาที่สถานที่เกิดเหตุ อาจมาเพื่อตรวจสอบว่ามีหลักฐานอะไรหลงเหลืออยู่บ้าง หรืออาจกลับมาเพื่อระลึกความหลังเฉยๆ ก็ได้ คิดง่ายๆ คือ ถ้าไม่เกี่ยวข้องกับสถานที่นี้ก็คงไม่มานั่นแหละค่ะ
บทสนทนาระหว่างคุณลุง(อดีต)ตำรวจกับเด็กหญิงถือเป็นหนึ่งในบทสนทนาที่ทรงพลังที่สุดในวงการภาพยนตร์ก็ว่าได้ เด็กหญิงถามคุณลุงว่ากำลังมองหาอะไรในท่อน้ำนั้น คุณลุงไม่ได้ตอบคำตอบที่แท้จริงไป แต่เป็นเด็กหญิงเสียเองที่ได้เล่าให้คุณลุงฟังว่าก่อนหน้านี้เธอก็ได้เห็นผู้ชายคนหนึ่งมามองที่ท่อน้ำนี้เหมือนกัน ทำให้เกิดบทสนทนาสุดท้ายของภาพยนตร์เรื่องนี้ขึ้น
[last lines]
Detective Park Doo-Man : Did you see his face? เห็นหน้าของเขาไหม
[Girl Nods] เด็กหญิงพยักหน้า
Detective Park Doo-Man : What did he look like? หน้าตาเขาเป็นยังไง
Schoolgirl : Well... kind of plain. ก็... ปกติค่ะ
Detective Park Doo-Man : In what way? ปกติแบบไหน
Schoolgirl : Just... ordinary ก็แค่... หน้าตาธรรมดา
คำตอบของเด็กหญิงนั้นช่างทรงพลังและน่าขนลุกกับความจริง ความจริงที่หน้าตาแสนธรรมดา ไม่ใช่คนโรคจิตหรือคนไม่สมประกอบ ไม่ได้มีลักษณะstereotypeของการเป็นคนร้ายแต่อย่างใด แต่ฆาตกรนั้นกลับเป็นเพียงแค่คนธรรมดาคนหนึ่งที่มีหน้าตาเหมือนกับคุณ เหมือนกับฉัน เหมือนกับเราทุกคน
ซีนจบของเรื่องเป็นภาพของเจ้าหน้าที่ปาร์คดูมัน มองจ้องตรงมาที่ผู้ชมราวกับกำลังจับผิดคนร้ายที่อาจกำลังชมภาพยนตร์เรื่องนี้อยู่
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in