เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
#ในชีวิตฉันไม่มีใครดูหนังเป็นเพื่อนเลยจางเม่ย
The Organizer (1963) หนังมาร์กซ์และความดาร์คของทุนนิยม

  • หลายคนอาจคิดว่าแนวคิดของมาร์กซ์ห่างจากทุนนิยมไปไกลโข แต่ความจริงแล้วหากคุณได้ลองศึกษาอ่านตัวบทที่มาร์กซ์เขียนเองดูนั้น คุณจะพบว่ามาร์กซ์เป็นผู้ที่รู้จักและสนิทสนมกับทุนนิยมอย่างลึกซึ้งจนเขียนหนังสือได้ออกมาเป็นเล่มๆ เลยต่างหาก --- เหล่านี้ดิฉันไม่ได้คิดขึ้นมาเองค่ะ ร่ำเรียนมาจากอาจารย์ทั้งนั้น ยังอ่านเองไม่ไหว วิทยายุทธยังไม่แก่กล้าพอ

    สำหรับบทความนี้ ดิฉันก็จะนำเอาวิชาความรู้ที่ได้เรียนในรายวิชาเศรษฐศาสตร์การเมืองมาบอกกล่าวเล่าเป็นอินโทรให้ทุกท่านที่ไม่เคยได้รู้จักศาสตร์ทางด้านนี้ได้มาเริ่มรู้จักไปด้วยกัน พาไปแตะๆ ดมๆ ทฤษฎีกันนิดๆ หน่อยๆ ตามความเข้าใจของดิฉันเอง (หากมีผิดพลาดตรงไหนแจ้งเข้ามาได้เลยนะคะ) เป็นวิชาที่ must register อีกตัวหนึ่งเลยโดยเฉพาะนิสิตวิชาโทเศรษฐศาสตร์ = ห้ามพลาด แต่ก่อนอื่นก็ขอกลับไปเล่าเรื่องหนังกันก่อนนะคะ ไปค่ะ!


    ***ภาพยนตร์เรื่องนี้ ดิฉันได้รับชมในรายวิชา FOUND POL ECON เศรษฐศาสตร์การเมือง อยู่ในรายวิชาเลือกของสังกัดวิชาโทเศรษฐศาสตร์ สนใจสอบถามเพิ่มเติมได้นะคะ อ.กุลลินีสอนดีม๊าก***


    เนื้อหาที่เหมาะสำหรับผู้ที่ยังไม่ได้ดู (ไม่มีสปอย 100%)

    • ชื่อเรื่อง: The Organizer (ต้นฉบับ: I Compagni หนังอิตาลีจ้า) 
    • GENRE: DRAMA, HISTORY 
    • IMDB: 8.0 อู้ว ไม่เบาเลยนะ
    • LENGTH: 2h 10min 
    • ผู้กำกับ: Mario Monicelli เปิดวิกิดูแล้วผลงานเป็นพรืด
    • รางวัล: เข้าชิงออสการ์ 1 รางวัล และอื่นๆ
    • ป.ล.: หนังขาว-ดำจ้ะ


    เรื่องย่อเท่าที่เล่าได้

    The Oraganizer เป็นเรื่องราวของโรงงานอุตสาหกรรม เริ่มต้นจากอุบัติเหตุที่เกิดในโรงงานจนนำไปสู่การรวมตัวประท้วงหยุดงานเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมจากเหล่านายทุน โดยมี Professor Sinigaglia ผู้เป็น The organizer แกนนำปลุกระดมการ strike ในครั้งนี้ --- ผลการประท้วงจะเป็นอย่างไร? แรงงาน VS. นายทุน ใครจะเป็นฝ่ายชนะ?  พบคำตอบได้ในภาพยนตร์


    ต่อไปหลังมีมมาร์กซ์จะสปอยแล้วนะ ปี๊ป่อ ปี๊ป่อ

    เผื่อไม่เก้ท --- เนื้อเพลง Material Girl ของ Madonna จ้า


    เนื้อหาต่อไปนี้เปิดเผยเนื้อหาสำคัญของภาพยนตร์ (SPOILER ALERT)



    สปอยทั้งเรื่องนะคะ

    เรื่องราวทั้งหมดเกิดขึ้นในโรงงานอุตสาหกรรมค่ะ เริ่มต้นจากแรงงานตื่นตั้งแต่ตีห้า ทำงานวันละ 14 ชั่วโมงในโรงงานทุกวัน ตั้งแต่แรงงานเด็กที่น่าจะยังอยู่ในวัยเรียน แรงงานในโรงงานส่วนใหญ่ก็อ่านเขียนกันไม่ได้ (น่าจะเป็นผลจากการต้องเข้ามาทำงานในโรงงานตั้งแต่เด็ก) มีเวลาพักทานข้าววันละครึ่งชั่วโมง จะกินข้าวยังกินไม่ทันเลย แม้แต่ลูกยังจำหน้าพ่อไม่ได้ด้วยซ้ำเพราะวันๆ ชีวิตของพ่อล้วนแต่อยู่ในโรงงาน ให้เธอไปทั้งหมดแล้วเพื่อแลกกับค่าจ้างที่พอประทังชีวิตไปวันๆ ก็เท่านั้น

    มาถึงจุดนี้หลายคนอาจมีคำถามในใจว่าชีวิตคนเรามันจะยากลำบากอะไรขนาดนั้น จะอยู่กันได้จริงเหรอ หรือไม่มีก็ได้ค่ะไม่เป็นไร5555555 เราก็อยากจะมาขยายความกันสักนิดเพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน 


    เริ่มต้นจากคำถามขั้นเบสิกที่ว่า ทุนนิยมคืออะไร?

    ก่อนอื่นขอเล่าbgทางประวัติศาสตร์ให้ฟังคร่าวๆ ก่อน ก่อนที่จะเข้าสู่ระบบทุนนิยม โลกอยู่ในระบบศักดินาสวามิภักดิ์ (feudalism) มี Lord ผู้เป็นเจ้าของที่ดินกับ Serf หรือไพร่ติดที่ดิน ทั้งสองฝ่ายมีความสัมพันธ์แบบพึ่งพาซึ่งกันและกัน Lord ผู้เป็นเจ้าของที่แบ่งที่ดินให้ Serf ได้อยู่อาศัยและคอยปกป้อง Serf จากผู้ที่เข้ามารุกราน Serf ตอบแทนโดยการทำงานมอบผลผลิตต่างๆ ให้ (ทั้ง Lord กับ Serf ถูกปกครองโดย King อีกทีด้วยความสัมพันธ์รูปแบบเดียวกันนี้เอง)

    ส่วนทาสที่ไม่มีสังกัดอยู่กับ Lord ก็กลายเป็นคนเร่ร่อนตามป่า ไม่มีผู้คุ้มครอง โดนตีหัวแบะตายเอาได้ง่ายๆ ความสัมพันธ์ในระบบฟิวดัลช่วยหล่อเลี้ยงสังคมให้เป็นปกติในยุคสมัยนั้น

    ใน chart นี้มี knight เพิ่มเข้ามาด้วย การแบ่งชนชั้นคร่าวๆ มีประมาณนี้

    ต่อมาเมื่อยุคสมัยเปลี่ยนผ่านระบบฟิวดัลล่มสลาย เกิดการล้อมรั้วที่ดินทำให้เกิด private property ขึ้น คนที่มีที่ดินหรือทรัพย์สินติดตัวอยู่มากก็สามารถเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตเองได้ ส่วนพวกไพร่ฟ้าหน้าใสอย่างเราก็ไม่มีปัจจัยการผลิตใดๆ ในการเลี้ยงชีพ จึงเหลืออยู่ทางเลือกเดียวนั่นก็คือการใช้แรงงาน 

    จังหวะพอดีกับเมื่อโลกเข้าสู่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม คนธรรมดาที่ไม่ได้เป็นเจ้าที่ดินมีทรัพย์สินอะไรก็เปลี่ยนจากไพร่ติดที่ดินเป็นแรงงานในโรงงานอุตสาหกรรมนั่นเอง

    ในยุคก่อนหน้า โลกนั้นอยู่ในระบบการผลิต (Mode of Production) แบบ C-M-C หรือ Commodity -> Money -> Commodity หรือการผลิตสินค้าเพื่อนำไปแลกเปลี่ยนเป็นเงิน(ตัวกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้่า) แล้วนำไปแลกเปลี่ยนเป็นสินค้าอีกที แต่พอเข้ามาสู่ระบบทุนนิยมแล้วเนี่ย การผลิตก็เปลี่ยนรูปแบบมาเป็น M-C-M' หรือ Money -> Commodity -> Money+Surplus 

    • ดังนั้น ทุนนิยมในที่นี้ คือระบบการผลิตแบบ M-C-M' ค่ะ 

    จะเห็นได้ว่าสิ่งที่เพิ่มเข้ามาในระบบทุนนิยมคือการมีส่วนเกินในการผลิต (Surplus) ด้วยใช่ไหมคะ 


    ดังนั้นจึงนำมาสู่คำถามที่ว่า Surplus หรือส่วนเกินนั้นมาจากไหน?

    คำตอบก็คือ มาจากแรงงานนี่แหละค่ะ ในที่นี้เราจะแบ่งแรงงานออกเป็น 2 แบบ คือ
    1. Dead Labor หรือเครื่องจักรต่างๆ ในโรงงาน ผลิตออกมาได้เท่ามูลค่าของตนที่มี
    2. Living Labor หรือคนที่อยู่ในชนชั้นในแรงงานในสังคม แรงงานกลุ่มนี้แหละค่ะที่สามารถสร้าง Surplus ออกมาได้ เปรียบได้ดั่งห่านทองคำของนายทุนเลยทีเดียว

    เราจะขออธิบาย Surplus ของแรงงานผ่านเวลาที่ใช้ในการทำงานนะคะ --- หากเราแบ่งเวลาการทำงานของแรงงานออกมาจะได้ว่า เวลาที่แรงงานทำงานได้ผลผลิตมาเท่ากับค่าจ้างที่ตนได้รับ เวลาตรงนั้นเราจะเรียกว่า necessary labor time ที่ยังไม่เกิดส่วนเกินใดๆ ค่ะ ส่วนเวลาหลังจากนั้นหากแรงงานยังทำงานต่อไปก็จะทำให้เวลาที่แรงงานผลิตเกินมาเป็น Surplus หรือส่วนเกินให้นายทุน ยิ่งแรงงานทำงานหนักมาขึ้นเท่าไหร่ กำไรที่นายทุนจะได้ยิ่งมากขึ้นตามไปด้วย

    พอจะนึกภาพออกกันนะคะว่า หากนายทุนต้องการ Surplus เพิ่มขึ้น (ซึ่งเป็นที่แน่นอนอยู่แล้วค่ะว่าในระบบทุนนิยมเนี่ย เราจะต้องการ maximize profit ของเราทุกคน) สิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมาหลังจากนั้นก็คือการขูดรีดแรงงาน (Exploitation) ในกระบวนการผลิตนั่นเองค่ะ

    ดังนั้นมาร์กซ์จึงบอกให้เราเลิกพิจารณาการแลกเปลี่ยนสินค้าที่หน้าร้านที่สนใจเฉพาะความสัมพันธ์ระหว่างคนกับสิ่งของ (ตรงนี้มาร์กซ์กำลังแซะเศรษฐศาสตร์กระแสหลักค่ะ) แล้วหันมาสนใจความสัมพันธ์ระหว่างคน (นายทุน VS. แรงงาน) เข้าไปพิจารณาในพื้นที่หลังร้านที่นายทุนไม่อนุญาตให้เราเข้าไป พื้นที่แห่งการผลิตซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการขูดรีดที่เราเรียกว่าโรงงานอุตสาหกรรมนั่นเอง 


    กัดฟันอ่านทฤษฎีอีกนิดนึงนะคะ ใกล้จะจบแล้ว --- การขูดรีดแรงงานก็แบ่งออกเป็น 2 แบบ เช่นกันค่ะ คือ การขูดรีดสัมบูรณ์และการขูดรีดสัมพัทธ์

    • การขูดรีดสัมบูรณ์ หมายถึง การขูดรีดโดยการขยายเวลาการทำงานให้แรงงานได้มีเวลาผลิต Surplus ให้ได้มากที่สุดและให้ค่าตอบแทนน้อยที่สุดเท่าที่จะให้แรงงานพอประทังชีวิตต่อไปได้ ตัวอย่างเช่นแรงงานในหนังเรื่องนี้ทำงานวันละ 14 ชั่วโมงแลกกับค่าจ้างที่พอจะอยู่ได้วันต่อวัน ถามว่าทำไมนายทุนถึงไม่ขยายเวลาให้นานกว่านี้ หรือให้เงินน้อยกว่านี้ล่ะ? เพราะว่านายทุนได้ขูดรีดมาถึงจุดที่ maximize ได้แล้วค่ะ หากให้แรงงานทำงานมากกว่านี้หรือให้เงินน้อยกว่านี้ จะทำให้เจ้าห่านทองคำนั้นตายไปเสียก่อน ดังนั้นการขูดรีดสัมบูรณ์จึงเข้ามาสู่ทางตันในที่สุดทำให้เกิด...
    • การขูดรีดสัมพัทธ์ เนื่องจากอย่างที่เราได้เล่าให้ฟังไปแล้วว่าการขูดรีดสัมบูรณ์นั้นมีข้อจำกัดด้านเวลาที่ไม่สามารถให้แรงงานทำงานมากไปกว่านี้แล้ว นายทุนจึงเหลือทางเลือกในการสร้าง Surplus เพิ่มได้โดยการลด necessary labor time (เวลาที่แรงงานผลิตได้=ค่าจ้างที่ได้รับ) ให้น้อยลง โดยการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วย เช่น การใช้เครื่องจักรสายพานต่างๆ ทำให้แรงงานไม่สามารถควบคุมจังหวะการทำงานของตนเองได้ คนที่ทำช้าก็ต้องทำให้เร็วขึ้นเพื่อให้ทันจังหวะการผลิตที่นายทุนได้กำหนดไว้นั่นเอง

    Surplus ที่ได้จากการผลิตมานั้นจะฝังอยู่ในสินค้าที่พอนำไปขายแลกเป็นเงินก็จะกลับมาเป็นต้นทุนในโรงงาน หมุนเวียนเป็นวงจรต่อไปเรื่อยๆ ความทุกข์ทรมานที่เกิดขึ้นจากการขูดรีดในกระบวนการผลิตนั้นได้กลับมาซ้ำเติมเพิ่มความทุกข์ยากให้แรงงานมากยิ่งขึ้น เปรียบเหมือนหนูติดจั่นอย่างไรอย่างนั้น


    เข้าสู่ช่วงคำถามที่ได้ยินบ่อยนะคะ

    ทำไมไม่ขวนขวายไปทำอย่างอื่น? --- ดูจากแรงงานเด็กสิคะ อายุยังน้อยขนาดนั้นยังต้องเข้ามาทำงานในโรงงานวันละ 14 ชั่วโมงเพื่อช่วยหาเลี้ยงครอบครัว แค่ใช้ชีวิตให้รอดไปวันๆ ยังเป็นเรื่องยาก จะเอาเวลาที่ไหนไปพัฒนาตัวเอง 

    แล้วลำบากขนาดนี้จะทนไปทำไม? --- ย้อนกลับไปที่ด้านบนค่ะ หลังจากการล้อมรั้วแล้ว คนธรรมดาอย่างเราก็ไม่มีปัจจัยการผลิตใดๆ ทางเลือกจึงมีอยู่แค่ 2 อย่างระหว่างใช้แรงงานหรืออดตายค่ะ

    ดังนั้นถ้าจะบอกให้โทษตัวแรงงานเองเนี่ยมันก็ออกจะใจร้ายเกินไปหน่อยนะคะ จะเอาวลีปลุกใจของโลกทุนนิยมเข้าไปตัดสินเขาก็คงไม่ได้ ความพยายามอยู่ที่ไหนความพยายามก็คงจะอยู่ที่นั่นต่อไปในเมื่อแทบจะไม่มีโอกาสในการพัฒนาตัวเองให้แก่ชนชั้นแรงงานเลย 

    ส่วนคนที่ได้ดิบได้ดีเป็น rags to riches ขึ้นมาก็คงเป็นแค่หนึ่งในล้าน (ความจริงน่าจะหลายๆ ล้านด้วยซ้ำ) คนส่วนใหญ่ก็ยังต้องทุกข์ทรมานอยู่ในวงจรเดิมๆ หากไม่แก้ไขที่ระบบ คอยแต่บอกให้แก้ไขที่ตัวเองก็คงไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง --- อันนี้เราพูดถึงบริบทในหนังเรื่องนี้เนอะ


    ตั้งสติ process ข้อมูลแล้วกลับเข้าสู่ภาพยนตร์กันค่ะ *หายใจเข้าลึกๆ 1 เฮือก*

    ต้นเหตุของการประท้วงหยุดงาน --- หรือเรียกอีกอย่างได้ว่า การต่อสู้ทางชนชั้น (Class struggle) --- เริ่มจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นเพราะแรงงานคนหนึ่งเหนื่อยล้าจากการทำงานมากเกินไป ทำให้แรงงานทั้งหลายได้รวมตัวกันไปเจรจาต่อรองกับเจ้าของโรงงาน และปานปลายกลายเป็นการ strike ในที่สุด

    โดยหัวโจกของการ strike ครั้งนี้กลับไม่ใช่แรงงานที่ไหน แต่เป็น Professor Sinigaglia (ลุงแว่น) ที่เพิ่งหนีมาจากการจับกุมของเจ้าหน้าที่ เพราะลุงแกก็เป็นหัวโจกที่โรงงานอื่นมาแล้วเหมือนกัน เรียกได้ว่าเป็น activist สายขยันทำกิจกรรม เอะอะลงสนามตลอดนั่นเอง

    ตาลุงแว่นแกก็คอยเป็นที่ปรึกษาแนะแนวให้แรงงาน ช่วยปลุกระดมให้แรงงานสู้ต่อไป ประเมินสถานการณ์ให้นู่นนี่ ในระหว่างประท้วงเย้วๆ กันนั้นเอง แกก็ต้องคอยหนีการจับกุมไปด้วย --- ก๊าก!

    เรื่องราวก็ดำเนินต่อไปค่ะ แรงงานประท้วงๆๆๆ โรงงานจ้างแรงงานจากที่อื่นมา ประท้วงอีก เกิดความไม่สงบ กลายเป็นข่าวดัง ภาครัฐส่งเจ้าหน้าที่เข้ามาดูแล ตาลุงรีบหนี แรงงานเริ่มท้อ ตาลุงกลับมาพี่น้องครับใส่แรงงานใหม่ไปเรื่อย เราก็จะได้เห็นความยากลำบากในการประท้วงของแรงงานว่าต้องใจสู้ขนาดไหน พอไม่ทำงานเงินก็ไม่ค่อยจะมี อยู่กินกันอย่างอดๆ อยากๆ ยิ่งครอบครัวไหนถ้ามีคนไม่สบายขึ้นมาก็ยิ่งแย่เข้าไปอีก ถอดใจ สู้ใหม่ จลาจลกันไปหลายครั้ง จนมาถึงครั้งสุดท้าย...


    แรงงานเด็กที่เราได้รู้จักกันตอนต้นเรื่องเสียชีวิตจากความวุ่นวายในการประท้วงครั้งนี้ค่ะ ก่อนหน้านี้น้องได้บอกกับน้องชายของตัวเองว่า ให้ไปเรียนหนังสือที่โรงเรียน อย่าเข้ามาทำงานในโรงงานเป็นอันขาด แต่แล้วน้องชายก็ต้องเข้ามาเป็นแรงงานและกลายเป็นเสาหลักของครอบครัวแทนพี่ชาย (ใช่ค่ะ เด็กอายุไม่กี่ขวบก็ต้องเริ่มเข้าโรงงานแล้ว ความจนมันน่ากลัวนะคะ) เด็กชายที่ตายไปถูกแทนที่ด้วยแรงงานคนใหม่เพื่อให้โรงงานได้ทำการผลิตต่อไปได้

    ภาพของแรงงานทั้งหลายเดินเข้าสู่โรงงานอุตสาหกรรมเหมือนกับฉากแรกของภาพยนตร์กำลังบอกเราว่า สิ่งเหล่านี้กำลังถูกผลิตวนซ้ำในระบบทุนนิยม


    เพิ่มเติม: งานของผู้หญิงในระบบทุนนิยม

    สงสัยกันไหมคะว่าทำไมแม่ของเด็กๆ ไม่เข้ามาทำงานในโรงงาน? --- เพราะต้องทำงานบ้านค่ะ ระบบทุนนิยมได้กำหนดคุณค่าของงานว่างานที่มีคุณค่าคืองานที่สามารถแลกเปลี่ยนเป็นเงินได้ ดังนั้นงานของผู้หญิงจึงไม่มีค่าในระบบทุนนิยม ทั้งที่ความจริงแล้วหากในครัวเรือนไม่มีใครคอยทำงานบ้านก็ไม่สามารถดำรงชีวิตกันได้เช่นกัน เป็นกำลังใจให้นะคะ คุณพ่อบ้านแม่บ้านทั้งหลาย


    ฝากไว้ให้คิด No.1 
    ค่าของคนอยู่ที่ผลของงานจริงหรือไม่? ทำไมเราทุกคนถึงมีค่าในตัวเองไม่ได้? ทุกคนมีค่านะคะ --- said อ.ตุลย์ อิศรางกูร ณ อยุธยา (สอนประวัติศาสตร์ตะวันตกและนาซีได้แซ่บที่สุดในสามโลก)

    ฝากไว้ให้คิด No.2 

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in