เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
#99Days99Articles เล่าเรื่องเมืองสยามAquapatindra Vanijvarmindra
ประวัติศาสตร์ ควรเริ่มตรงไหน
  • จากบทความที่แล้ว พบว่า อาณาจักรละโว้ น่าจะสถาปนาราวปี พ.ศ. 1182 (จุลศักราช 1) (ในกรณีเราเชื่อตามพงศาวดาร) ซึ่งก็ยังไม่สามาถบอกได้ ว่านั้นคือต้นทางประวัติศาสตร์หรือไม่อย่างไร หรือควรจะสืบลงไปให้ไกลกว่านั้น ซึ่งจริงๆแล้ว คำว่า "ประวัติศาสตร์" โดยทั่วไปก็นับเอาเฉพาะเท่าที่มีบันทึกไว้เป็นประวัตินั่นแหละ ก่อนหน้านั้นเราเรียกมันว่า ยุคก่อนประวัติศาสตร์ (งงไหม?)

    ถ้าพิจารณาตามหลักมานุษยวิทยา (ถ้ายากเกินไปให้ไปดูหนัง 10,000 BC) การพัฒนาทางสังคม ถ้านับจากยุคโฮโลซีนที่มนุษย์ถือกำเนิดขึ้น ก็จะมีพัฒนาการทางสังคมต่อเนื่องกันไป ยิ่งมีการติดต่อจากโลกภายนอกมากเท่าไหร่ก็จะยิ่งมีสังคมที่ซับซ้อนขึ้น แต่ถ้าเป็นพื้นที่ที่ยิ่งห่างไกล หรือขาดการติดต่อ ก็จะยิ่งเปลี่ยนรูปแบบได้ช้าลง โดยพัฒนาการคร่าวๆ มีดังนี้

    1. สังคมหาของป่า-ล่าสัตว์
    2. สังคมเกษตรกรรม (เพาะปลูก-เลี้ยงสัตว์)
    3. สังคมยุคเมืองก่อนรัฐ (Proto-state)
    4. สังคมยุคนครรัฐ (City-state)
    5. สังคมยุคอาณาจักร-จักรวรรดิ (Kingdom or Empire)
    6. สังคมยุครัฐชาติ (Nation state)

    สังคมหาของป่า-ล่าสัตว์
    สังคมแบบเริ่มต้นนี้ จะยังไม่รู้จักการเพาะปลูก และบางกลุ่มก็จะเป็นชุมชนแบบเคลื่อนที่ ลักษณะคล้ายสัตว์ป่าอพยพประจำปีทั่วไป (มนุษย์ก็เป็นสัตว์) (ถ้าเทียบในหนัง 10000BC ก็คือหมู่บ้านของพระเอก)

    สังคมเกษตรกรรม (เพาะปลูก-เลี้ยงสัตว์)
    สังคมเริ่มรู้จักเพาะปลูก บางกลุ่มจะตั้งฐิ่นฐานที่ใดที่หนึ่งเพื่ออยู่อาศัยระยะยาว แต่บางกลุ่มอาจจะยังมีการอพยพอยู่เนื่องด้วยข้อจำกัดด้านทรัพยากร (ถ้าเทียบในหนัง 10000BC ก็คือหมู่บ้านกลางทาง ที่มีการปลูกพืชแล้ว)

    สังคมยุคเมืองก่อนรัฐ (Proto-state)
    เมื่อการผลิตทำได้ดีขึ้น ก็เริ่มมีการค้าขาแลกเปลี่ยนสินค้ากับกลุ่มชุมชนอื่นๆ แต่ละชมชนก็จะปกครองกันเองเป็นเอกเทศ มักจะรวมอำนาจตัดสินใจทุกอย่างไว้ที่หัวหน้าเผ่า หรือหัวหน้ากลุ่ม แต่เพียงผู้เดียว

    สังคมยุคนครรัฐ (City-state)
    มีความเป็นเมืองมากขึ้น มีระบบ ระเบียบ กฏหมาย แบบแผนการปกครอง แบบหลวมๆ มีการจัดวางตำแหน่งทางสังคม แต่โครงสร้างของเมืองยังเป็นเพียงเมืองเดียว หรือสองเมือง (ถ้าเทียบในหนัง 10000BC น่าจะเป็นเมืองตรงท้ายเรื่อง ที่มีรูปแบบสังคมซับซ้อน มีผู้ปกครอง มีชนชั้น)

    สังคมยุคอาณาจักร-จักรวรรดิ (Kingdom or Empire)
    เมื่ออาณาเขตกว้างขึ้น ประชากรมากขึ้น ระบบการปกครองแบบนครรัฐจึงหละหลวมแลไม่เอื้ออำนวย รัฐในยุคนี้จะเริ่มมีการพัฒนารูปแบบเป็นรูปแบบอาณาจักร ที่มีการปกครองที่ซับซ้อนขึ้น มีการกระจาย-รวมอำนาจ ไปยังจุดต่างๆ ภายใต้การสั่งการอย่างเป็นระบบตามสายบังคับบัญชา มีรัฐบรรณาการ (ประเทศราช)

    สังคมยุครัฐชาติ (Nation state)
    รัฐชาติ หรือรัฐสมัยใหม่ เป็นรัฐในยุคปัจจุบันหลังสิ้นสุดยุคอาณาจักร ยุคนี้รัฐจะมีอาณาเขตแน่นอนตายตัว (ถ้าตกลงกันไม่ได้ก็เป็นดินแดนข้อพิพาท) มีประชากร มีอำนาจอธิปไตย และมีรัฐบาลปกครอง



    จะเห็นได้ว่า ถ้าอ่านตามหลักสูตรประวัติศาสตร์นิพนธ์ ที่พร่ำสอนกัน (อย่างน้อยก็ในอดีตช่วงสัก 10 ปีที่แล้ว) อยู่ๆ คนไทยก็อพยพมาจากไหนไม่รู้ (ที่ก็ตีกันว่าอัลไตบ้าง ยูนนานบ้าง เสฉวนบ้าง กว่างซีบ้าง) ตั้งอาณาจักรที่สุโขทัย แล้วก็ตู้ม เป็นอาณาจักรที่มีแสนยานุภาพทางทหาร ประกาศเอกราชได้จากขอมไม่พอ ยังมโนต่อด้วย ว่ามีอาณาบริเวณกินพื้นที่ตั้งแต่ พงสาลี จนตลอดปลายแหลมมลายู -- ก็คือ มาถึงก็อยู่สเตป 5.5 เลยในทันที โดยที่ไม่ปรากฎพัฒนาการ 1 2 3 4 มาก่อน

    ซึ่งเมื่อมีการศึกษากันมากขึ้น เราพบว่ามีรัฐโบราณเกิดขึ้นก่อนหน้ามากมาย ซึ่งผู้ที่เชื่อในแนวคิดข้างต้น ออกมาแถลงไขว่า ก็ที่อยู่มาก่อน รวมถึงอาณาจักรจำพวก ทวารวดี ลโว้ หริภุญชัย อาจจะไม่ใช่คนไทยไง อาจจะเป็นพวกมอญ หรืออื่นๆ ... อันนี้ต้องมาปรับมุมมองกันแล้วล่ะ ว่าสรุปแล้วเราจะคุยเรื่องประวัติศาสตร์ของสังคม หรือประวัติศาสตร์เชื้อสาย ถ้าคุยเรื่องสังคม ก็ควรมองในมุมของรัฐ มากกว่าเป็นมุมมองของเชื้อสายของประชากร เพราะรัฐหนึ่งๆ มันก็ไม่ได้มีประชากรเป็นเชื้อชาติเดียวกันทั้งหมดเมื่อไหร่

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in