เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
Reflective journal of ELTpanyapan.p
Third week of ELT
  • 2 กุมภาพันธ์ 2564


         สัปดาห์ที่สามของการเรียน สัปดาห์นี่เนื้อหาเยอะและไปไวมากๆๆๆ จดและฟังไม่ทันกันเลยทีเดียว ?  ในสัปดาห์นี้ เริ่มด้วยเทคนิคเล็กน้อยของอาจารย์ก่อนเริ่มการเรียนโดยการเปิดเพลงฮิตอย่าง Roses ของ Finn Askew เพื่อเป็นการวอร์มอัพและรอเพื่อนคนอื่นๆ ไปด้วย  เริ่มด้วยหัวข้อ เราเรียนภาษาแม่อย่างไร ซึ่งเป็นหัวข้อที่เคยเรียนมาแล้ว  Noam Chomsky เชื่อว่ามนุษย์ทุกคนมีเครื่องมือและความสามารถในการเรียนรู้ภาษามาตั้งแต่กำเนิด หรือเรียกว่า Language Acquisition Device (LAD) พวกเราเหิดมาพร้อมกับ wired for language ทำให้เด็กเรียนรู้ภาษาแม่ได้โดยไม่ต้องสอน ซึ่งภาษาที่ 1 พัฒนามาจาก exposure หรือสิ่งที่ทำให้ผู้เรียนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ทำให้ผู้เรียนได้ซึมซับภาษา เด็กจะ pick up ภาษาด้วย innate ability ของพวกเขาเอง เช่น ได้ยินพ่อแม่พูดคุยกัน ทำให้เด็กเกิดการเลียนแบบ เรื่องต่อมาคือเรื่อง Interlanguage การที่ผู้เรียนยืมกฏของภาษาที่รู้อยู่แล้วมาใช้ในภาษาใหม่ โดยผู้เรียนรู้แค่ภาษาเดียว

    เพราะคนเรามี frame of reference ไม่เหมือนกัน หน้าที่ของผู้สอนคือการเพิ่ม frame of reference ของนักเรียนให้มากขึ้น โดยการ scaffold หรือการต่อยอดความรู้ให้จากความรู้ที่มีอยู่แล้วให้กว้างขึ้นและต่อยอดขึ้นไปเรื่อยๆ โดนคนที่จะช่วย scaffold เรียกว่า More Knowledge Others (MKO) อาจจะเป็นคุณครูหรือเพื่อนในห้องก็ได้

        ทฤษฎีเกี่ยวกับ ELT ที่อธิบายกระบวนการการรับภาษาและสามารถนำไปใช้ในการสอนได้ด้วย ทฤษฎีแรกคือ Behaviorist theory ของ B.F. Skinner ผู้เรียนจะเรียนได้ดีเมื่อมีแรงกระตุ้น เน้น habit ของผู้เรียน ถ้าผู้สอนอยากให้ผู้เรียนเป็นอย่างไร จะมี reinforcement ตามนั้น ซึ่งมีทั้ง positive และ negative reinforcement เทคนิคการใช้ทฤษฎีเช่น ผู้เรียนตอบถูก ครูผู้สอนชม กดกริ่ง หรือแบบ negative การทำโทษ ทฤษฎีที่สองคือ Innatist Theory ของ Noam Chomsky เชื่อว่าทุกคนเกิดมาพร้อมกับ language acquisition device ครูผู้สอนมีหน้าที่แค่จัดระบบ เช่น การเรียกผู้เรียนออกมาเขียนคำตอบ ให้ผู้เรียนพูดตาม และทฤษฎี Interaction (Socio-cultural Theory) ของ Lev Vygotsky เชื่อว่าการเรียนรู้ภาษามาจาก social ผู้เรียนต้องอยู่ในสังคมถึงจะเรียนรู้ได้ ครูมีหน้าที่พัฒนา zone of proximal development (ZPD) ให้ได้ตามที่ตั้งเป้าไว้ เช่น การที่ผู้สอนเดินดูรอบห้อง เพื่อดูว่าผู้เรียนสงสัย ไม่เข้าใจตรงไหน ผู้เรียนจึงสามารถสอบถามตรงส่วนนั้นได้

        จากการเรียนในสัปดาห์นี้ ได้รู้เทคนิคเพิ่มเติมมากขึ้นในเรื่องการสอนจากทฤษฎีการรับภาษา/การสอนภาษาทั้ง 3 แบบ ทำให้ได้เรียนรู้เทคนิคจากการยกตัวอย่างของแต่ละทฤษฎี ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการสอนจริงและบางเรื่องที่ต้องคำนึงในการสอน เช่น ผู้เรียน สิ่งแวดล้อมในการเรียน เพื่อเลือกรูปแบบการสอนแบะกิจกรรมในห้องเรียนที่เหมาะสม และได้รู้คำศัพท์ที่เกี่ยวกับการสอนเพิ่มมากขึ้น เข่น scaffold, MKO, frame of reference เป็นต้น

        โดยรวมของสัปดาห์นี้คือเนื้อหาเยอะมากกก 555555 แต่ได้ทฤษฎีที่เป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น รู้เทคนิคว่าถ้าเจอสถานการณ์แบบนี้ จะแก้แบบไหน จากการฟังประสบการณ์ของอาจารย์ จะจำและนำไปใช้อย่างดีเลยค่า แต่อยากขอความกรุณาอาจารย์นิดนึงนะคะ ช่วยส่งสไลด์ทุกครั้งก่อนเรียนได้ไหมคะ เนื่องจากเนื้อหาในสไลด์เยอะมากๆ เลยอยากจดเพิ่มในสไลด์เลย มันจดไม่ค่อยทันค่ะ แล้วต้องดูสไลด์ไปด้วย จดอีกหน้าไปด้วย ฟังไปด้วย จดไม่ทันเลยค่ะ ต้องมานั่งฟังย้อนหลังตลอดเลยค่ะ ??  ขอบคุณมาก ๆ ค่ะอาจารย์



Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in