แต่การเดินตามกูเกิลแมปส์ไปเรื่อยๆ ก็ทำให้เราหลงเข้าไปในสวนของอะพาร์ตเมนต์แห่งหนึ่ง มารู้เอาทีหลังว่าประตูที่เราเดินผ่านมานั้นต้องใช้คีย์การ์ดในการเข้า-ออก เมื่อประตูปิดแล้วเราจึงติดอยู่ข้างใน ต้องรอจังหวะให้มีคนสวนเข้ามาแล้วไปยั้งประตูไว้ไม่ให้ปิด หญิงชราที่กำลังปิดประตูอยู่เกิดความงุนงงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เธอพูดภาษาฝรั่งเศส ผมตอบไปด้วยภาษาอังกฤษว่าพวกเรากำลังจะออก แต่สถานการณ์ก็ยังไม่คลายความงง จนพวกเราเห็นว่าเธอใช้ไม้เท้านำทางถึงทราบว่าเธอตาบอดพวกเรารีบขอโทษแล้วออกมาจากประตูรั้วนั้นโดยไม่รู้ว่าเธอจะเข้าใจหรือไม่
เหตุการณ์เมื่อครู่ทำให้เราทั้งประหลาดใจและประทับใจที่ผู้พิการทางสายตาสามารถไปไหนมาไหนด้วยตัวเองอย่างอิสระขณะเดียวกันก็อดรู้สึกชื่นชมปารีสไม่ได้ที่มีคุณลักษณะที่ทำให้บุคคทุพพลภาพสามารถใช้ชีวิตและทำสิ่งต่างๆ ได้เหมือนคนปกติ เช่น สัญญาณเสียงของไฟจราจรที่ช่วยส่งสัญญาณเพื่อให้ผู้ที่มีความบกพร่องทางสายตาสามารถแน่ใจได้ว่าปลอดภัยก่อนจะข้าม การนำกระเบื้องปุ่มสัมผัสเบรลล์บล็อกเข้ามาใช้ หรือทางลาดที่ไม่ปิดกั้นการสัญจรด้วยวีลแชร์ ส่วนรถยนต์ก็พร้อมที่จะหยุดเพื่อให้สิทธิ์ในการใช้ถนนแก่คนข้ามเสมอ
ขณะที่ในกรุงเทพฯ—เมืองที่มีบุคคลทุพพลภาพเช่นกันพวกเขาเหล่านั้นกลับต้องอาศัยความสามารถพิเศษส่วนตัวและ‘น้ำใจ’ ของชาวไทยเพื่อใช้ชีวิตเป็นหลัก ไม่ใช่ระบบที่เอื้อเฟื้อแก่พวกเขา
ผมเคยเห็นคุณลุงขายลอตเตอรี่ตาบอดต้องเดินกลางทางสัญจรของรถเพราะไม่มีทางเท้า และริมทางเต็มไปด้วยฝาท่อระบายน้ำที่ผุพัง ส่งผลให้รถต้องหยุดรอ ทำให้การจราจรเริ่มติดขัดแต่เมื่อผมไปพูดคุยกับผู้คนแถวนั้น เขาก็บองว่าลุงไปไหนมาไหนแบบนี้อยู่แล้ว และเขาก็ดูแลตัวเองได้
อย่างไรก็ตาม การได้มาเห็นการจัดการในต่างถิ่นก็ทำให้ผมคิดอยู่เสมอว่าเมืองที่ ‘อยู่ดี’ กว่านี้ เป็นไปได้สำหรับเราทุกคน
การออกแบบให้คนทุกกลุ่มสามารถใช้งานอย่างไร้อุปสรรคและเท่าเทียมกันอย่างที่ผมเพิ่งพูดถึงไป มีชื่อเรียกว่าอารย-สถาปัตย์ หรือ universal design แต่นอกจากสิ่งที่กล่าวไปแล้วนั้น พื้นที่สีเขียวก็เป็นอีกสิ่งที่ยกระดับคุณภาพชีวิตของคนเมืองได้
สถานที่ที่สะท้อนถึงคุณภาพชีวิตในด้านนี้ของปารีส และเป็นโลเคชั่นของหนังด้วยก็คือ Coulée verte René-Dumontหรือ Promenade Plantée สวนลอยฟ้าในย่าน Quinze-Vingts
ตอนแรกเราหาสถานที่นี้ไม่เจอ เพราะผมเดินตามหมุดในกูเกิลแมปส์โดยไม่ได้อ่านอะไรเกี่ยวกับมัน จนเริ่มสังเกตรอบตัวให้มากขึ้นว่าร่มไม้บหญ้าแถวๆ นั้น มันอยู่ที่ไหนบ้าง ผมจึงได้เห็นว่ามีต้นไม้อยู่บนยอดอาคารโครงสร้างเป็นซุ้มโค้งคล้ายสะพานส่งน้ำโรมันตลอดทั้งแถบ เราจึงหาทางขึ้นมาบนนี้ได้
แม้จะเรียกว่าเป็นสวนลอยฟ้าของปารีส แต่เดิมทีโครงสร้างของที่นี่ใช้เพื่อรองรับรางรถไฟ จนเมื่อมีการเลิกใช้จึงได้มีการปรับปรุงด้านบนให้เป็นสวน (เหมือนสวน High Line ในนิวยอร์ก) และด้านล่างเป็นร้านค้าที่หลากหลายเส้นทางบนสวนนี้เดินได้โดยไม่เบื่อ เพราะนอกจากจะเป็นสวนที่ร่มรื่นแล้ว มันยังเป็นจุดที่จะสามารถชมทิวทัศน์ของเมืองจากด้านบนได้อีกด้วย
การไปเยี่ยมชมสถานที่ที่ใช้ถ่ายทำภาพยนตร์ทำให้เราเห็นถึงความแตกต่างระหว่างภาพจำในหนังกับตัวสถานที่จริงๆ
ภาพยนตร์นั้นมีความหลากหลายในขั้นตอนการสร้าง และมันสามารถถูกเนรมิตออกมาตามจุดประสงค์ของผู้สร้างเพื่อที่จะเลือกความจริงบางส่วนในขณะถ่ายทำมาดัดแปลงและเรียบเรียงเพื่อส่งสารไปยังผู้รับชม แน่นอนว่าอาจมีภาพยนตร์ที่มุ่งเน้นการบันทึกเหตุการณ์ขณะถ่ายทำเป็นหลักอย่างภาพยนตร์สารคดีแต่ช่วงเวลาที่ถูกบันทึกในนั้นก็ถูกตัดขาดจากเหตุการณ์ก่อนหน้า (antecedent) และเหตุการณ์ที่เกิดหลังจากนั้น (aftermath)
การตามรอยสถานที่เหล่านี้ทำให้เราได้เห็นและสัมผัสกับสิ่งมากมายที่ไม่เหมือนหรือไม่อาจสัมผัสได้โดยตรงจากภาพยนตร์ เช่น สภาพตามปกติของสถานที่ สิ่งที่อยู่นอกเฟรมกล้อง แสงสภาพอากาศ และอุณหภูมิ ภาพในหัวกับสถานที่จริงจึงเป็นสองสิ่งที่ต่างกันอย่างเปรียบเทียบได้ยาก อาจมีเรื่องของแสงและสภาพอากาศเท่านั้นที่พอจะเทียบได้ว่าทำให้ภาพออกมาแบบไหนนอกจากนั้นแล้ว ผมไม่คิดว่าเราสามารถเปรียบเทียบได้ว่าประสบ-การณ์ในการดูหนังกับการไปอยู่ในสถานที่ถ่ายทำ สิ่งไหนเด่นหรือ
ด้อยกว่ากัน เพราะมันเป็นคนละอย่างกันโดยสิ้นเชิง
แต่สิ่งหนึ่งที่เราพอจะตีความได้จากการไปอยู่ตรงนั้นก็คือทำไมปารีสถึงถูกเลือกให้เป็นพื้นหลังของเรื่องราวเช่นนี้การเดินทางครั้งนี้ทำให้เราได้ลองมองปารีสจากหลายๆ มุมเช่น จากมุมตามทางที่เราเดิน มุมจากบนสะพานเหนือแม่น้ำแซนมุมจากที่สูงบนเนินของย่านมงมาทร์ (Montmartre) ซึ่งทำให้เราค่อยๆ เห็นรูปแบบและเอกภาพที่แข็งแรงของปารีส และในเอ-ภาพนี้ก็มีความหลากหลาย
อย่างที่ผมพูดไปว่าเอกภาพกับความกลมกลืนนั้นไม่ใช่สิ่งเดียวกัน อย่างปารีสนั้น ถ้ากลืนกันไปหมดก็คงน่าเบื่อและทำให้คนหลงทางกันได้ง่ายๆ ปารีสจึงวางถนนเป็นแนวที่มีจุดตัดตามจัตุรัสและอาคารสำคัญต่างๆ ทำให้มีจุดหมายตาและจดจำได้ง่ายเช่น หอไอเฟล ประตูชัย มหาวิหาร Basilique du Sacré-Coeurรวมไปถึงเหล่าอาคารสมัยใหม่อย่าง Centre Georges Pompidouศูนย์ศิลปะวัฒนธรรมที่ออกแบบโดย Renzo Piano ผู้มีแนวคิดในการออกแบบโดยนำสิ่งที่ปกติแล้วจะถูกปิดซ่อนโดยอาคาร เช่นท่องานระบบและโครงสร้างออกมาไว้ด้านนอกทั้งหมดจนดูเหมือนเป็นเครื่องจักรขนาดใหญ่
Montparnasse Tower และ UNESCOMeditation Space งานออกแบบโดยสถาปนิกชาวญี่ปุ่น Tadao
Ando
ปารีสเป็นเมืองที่มีรูปแบบชัดเจน แต่ก็แสดงออกถึงความหลากหลาย ถ้าเปรียบเป็นคนก็อาจเหมือนคนที่มีอุดมการณ์และหลักการให้เรารู้สึกชื่นชมและวางใจที่จะคุยด้วย แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่ได้ตายตัวชนิดที่ว่าจะทำให้เราเข้าใจได้ทั้งหมดในสองสามบทสนทนา
คงเพราะเช่นนี้เองที่ทำให้เมืองแห่งนี้มีเสน่ห์และมีผู้แวะเวียนมาไม่ขาดสาย
พื้นที่ภาวนา’ (Meditation Space) สถาปัตยกรรมร่วมสมัยในองค์การยูเนสโก(UNESCO) ออกแบบโดย Tadao Ando
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in