เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
Communication for Rights 2023nitadecu.exh
แนวคิดไซออนิสต์ที่ไม่ใช่ชาวยิวทุกคนจะเห็นด้วย
  • เส้นบาง ๆ ของความรักชาติกับชาตินิยม
    แนวคิดไซออนิสต์ที่ไม่ใช่ชาวยิวทุกคนจะเห็นด้วย

    เขียน ปรายฟ้า วรรณเมธางกูร
    ประเภท บทความ

    จากการรายงานของสำนักข่าว PPTV ในบทสัมภาษณ์พิเศษลูกครึ่งไทย-อิสราเอล กับการพาดหัวด้วย ข้อความสั้น ๆ อย่าง “ฮามาสบุกอิสราเอลก่อน” ได้พูดถึงสงครามระหว่างกลุ่มฮามาสและอิสราเอลที่ล่วงเลย เข้ามาวันที่ 15 ตุลาคม (นับเป็นเวลาประมาณ 1 อาทิตย์หลังจากการจู่โจมของกลุ่มฮามาสที่งานดนตรี) และมี การตอบโต้ของรัฐบาลอิสราเอลโดยการยิงระเบิดไปที่โรงพยาบาลอัลอาห์ลี ทาง PPTV ก็ได้ต่อสายตรงไป สัมภาษณ์กับชาวไทย-อิสราเอลคนนี้ที่อาศัยอยู่ในอิสราเอล และมีประวัติการช่วยเหลือแรงงานไทยในอิสราเอล มาตั้งแต่ปี 2018 ว่ามีความคิดเห็นอย่างไรกับเหตุการณ์นี้บ้าง

    การรายงานนี้เกริ่นด้วยประวัติโดยย่อของอาดีร์ บาคาร์ ลูกครึ่งไทย-อิสราเอล ที่ย้ายไปอยู่อิสราเอล ตั้งแต่อายุ 13 ปี จนตอนนี้ก็เป็นเวลากว่า 17 ปีแล้วที่เธออาศัยอยู่ในอิสราเอลเพียงลำพังและถือสิทธิ์เป็น พลเมืองอิสราเอล อาดีร์ได้บอกกับทาง PPTV ว่าตลอดเวลาที่อยู่อิสราเอล เธอไม่เคยมีความกลัวต่อภาวะ สงครามในประเทศ เพราะมั่นใจในศักยภาพของกองทัพและระบบความปลอดภัยของประเทศอิสราเอล เธอยัง แสดงจุดยืนในฐานะ “พวกเราอิสราเอล” ว่าเป็นผู้ย้ายถิ่นออกจากกาซา อนุญาตให้ชาวปาเลสไตน์อาศัยอยู่ และเข้ามาทำงาน พร้อมยังสนับสนุนสาธารณูปโภค และเห็นชอบให้จัดตั้งรัฐบาลของตัวเองด้วย นอกจากนี้ การที่กองทัพอิสราเอลยิงระเบิดไปที่โรงพยาบาลของปาเลสไตน์ก็มีการแจ้งเตือนอพยพก่อนแล้ว แต่ฮามาส เบี่ยงเบนข่าวและขัดขวางการอพยพ อาดีร์ยังกล่าวอีกว่าการที่กลุ่มฮามาสจับตัวประกันซึ่งเป็นเด็ก คนแก่ และ ผู้หญิง รวมถึงการยิงอย่างไม่เลือกหน้าเป็นการก่ออาชญากรรมทางสงคราม มากกว่าการทำเพื่อปกป้องสิทธิ์ ของคนปาเลสไตน์ เธอประณามว่าการกระทำนี้ไม่ต่างจากกลุ่มก่อการร้ายไอซิส (ISIS) อาดีร์ย้ำว่าอิสราเอล กำลังถูกคุกคาม จึงมีความจำเป็นต้องปกป้องบ้านของตัวเอง 

    กรอบข่าวที่ใช้ในการรายงานของ PPTV นี้ คือการให้คนไทยที่เป็นคนอิสราเอลด้วย (เนื่องจากความ เกี่ยวข้องโดยตรงจากประเทศไทยที่มีตัวประกันและผู้เสียชีวิตเป็นแรงงานชาวไทยในอิสราเอล) ออกความเห็น เป็นตัวแทนของทั้งสองประเทศ ว่าโดนฮามาสกระทำก่อน และสิ่งที่กองทัพอิสราเอลตอบโต้ไปเป็นการกระทำ เพื่อปกป้องตัวเอง ทั้งที่อิสราเอลให้การช่วยเหลือและมีน้ำใจมาตลอด ซึ่งก็เลือกใช้แหล่งข่าวที่ออกความเห็นใน ฐานะพลเมืองอิสราเอลที่สนับสนุนทุกการกระทำของอิสราเอล ทั้งยังเชื่อว่าอิสราเอลมีเหตุผลในทุกการ ตัดสินใจ ซึ่งเป็นการกระทำเพื่อคนอิสราเอล เพื่อปกป้องประเทศอิสราเอล โดยไม่ได้ต้องการทำร้ายชาว ปาเลสไตน์ที่เป็นผู้บริสุทธิ์ใด ๆ ทั้งสิ้น 

    การรายงานนี้นับว่าใช้กรอบการรายงานทั้งแบบวารสารศาสตร์สันติภาพและวารสารศาสตร์สงคราม ผสมผสานกัน ทางสำนักข่าวอาจจะไม่ได้ต้องการนำเสนอข้อมูลไปในทางใดทางหนึ่งหรือเลือกฝั่ง เห็นได้จาก การรายงานชิ้นอื่น ๆ ว่ามีความพยายามในการนำเสนอข้อมูลและความคิดเห็นจากหลายฝั่งเพื่อให้เป็นการ รายงานแบบวารสารศาสตร์สันติภาพ แต่สำหรับการรายงานชิ้นนี้ เมื่อเป็นข้อมูลและคำตอบที่ได้มาจากการ สัมภาษณ์ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย มีอคติส่วนตัว และไม่ได้มีความเชี่ยวชาญด้านใดเป็นพิเศษกับเหตุการณ์โดยตรง เพียงหนึ่งแหล่งข่าว ก็สามารถส่งต่อชุดความคิดและความเข้าใจตามกรอบการรายงานวารสารศาสตร์สงคราม อย่างแน่นอน

    ความขัดแย้งและการปะทะ

    ในการรายงานนี้ แหล่งข่าวได้พูดถึงคู่ขัดแย้งแค่เพียงสองฝ่าย คือฝ่ายของทางแหล่งข่าวเองซึ่งเป็น อิสราเอล และอีกฝ่ายหนึ่งคือฮามาส โดยไม่ได้พูดถึงผู้เกี่ยวข้องอื่น ๆ เช่น สหประชาชาติ ที่ได้ออกมติ 242 และ 338 หลังสงครามหกวันในปี 1967 ให้อิสราเอลถอนกองกำลังออกจากดินแดนภายใต้การยึดครอง ซึ่ง ได้แก่ดินแดนของชาติอาหรับต่าง ๆ รวมไปถึงดินแดนของปาเลสไตน์ในหลายภาคส่วนด้วย (ดร.ศราวุฒิ อารีย์, 2023) แต่อิสราเอลไม่ได้ทำตามมตินั้นโดยที่สหประชาชาติก็ปล่อยให้ปัญหาลากยาวมาเป็นความรุนแรงจนถึงทุกวันนี้

    ยังมีสหรัฐอเมริกาที่พยายามผลักดันอย่างหนักในกระบวนการเจรจาตามกระบวนการสันติภาพที่ให้ อิสราเอลและปาเลสไตน์เข้าสู่กระบวนการ The Oslo Accords ว่าด้วยการที่อิสราเอลรับรองสถานะของ องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ โดยที่ปาเลสไตน์ก็รับรองสถานะความเป็นประเทศของอิสราเอล ตั้งแต่ปี 1993 ซึ่งไม่ประสบความสำเร็จ (ดร.ศราวุฒิ อารีย์, 2023) ในช่วงปี 2005 ของปาเลสไตน์เองก็มีการเลือกตั้งที่ฮามาส ชนะการเลือกตั้งแต่สหรัฐฯ และอิสราเอลไม่ยอมรับผลการเลือกตั้ง จึงให้การช่วยเหลืออำนาจเก่าอย่างกลุ่มฟา ตะห์ ซึ่งเป็นพรรคการเมืองชาตินิยมของปาเลสไตน์ โดยมีการส่งอาวุธให้ ส่งความช่วยเหลือให้ เพื่อให้ฟาตะห์ ดำเนินการกำจัดกลุ่มฮามาส ฮามาสจึงตัดสินใจยึดดินแดนฉนวนกาซาในตอนนั้น เกิดเป็นปรากฏการณ์‘หนึ่ง ประชาชาติ สองแผ่นดิน’ และเป็นความขัดแย้งของทั้งสองฝ่ายนับจากนั้น (ดร.ศราวุฒิ อารีย์, 2023) ฮามาส จากเดิมทีเป็นกลุ่มพรรคการเมืองที่ต้องการต่อสู้ตามระบบ ประชาชนเองก็เลือกฮามาสเข้าสภา แต่ด้วยแรง สนับสนุนจากสหรัฐฯ และความไม่เป็นธรรมของอิสราเอล ความขัดแย้งจึงรุนแรงขึ้นโดยที่อิสราเอลมีสหรัฐฯ เข้ามาหนุนหลังในการยึดครองดินแดนของปาเลสไตน์อย่างแน่นอน

    นอกจากนี้คือยุโรปและอังกฤษซึ่งเป็นเจ้าอาณานิคมเดิมของปาเลสไตน์ และได้สร้างขบวนการยิวไซ ออนิสต์ ที่มีอุดมการณ์และแนวคิดชาตินิยมในกลุ่มชาติยิว โดยอิสราเอลได้ตกลงกับอังกฤษให้ช่วยเหลือและพา ชาวยิวอพยพเข้ามาอาศัยในดินแดนปาเลสไตน์ อ้างว่าดินแดนตรงนี้คือดินแดนแห่งพันธสัญญาและพระผู้เป็น เจ้ามอบให้ผ่านพระคัมภีร์ตั้งแต่หลายพันปีก่อนแล้ว (ดร.ศราวุฒิ อารีย์, 2023)

    ดร.ศราวุฒิ อารีย์ ผู้อำนวยการศูนย์มุสลิมศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ อธิบายเหตุการณ์เหล่านี้กับ The 101 ในบทความ ‘ฉากทัศน์ต่อไปของอิสราเอล-ปาเลสไตน์ ความขัดแย้งที่ สั่นสะเทือนระเบียบโลกใหม่’ สามารถช่วยอธิบายความขัดแย้งนี้ได้อย่างชัดเจน ซึ่งเป็นอะไรที่ PPTV ขาดไป จากแหล่งข่าวที่ตนเลือกใช้นั่นเอง นอกจากนี้ยังมีการเน้นผลที่มองเห็น คือเน้นความรุนแรงในเหตุการณ์ครั้ง ล่าสุดที่เพิ่งเกิดขึ้น ว่ามีการสูญเสียอย่างไร โรงพยาบาลที่ถูกระเบิดไปเกิดขึ้นได้อย่างไร เป็นการนำเสนอเพียงความรุนแรงทางกายเท่านั้น ไม่ได้พูดถึงความรุนแรงเชิงวัฒนธรรมหรือความรุนแรงเชิงโครงสร้างที่ซ่อนอยู่

    ความจริงที่เข้าใจ

    เมื่อพูดถึงการนำเสนอว่าเน้นความจริงหรือเน้นโฆษณาชวนเชื่อแล้วนั้น สิ่งที่แหล่งข่าวนำเสนอออกมา ก็เป็นเพียงความจริงที่เขาเชื่อ นั่นคือข้อมูลที่แหล่งข่าวบอกว่า “พวกเราอิสราเอลเป็นผู้ย้ายถิ่นฐานออกมา แล้ว อนุญาตให้ประชาชนในฉนวนกาซา ปาเลสไตน์ได้อาศัยในเขตนั้น อีกทั้งยังอนุญาตให้เข้ามาทำงานหาเงินใน พื้นที่อิสราเอล มีการสนับสนุนสาธารณูปโภค รวมทั้งการเห็นชอบให้จัดตั้งรัฐบาลตัวเองด้วยซ้ำ” ซึ่งไม่ตรงกับ ความเป็นจริงที่เดิมที่ปาเลสไตน์ไม่เคยเป็นของอิสราเอล คนอยู่มาก่อนชาวคือปาเลสไตน์แต่เสียดินแดนให้ ชาวยิวภายหลัง และตั้งแต่ปี 2007 อิสราเอลก็ใช้มาตรการปิดล้อมกาซา จำกัดการนำเข้าอาหารการกิน ยา รักษาโรค วัสดุก่อสร้าง และสิ่งอื่น ๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ จนสภาพความเป็นอยู่ของผู้คนเปรียบเสมือน ‘คุกเปิดที่ใหญ่ที่สุดในโลก’ (ดร.ศราวุฒิ อารีย์, 2014) ตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา ชาวปาเลสไตน์ไม่ได้ใช้ ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติที่ตนเองมีอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทรัพยากรน้ำ ธนาคารโลกมีรายงาน ออกมาว่า อิสราเอลได้บริโภคน้ำที่มาจากดินแดนปาเลสไตน์อย่างผิดกฎหมายเป็นจำนวนมากกว่าที่ชาว ปาเลสไตน์ทั้งในกาซาและเวสต์แบงก์ใช้บริโภคถึง 4 เท่าตัว (ดร.ศราวุฒิ อารีย์, 2014) ในส่วนของรัฐบาลก็มี การแทรกแซงมาไม่ได้ให้จัดตั้งตามปกติตามที่ได้กล่าวไปข้างต้น

    นอกจากนี้แหล่งข่าวยังอธิบายประเด็นเหตุการณ์ถล่มโรงพยาบาลอัลอาห์ลีว่า “กองทัพอิสราเอลได้มี การแจ้งหนังสืออพยพคนฉนวนกาซาในพื้นที่โรงพยาบาลก่อนจะมีการโจมตี แต่ผู้นำของฮามาสเป็นคนที่ เบี่ยงเบนข่าวไม่ให้ประชาชนผู้บริสุทธิ์อพยพออกจากพื้นที่ มีการปิดกั้นถนนรวมทั้งขัดขวางการอพยพ” แต่ก จากการรายงานของบีบีซี ไทย ก็พบว่ามีชาวปาเลสไตน์ที่เลือกจะอยู่ต่อและไม่อพยพเองโดยไม่ได้ถูกใครชี้นำ หรือขัดขวาง อย่างเช่น โมฮาเหม็ด อิบราฮิม ที่ให้สัมภาษณ์กับทางบีบีซีว่า “ผมจะไม่ย้ายออกจากบ้านเกิด ไม่ มีวัน ผมหนีไปที่อื่นไม่ได้ แม้ว่าพวกเขาจะทำลายบ้านที่คุ้มกะลาหัวผมอยู่ ผมก็จะยังอยู่ที่นี่ เราได้รับการเตือน ให้หนีลงไปทางใต้ แต่จะให้ผมและครอบครัวไปที่ไหนหรือ” นอกจากนี้ยังมีรายงานว่า ฮามาสระบุว่ามี ประชาชนกว่า 400,000 คน จากทั้งหมด 1.1 ล้านคนที่อยู่ทางตอนเหนือของกาซา ที่ได้เดินทางลงมาทางใต้ แล้วด้วยถนนซาลาห์ อัล-ดิน ในช่วง 48 ชั่วโมงหลังจากที่อิสราเอลเตือนให้อพยพ (เฟราส กีลานี, 2023) ซึ่ง ขัดแย้งกับสิ่งที่แหล่งข่าวให้สัมภาษณ์กับทาง PPTV

    แน่นอนว่าคำตอบที่แหล่งข่าวให้กับทาง PPTV อาจไม่ได้มีความตั้งใจที่จะเป็นโฆษณาชวนเชื่อให้กับ อิสราเอล แต่ก็เป็นชุดความจริงที่ถูกส่งต่อมาอีกทีภายใต้สื่อของอิสราเอลเอง ไม่ได้มีการตรวจสอบความ ถูกต้องของข้อมูลแต่อย่างใด และเมื่อนำเสนอคำตอบของแหล่งข่าวนี้ไปแล้วก็จะกลายเป็นการเปิดโปงความไม่ จริงของฝ่ายปาเลสไตน์และช่วยฝ่ายอิสราเอลปกปิดและโกหกต่อไปโดยไม่รู้ตัว 

    พื้นที่ของประชาชนที่ให้เสียงชนชั้นนำ

    แม้ว่า PPTV จะให้พื้นที่กับแหล่งข่าวที่เป็นคนธรรมดาและเป็นผู้ประสบภัยในเหตุการณ์นี้จริง แต่ก็ เห็นได้ชัดว่าคำตอบที่ออกมาเช่น “การจับตัวประกันทั้งเด็ก คนแก่ ผู้หญิง และยิงอย่างไม่เลือกหน้า” และ “อิสราเอลถูกคุกคาม” คือมีการเน้นความทุกข์ทรมานของอิสราเอลเพียงเท่านั้น ผู้อ่านไม่ได้รับรู้ถึงความ เสียหายที่เกิดขึ้นจากชาวปาเลสไตน์ และเมื่อพูดถึงความเสียหายที่โรงพยาบาลอัลอาห์ลีที่มีความเป็นไปได้ว่า เป็นความผิดของอิสราเอลแล้วก็ให้ความเห็นว่าอิสราเอลแจ้งเตือนก่อนโจมตีแล้ว ทั้งยังมีการพูดถึง “กองทัพ อิสราเอลที่ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงให้ครบถ้วน แล้วออกมาชี้แจ้งกับสาธารณชนทีหลัง อีกทั้งยังมีหลักฐานที่ บอกว่าการระเบิดมีสาเหตุมาจากการยิงพลาดของกลุ่มฮามาสเอง” ซึ่งจากการตรวจสอบของบีบีซีแล้วยังไม่ สามารถสรุปได้เพราะหลักฐานไม่เพียงพอ (พอล บราวด์, โจชัย ชีแธม, ฌอน เซ็ตดอน และ แดเนียลเอล พาลัม โบ, 2023)

    ภัยสงคราม พร้อมสู้ พร้อมชนะ

    สุดท้ายแล้วคือในตอนจบต้องการอะไรในความขัดแย้งนี้ การรายงานข่าวนี้อาจจะไม่ได้แสดงออกอะไร ไว้ แต่ตัวแหล่งข่าวได้พูดไว้อย่างชัดเจนว่า “เมื่อถึงภัยสงครามก็พร้อมสู้อย่างแน่นอน” ซึ่งเมื่อย้อนกลับไปใน การรายงานตอนต้น ทางแหล่งข่าวก็อธิบายไว้ว่าเธอมั่นใจในศักยภาพกองทัพของอิสราเอล เห็นได้ชัดว่า แหล่งข่าวได้พูดถึงการต่อสู้กันทางกองทัพ ซึ่งจะต้องมีผู้แพ้ผู้ชนะจากความรุนแรงอย่างนั้นหรือ เพราะตัว แหล่งข่าวไม่ได้คิดถึงข้อเสนอในการสร้างสันติภาพหรือการป้องกันไม่ให้เกิดสงคราม ทาง PPTV ก็ปล่อยให้การ รายงานเป็นไปในทิศทางของกรอบการรายงานแบบวารสารศาสตร์สงครามไป

    ผลลัพธ์ของการรายงาน

    เมื่อ PPTV เลือกรายงานเหตุการณ์ความขัดแย้งของปาเลสไตน์และอิสราเอล ในมุมของลูกครึ่งไทย อิสราเอลคนหนึ่ง พร้อมกับพาดหัวที่ดาษดื่นอย่าง “ฮามาสบุกอิสราเอลก่อน” ราวกับเหตุการณ์ความขัดแย้ง และความรุนแรงที่ผ่านมาไม่เคยเกิดขึ้น ได้นำเสนอความเข้าใจในเหตุการณ์จริงที่ผิดเพี้ยนไปมาก ข้อมูลที่มาถึง มวลชนไม่ใช่ข้อมูลทั้งหมด คนไทยเองที่สนใจประเด็นนี้จากการที่มีแรงงานไทยเสียชีวิตและถูกจับเป็นตัว ประกันจากกลุ่มฮามาส แน่นอนว่าจะมีอารมณ์ร่วมกับเหตุการณ์นี้ได้ทางมองผู้ร้ายเป็นฮามาสอยู่แล้ว ยิ่งเจอ กับความเกลียดชังในศาสนาอิสลามที่ฝังลึกอยู่ในประเทศ จากประเด็นสามจังหวัดชายแดนใต้ที่จะเรียกว่า คล้ายคลึงกับเหตุการณ์นี้ในบางมุมก็คงได้ ทั้งยังความไม่เข้าใจและภาพจำเหมารวมของการก่อการร้ายใน ตะวันออกกลาง หลายประเด็นถูกผสมรวมกันเป็นเรื่องเดียวที่ทำให้คนไทยเลือกข้างในทันทีโดยไม่สน ประวัติศาสตร์ของความขัดแย้งนี้ ออกมาเป็นการแสดงความคิดเห็นดังภาพตัวอย่าง 

    เพื่อสันติภาพ

    การจะรายงานให้เป็นไปตามกรอบวารสารศาสตร์สันติภาพของการรายงานชิ้นนี้นั้นอาจจะยากหากจะ ใช้แหล่งข่าวเป็นแหล่งเดิมหรือแหล่งเดียว เพราะว่าตัวแหล่งข่าวเองก็มีจุดยืนของตัวเองชัดเจนว่าสนับสนุนฝ่าย ใด สิ่งที่จะทำให้การรายงานชิ้นนี้ประสบความสำเร็จในการนำมาซึ่งสันติภาพมากขึ้นคือการเพิ่มแหล่งข่าวหรือ เปลี่ยนแนวทางในการนำเสนอ หากจะสัมภาษณ์คนในเหตุการณ์ก็ให้ถามคำถามที่เกี่ยวกับประสบการณ์ที่เขาเจอโดยตรง แต่หากจะถามคำถามเกี่ยวกับเหตุการณ์การโจมตี ก็ควรเลือกแหล่งข่าวที่มีความเข้าใจใน ประวัติศาสตร์ของทั้งสองประเทศ คำถามที่ว่า “จริง ๆ แล้วคนอิสราเอลต้องการแผ่นดินฉนวนกาซาหรือไม่” ถ้าไปถามกับคนอิสราเอลคนอื่นก็คงไม่ได้คำตอบที่เหมือนกัน เพราะอย่างการชุมนุมในยุโรปที่ออกมาสนับสนุน การปลดแอกของปาเลสไตน์ ก็มีชาวยิวและชาวยิวอิสราเอลมากมายร่วมชุมนุม นามา ฟาร์จูน ชาวยิวที่ต่อต้าน ไซออนิสต์ เธอเล่าให้ทางสำนักข่าวฟังว่าเธอออกจากอิสราเอลตั้งแต่ปี2001 “เพราะฉันไม่สามารถทนกับการ เป็นพลเมืองอิสราเอลที่ได้รับสิทธิพิเศษในรัฐที่เหยียดเชื้อชาติได้” และเธอรู้สึกโกรธอยู่ทุกเมื่อเช้าวันกับ “การ ยึดครองดินแดนและการเลือกปฏิบัติต่อชาวปาเลสไตน์”

    การจะรายงานเหตุการณ์นี้ให้มีความสมบูรณ์นั้นสามารถทำได้อย่างแน่นอน ข้อมูลที่ได้เสนอแนะไป ข้างต้นก็เป็นตัวอย่างที่ทำได้หากยังคงต้องการนำเสนอบทสัมภาษณ์จากใครคนใดคนหนึ่ง ข้อเท็จจริงที่มาจาก นักวิชาการหรือความคิดเห็นที่ต่างกันก็ควรจะนำเสนอให้ครบด้าน เพื่อสร้างความเข้าใจในประเด็นอย่างถ่อง แท้นั่นเอง

    Works Cited
    พุกสุข, พิมพ์ชนก. “ฉากทัศน์ต่อไปของอิสราเอล-ปาเลสไตน์ ความขัดแย้งที่สั่นสะเทือนระเบียบโลกใหม่: ศราวุฒิ อา รีย์.” The 101 World, 16 October 2023, https://www.the101.world/sarawut-aree-israeli-and palestinian-conflict-interview/. Accessed 30 October 2023.
    กีลานี, เฟราส. “สงครามอิสราเอล-ฮามาส: ฟังเสียงชาวกาซาเหนือ ผู้ไม่ยอมย้ายออกแม้อิสราเอลเตรียมบุก.” BBC, 17 October 2023, https://www.bbc.com/thai/articles/c0x6ednynlwo. Accessed 30 October 2023. อารีย์, ดร.ศราวุฒิ. “รู้จัก 'ฉนวนกาซ่า' เข้าใจวิกฤติตะวันออกกลาง - ศูนย์โลกสัมพันธ์ไทย Thai World Affai...” สถาบันเอเชียศึกษา, 4 August 2014, http://www.ias.chula.ac.th/ias/th/Article-Detail.php?id=1. Accessed 30 October 2023.
    บราวด์, พอล, et al. “สงครามอิสราเอล-ฮามาส: บีบีซีตรวจสอบหลักฐาน หวังไขปริศนาผู้อยู่เบื้องหลังเหตุระเบิด โรงพยาบาลในฉนวนกาซา.” BBC, 19 October 2023,
    https://www.bbc.com/thai/articles/cy61l05p13zo. Accessed 30 October 2023. BBC NEWS ไทย. “สงครามอิสราเอล-ฮามาส: เหตุระเบิดโรงพยาบาลในฉนวนกาซา เสียชีวิตเกือบ 500 ราย.” BBC, 18 October 2023, https://www.bbc.com/thai/articles/c51wxlzpk1po. Accessed 30 October 2023.
    PPTV Online. “ลูกครึ่งไทย-อิสราเอล เผย ฮามาสบุกอิสราเอลก่อน.” pptvhd36.com, 20 October 2023, https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0% B8%A1/208531. Accessed 30 October 2023.
    PPTV Online. “ชาวยิวจำนวนหนึ่งในยุโรป สนับสนุนปาเลสไตน์-ประณามอิสราเอล.” pptvhd36.com, 24 October 2023,
    https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0% B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8/208734. Accessed 30 October 2023.
Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in