เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
PLAYLISTJAE
แปล Burn Masculinity - The Spook School เพลงที่วิพากษ์ความเป็นชายในระบบปิตาธิปไตย
  • The Spook School เป็นวงอินดี้ป๊อบพังค์จากสก็อตแลนด์ที่ประกอบไปด้วยสมาชิกผู้มีความหลากหลายสี่คน Nye Todd (นักร้องนำและมือกีตาร์), Adam Todd (โวคอลและมือกีตาร์), Anna Cory (มือเบส), Niall McCamley (มือกลอง) ที่มีเนื้อเพลงเกี่ยวกับ "เพศวิถี, เพศสภาพ, และความเป็นเควียร์" โดยมีธีมเป็น "ความลื่นไหลและการหลุดจากขนบสองเพศ"
    The Spook School ทำวงมาตั้งแต่ปี ค.ศ.2012 ได้ปล่อยอัลบั้ม Dress Up (2013), Try To Be Hopeful (2015), Could It Be Different (2018) และได้ประกาศยุบวงในปี 2019 ที่ผ่านมา

    ทั้งนี้ ผู้เขียนได้เรียบเรียงและแปลเพลง Burn Masculinity จากอัลบั้ม Try To Be Hopeful อัลบั้มที่กล่าวถึงอัตลักษณ์และความเป็นเควียร์อย่างชัดเจน อย่างที่ Nye นักร้องนำให้สัมภาษณ์ว่า "เนื้อเพลงที่เราเขียนไปตอนอัลบั้มแรก(Dress up) มันเกี่ยวกับการก้าวเข้าสู่การเป็นทรานส์ ส่วนเพลงในอัลบั้มนี้มันเป็นเชิงความรู้สึกว่า 'เออ นี่แหละตัวตนเรา นี่มันโคตรจะดี' อย่างนี้มากกว่า"

    อนึ่ง ในระหว่างที่กำลังอัดอัลบั้ม Try To Be Hopeful นั้น เสียงของ Nye ก็ได้รับผลกระทบจากเทสโทสเตอโรน ซึ่งจะสังเกตุได้จากการที่เสียงของเขาเปลี่ยนไปในแต่ละเพลงนั่นเอง

    Burn Masculinity เพลงที่วิพากษ์ความเป็นชายในระบบปิตาธิปไตย

    Burn Masculinity ของ The Spook School ได้วิพากษ์ถึง'ความเป็นชาย' ที่ส่งผลกระทบต่อผู้อื่นในสังคม -- ถ้าวิเคราะห์จากเนื้อเพลง ความเป็นชายที่ว่านั้นคือ'ความเป็นชายที่เป็นพิษ (Toxic masculinity)' ในระบบปิตาธิปไตยที่สร้าง บทบาททางเพศ(gender roles) ให้ผู้ชาย โดยบทบาทนั้นเองก็สามารถที่จะไปทำร้ายผู้อื่นและย้อนกลับไปทำร้ายตัวผู้ชายเองด้วย อย่างเช่น การที่ผู้ชายจำเป็นต้องทำตัวแข็งแกร่ง ต้องใช้ความรุนแรง ห้ามแสดงอาการอ่อนแอ ซึ่งบางทีก็เชื่อมกับการทำตัว/แสดงออกเหมือนผู้หญิง (เช่น 'ไปใส่กระโปรงเถอะ' ถูกใช้เป็นเป็นคำวิจารณ์เชิงลบ) ฯลฯ

    เพราะซ้ำร้าย ปิตาธิปไตยเองนั้นได้ให้ค่ากับ ความเป็นชาย(masculinity) มากกว่า ความเป็นหญิง(femininity) ซึ่งทำให้ผู้ชายเป็นผู้กุมอำนาจหลักในสังคมและในตัวของผู้หญิง
    ถ้าอิงตามจากตัวระบบของปิตาธิปไตย ผู้หญิงจะถูกมองว่าอ่อนแอ และสิ่งที่ดีที่สุดของผู้หญิงคือการได้แต่งงาน -- ซึ่ง เดาไม่ผิด เฉพาะการแต่งงานของคู่รักเพศตรงข้ามอย่างเดียวนั่นแหละ ส่วนผู้ชายก็ถูกมองว่าเป็นฝ่ายที่แข็งแรงกว่า ซึ่งสิ่งพวกนี้ในปิตาธิปไตยได้บอกเป็นนัยว่าโลกนี้มันมีเพศสองขั้วที่เป็นฝ่ายอ่อนแอและแข็งแรงเท่านั้น ตรรกะอะไรนั่น!

    ย้อนกลับมาที่บทบาททางเพศ เมื่อสังคมผูกความเป็นหญิงกับความอ่อนแอ และผูกความเป็นชายกับความแข็งแกร่ง เราจะสังเกตุได้ว่าผู้หญิงที่แสดงออกแบบผู้ชายจะได้รับการยอมรับมากกว่าผู้ชายที่แสดงออกแบบผู้หญิง
    หรือคำที่ใช้ด่าเอง ส่วนใหญ่เป็นการพูดถึงความเป็นหญิงทั้งนั้น

    ในขณะท่ี่กล่าวถึงปิตาธิปไตยนั้น จะสังเกตุได้ชัดว่าตัวระบบได้ทิ้งและกีดกัน นอนไบนารี่ (Non-Binary), ทรานส์เจนเดอร์ (Transgender) และเพศอื่นๆ ออกไปเลย เพราะพวกเขามีลักษณะไม่ตรงกับบทบาททางเพศที่ปิตาธิปไตยได้วางไว้ยังไงล่ะ

    ในความจริงแล้ว เพศสภาพ(Gender) เป็นระบบที่ซับซ้อนในตัวบุคคลและความสัมพันธ์ของอำนาจทางสังคม เพศสภาพเป็นสิ่งที่เรียนรู้ได้และมีความลื่นไหล สิ่งที่จำกัดเราไว้ก็คือกรอบที่ปิตาธิปไตยสร้างขึ้นมาเท่านั้นเอง ซึ่งเพลง Binary ของ The Spook School ก็ได้กล่าวถึงประเด็นนี้ด้วย

    วกกลับมาที่ตัว Burn Masculinity ถึงแม้เราจะปฏิเสธไม่ได้ว่าบทบาททางเพศทำร้ายทุกคน เราเองก็ต้องยอมรับว่า บรรทัดฐานความเป็นชายได้อนุญาตให้เกิดประวัติศาสตร์การกดขี่ทางเพศเกิดขึ้นมานานนับศตวรรษ และทำให้เพศชายมีสิทธิพิเศษ (Male privilege) ทั้งทางด้าน สังคม, เศรษฐกิจ, และการเมืองจนถึงทุกวันนี้

    หรือมันถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องทำลายกรอบความเป็นชายนี่ทิ้งซะ?

    แปลเพลง Burn Masculinity - The Spook School

    Title Burn Masculinity
    Artist The Spook School
    Album Try to be Hopeful (2015)
    Lyrics Musixmatch

    And I'll never be, as strong as my mother
    Maybe, it's just not on the male side
    And I'll never be as sensitive as my brother
    It's just not within me
    ฉันคงไม่แข็งแกร่งเท่าแม่ของฉันหรอก
    มันแค่ไม่ใช่ในมุมของเพศชายล่ะมั้ง
    ฉันคงไม่อ่อนไหวเท่าพี่ชายของฉันหรอก
    มันแค่ไม่ได้อยู่ในตัวฉันน่ะ
    • ในท่อนนี้ The Spook School ได้ทำลายและพลิกกลับขนบทางเพศของปิตาธิปไตย ถึงอย่างนั้นก็ไม่ได้อิงตัวเองไปอยู่ฝั่งใดฝั่งหนึ่ง. Nye ได้ให้สัมภาษณ์ในปี 2015 ว่าเขาไม่สามารถทำความเข้าใจกับเพศสภาพได้เลยเมื่อคิดว่าต้องเลือกระหว่าง 'ผู้ชาย' กับ 'ผู้หญิง' แต่มันง่ายกว่ามากเมื่อเขาค้นพบว่าเพศสภาพเป็นสิ่งที่ซับซ้อน ยุ่งเหยิง ไม่ได้มีแค่สองหมวดหมู่ และเป็นสิ่งที่ผู้คนสามารถระบุอัตลักษณ์ตามที่ตนต้องการจริงๆ
    So I should burn burn burn burn...
    งั้นฉันควรจะทำลายมันทิ้งได้แล้วล่ะ

    And I've got to accept that I've inherited a history of persecution and abuse
    And I've got to accept that I'm inheriting a privilege
    That I should be aware of
    และฉันก็ต้องยอมรับว่าตัวฉันเกิดมาพร้อมกับประวัติศาสตร์แห่งการกดขี่ข่มเหงและล่วงละเมิด
    และฉันก็ต้องยอมรับว่าฉันเกิดมาพร้อมกับสิทธิพิเศษ
    ที่ฉันควรตระหนักไว้

    So I should, burn burn burn burn masculinity
    Burn burn burn masculinity
    งั้นฉันควรจะทำลายความเป็นชายทิ้งได้แล้วล่ะ

    What good has it ever done?
    It makes you think that you could go on insulting her
    and then apologise when her boyfriend walks in
    มันเคยทำอะไรดีๆ ไว้บ้างล่ะ?
    มันทำให้คุณคิดว่าคุณสามารถไปดูถูกเหยียดหยามเธอได้
    แล้วก็ค่อยพูดขอโทษตอนแฟนหนุ่มของเธอเดินมาน่ะ
    • ในหลายต่อหลายครั้ง ผู้หญิงจะได้รับการให้เกียรติก็ต่อเมื่อเธอเป็นแม่/คนรัก/น้องสาว/ลูกสาว ของผู้ชายคนหนึ่ง 
    It makes us think that it's okay to still have marriage
    When there's no way you can own a living being
    มันทำให้พวกเราคิดว่า มันโอเคนะที่จะแต่งงาน
    ถึงแม้ว่าคุณจะไม่มีทางเป็นเจ้าของชีวิตคนๆ นึงได้เลย
    • ตามประวัติศาสตร์ของตะวันตก การแต่งงานคือการทำให้ผู้หญิงมีฐานะเป็นทรัพย์สิน ส่วนผู้ชายก็เป็นเจ้าของทรัพย์สินนั้น. Women and the Law.
    So we should, burn burn burn burn masculinity
    Burn burn burn masculinity
    งั้นเราก็ควรทำลายความเป็นชายทิ้งไปได้แล้วล่ะ

    There's nothing it gives to us
    เพราะสิ่งที่มันให้เราช่างเปล่าประโยชน์เหลือเกิน
Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in