เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
บทความ (Article)mary mist
Linguistic and cultural dominance through the origins of opera : a study of the linguistic influence and linguistic connections of opera in Europe and Asia



  •  BY. MARY MIST



    Opera กลายเป็นการแสดงที่เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก และเป็นที่รู้จักกันดีในฐานะการแสดงละครเพลงที่ใช้ทักษะและเสียงร้องที่แตกต่างกันออกไปจากการร้องเพลงทั่วไปที่ได้ยินกันในชีวิตประจำวัน ก่อนที่จะไปศึกษาเกี่ยวกับต้นกำเนิดของการแสดงโอเปร่า รากศัพท์ของคำว่า Opera เองก็สำคัญมากในบทความนี้ คำว่า Opera เป็นคำศัพท์ภาษาอิตาลีซึ่งมีความหมายว่าWork หรือ งาน ในภาษาไทย ซึ่งความหมายโดยตรงของคำศัพท์นี้แตกต่างจากความหมายของคำศัพท์ในแง่ของการแสดงโดยสิ้นเชิง เพราะมันไม่ได้มีความหมายเกี่ยวกับการแสดง การขับร้อง หรือ การเต้นเลย และคำศัพท์นี้มันเชื่อมโยงกับการแสดงโอเปร่าอย่างไร ในปัจจุบันความหมายของคำว่าโอเปร่านั้นไม่ใช่สิ่งสำคัญเพราะคนส่วนใหญ่ไม่ได้เข้าใจว่าการแสดงโอเปร่าเป็นคำกริยาของการทำงานหรือแสดงออกถึงคำว่างาน หรือ การทำงานเลย ผู้คนโดยทั่วเข้าใจโดยทั่วกันว่าโอเปร่านั้นคือการแสดงที่ประกอบไปด้วยเวที นักแสดง บทขับร้อง


     

    [countable, uncountable] a dramatic work in which all or most of the words are sung to music; works of this type as an art form or entertainment (Oxford dictionary)


              ซึ่งแน่นอนว่านอกจากความหมายโดยตรงของคำว่า Work ในภาษาอิตาลี ยังมีความหมายโดยนัยอีกด้วย งาน” ในอีกความหมายนั้นหมายถึงงานของเหล่าคีตกวี เช่น Giacomo Puccini , Giuseppe Verdi หรือ Gioachino Rossini ดังนั้นการแสดงของโอเปร่าแรกเริ่มในอิตาลีจึงหมายถึงการแสดงผลงานในตำนานของเหล่านักคีตกวี โดยในช่วงศตวรรษเดียวกันระหว่างศตวรรษที่ 17 – 18 ได้มีคีตกวีมากมายในหลายประเทศในแถบตะวันตก อย่างในประเทศเยอรมันและฝรั่งเศสเองนั้นการแสดงอุปราการก็โด่งดังมากเช่นกัน ซึ่งจากบทความ Linguistics in Opera and Libretto Exploratory Essay ที่ศึกษาเกี่ยวกับต้นเกิดของโอเปร่าในอิตาลีและในอเมริกาผ่านความเชื่อมโยงทางด้านภาษาศาสตร์ การแสดงโอเปร่าในฝรั่งเศสยังคงความเป็นต้บฉบับของอิตาลีอยู่ไม่ว่าจะเป็นวิธีการดำเนินเรื่องราวผ่านจังหวะการขับร้องหรือแม้แต่การออกเสียงคำบางคำซึ่งทำให้เห็นว่าการแสดงบนเวทีนั้นยังคงถ่ายทอดวัฒนธรรมาของโรงต้นฉบับอย่างอิตาลีเอาไว้อยู่ นอกจากรูปแบบการแสดงที่เป็นเอกลักษณ์แล้วยังสามารถเห็นวัฒนธรรมได้ผ่านคำว่าโอเปร่าอีกด้วย และในบทความนี้ต้องการจะศึกษาว่าอิทธิพล
    ของการครอบงำเกี่ยวกับการเข้าใจทางภาษาศาสตร์เกี่ยวกับคำว่าโอเปร่าส่งผลอย่างไรต่อทัศนะและความเข้าใจของคนโดยทั่วไปทั้งในทวีปยุโรปและเอเชีย


              เวลาผ่านไปจนปัจจุบันการแสดงโอเปร่าก็ยังคงเป็นที่นิยมและมีรอบการแสดงอยู่ตลอด ไม่ใช่เพียงแค่ทวีปยุโรปเท่านั้นแต่การแสดงอุปราการยังโด่งดังทั่วโลก เรียกได้ว่าไม่มีใครไม่รู้จักการแสดงโอเปร่า ในปัจจุบันเมื่อเข้าสู่ยุคเทคโนโลยีแล้ว โรงโอเปร่าในประเทศต่าง ๆ ก็ได้สร้างเว็บไซต์ของโรงละครขึ้นมาเพื่อสะดวกในการแจ้งข่าวสารและจองบัตรเข้าชม ไม่จำเป็นต้องได้รับบัตรเชิญเท่านั้น การแสดงโอเปร่าเข้าถึงคนมากขึ้นใครก็สามารถชมได้ ทำให้สามารถเข้าอินเตอร์เน็ตตามเว็บไซต์ของโรงละครที่ต้องการเพื่อติดตามข่าวสารได้เลยว่าจะมีการแสดงเมื่อไหร่บ้าง โดยรูปแบบการจองตั๋วก็เหมือนกับการซื้อบัตรเข้าชมคอนเสิร์ตในปัจจุบันทำให้มราบได้ทันทีว่ามีบัตรเหลือหรือไม่ มีกี่ที่นั่ง และบัตรหมดหรือยัง อีกทั้งตามโซเชียลต่าง ๆ มีการสร้างแฮชแท็กสำหรับงานและกิจกรรมต่าง ๆ หากผู้คนที่เข้าชมถ่ายรูปหรือพิมพ์ข้อความใด ๆ ตามโซเชียลและติดแท็กจะสามารถทำให้เราเก็บข้อมูลได้ด้วย โดยโอเปร่าเองแสดงให้เห็นว่าเข้าถึงคนหนุ่มสาวจำนวนมากและบัตรเข้าชมเต็มอยู่ตลอด ด้วยอิทธิพลทางภาษาที่เป็นส่วนที่ช่วยสร้างภาพจำในแก่มนุษย์ทำให้คำว่า โอเปร่า เข้าถึงคนในแถบทวีปเอเชียด้วย ผู้คนทั่วไปก็รู้จักการแสดงรูปแบบดังกล่าวเช่นกัน แต่อิทธิพลทางภาษานี้นี่เองที่เป็นจุดที่ทำให้เกิดการตั้งคำถามว่าลักษณะใดทางภาษาศาสตร์ของโอเปร่าที่ก่อให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับโอเปร่าในความคิดของคนเอเชียและคนภายนอกที่มองเข้ามา การศึกษาในครั้งนี้เกิดขึ้นมาได้เพราะในเอเชียเองก็มีการแสดงที่คล้าย ๆ กับโอเปร่าเช่นกัน แต่ไม่ได้มีความเหมือนเลยมีเพียงสิ่งเดียวที่เหมือนคือเป็นการแสดงจากเรื่องราวที่ถูกแต่งขึ้นมาเช่นเดียวกัน


                คำว่าโอเปร่าไม่ได้ส่งอิทธิพลในแง่ของความหมายทั้งโดยตรงและโดยใน ไม่ว่าจะ งาน หรือ ผลงานของคีตกวี แต่ถูกส่งต่อไปทั้งภาพจำรูปแบบการแสดงต่าง ๆ ลักษณะการร้อง การใช้บทเพลงคลาสสิก หรือแม้แต่รูปแบบการเลือกเนื้อเรื่อง ย้อนกลับไปที่สิ่งที่จุดประกายทำให้เกิดการตั้งคำถามขึ้นมา กว่าหนึ่งปีที่ผ่านมามีเกมออนไลน์นึงที่ชื่อว่า Genshin Impactและมีตัวละครที่ชื่อว่า Yunjin ซึ่งเป็นเด็กสาวนักแสดงในโรงอุปรากร จากการปล่อยตัวละครนี้และข้อมูลผ่านทางช่องทางของค่ายเกมทำให้มีชาวต่างชาติหลากหลายเชื้อชาติเข้ามาแสดงความคิดเห็นไปในทางชื่นชมเกี่ยวกับการปล่อยเนื้อเรื่องในครั้งนี้ หลายความเห็นจากทั้งหมดคือ ผู้คนเพิ่งรู้ว่ามีโอเปร่าในเอเชียด้วย และ โอเปร่าในจีนเป็นแบบนี้นี่เอง ซึ่งเป็นเรื่องที่ชวนตั้งคำถามเพราะไม่ว่าจะเป็นจีนหรือญี่ปุ่นก็ไม่มีการแสดงใดที่เหมือนกับโอเปร่าตามแบบต้นฉบับเลย

             

     

    Pear Garden เป็นชื่อแรกของละครจีนตั้งแต่พันปีก่อนที่เป็นที่นิยมอย่างมากโดยจุดเด่นคือตัวละครจะมีลักษณะภายนอกที่ชัดเจนอย่างเช่นการทาสีที่หน้าจะหมายถึงตัวตลกในรูปแบบการแสดงหนึ่งในในทางเหนือ มลฑลกวนซูของจีนที่มักจะใช้ภาษาพื้นบ้านหรือภาษาท้องถิ่นในการแสดงเป็นหลัก ต่อมาในสมัยราชวงศ์หมิงได้มีรูปแบบการร้องแบบใหม่นั่นคือการร้องผสมผสานระหว่างสำเนียงทางภาคเหนือและทางภาคใต้ของจีนโดยเรียกว่า

    Kunqu และในสมัยต่อมาก็ได้มีโรงละครมากขึ้นตามพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อแสดงละครให้ชาวพื้นบ้านได้ชม ซึ่งจุดเด่นคือการแต่งหน้าหลากหลาย โดยพื้นทุกคนจะทาหน้าสีขาวและจะมีสีต่าง ๆ บนใบหน้าเพื่อให้ผู้ชมรับรู้ถึงบทบาทการแสดงได้ ซึ่งคนในประเทศและคนนอกประเทศรู้จักกันดีในชื่อโอเปร่าพื้นเมืองแต่ยังมีการแสดงอีกอย่างหนึ่งคือโด่งดังเช่นกันนั่นคือ งิ้ว ซึ่งจัดเป็นละครเวทีที่มีลักษณะคล้ายกับโอเปร่ามากที่สุดคือมีเวที มีดนตรี มีบทพูดและมีการขับร้อง และความแตกต่างคืองิ้วจะหยิบเรื่องราวตามพงศาวดารมาเขียนเป็นบทละครและเน้นการเผยแพร่วัฒนธรรมและประเพณีในการแสดงต่าง ๆ แต่โอเปร่าในทวีปยุโรปจะหยิบเรื่องราวที่ประพันธ์โดยนักเขียนหรือคีตกวีมาเป็นหลักซึ่งมีเรื่องศาสนาและประเพญีเช่นเดียวกันแต่ไม่ได้เคร่งเครียดมากเท่างิ้ว โดยยังคงลักษณะเด่นที่แตกต่างจากโอเปร่าแบบตะวันตกไว้เช่นเดิมนั้นก็คือการใช้สีเป็นจุดสำคัญในการบอกเล่าลักษณธของตัวละครและมีการกำหนดสีชัดเจนจนกลายเป็นสิ่งที่คนทั่วไปเองก็เข้าใจ เช่น  โทนสีแดง แปลว่าเป็นสัญลักษณ์ของผู้ที่มีความซื่อสัตย์และกล้าหาญ ส่วนการแต่งหน้าสีดำ สื่อถึงความเป็นกลาง ไม่เห็นแก่ตัว เต็มไปด้วยสติปัญญา ส่วนการแต่งหน้าที่ใช้โทนสีขาวและสีเหลือง จะมีความหมายไปในทางไม่ดี คือ บ่งบอกว่าตัวละครนั้นเป็นผู้เหี้ยมโหดรวมทั้งชอบคดโกงอยู่เป็นนิจ


     

    จากสิ่งที่เปรียบเทียบให้เห็นข้างต้นจะเห็นได้ชัดว่ารูปแบบการแสดงนั้นต่างกันอย่างชัดเจนแต่ผู้คนโดยทั่วไปมักเข้าใจไปว่าการแสดงละครเวทีที่มีลักษณะเช่นนี้ นั่นคือ มีเวที มีนักแสดง มีดนตรี มีบทพูดและมีการขับร้องเรียกว่าโอเปร่า ทั้งที่ตามความหมายและจุดประสงค์จากต้นฉบับอย่างในประเทศอิตาลีเองสร้างขึ้นเพื่อนำผลงานของนักคีตกวีที่น่าสนใจและโด่งดังมารวมกันไว้และจัดแสดงเพื่อสร้างเป็นงานศิลป์ในประเทศเท่านั้น จากประวัติของทั้งการเริ่มมีโอเปร่าในยุโรปและในเอเชียเองเกิดในยุคใกล้ ๆ กัน อาจเป็นเรื่องของการเข้าครอบงำของฝั่งตะวันตกก็เป็นได้ที่ทำให้เกิดวัฒนธรรมแบบผสมผสานจนเป็นที่เข้าใจโดยทั่วกันในปัจจุบัน ซึ่งรูปแบบการแสดงเล่านั้นเองเป็นตัวกำหนดคำว่า Opera ให้กับคนอย่างทั่วถึง

     


                ซึ่งมองว่าในบางครั้งมันอาจเป็นปัญหาในแง่ของการเผยแพร่วัฒนธรรม สำหรับผู้คนในประเทศอาจไม่ได้เกิดปัญหาเพราะเนื้อหาและจุดประสงค์ของการแสดงนั้นนอกจากการให้ความบันเทิงแล้วยังมีลักษณะเป็น Soft Power ให้กับคนในประเทศแต่อย่างไรก็ดีมันไม่ได้สงผลอะไรแก้ผู้คนภายนอก ในเชิงของการเผยแพร่วัฒนธรรมซึ่งไม่อาจทำได้อย่างเต็มที่เพราะคนทั่วไปกลับมีการเข้าใจทางภาษาควบคู่ไปกับภาพจำของลักษณะการแสดงละครแบบโอเปร่าเท่านั้นทำให้การรับรู้วัฒนธรรมจากเนื้อหากลายเป็นปัจจัยเสริมและไม่ใช่เหตุผลที่คนภายนอกจะเข้าชม ทำให้คนภายนอกไม่ได้เกิดการเรียนรู้ถึงเนื้อหาหรือจุดประสงค์ของโอเปร่าในรูปแบบของจีนอย่างเช่น งิ้ว 



                เป็นเพราะการเลือกให้คนได้มีความเข้าใจแบบกลุ่ม เกิดการรวมการแสดงประเภทที่มีองค์ประกอบเดียวกันเป็นการแสดงโอเปร่า แทนที่จะเลือกใช้แต่คำเรียกดั่งเดิมเพื่อแยกประเภทการแสดง เพราะในท้ายที่สุดแล้ว งิ้ว ก็ไม่ได้เหมือนโอเปร่าในยุโรปอีกทั้งไม่ได้นำรากวัฒนธรรมมาเป็นพื้นฐานเหมือนเยอรมันหรือฝรั่งเศสด้วย

     


                อีกลักษณะนึงของการแสดงของญี่ปุ่นที่แตกต่างจากในกรณีของจีน ที่ญี่ปุ่นมีการแสดงพื้นเมืองที่หลาหหลายเช่นกัน เรียกว่า Ningyo-joruri และ Kabuki โดย Ningyo-joruri เป็นการแสดงหุ่นกระบอกโดยใช้เนื้อเรื่องดั่งเดิมร่วมถึงมีบทเพลงประกอบด้วยซึ่งภายหลังเองในยุคเอโด (Edo) ก็ได้พัฒนาไปเป็น Kabuki หรือละครหน้ากาก คาบูกิเองยังคงทำให้คนบางกลุ่มจัดรวมอยู่ในการแสดงแบบโอเปร่าโดยอีกชื่อถูกเรียกว่า Japan Opera เช่นเดียวกันกับ China Opera ซึ่งหากลองศึกษาดูจริง ๆ จะเห็นได้ว่าไม่ได้มีความหมายเดียวกับการแสดงโอเปร่าแบบตะวันตกเลยและไม่ได้มีรูปแบบใด ๆ ที่ถูกดัดแปลมาจากตะวันตกด้วย ในสายตาคนต่างชาติหรือคนภายนอกเองก็ยังคงมีชุดความคิดทางภาษาศาสตร์ว่า Opera คือการแสดงละครในโรงละครอยู่ดี ไม่เพียงแค่เอเชียเท่านั้นแต่ตะวันตกเองก็ด้วยที่ไม่ได้แบ่งแยกความหมาย Opera อย่างแท้จริง ซึ่งอาจเรียกได้ว่าการแสดงแบบโอเปร่าไม่ได้มีความหมายเฉพาะอยู่แล้วก็เป็นได้แต่ในเมื่อรูปแบบโอเปร่าของอิตาลีหรือทางยุโรปมีการกลมกลืนไปได้ดีกับความเข้าใจเกี่ยวกับคำว่าโอเปร่า หรือ อุปราการได้ดีกว่ายิ่งทำให้เกิดความเข้าใจผิดไปอย่างง่ายดาย 

     

     

    การถูกครอบงำทางการรับรู้ทางภาษาทำให้สิ่งสำคัญหลาย ๆ อย่างที่เป็นต้นฉบับถูกลดความสำคัญลงและค่อย ๆ เลือนหายไป ไม่เพียงแค่ความเข้าใจต้นแบบของอิตาลีเท่านั้นแต่รวมไปถึงวัฒนธรรมและเอกลักษณ์ของการแสดงของประเทศอื่น ๆ เองด้วย เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ในวัฒนธรรมได้อย่างดีต่อไปการปรับความเข้าใจหรือการมี

    จุดยืนในการแสดงที่เป็นเอกลักษณ์ควรเกิดขึ้นเพื่อแสดงให้เห็นถึงความเป็นต้นฉบับของประเทศนั้น ๆ และทำให้ความหมายของคำศัพท์ที่แท้จริงอย่างคำว่า Opera ไม่ถูกนำไปเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้คนมองข้ามความสำคัญบางอย่างไป


     

                การศึกษาผ่านทางภาษาศาสตร์นี้ได้ตอบสนองความต้องการต่อการตั้งคำถามและสามารถนำไปสู่การศึกษาโดยตรงในเชิงภาษาศาสตร์อย่างเจาะลึกได้ แต่บทความชิ้นนี้ต้องการเพียงแสดงให้เห็นถึงภาษาศาสตร์กับวัฒนธรรมที่ส่งผลต่อระบบความคิดและความเข้าใจของมนุษย์มากกว่าที่คิดจนสามารถกลายเป็นสิ่งที่ขัดขวางความสำคัญหลาย ๆ ได้มากกว่าที่คิด และด้วยสัญชาตญาณกับรับรู้ทางภาษาของมนุษย์ที่เป็นไปตามกลไกธรรมชาติอาจทำให้ไม่ทันได้สังเกต ในการตั้งคำถามและศึกษาในครั้งนี้ทำให้ได้รู้เกี่ยวกับการแสดงต่าง ๆ มากมายที่ไม่เคยรู้รายละเอียดมาก่อนเพียงเพราะคิดว่ามันคือการแสดงโอเปร่าในแบบเดียวกัน

     

     

     

     

     

     



     

    /

     


    IvyPanda. (2019, June 4). Linguistics in Opera and Libretto.https://ivypanda.com/essays/linguistics-in-opera-and-libretto/

    Opera North. A Brief History of Opera. https://www.operanorth.co.uk/explore-opera/a-brief-history-of-opera/

    Szczepanski K. ประวัติโดยย่อของจีนโอเปร่าhttps://th.eferrit.com/ประวัติโดยย่อของจีนโอเปร่า/

    Admin. (2018, August 9). ประวัติและความเป็นของการแสดง งิ้ว สุดยอดศิลปะการแสดงจากแดนมังกร. https://americanidiotonbroadway.com/ประวัติและความเป็นของก/
    Japan Arts Council. EvolutionHistoryThe history of stock characters overlaps with the development of Kabuki itself.https://www2.ntj.jac.go.jp/dglib/contents/learn/edc25/en/evolution/history3.html
     

     

     

     

     

     

Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in