เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
เขาคือใคร thai versionChaitawat Marc Seephongsai
พระยารัษฎานุประดิษฐมหิศรภักดี
  •  พระยารัษฎานุประดิษฐมหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง)

              หลายคนอ่านแล้วคงสงสัยว่า เขาคือใครหนอ เขามาจากไหน และเขามีความสำคัญกับคนไทยอย่างไร เราถึงจำเป็นต้องรู้จักเขาด้วย เอาเป็นว่าท่านพระยาฯ ผู้นี้เป็นผู้ที่มีความสำคัญยิ่งกับวงการเกษตรกรรมของประเทศไทย โดยเฉพาะเกษตรกรรมด้านยางพารา 

              พระยารัษฎานุประดิษฐ์ หรือ คอซิมบี้ ณ ระนอง เมื่อท่านเข้ารับตำแหน่งเจ้าเมืองตรัง ได้พัฒนาปรับปรุงสภาพหลายอย่างในเมืองตรังให้เจริญรุ่งเรือง ด้วยกุศโลบายส่วนตัวที่แยบยล เช่น การตัดถนนที่ไม่มีผู้ใดเหมือน รวมทั้งส่งเสริมชาวบ้านให้กระทำการเกษตร เช่น ให้เลี้ยงไก่โดยบอกว่า เจ้าเมืองต้องการไข่ไก่ และให้เอากาฝากออกจากต้นไม้เพื่อให้ต้นไม้มีอายุยืนขึ้น โดยบอกว่าเจ้าเมืองต้องการเอาไปทำยา อีกทั้งส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูกกาแฟ และยางพารา ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการนำยางพารามาปลูกที่ภาคใต้

              ถือได้ว่าเป็นการเอายางพารามาปลูกในประเทศไทยเป็นครั้งแรก และเป็นการวางรากฐานการปลูกยางพาราในพื้นที่ภาคใต้ จนยางพารากลายมาเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญเช่นในปัจจุบัน

                     ( ต้นยางพาราต้นแรกของไทย )

              นอกจากนี้ท่านยังได้คิดนวัตกรรมสำคัญในการดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ เมื่อตอนที่ท่านมารับตำแหน่งเจ้าเมืองภูเก็ต โดยการให้คนต่างชาติเขามาตั้งร้านขายทองและธนาคารชาร์เตอร์ ในตลาดภูเก็ต แต่ในสมัยนั้นคนมีฐานะส่วนใหญ่ไม่ค่อยกล้าเข้ามาลงทุนในพื้นที่ภาคใต้ เนื่องจากกลัวเสือที่มีอยู่อย่างชุกชุมในภาคใต้ (เสือในที่นี้หมายถึงโจร) ท่ายพระยาฯ จึงได้ย้ายเอาโรงพักภูเก็ตไปตั้งไว้ข้างร้านขายทองและธนาคารชาร์เตอร์เสียเลย เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ลงทุน

              ท่านพระยาฯ ยังได้ว่างนโยบายกระตุ้นการใช้จ่ายของประชาชนด้วยการสร้างตลาดนัด เพื่อให้ผู้ค้าและผู้ผลิตได้พบกันโดยตรง และกลายเป็นที่มาของนวัตกรรมตลาดนัดในสังคมไทย โดยที่พระยาฯ ได้แนวคิดดังกล่าวมาจากชวา

              รวมถึงการสั่งให้มีการสร้างโรงพยาบาลแห่งแรกขึ้นในเมืองภูเก็ต อย่างวัชิรโรงพยาบาล เพื่อใช้ในการให้การรักษาชาวภูเก็ตในสมัยนั้น และการดำริให้สร้างสถานที่ราชการและสิ่งก่อสร้างภายในเมืองภูเก็ตตามรูปแบบของสถาปัตยกรรมแบบชิโนโปตูกรีส ที่ปรากฎให้เป็นอยู่ตามพื้นที่ของเมืองภูเก็ตอย่างในปัจจุบัน

              (อาคารแบบชิโนโปรตุกีส ในจังหวัดภูเก็ต)

              นี่เป็นเพียงประวัติส่วนหนึ่งของ พระยารัษฎานุประดิษฐมหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) ที่มีคุณูปการต่อวงการการเกษตรของไทยมาช้านาน หากท่านผู้อ่านมีความสนใจที่จะศึกษารายละเอียดชีวประวัติของท่านเพิ่มเติม สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จาก หนังสือ "ตรัง" ของคุณ ยืนหยัด ใจสมุทร และเพลง "หนึ่งศตวรรษคอซิมบี้" ของโกไข่


เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in