เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
TranslationHaisy_WM
การที่ปรับเปลี่ยนทีมงานกลายเป็นประกายไฟที่ทำให้ประสบความสำเร็จได้
  • ผู้เขียน: Bryan Lufkin
    ผู้แปล: Haisy_WM

    การที่ปรับเปลี่ยนทีมใหม่เรื่อยๆอาจจะดูทำให้เหมือนเป็นอุปสรรคขัดขวางของความสำเร็จ แต่ใครจะไปรู้ล่ะว่าการปรับเปลี่ยนที่ว่านี้อาจจะเป็นคีย์สำคัญของการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆที่คาดไม่ถึงได้

    คำของ “การปรับเปลี่ยนทีม” เป็นคำที่คุณคงไม่อยากจะได้ยินนักถ้ามีคนมาอธิบายคำนี้สำหรับที่ทำงานของคุณ เพราะนั่นมันหมายความว่า สตาฟฟ์มักจะเปลี่ยนอยู่เรื่อยๆเสมอ และมันยังเป็นสัญญาณอีกว่าบริษัทอาจจะกำลังเผชิญปัญหาหนักอยู่ มันยังทำให้คนที่ยังทำงานอยู่ที่บริษัทรู้สึกได้ถึงความไม่มั่นคงของบริษัทที่กำลังทำงานอยู่ด้วย


    ในขณะที่การที่มีการโยกย้ายไปมาอย่างไม่มั่นคงอย่างนี้ มันสามารถเป็นประโยชน์ได้ การวิจัยได้ค้นพบว่า การที่เอาคนหน้าใหม่เข้ามาทำงานในองค์กร หรือแม้แต่กระทั่งพนักงานที่ไม่ค่อยได้ทำงานด้วย มาร่วมทำงานด้วยกันจะช่วยสร้างสรรค์ความคิดสร้างสรรค์เป็นอย่างมาก การที่โยกย้ายสมาชิกในทีมจะช่วยเปลี่ยนแปลงความคิดที่มีในรูปแบบเดียวกันหมดหายไปด้วย เพราะการที่สมาชิกในทีมมีความคิดแบบเดียวกันมันจะจำกัดพลังของความสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ สำหรับแฟนๆของ Doctor Who ก็ได้เห็นสิ่งใหม่ๆของเรื่องนี้เสมอ ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปเท่าไหร่


    The ‘fresh face’ effect หรือ ผลลัพธ์ของ “คนหน้าใหม่”

    มันมีผลลัพธ์ที่ทำให้คนได้ตะลึงกับวิธีที่จะทำให้ความคิดสร้างสรรค์ได้ไหลออกมาอย่างไม่วันหยุด


    Pier Vittorio Mannucci ผู้ช่วยศาสตราจารย์ขององค์กรณ์พฤติกรรมใน วิทยาลัย London Business และผู้เขียนร่วมที่มีชื่อว่า Giuseppe Soda แห่งมหาวิทยาลัย Bocconi ในประเทศอิตาลี และ Ronald S Burt แห่งมหาวิทยาลัย Chicago ทั้งสามคนนี้ต้องการที่จะทดลองอิทธิพลของการย้ายสมาชิกทีมงาน พวกเขาโฟกัสสมาชิกใหม่ในทีมสามารถเพิ่มความคิดสร้างสรรค์ในที่ทำงานใหม่อย่างต่อเนื่องได้อย่างไร 


    พวกเขาได้ศึกษาจากโปรแกรมชื่อดังของโลก ซึ่งนั่นก็คือ Doctor Who เป็นโปรแกรมละคนทีวีที่อิงจากวิทยาศาสตร์ ซึ่งออกอากาศครั้งแรกผ่าน BBC ในปี ค.ศ. 1963 Doctor Who เป็นละครที่เกี่ยวกับพระเจ้าผู้เดินทางผ่านเวลาและห้วงอากาศได้จากดวงดาว Gallifrey ผ่าน TARDIS (เป็นยานอวกาศที่มีลักษณะเป็นตู้โทรศัพท์) เขาเดินทางและข้ามเวลาไปยังที่ต่างๆเพ่ือแก้ไขปัญหาอาชญากรรมและช่วยดวงดาวต่างๆ The Doctor เป็นละครที่เปลี่ยนยุคสมัยได้มากกว่าตายลงไปช้าๆ เป็นละครที่ยังอยู่ได้นานจนถึงปัจจุบันนี้ ถึงแม้ว่าจะมีเวลาช่วงหยุดพักไปในระหว่างปี ค.ศ. 1989 ถึง 2005 ไป 


    นักวิจัยเลือก Doctor Who มาวิจัยเป็นเพราะว่า Doctor Who เป็นละครที่อยู่มาอย่างยาวนานตั้งแต่ ค.ศ.1963 จนถึงปัจจุบัน และมีการเปลี่ยนแปลงทีมเบื้องหลังอยู่ตลอด พวกเขาเลือกสำรวจความสัมพันธ์ระหว่าง “ทีมเบื้องหลัง” ของผู้ผลิตละคร Doctor Who และเรตติ้งของแต่ละตอน เพราะนักวิจัยได้พบว่าชื่อทีมงานที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เป็นประจำ และแบ่งผลงานออกเป็น 2 ประเภท คือตอนที่ใช้ทีมงานเดิม และตอนที่มี “ทีมงานใหม่” เข้ามาร่วมทำงานด้วยกัน หรือแม้กระทั่งตอนที่มีพนักงานเดิม แต่เพิ่งเคยทำงานด้วยกันเป็นครั้งแรก จากนั้นจึงเชิญนักวิจารณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านรายการทีวีในสหราชอาณาจักรมารับชมละคร Doctor Who ทั้งหมด 273 ตอน ด้วยกัน โดยที่นักวิจารณ์ต้องให้คะแนนแต่ละตอนไว้ด้วย


    ผลออกมาว่า ตอนที่ผลิตโดยทีมงานหน้าเดิม ผลตอบรับมักจะอยู่ระดับปานกลาง แต่ในทางกลับกัน ตอนที่มี ทีมงานหน้าใหม่ร่วมทีมเบื้องหลัง ผลตอบรับเป็นมักจะดีขึ้นกว่าทีมงานหน้าเดิมกว่ามาก 


    แต่สิ่งที่สำคัญก็คือ การทำงานร่วมกันทั้งคนหน้าใหม่หรือหน้าเก่า การที่จะเอาคนหน้าใหม่เข้ามา คุณไม่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนและโยกย้ายสมาชิกทีมทั้งหมด แค่เพิ่มสมาชิกหน้าใหม่สัก 1 ถึง 2 คน ก็เพียงพอแล้ว การที่สมาชิกในทีมที่จะได้มีความคิดใหม่ๆไม่จำเป็นต้องหาคนที่มีความรู้ใหม่เข้ามาในทีม แต่แค่หาคนหน้าใหม่เข้ามาก็ช่วยได้แล้ว และนั่นก็จะเป็นจุดที่ทำให้เกิดผลประสบความสำเร็จของทีมงานเอง


    มันเป็นการ “ช็อก” ที่จำเป็น

    การเปลี่ยนสมาชิกทีมงานอาจจะทำให้หลายๆคนช็อก ไม่จำเป็นว่าจะต้องทำงานในสายการบันเทิงเท่านั้น แต่รวมถึงทุกสายงานด้วย การที่เปิดใจให้กับคนใหม่เข้ามาในทีม และการช็อกของคนในทีมเป็นเรื่องที่จำเป็น เพราะการทำแบบนี้จะทำให้ทุกคนมีความคิดสร้างสรรค์เพิ่มมากขึ้นและสามารถผลิตงานที่ดีขึ้นกว่าเดิมได้ 


    แน่ล่ะ การยกตัวอย่างของการเปลี่ยนแปลงของทีมงาน Doctor Who อาจจะเฉพาะเจาะจงไปซะหน่อย แต่ว่า Doctor Who เป็นตัวอย่างที่ดีและเห็นได้ชัดถึงผลลัพธ์ของการเปลี่ยนแปลงทีมงานแล้วเนื่องจากละครเรื่องนี้ถูกถ่ายทำมาหลายปีและได้เปลี่ยนทีมงานอยู่ตลอด 


    อย่างไรก็ตามมันค่อนข้างยากท่ี่จะวิจัยเรื่องนี้ในแวดวงการทำงานตามบริษัท เพราะว่าพนักงานหรือแม้กระทั่งตัวผู้จัดการเองต่างโหยหาความมั่นคง โดยเฉพาะทีมที่ทำได้ดีอยู่แล้ว เพราะฉะนั้น คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยกล้าที่จะปรับเปลี่ยนอะไรในองค์กร 

Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in