เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
intern.rotten.tomato
03 : Stay Tune.
  • หลังจากที่โปรเจค Lovecure จบไปแล้วเรียบร้อย และกินเวลาไปนานกว่าครึ่งเดือน
    ทำให้แผนที่วางไว้ใน Schedule ตอนแรกต้องเลื่อนออกไปเล็กน้อย จากที่เราวางแผนไว้ว่าจะลง content ใหม่ในวันที่ 1 มิถุนายน เพื่อเป็นการต้อนรับและเฉลิมฉลองให้กับ Pride Month แต่ด้วยอะไรหลาย ๆ อย่าง ทำให้จำเป็นต้องขยับขยายเวลาปล่อย content ใหมไม่ให้เกินเดือนมิถุนายนแทน

    โจทย์ใหม่ของเรานอกจากเรื่องของระยะเวลาที่มีจำกัดแล้ว การคิด content ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นความหลากหลายทางเพศยังเป็นเรื่องที่ค่อนข้างละเอียดอ่อน เพราะฉะนั้นแล้วกระบวนการการวางแผนแต่ละขั้นตอน ไม่ว่าจะตั้งแต่การวางคอนเซปต์ การออกแบบภาพประกอบ การใช้สี การใช้สัญลักษณ์ รวมถึงคำพูด จึงจำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงผลกระทบในหลาย ๆ ด้านมากกว่าเดิมเป็นพิเศษ โจทย์ครั้งนี้เลยมีความท้าทายมากขึ้นกว่าเดิมอยู่หลายระดับ 

    เรากับเนยเริ่มต้นจากการเอาไอเดียที่เคยคิดไว้ก่อนหน้านี้อย่างคำว่า new normal มาเสนอในตอนประชุมอีกครั้ง ( เนยได้ไอเดียนี้มาในระหว่างการทำสัมมนาเมื่อเทอมที่ผ่านมา ) โดยมีจุดประสงค์เพื่อต้องการให้กลุ่มเป้าหมายหรือผู้รับสารมองเห็นและเข้าใจว่าความหลากหลายทางเพศไม่ใช่เรื่องแปลกอีกต่อไป กลับกันสิ่งเหล่านี้คือเรื่องปกติธรรมดา ( ที่เกิดขึ้นมาใหม่ ) เท่านั้นเอง

    บวกกับความตั้งใจแรกเริ่มของเราสองคน ที่พยายามอยากหลีกเลี่ยงการพูดถึงประเด็น coming out รวมไปถึงการพิสูจน์ตัวเองของเพศทางเลือกให้น้อยที่สุด เพราะเป็นประเด็นที่ถูกนำมาพูดถึงบ่อย จนค่อนข้างช้ำ รวมถึงส่วนหนึ่งเป็นเพราะทั้งทีมเห็นตรงกันว่าอยากนำเสนอ content ที่เกี่ยวข้องกับ Pride Month ในแง่มุมใหม่ที่ไม่เคยมีใครพูดถึงมาก่อน 

    และมีความเห็นไปในทิศทางเดียวกันว่าเรื่องของการ coming out อาจจะไม่ใช่ประเด็นหลักในสังคมปัจจุบันอีกต่อไป เพราะสิ่งสำคัญกว่าการตั้งคำถามและคาดคั้นคำตอบว่าใครเป็นอย่างไร คือการที่ทุกคนยอมรับในความแตกต่างและสามารถใช้ชีวิตอยู่ด้วยกันอย่างเท่าเทียมต่างหาก


    ประเด็นเดิม ๆ เหล่านั้นเลยถูกปัดตกลงไปโดยปริยาย


    พอเคาะไอเดียหลักได้เรียบร้อย ขั้นตอนต่อไปคือการนำไอเดียที่คิดไว้มาใช้ในการสร้าง content ที่สามารถเชื่อมโยงกับหนังสือได้ คีย์เวิร์ดของการทำคอนเทนต์ในครั้งนี้ของเราคือคำว่า new normal หรือความปกติใหม่ หมายถึงเรื่องที่ในอดีตสังคมเคยมองว่าแปลก แต่ในตอนนี้ได้รับการยอมรับมากขึ้นจนถือได้ว่าเป็นเรื่องปกติไปแล้ว 

    เราเลยลองหาลิสต์หนังสือในเว็บไซต์ต่าง ๆ ดูว่า มีหนังสือเล่มไหนที่พูดถึง new normal บ้าง ระหว่างนั้นก็มีการออกแบบภาพประกอบไปด้วย เราสองคนจุ้มปุ้กอยู่กับคีย์เวิร์ด new normal กันนานอยู่หลายสัปดาห์ จนกระทั่งได้ลิสต์หนังสือครั้งแรกมาประมาณหนึ่ง พร้อมกับการประชุมครั้งที่สองที่กำลังจะเริ่มต้นพอดี

    เรานำเสนอไอเดียและภาพรวมของ content ในครั้งนี้อย่างคร่าว ๆ โดยตั้งใจไว้ว่าจะนำเอาภาพร่างของกราฟฟิกที่ไม่ได้ใช้ใน content ครั้งแรกมาใช้อีกรอบ


    โดยตั้งใจจะใช้กราฟฟิกสติ้กเกอร์ตัวนี้ไปแปะลงไปในภาพหนังสือในแต่ละโพส เพื่อทำให้คนอ่านรู้ว่าหนังสือเล่มนี้มีประเด็น new normal พูดถึงอยู่ด้วย


    ตัวอย่างโพสที่เราออกแบบไว้





    แต่ปัญหาหลักของการไอเดียในรอบนี้ คือยังมีอีกหลายคนที่ไม่รู้จักคำว่า new normal มาก่อน รวมไปถึงหนังสือในลิสต์ที่เราสองคนหามา ยังพูดถึงประเด็นนี้ไม่ค่อยชัดเจนมากนัก ทำให้กลายเป็นว่าตัวคอนเซปต์และไอเดียของเราเลยยังแข็งแรงไม่มากพอที่จะทำให้คนสนใจจนถึงขั้นสามารถนำมาทำเป็น content ได้ 

    เราโบกมือบ๊ายบาย new normal อีกครั้ง 

    และย้อนกลับไปเริ่มต้นคิดคอนเซปต์ใหม่ตั้งแต่แรก โละไอเดียทุกอย่างทั้งหมด 
    ซึ่งรอบนี้ใช้เวลากันนานกว่าเดิม เพราะคิดยังไงก็คิดไม่ออกซักที ( เนยกับเราจับมือกันกรี้ดรอบที่ร้อย ) ก่อนหน้านี้มีทั้งไอเดีย #prideread รวบรวมหนังสือที่พูดถึงความภาคภูมิใจในตัวเอง / #SameAsYou พูดถึงความเป็นมนุษย์ว่าไม่มีใครแตกต่าง ทุกคนเป็นมนุษย์เหมือนกันหมด 

    แต่ก็ยังไม่มีไอเดียไหนที่ดูจะแข็งแรงมากพออยู่ดี

    จนบ่ายวันนึง พี่โจ้เสนอไอเดียให้พวกเรามาว่า ถ้างั้นเรามาพูดถึงเรื่องความเท่าเทียม ( Equality ) กันดีไหม เพราะอย่างน้อยก็ยังอยู่ในจุดประสงค์แรกเริ่มของเรา

    เราสองคนตอบตกลง แล้วก็คิดคอนเซปต์ต่อในทันที เพราะเวลาล่วงเลยมาจนเกือบครึ่งเดือนแล้ว ถ้ายังไม่เคาะ content ในช่วงสองสัปดาห์นี้ ประเด็นเรื่อง Pride Month ก็จะนำมาใช้ไม่ได้อีกต่อไป เรียกได้ว่าเป็นการทำงานแข่งกับเวลาและจังหวะอย่างจริงจังเลย

    ระหว่างนั้นเราก็พยายามลองออกแบบกราฟฟิกที่จะนำมาใช้ประกอบ cotent หลายอย่าง และยอมรับว่าเครียดมากในช่วงนั้น เพราะไม่ว่าจะลองทำออกมากี่อัน ตัวเราเองก็ยังรู้สึกไม่พอใจกับมันสักที จนกระทั่งเราลองหยิบเอากราฟฟิกเดิมที่ทาง Readery เคยมี มาปรับพร้อมกับเพิ่มลูกเล่นอย่างสีรุ้งเข้าไป และลองเอาไปเสนอในที่ประชุมครั้งถัดมา

    ผลปรากฏว่ากราฟฟิกอันนั้นที่เราลองทำดู ขายผ่านและได้นำมาใช้ในที่สุด เย้


    นี่คือตัวอย่างกราฟฟิกที่ว่า




    ในส่วนของเนื้อหาสำหรับ content ในครั้งนี้ หลังจากที่พูดคุยและประชุมกันมาอย่างยาวนาน
    เราทุกคนตกลงกันว่าควรจะเก็บไอเดียที่คิดกันทดเอาไว้ในใจก่อน เพราะด้วยปัจจัยหลายอย่าง
    ทั้งความแข็งแรงของคอนเซปต์ วิธีการนำเสนอ ยังมีจุดอ่อนและช่องว่างอยู่ค่อนข้างมาก

    เมื่อลองนำมาคิด ลองมาถกกันในหลาย ๆ มุมมองและสถานการณ์ ทำให้เห็นว่ามันมีโอกาสที่อาจจะทำให้เกิดประเด็น offensive ได้โดยที่เราไม่รู้ตัว ดังนั้นเราทุกคนจึงเห็นพ้องต้องกันว่า เราอาจจะต้องใช้เวลากับประเด็นที่ว่านี้อีกสักหน่อย ก่อนที่จะนำมาใช้จริง ๆ 

    เราเปลี่ยนประเด็นที่จะพูดกันอีกรอบ โดยครั้งนี้เราตั้งโจทย์ให้ง่ายขึ้น อย่างการเข้าไปสำรวจกระแสหนังสือที่พูดถึงประเด็นความหลากหลายทางเพศประจำปี 2019 ในเว็บไซต์หนังสือทั่วโลกและนำข้อมูลเหล่านั้นมาย่อยให้ง่ายขึ้น ก่อนที่จะนำมาเล่าในรูปแบบของคอนเทนต์แทน


    แต่น่าเสียดายที่กว่าอะไร ๆ จะลงตัว เวลาก็ผ่านมาจนกระทั่งสัปดาห์สุดท้ายของเดือนมิถุนายนแล้ว บวกกับทวิตเตอร์หลักของ Readery มีปัญหาทางเทคนิคเล็กน้อย ล็อกอินเข้าไม่ได้ ทำให้ content ที่เราคิดกันไว้ไม่สามารถปล่อยลงไปแพลตฟอร์มนี้ได้ตามที่วางแผนไว้

    ( เรากรี้ดออกมา ) 

    และจำเป็นที่จะต้องนำ content ไปลงในแพลตฟอร์มของเฟสบุ้คแทน




    Second kit ที่ได้จากการทำงานในเดือนที่สองน่าจะเป็น : 
    บางอย่างอย่าหยุดแค่การคิด แต่ให้ลองทำดูเลย 
    และ นอกจากจังหวะจะสำคัญแล้ว แผนสำรองก็สำคัญด้วยนะ



Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in