เราขอเล่าก่อนว่า เดิมเราไม่ได้เป็นหนอนหนังสือ ไม่ชอบอ่านหนังสือ ยกเว้นหนังสือการ์ตูนญี่ปุ่นที่อ่านแล้วติดแหงก ไม่อยากลุกไปทำอะไรจนแม่บ่นแล้วบ่นอีก หนังสือเรียนไม่ต้องพูดถึง ไม่เคยแตะยกเว้นตอนสอบ ส่วนหนังสือประเภทอื่นๆ ที่มีแต่ตัวหนังสือ ยิ่งไม่เคยอ่านเลย พี่ชายเราถึงกับเคยปรามาสว่า ถ้าเราอ่านหนังสือได้เกินครึ่งชั่วโมงก็เก่งแล้ว
เราเคยพยายามลองเป็นนักอ่านด้วยการเข้าร้านหนังสือและหาซื้อหนังสือมาอ่านเอง จำได้ว่าหนังสือเล่มแรกที่ลองซื้อ ชื่อการให้อภัยตัวเอง (พี่ชายเราเห็นชื่อหนังสือแล้วหัวเราะเยาะ) คิดว่าซื้อมาแล้วน่าจะอ่านเพราะเรามีปัญหาเรื่องนี้ แต่เอาเข้าจริงก็อ่านไปได้ไม่กี่หน้า แต่ก็ยังพยายามซื้อเล่มอื่นๆ ต่อไป แต่ก็ไม่สำเร็จ อ่านไม่จบสักเล่ม ไม่เด็กเกินไป ก็ไม่น่าสนใจ ไม่รู้ว่าเป็นเพราะหนังสือหรือเป็นเพราะตัวเรา แต่คิดว่าน่าจะเป็นตัวเราเองที่เลือกหนังสือไม่เป็น เพราะเป็นคนไม่อ่านหนังสือจึงไม่รู้ว่าต้องเลือกจากอะไร ทำให้หนังสือที่ซื้อมาแต่ละเล่มไม่สามารถดึงเราให้อ่านได้จนจบ
พอโตขึ้นอีกนิด เรียนจบ ทำงานเป็นพนักงานบริษัท ซึ่งในบริษัทที่เราทำงาน พนักงานเกือบทุกคน ยกเว้นเรา เรียนหนังสือเก่งๆ กันทั้งนั้น จบจากคณะดีๆ มหาวิทยาลัยดีๆ หลายคนได้เกียรตินิยม รุ่นพี่ส่วนใหญ่จบปริญญาโทจากเมืองนอก ยังงงๆ ว่าเรามีโอกาสสอบผ่านเข้ามาทำงานที่นี่ได้ไง มีแต่คนเจ๋งๆ น่าจะฟลุ๊คสุดๆ ทุกคนรักการอ่าน พอคุยเรื่องหนังสือเขาคุยกันรู้เรื่องหมด มีแต่เราที่ได้แต่นั่งฟัง เพราะไม่รู้จักสักเล่ม รุ่นพีิ่หลายๆ คนเห็นเราไม่อ่านหนังสือ ก็พยายามชักจูงให้เข้าวงการ ด้วยการให้หนังสือเป็นของขวัญปีใหม่บ้าง เล่าเรื่องหนังสือที่เขาเคยอ่านตอนเด็กๆ ให้ฟังบ้าง แนะนำชื่อหนังสือที่น่าอ่านให้บ้าง เอาหนังสือมาให้ยืมบ้าง แต่ทั้งหมดก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ หนังสือยังเป็นเรื่องน่าเบื่อสำหรับเราต่อไป ตอนที่เราได้ยินว่าลูกพี่ลูกน้องคนหนึ่ง รบเร้าให้พ่อของเขาพาไปงานหนังสือ ซึ่งตอนนั้นยังจัดที่คุรุสภา (มั้ง) แต่ไม่ใช่ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เรานึกในใจ จะไปทำไม มีแต่หนังสือ ไม่เห็นมีอะไรน่าสนใจ
ต้องขอบคุณหลานชายของสามีเรา ไม่รู้อะไรดลใจให้เขาเอาหนังสือ "แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับนักโทษแห่งอัซคาบัน" มาให้เรายืมอ่าน เขาบอกว่าเป็นหนังสือที่สนุกมาก พยายามชักชวนเราสารพัดให้ลองอ่าน ตอนเห็นไม่อยากอ่านเลย เปิดไปมีแต่ตัวหนังสือ แต่เกรงใจ เขาอุตส่าห์เอามาให้ถึงที่บ้าน เลยรับไว้ก่อน ในใจคิดว่าคงไม่อ่านหรอก แต่ช่วงนั้นบังเอิญค่อนข้างว่าง ไม่มีอะไรทำ ก็เลยหยิิบมาลองอ่าน หลังอ่านจบบทแรกแล้ว เราก็วางไม่ลงอีกเลย ไม่อยากลุกไปทำอะไร นอกจากอ่านและอ่าน อยากอ่านต่อให้จบภายในรวดเดียว
แฮร์รี่ และ เจ เค โรว์ลิง เปลี่ยนเรา (และคนมากมาย) ให้กลายเป็นหนอนหนังสือตั้งแต่บัดนั้น เราต้องไปตามหาอ่านตั้งแต่เล่มแรก และเฝ้ารอว่าเมื่อไหร่เล่มต่อไปจะออก ความหนาของหนังสือไม่ได้เป็นปัญหาอีกต่อไป แต่กลายเป็นความสนุกที่เฝ้ารอ จำได้ว่าตอนที่เห็นความหนาของสันปกหนังสือเล่ม 4 "แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับถ้วยอัคนี" เราดีใจ ^^ เพราะรู้สึกว่าจะมีความสนุกให้อ่านได้นานขึ้น ไม่จบเร็ว 555
ต้องขอบคุณหลานชายและแฮร์รี่ ที่ทำให้เรารักการอ่านตั้งแต่นั้น ทำให้เราสามารถอ่านหนังสือต่างๆ ได้หลากหลายประเภทขึ้น นอกจากหนังสือการ์ตูนญี่ปุ่นที่อ่านเป็นตั้งแต่เด็ก หนังสือคู่มือดูแลครรภ์ และคู่มือดูแลสุขภาพต่างๆ ที่มีแต่ตัวหนังสือและเนื้อหาวิชาการ เราก็สามารถอ่านได้อย่างสบาย ไม่เบื่อ แถมรู้สึกสนุกในขณะที่อ่านด้วย หนังสือนิยายอื่นๆ ก็อ่านบ้างแต่ไม่มากเพราะไม่ใช่แนว
หลังจากอ่านหนัังสือมาสักพัก ทำให้เราเริ่มเข้าใจวิธีเลือกหนังสือให้ตัวเองอ่าน ที่จริงก็ไม่ได้มีหลักการอะไรยากเย็น แค่เลือกตามความต้องการ ว่าอยากรู้เรื่องอะไรก็หาหนังสือเกี่ยวกับเรื่องนั้น ก็แค่นั้น เพียงแต่ในช่วงวัยรุ่นที่เราไม่ประสบความสำเร็จในการหาหนังสืออ่านเอง เพราะเราไม่ได้อยากอ่านหนังสือจริงๆ "แค่อยากลอง" เพราะใครๆ ก็บอกว่าอ่านหนังสือแล้วดี เราจึงพยายามผลักดันให้ตัวเองทำ แต่การเดินเข้าร้านหนังสือหรือห้องสมุดของเรา เป็นการเดินแบบไร้จุดหมายใดๆ ทั้งสิ้น คิดเอาเองว่าเมื่อเดินเข้าไปแล้ว คงจะเจออะไรสักเล่มแล้วเอากลับมาอ่าน จากนั้นจะทำให้เรากลายเป็นนักอ่านเอง การเลือกหนังสือจึงเป็นการเลือกแบบเดาสุ่มไร้จุดหมาย ไม่ใช่การเลือกตามความต้องการ และเรามักจะเลือกแต่แนววรรณกรรมเยาวชนโดยดูจากคำโฆษณาบนปกหนังสือ เพราะคิดเอาเองว่าน่าจะเหมาะกับเราที่ยังเป็นเยาวชนอยู่ในเวลานั้น 555 แต่ถึงตอนนี้เรารู้ว่า เราเป็นพวกไม่ชอบอ่านนิยาย จึงเข้าใจและไม่แปลกใจที่วรรณกรรมเยาวชนจะไม่สนุกและไม่น่าสนใจสำหรับเรา นิยายที่อ่านจบจริงๆ มีน้อยมากไม่น่าเกิน 10 เรื่องและ 2 เรื่องในนั้น คือ แฮร์รี่ พอตเตอร์ และ คนตัวจิ๋ว (ซึ่งเรื่องหลัง ในบางช่วงของเรื่อง เรายังต้องใช้ความพยายามอดทนอ่านต่อให้จบ เพราะไม่ใช่แนวจริงๆ)
เมื่อเรากลายเป็นนักอ่านมือใหม่ และเห็นว่าการอ่านหนังสือนั้นดีและมีประโยชน์จริงๆ และรู้ว่า การจะเป็นนักอ่านได้ไม่ใช่เรื่องง่าย เราจึงอยากให้ลูกเรารักการอ่านด้วย เราจึงไปงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ที่ไม่เคยคิดจะไปเพราะมีแต่หนังสือ 555 แต่ก็ไป เพื่อตามหาหนังสือนิทานสำหรับเด็กมาอ่านให้ลูกฟัง ตั้งแต่เขาอายุได้ 6 เดือน แต่ด้วยความที่เป็นลูกคนแรก ประกอบกับแม่ที่เพิ่งเป็นนักอ่าน หนังสือนิทานเล่มแรกที่ซื้อมาอ่านให้ลูกฟัง จึงมีแต่ตัวหนังสือเต็มไปหมดเพราะไม่รู้ต้องเลือกยังไง แต่เพราะเราอ่านหนังสือเพิ่มขึ้น เข้าร้านหนังสือบ่อยขึ้น จึงเห็นหนังสือมากขึ้น ในที่สุดก็หาหนังสือที่เหมาะสมกับวัยของลูกมาอ่านให้เขาฟังจนได้
ทุกคร้้งก่อนนอน เราจะอ่านหนังสือนิทานให้ลูกฟัง จากตอนแรกที่รู้สึกแปลกๆ ที่ต้องอ่านออกเสียงให้ลูกฟัง บางทีก็ดัดเสียงด้วย ต่อมาก็ชิินและเป็นเรื่องที่ทำได้อย่างสบายไม่เคอะเขิน ลูกมาเฉลยตอนโตว่า ที่จริงแม่ไม่ต้องดัดเสียงก็ได้ แล้วพอเขาอ่านเองได้ เขาก็ไม่ได้ฟังเราหรอก บางทีเขาอ่านจบก่อนเราและอยากอ่านหน้าต่อไปแล้ว แต่ต้องรอจนกว่าเราจะอ่านจบแล้วพลิกหน้าต่อไป 555
เวลาที่อ่านหนังสือกับลูก เราจะชี้ให้เขาดูรายละเอียดต่างๆ ในหน้งสือ เริ่มตั้่งแต่หน้าปก ว่านักเขียนชื่ออะไร ใครเป็นคนวาดรูปประกอบ หรือ แปล แต่ละหน้ามีรายละเอียดอะไรบ้าง พอเขาเริ่มพูดได้อ้อแอ้ บางครั้งเขาจะพูดคำบางคำจากในหนังสือที่เคยอ่านให้ฟัง แรกๆ ก็นึกว่าไม่ใช่ คงเป็นความบังเอิญ แต่พอได้ยินบ่อยๆ ก็เริ่มมั่นใจว่าลูกจำได้จากหนังสือจริงๆ แล้วลูกก็เริ่มทำให้เรารู้สึกประหลาดใจในความสามารถของเด็กที่อายุยังไม่ถึง 2 ขวบ
คร้ั้งหนึ่งระหว่างทางไปสวนสัตว์ (ตอนอ่านกรุณาใช้สำเนียงเด็กหัดพูดที่ยังพูดไม่ชัด ^^)
ป๊าถามลูกสาวว่า "ลิงร้องยังไงลูก" ลูกตอบว่า "เจี๊ยกๆ"
"หมา ล่ะ" "โฮ่งๆ"
"แมว" "เมี๊ยวๆ"
"ช้าง" โดยไม่เคยคาดคิด ลูกร้องเพลงตอบ "ช้างๆๆๆๆ น้องเคยเห็นช้างรึเปล่า ช้างมันตัวโตไม่เบา จมูกยาวๆ เรียกว่างวง สองเขี้ยวใต้งวง เรียกว่างา มีหูมีตาหางยาว" 555
ป๊าเลยลองถามต่อว่า
"แล้วแกะล่ะ ร้องยังไงลูก" "ช่วยด้วย ช่วยด้วย หมาป่าจะมากินแกะ" 5555
จากที่เคยอ่านวันละเล่ม ก็เพิ่มเป็น 2 เล่มและเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ (จนบางครั้งเกิดศึกก่อนนอน เพราะคุณลูกจะอ่านไปเรื่อยๆ ไม่ยอมนอน) จากหนังสือนิทานเล่มใหญ่ๆ บางๆ อักษรตัวโตๆ เป็นหนังสือเล่มเล็กลงแต่หนาขึ้น และตัวอักษรก็เล็กลงตามไปด้วย จากหนังสือที่ทั้งหน้ามีรูปเดียว คำเดียว เป็นหนังสือที่หนึ่งหน้ามีหลายช่อง หลายประโยค วันหนึ่งเราเกิดสงสัยขึ้นมาว่าที่เราอ่านให้ลูกฟังเขาจะเข้าใจเนื้อหาจริงๆ ไหม จึงลองทดสอบโดยตั้งคำถามลูกเกี่ยวกับสิ่งที่กำลังอ่าน แรกๆ สิ่งที่เขาตอบจะเป็นการตอบตามตัวหนังสือแต่ยังไม่เข้าใจความหมายที่แฝงมาด้วย แต่ฝึกถามไปเรื่อยๆ ทุกครั้งที่อ่าน ลูกจะสามารถเข้าใจความหมายของเนื้อหาลึกขึ้น และเชื่อมโยงประเด็นความรู้ที่ไม่ยากเกินไปได้
เมื่อเขาอ่านเองได้ ก็กลายเป็นหนอนหนังสือ อ่านทั้งวัน ไปที่ไหนขอให้มีหนัังสือ เขาอยู่ได้ ไปงานหนังสือซีื้อกลับมาหลายสิบเล่ม แต่น่าจะอ่านจบภายใน 2 วัน 555 แล้วก็อ่านวนไปเรื่อยๆ ที่ไหนมีร้านหนังสือ จะอยู่แต่ในร้าน ไม่ไปไหน ร้านหนังสือในห้างจึงคล้ายๆ กับเป็นศูนย์รับฝากเด็กสำหรับเราในบางครั้ง เพื่อให้ลูกนั่่งอ่านหนังสือรอขณะไปทำธุระ ซึ่งต้องขอขอบคุณร้านหนังสือทุกๆ ร้าน เพราะส่วนใหญ่จะมีเด็กๆ ไปนั่งอ่านหนังสือ (ฟรี) ในร้านหลายคน และพนักงานก็ใจดีมากๆ ไม่เคยมีใครไล่เด็กๆ เหล่านี้เลย ถึงแม้ว่าบางครั้งผู้ปกครองที่พามาจะไม่ได้ซื้อหนังสือกลับเลยก็ตาม รวมถึงเราด้วยซึ่งก็ทำบ่อยพอสมควร 555 (^^)
ช่วงที่เราเลี้ยงลูกและลูกเริ่มโต เราเริ่มมีปัญหากับลูก แต่ไม่เข้าใจว่าเป็นเพราะอะไร และเกิดเป็นความทุกข์ใจอย่างมาก อยากหาทางออก ช่วงเวลานั้นทำให้เราได้พบกับหนังสือธรรมะเล่มหนี่งของพระอาจารย์ไพศาล วิสาโล จำชื่อหนังสือไม่ได้ แต่ใจความคือ "แค่เปลี่ยนความคิด ชีิวิตเปลี่ยน" แม้เราจะกลายเป็นนักอ่านแล้ว แต่ความคิดหลายอย่างของเราในเวลานั้นยังเหมือนเดิม ทั้งวิธีคิด การมองโลก ทำให้เรารู้สึกสะดุดใจเมื่อเห็นชื่อหนังสือ เกิดความสงสัยว่าจริงไหม จึงอยากลองซื้อมาอ่านเพื่อพิสูจน์ว่าจริงอย่างชื่อหนังสือหรือไม่ อ่านจบ ชีวิตเปลี่ยนจริงๆ
หลังจากอ่านหนังสือธรรมะเล่มแรกจบ เรากลายเป็นแฟนหนังสือธรรมะ เจอไม่ได้ ต้องแวะเข้าไปดูว่ามีเล่มไหนน่าสนใจอีก เราอ่านไปเรื่อยๆ แล้ววันหนึ่งเราก็พบว่ามุมมองในชิีวิตของเราเปลี่ยนไป ธรรมะทำให้เรารู้จักโลกในมุมมองใหม่ ที่เราไม่เคยเห็นมาก่อน ทำให้เห็นว่าธรรมะที่แท้มีอยู่รอบตัว อยู่ที่ว่าเราจะหยิบจับ หรือเห็นได้หรือไม่ก็เท่านั้น ธรรมะทำให้การอ่านนิทานให้ลูกฟังเป็นการอ่านให้ตัวเองฟังด้วย หลายๆ ครั้ง เราได้เห็นธรรมะที่ซ่อนอยู่ในหนังสือนิทาน
เรื่องหนึ่งสอนเราว่า "ทุกคนล้วนเกิดมาแตกต่าง ไม่มีใครเหมือนใคร"
อีกเรื่องหนึ่งสอนเราว่า "เราเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ เราตัวเล็กนิดเดียว แต่ธรรมชาติยิ่งใหญ่มากๆ" อีิกเรื่องหนี่งสอนว่า "เราต้องขัดเกลาตัวเอง เพื่อจะได้ไม่ทำให้ผู้อื่นทุกข์ใจ"
หลังจากอ่านหนังสือธรรมะอย่างเดียวเป็นเวลาหลายปี ทำให้เริ่มรู้สึกเบื่อ เพราะเนื้อหาเริ่มซ้ำ เราจึงเริ่มมองหาหนังสือประเภทอื่นเพื่ออ่านต่อไป แต่เหมือนคนกำลังหลงทางไม่รู้จะอ่านอะไรต่อดี ในใจตอนนั้นรู้สึกว่าธรรมะคือสุดยอดของความรู้แล้ว ไม่รู้สึกอยากรู้อะไรอีก เห็นเล่มไหนก็ไม่น่าสนใจ คิดแต่ว่าเหมือนที่เคยอ่านแล้ว ก็เลยลองซื้อ "พ่อรวยสอนลูก" มาอ่าน เอาแบบฉีกแนวเดิมไปเลย และเห็นว่าเป็นหนังสือขายดีมานานแล้วแต่ไม่เคยคิดจะซื้อเพราะชื่อหนังสือ แต่เนื่องจากไม่รู้จะอ่านอะไรแล้ว ประกอบกับช่วงนั้นหนังสือประเภทรวยเร็วเริ่มมีออกมาเยอะ เลยลองอ่านเล่มที่ออกมาก่อนว่าเป็นยังไง แล้วมุมมองเกี่ยวกับเรื่องการเงินของเราก็เปลี่ยนไป รวมถึงวิธีคิดในเรื่องอื่นๆ ด้วย
หนังสือธรรมะ ทำให้เข้าใจตนเองและคนอื่นเพิ่มขึี้น
หนังสือพ่อรวยสอนลูก ทำให้เรารู้ว่า เราจะเป็นอย่างไร ขึ้่นอยู่กับวิธีคิดของเรา ซึ่งที่จริงธรรมะก็สอนแบบเดียวกัน เพียงแต่เรายังเข้าไม่ถึง แต่ประตูถูกเปิิดอีกครั้งหลังจากได้อ่านพ่อรวยสอนลูก ทำให้เราเห็นว่า ถึงแม้ธรรมะจะเป็นสุดยอดความรู้อย่างที่เราคิดจริงๆ แต่การที่เราอ่านหนังสืออื่นๆ ก็สามารถช่วยขยายขอบเขตความรู้ของเราให้เพิ่มขึ้นได้เช่นเดียวกับหนังสือธรรมะ เราจึงไม่ควรหยุดอยู่แค่หนังสือธรรมะเท่านั้น
มีหนังสือเล่มหนึ่งเขียนเกี่ยวกับวิธีการเลี้ยงลูก ผู้เขียนเป็นคนจีน ได้ยกคำกล่าวของนักปราชญ์จีนมาไว้ในหนังสืออีกทีว่า "การอ่านหนังสือเหมือนได้สนทนากับนักปราชญ์" ดังนั้นจึงควรเลือกหนังสือที่จะให้ลูกอ่าน เรารู้สึกทึ่งและประทับใจกับข้อความนี้ เพราะเราเคยคิดแค่ว่าการอ่านหนังสือทำให้เราได้ความรู้ แต่ไม่เคยคิดในมุมนี้ว่า เรากำลังคุยกับนักเขียน ทำให้การอ่านหนังสือเปรียบเสมือนการแลกเปลี่ยนความรู้และความคิดเห็นระหว่างเราและนักเขียน ยิ่งคนเขียนเก่งมากเท่าไหร่ ความรู้ที่ได้ก็จะยิ่งลึกซึ้งมากขึ้นเท่านั้น แล้วพอนึกย้อนไปว่าการที่เราอ่านหนังสือธรรมะ หรือ สวดมนต์แปล เท่ากับเรากำลังสนทนาอยู่กับพระพุทธเจ้าด้วย แค่คิดก็สุดยอดแล้ว!!! ยิ่งคิดก็ยิ่งรู้สึกอยากอ่านหนังสือธรรมะมากขึ้น 555
ตอนเป็นนักอ่านมือใหม่ เราเคยคิดว่าซื้อหนังสือมากี่เล่มต้องอ่านให้หมดก่อนแล้วค่อยซื้อใหม่ แรกๆ ก็ทำได้อย่างที่คิด เพราะซื้อครั้งละ 1-2 เล่มเท่านั้นและก็ไม่ได้ซื้อบ่อย แต่เนื่องจากการอ่านหนังสือกลายเป็นงานอดิเรกและความสุขอย่างหนึ่งของเรา เราจึงเข้าร้านหนังสือบ่อยขึ้นและเห็นหนังสือน่าสนใจ น่าอ่านมากขึ้น อยากซื้อแต่ก็รู้สึกผิด เพราะที่บ้านยังอ่านไม่หมด ไม่อยากซื้อมาดองเพิ่ม แต่ตอนนี้เปลี่ยนความคิดใหม่แล้ว เพราะหนังสือดีบางเล่ม หมดแล้วหมดเลย ถ้าไม่ซื้อไว้ อาจไม่มีโอกาสได้อ่าน ดังนั้นถ้าเจอหนังสือที่น่าสนใจก็ซื้อไว้ก่อนเลย และมารู้ตอนหลังว่า เราไม่ได้เป็นคนเดียวที่มีหนังสือดองไว้ในตู้ มีเพืื่อนๆ นักอ่านหลายคนที่มีหนังสือที่ยังไม่ได้อ่านในสต็อคหลายเล่มเหมือนกัน
หนังสือ "7 habits" (ฉบับแปลไทย) เป็นหนังสือที่เราเคยได้ยินชื่อตั้งแต่สมัยยังเป็นวัยรุ่นทำงานเป็นพนักงานบริษัท ได้ยินพี่ๆ คุยกันว่าควรอ่าน เป็นหนังสือที่ดี ตอนนี้เมื่อเป็นนักอ่านแล้ว เราเลยลองซื้อมาอ่านบ้าง จัดเป็นหนังสือที่ดีเล่มหนึ่ง แม้จะอ่านยากไปนิด "7 habits" ทำให้เราเห็นว่า ชีิวิตของเราทุกคน "เลือก" ได้ เราควบคุมทุกอย่างไม่ได้ แต่เราควบคุมตัวเราและการตอบสนองของเราได้ อยู่ที่การตัดสินใจเลือกของเรา (ซึ่งตรงกับที่พุทธศาสนาสอนมาก) การที่คิดว่าเลือกไม่ได้ ที่จริงแล้วคือ "การเลือกที่จะไม่เลือก" และปล่อยไปโดยไม่ทำอะไร หรือที่เรียกว่าปล่อยไปตามยถากรรมนั่นเอง การที่เรารู้ว่าชีิวิตเราเลือกได้ ทำให้เรารู้สึกว่าเรามี "อำนาจ" ในการควบคุมชีิวิตของตัวเอง ทำให้เราคิดจะตั่้งเป้าหมายในชีิวิต ในแบบที่เข้าใจตัวเองมากขึ้น ทำให้สามารถแยกแยะได้มากขึ้น ว่าอะไรมีหรือไม่มีประโยชน์ หรือ มีโทษกับเรา อะไรคือสิ่งที่เราต้องการ อะไรคือสิ่งที่เราสามารถทำให้กับชีิวิตของเรา และอะไรที่ไม่ควรทำ หรือทำไปก็ไม่ทำให้ชีิวิตของเราดีขึ้น
หลังจาก "7 habits" เราเริ่มอ่านหนังสือพัฒนาตัวเองมากขึ้น ทั้งที่เขียนโดยชาวตะวันตก ชาวเอเชีย หรือคนไทยเอง ยิ่งอ่านมากขึ้น ยิ่งเห็นว่าเนื้อหาส่วนใหญ่เป็นเพียงส่วนย่อยส่วนหนึ่ง ที่มีสอนอยู่แล้วในพุทธศาสนา และยิ่งตอกย้ำว่าธรรมะในพุทธศาสนานั้น คือสุดยอดของความรู้จริงๆ และยิ่งเพิ่มศรัทธาในพุทธศาสนาในตัวเราให้มั่นคงยิ่งขึ้นไปเรื่อยๆ
หนังสือพัฒนาตนเองและหนังสือธรรมะ ช่วยให้เราพัฒนาตนเองให้ดีขึ้นไปเรื่อยๆ ทั้งความสามารถภายนอก และการควบคุมภายใน ยิ่งอ่านมากขึ้นเท่าไหร่ ยิ่งรู้สึกว่าชีิวิตเราเลือกได้ ยิ่งมีความมั่นใจในตนเองมากขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งรู้สึกถึงความสุขและสงบภายใน ทำให้ใช้ชีิวิตทุกวันได้อย่างมีความสุข สำหรับเรา หนังสือไม่ใช่แค่แหล่งความรู้เท่านั้น แต่เป็นที่ปรึกษาและเป็นเพื่อนให้กับเราด้วย หนังสือหลายเล่มที่เราเคยอ่านแล้ว เห็นว่าเป็นหนังสือที่ดี เราจะซื้อเพิ่มอีกหลายเล่ม เพื่อแจกหรือบริจาคให้ห้องสมุด เพื่อให้โอกาสคนอื่นๆ ได้อ่าน และอาจจะเกิดเป็นประโยชน์กับชีวิตของเขาด้วย ส่วนของเราเองก็จะเก็บไว้เผื่อหยิบมาอ่านอีกในอนาคต ในยามที่ต้องการ เราบอกลูกว่า ถ้าแม่ไม่อยู่แล้ว แม่อนุญาตให้กำจัดของแม่ได้ทุกอย่าง ตามที่ต้องการ ยกเว้นหนังสือทุกเล่มที่แม่เก็บไว้ โดยเฉพาะหนังสือธรรมะ ห้ามทิ้ง ให้เขาเก็บไว้ เผื่อวันหนึ่งเขาอาจต้องการเพื่อนคู่คิด และหนังสือธรรมะจะเป็นเพื่อนที่ดีให้กับเขา เพราะเพื่อนดีหายาก เมื่อเจอแล้วต้องรักษาไว้
เราอาจเคยทำผิดพลาดหลายอย่างในชีวิต แต่สิ่งหนึ่งที่เราภูมิใจและมั่นใจว่าเราทำได้ถูกต้อง และประสบความสำเร็จ คือ การอ่านนิทานให้ลูกฟังทุกคืนก่อนนอน ทำให้เราและลูกได้มีช่วงเวลาแห่งความสุขด้วยกันทุกคืน จนเขากลายเป็นเด็กรักการอ่านด้วยตัวเอง และสามารถอ่านหนังสือได้อย่างเข้าใจลึกซึ้ง ทุกวันนี้ เมื่อมีโอกาส เราและลูกจะแวะเวียนไปตามร้านหนังสือ และเลือกซื้อหนังสือให้ตัวเองอย่างมีความสุขด้วยกัน แม้จะยังมีหนังสือในสต็อคที่ยังไม่ได้อ่านอีกหลายเล่ม555 เราและลูกยังเป็นนักอ่านฟรีในบางครั้งด้วย 555
#นักสังเกต
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in