เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
โกดังAttaphon Singhakiree
เที่ยวยังไงให้ได้ต้นฉบับ ! Minimore Session 1
  • เรามีโอกาสเข้าไปงาน Workshop การเขียนหนังสือเล่าเรื่องเที่ยว ที่จัดขึ้นโดยสำนักพิมพ์  Minimore   โดยมีเมนเทอร์ที่มาแชร์ประสบการณ์การเที่ยวและการเขียนให้ฟัง คือ คุณเบ๊นท์ ธนชาติ และคุณต่อ คันฉัตร  เมนเทอร์ทั้งสองมีผลงานด้านการเขียนหนังสือท่องเที่ยวมาแล้วมากมาย งานนี้เจ๋งแน่ๆ

    งาน Workshop นี้เด็ดตรงที่มีการคัดคนเข้าไปฟัง  โดยให้ผู้สมัครเขียนเรื่องเล่าจากประสบการณ์ท่องเที่ยวที่แต่ละคนไปเที่ยวมา  ทำให้เราได้ไปแอบอ่านประสบการณ์ท่องเที่ยวของคนอื่นที่น่าตื่นตาตื่นใจกว่าของเรามากกก ตั้งแต่ไปอินเดียข้ามถึงไปดินแดนโหดสัสรัสเซีย  และสุดท้ายสำนักพิมพ์เขาจะคัดคนเขียนบทความเข้างาน Workshop ประมาณ 50 คน  เราก็เป็นผู้รอดชีวิตในนั้นเลยมีเรื่องกลับมาเล่า

    อนึ่ง...  เราได้รับคำเตือนก่อนไปร่วมงานว่า แอร์หนาวแสรดด เลยขนเสื้อกันหนาวเตรียมมาท้าลมหนาวเต็มที่  แต่น่าจะเพราะประเทศไทยมีแต่หน้าร้อนกับร้อนมาก  บวกกับคนมาร่วมงานเยอะ  ที่มาช่วยกันสร้างมวลอากาศร้อนจนทำให้แอร์ที่เตือนกันว่าหนาวจัดนี่ง่อยไปเลย  บรรยากาศในงานจึงอบอุ่นมากๆ

    เริ่มต้นงานด้วย บก.แบงค์ และ บก.กาย จากสำนักพิมพ์แซลม่อน มาเล่าเรื่องมุมมองของ บก. อยากได้รูปแบบต้นฉบับหนังสือท่องเที่ยวอย่างไร  นี่คือคำแนะนำครับ

    • การลงทุนทำหนังสือนั้นใช้ทุนมาก จึงต้องเลือกงานเขียนที่ดูมีจุดขายที่น่าสนใจ
    • งานเขียนที่ดีควรมี Theme บวกกับ Style การเขียนของนักเขียนเอง
    • ไม่เขียนแบบไกด์บุคที่บอกขั้นตอนการเที่ยวแบบ 1-2-3 หนังสือเที่ยวที่จะเขียนคือ บันทึกประสบการณ์ที่มีคุณค่า โดยมี Theme ที่น่าสนใจมาครอบเรื่องไว้
    • ควรมีจุดประสงค์ในการไป  ไป....เพื่อ.....  เช่น  ไปออสเตรีย เพื่อ ตามรอยหนัง Before Sunset
    • เล่าเรื่องต้องสื่อสารกับคนอ่านด้วย  อย่าลง Emotion จนคนอ่านไม่เข้าใจ  ถ้าจะได้สาระด้วยก็ดี
    • เขียนเรื่องให้เป็นการเดินทางของคนอ่านด้วย

    หลังจากที่ บก. ได้ให้คำแนะนำกับเราแล้ว  ก็มาถึงช่วงเมนเทอร์ทั้งสอง  คุณต่อ คันฉัตร  และ เบ๊นท์ ธนชาติ ขึ้นเวทีมาเต้นบนเวที  โดยมีคุณนิดนก พิธีกรในงานที่คอยควบคุมและกำกับความฮา

    เข้าสู่โหมดจริงจัง เมนเทอร์ทั้งสองเริ่มเล่าประสบการณ์การเขียนหนังสือ ซึ่งงาน Workshop แบ่งเป็นสองช่วง ช่วงแรกคือ  Trip To Write ไปเที่ยวต้องเที่ยวอย่างไรให้ได้งานเขียน  และช่วงที่สอง Type To Live กลับมาเขียนต้นฉบับเพื่อความอยู่รอด ( จากหนี้บัตรเครดิต )

    Trip To Write ช่วงไปเที่ยวให้ได้เรื่องเขียน

    • ก่อนการเดินทาง ควรเตรียมแผนเที่ยวไว้ มี Theme ในการเขียนไว้ในใจ แต่พอจริงๆแล้วสถานการณ์ก็จะพาไปเอง นั่นหมายความว่าเราอาจจะได้ Theme ใหม่ระหว่างทาง
    • ความซวยในทริป การผิดแผน จะเป็นกลายเรื่องเล่าที่สนุกได้ ( เราไม่แน่ใจว่า คนเราเห็นความ ชิฟฮายของคนอื่นเป็นเรื่องสนุก หรือ  คนเราชอบเรื่องที่ Unexpected  กันแน่  ที่พอจะอธิบายพฤติกรรมของคนอ่านในเรื่องนี้  55 )
    • หาข้อมูลก่อนไปเที่ยว พอไปเที่ยวถึงที่ก็จะพอนึกเรื่องราวออก ทำให้มีเรื่องไว้เขียนระหว่างทาง 
    • ระหว่างเที่ยว ให้เขียนเรื่องราวลงในไดอารี่ประจำวัน มีวินัยในการเขียนนะ
    • ภาพถ่ายก็เป็นความทรงจำหนึ่ง ที่สามารถอธิบายเป็นเรื่องราวได้
    • การบันทึกเรื่องราว สามารถใช้วิธีโพส Facebook ไว้ พอกลับมาเขียนบท ก็มานั่ง Rewrite ใหม่
    • เรื่องเล่าจะดูน่าสนใจ  หากเราไปที่ที่ยังไม่มีค่อยมีคนไป
    • แต่ก็อย่าไป Anti Landmark ที่ท่องเที่ยวฮิตๆ ที่คนไปเที่ยวกันบ่อยๆ ก็ไปได้ แต่พยายามหามุมมองต่างจากมุมมหาชน  เก็บมาเล่าเรื่อง 
    • จาก Feedback ของคนอ่านส่วนใหญ่ที่ตอบอีเมล์กลับมาหานักเขียน  ส่วนใหญ่จะจำเรื่องเล่าที่ซวยๆได้ ความซวยจึงเป็นเรื่องเล่าชั้นดี
    • เมื่อเดินทางกลับมาถึงบ้าน เขียนรายละเอียดออกมาให้หมด แล้วทิ้งไว้ 1 - 2 อาทิตย์ แล้วค่อยกลับมาเขียนใหม่  ค่อยมาลงดีเทลใหม่อีกรอบ
    • ที่ต้องทิ้งระยะเวลาไว้เพื่อไม่ให้เราจมไปกับงานเขียน  เมื่อเวลาผ่านไป ความคิดเราเปลี่ยน เราก็จะมองเห็นจุดที่แก้งานเขียนให้ดีขึ้นได้


    Type To Live  ช่วงกลับมาเขียนให้เป็นต้นฉบับ

    • มีคำถามว่า หนังสือเล่าเรื่องเที่ยว ต่างจาก Pantip อย่างไร
    • หนังสือนั้นเขียนเล่าประสบการณ์ชวนให้คนอ่านไปเที่ยว ใส่ความคิดในเวลานั้นๆลงไปในเนื้อเรื่อง แต่ไม่ได้ลงรายละเอียดถึงขั้นตอนการไปเที่ยว ไปอย่างไร ขึ้นรถไฟไปลงสถานีไหน ฯ
    • ถ้าจะหาขั้นตอนการไปเที่ยว ไปอ่านใน Pantip ได้ ตอนนี้มี 100 วิธีในการนั่งรถไฟในญี่ปุ่นแล้ว
    • การเขียนหนังสือ คือการเล่า Journey ให้เชื่อมกับ Culture แบบเนียนๆ
    • การเชื่อมโยงกับ Culture แบบเนียนๆ  ต้องหาจุดเชื่อมโยงให้เจอ  เช่น ทริปเกาหลี มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับซีรีย์เกาหลีไว้ในใจแล้ว แต่ไม่รู้ว่าจะลงเรื่องอย่างไร  แต่พอดีที่พักมีทีวี ...  โยงเข้าเป๊ะ
    • สิ่งที่เนื้อเรื่องที่ต้องมีคือ เรื่องเล่าที่มีประโยชน์ต่อคนอ่าน ( Fact ) และ ความคิดส่วนตัวต่อเรื่องที่เจอ ( Experience )
    • Objective คือ Fact ส่วน Subjective คือ Experience
    • ถ้าจะใส่ Fact ลงไปในเรื่อง  ต้องเป็น Fact ที่สนุก !
    • เราสามารถสลับเนื้อเรื่องที่เจอได้ ไม่ต้องเรียงตาม Timeline เสมอไป
    • บางจุดก็ต้องทำ Research หาข้อมูลเพิ่ม ทำให้เนื้อเรื่องมันดีขึ้น
    • มีภาพถ่ายในเรื่องเล่า จะทำให้เนื้อเรื่องมีน้ำหนักขึ้น ( แค่รูปถ่ายจากกล้องมือถือก็โอนะ )
    • ถ้าสถานที่ๆไปเที่ยวห้ามถ่ายรูป  ก็ถ่ายซะ  ถ้ารูปนั้นสำคัญต่อการเขียนเรื่อง
    • การเล่าเรื่องต้องชัดเจนในการเล่าความรู้สึกของตัวเอง ความคิดของเราในช่วงเวลานั้น
    • ต่อมาเป็นคำถามเรื่องวิธีการเขียน Outline
    • วางเรื่องไว้ว่าจะเจออะไรบ้าง เขียนมาเป็นบูเลตแต่ละบทๆ  ต่อจากนั้นเขียนเรื่องย่อยลงไปในแต่ละบูเล็ต ว่าเจออะไรเพิ่ม  มีจุดขายอะไร เป็นรายละเอียดคร่าวๆ
    • เรียงบทควรเรียงตามอารมย์ของเรื่อง ซึ่งจะพีคขึ้นเรื่อยๆ เหมือนค่อยๆขึ้นภูเขา
    • แต่ละบทต้องมีวิธีจบ  อย่าจบแบบลอยๆ ไม่มีข้อสรุป เช่น จบด้วยคำพูดหล่อๆ จบด้วยคำถาม  จบแบบกวนตีน ฯ
    • ยังไงก็ต้องปรับแก้บท บก. จะช่วยดูว่าเราขาดอะไรไป
    • บก. จะมองภาพใหญ่ของหนังสือออกออก นักเขียนจะจมอยู่กับเรื่องที่เขียน  มองไม่ออก
    • ความยากของการเขียนหนังสือ อยู่ที่การเขียน Outline ส่ง บก.  และ บทแรกที่จะเขียน
    • เล่มหนึ่งควรมี 15 บท บทละ 3 หน้ากระดาษไมโครซอฟเวิร์ด  ( ซีเรียสป่าววะ ไม่ต้องเป๊ะก็ได้มั้ง)
    • การเอาประสบการณ์มาเล่า ควรเป็นเรื่องที่เข้าใจง่าย  อย่า Niche เกินที่คนส่วนใหญ่จะเข้าใจ
    • หากจะเอาประสบการณ์คนอื่นมาเล่าประกอบเรื่อง ควรเอาคนใกล้ตัวเรา คนอ่านจะอินง่ายกว่า
    • หากประสบการณ์นั้นที่จะเอามาเล่าเป็นของคนไกลตัวมากๆ ก็เมกให้เป็นคนใกล้ตัวซะ
    • การอ่านหนังสือ จะเป็นการ up material ให้ตัวเอง
    • การเขียนหนังสือต้องเขียนให้ต่อเนื่อง
    • แรงบรรดาลในในการเขียน  คือหนี้บัตรเครดิตที่ต้องจ่าย ( By คุณต่อ คันฉัตร  555 )
    • หากเขียนไม่ออก  ก็ออกไปทำอะไรอย่างอื่น  แล้วค่อยกลับมาเขียน  อย่าจมกับเรื่องเขียนมาก
    • การเขียนหนังสือให้เก่ง คือเขียนออกมาเลย เขียนอย่างมีวินัย และ Believe in not yet scene นึกถึงจุดหมายปลายทางที่ยังมาไม่ถึง เช่น วันที่เขียนหนังสือสำเร็จ
    • ดู Target กลุ่มผู้อ่านหนังสือเราด้วย เขียนให้เขาเข้าใจง่าย รู้ในสิ่งที่เขาอยากอ่าน
    • เขียนไปเรื่อยๆ สร้างเป็น Portfolio ของเรา
    • ไม่ต้องคาดหวังผลลัพธ์มากว่าคนจะชอบไหม  เพราะมีหลายสิ่งให้ทำต่อไป  เราต้องก้าวต่อไป


    ก่อนจบงาน  เมนเทอร์ทั้งสอง  ได้เลือกเรื่องเล่าที่ดีที่สุด 6 เรื่อง มาคุยให้เราฟังว่าเป็นตัวอย่างที่ดีควรอย่างไร   ซึ่งจากการสังเกตเรื่องทั้ง 6 นี้  มีรูปแบบ แบบนี้

    • หัวข้อเรื่องมีจุดขาย
    • เนื้อเรื่องก็มี Theme
    • มีรูปประกอบ
    • ภาษาเขียนสวย อ่านสนุก 
    • มีเรื่องซวยในทริป !!! แล้วเอามาเล่าให้ฟัง


    สุดท้ายนี้ ขอขอบคุณทีมงานสำนักพิมพ์ Minimore  ที่จัดงานดีๆ อาหารเที่ยงอร่อยๆ ให้ความรู้เจ๋งๆกับนักอยากเขียนนะครับ  ความรู้ในวันนี้น่าจะได้เอาไปปรับใช้ในการเขียนครั้งต่อๆไปในอนาคต ;)

    ปล. เข้าไปอ่านเรื่องที่เข้ารอบ Session 1 ได้ที่ https://minimore.com/session/01/result

Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in