จากรายงานวิจัยปี 2003 (
https://towakudai.blogs.com/Hikikomori.Research.Survey.pdf)
Progress ฮิคิโคโมริที่ญี่ปุ่นสามารถไล่ได้ตามนี้ค่ะ
แรงกดดันต่างๆ : โรงเรียน ครอบครัว ความคาดหวังในการประสบความสำเร็จในอาชีพ
↓
จุดแตกหัก : การโดนกลั่นแกล้ง สอบตก ความอับอาย
↓
ค่อยๆถอนตัวออกจากสังคม : ระยะที่ค่อยๆปลดการติดต่อกับสังคมภายนอก เพื่อน คนรู้จัก
จนอาจจะเหลือแค่คนในครอบครัวตัวเองเท่านั้น
↓
ได้รับการเอื้อหนุนจากผู้ปกครอง : ผู้ปกครอง จะคอยเอื้อหนุนและช่วยพาหลบหนีจากสังคมภายนอก เนื่องจากอายกับสภาพที่ลูกเป็นและกลัวเพื่อนบ้านจะรับรู้
↓
ไม่มีหน่วยงานช่วยเหลือหรือแนะนำ : โรงเรียน โรงพยาบาลหรือหน่วยงานรัฐเพิกเฉยต่อปัญหา
หรือส่งตัวไปรักษาทางจิตแทน
↓
เข้าสู่ภาวะเก็บตัว : ใช้ชีวิตอยู่ในห้องในบ้าน ไม่ออกไปไหน หลบเลี่ยงการเข้าสังคมต่างๆ
ใช้ชีวิตอยู่ได้โดยเงินจากผู้ปกครอง
↓
ได้รับการช่วยเหลือ ฟื้นตัว : จากหน่วยงานที่เหมาะสม
ย้ายไปพักอยู่ในสภาพแวดล้อมที่พร้อมจะช่วยให้ปรับตัวเข้าสู่สังคมได้
ปัญหาหนึ่งของฮิคิโคโมริที่ญี่ปุ่นคือพ่อและแม่ค่ะ บางครอบครัวอายแต่ก็ปล่อยลูกให้ใช้ชีวิตติดอยู่แบบนั้นต่อไปเรื่อยๆ เพราะไม่อยากให้ใครรู้ แต่สุดท้ายสิ่งสำคัญที่สุดในการแก้ไขปัญหานี้ ก็คือครอบครัวค่ะ
ถ้าถามว่าแม่เราล่ะ ยอมมั้ย ปล่อยมั้ย อยากจะบอกว่าไม่ เพราะตอนช่วงแรกๆ ที่หลุดออกมา ทะเลาะกับแม่บ่อยมาก สาเหตุจากไม่ยอมออกไป ไม่ยอมไปโรงเรียน ไม่ยอมพูดคุยถึงปัญหา ทำให้แม่ไม่สามารถเข้าใจได้ว่าเกิดอะไรขึ้น ท้ายสุดแม่พาไปพบจิตแพทย์ แต่เหมือนแก้ไขไม่ตรงจุดค่ะ
แม่ไม่เคยอายเพื่อนบ้าน ไม่อายญาติ พยายามหาทางออกให้เสมอในวันที่เราล้ม ทำเต็มที่เท่าที่ผู้หญิงคนหนึ่งจะทำได้ สุดท้ายก็จบลงที่การเรียนทางไกล เพราะแม่ดูแล้วรู้ว่า ถึงแม้เราจะโดนรังแกมาเรื่อยๆ แต่ในวันนั้นเราก็ยังไม่แกร่งพอที่จะออกไปจริงๆ ขนาดย้ายโรงเรียนแล้ว กลายเป็นอาการหนักกว่าเดิม กรณีของเราถึงจะใช้ชีวิตในห้องในบ้าน แต่แม่ยังสามารถเข้ามาเจอกันได้อยู่ หลังๆมานี้ถึงเปิดใจคุยกับแม่มากขึ้น รู้สึกผิดที่เป็นภาระ เป็นปัญหา ให้แม่เหนื่อยมาตลอดจนถึงทุกวันนี้ค่ะ
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in