ไก่มาแล้ววว วันนี้มีการบ้านนนน
เนื่องจากไวรัสโคโรน่าตัวร้ายทำให้มหาลัยไก่หยุดทั้งมหาลัย ทำให้คลาสแสนสนุกของไก่ต้องกลายมาอยู่หน้าคอมแทน จริง ๆ มันก็มีข้อดีตรงที่คนสายตาสั้นอย่างไก่เห็นอาจารย์ได้ใกล้เหมือนหายใจรดกันอยู่ แล้วมันก็ทำให้ไก่ไม่ต้องคุยกับเพื่อนข้าง ๆ เพราะไม่มีใครอยู่ข้าง ๆ มันก็จะเหงา ๆ หน่อย
วันก่อนไก่ได้มีโอกาสเรียนเรื่อง output ในการเรียนรู้ ไก่เป็นคนที่เชื่อว่า input เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดมาโดยตลอด เพราะไก่เชื่อว่าความรู้คือความเชื่อ ถ้าเราเชื่อสิ่งนั้นและเรายอมให้มันเข้ามาอยู่ในสมองของเรา มันจึงเกิดการเรียนรู้และการจดจำ ในทางตรงกันข้ามถ้าเราไม่มี input เราก็ไม่เกิดการเรียนรู้เช่นกัน แต่ในวันนี้ไก่ได้เรียนทฤษฎีของคุณ Merrill Swain ที่ชื่อ output hypothesis และไก่คิดว่ามันก็ฟังดูมีเหตุผลเหมือนกัน
คุณ Swain เค้าเชื่อว่าการตระหนักรู้เป็นเรื่องสำคัญในการเรียนรู้ภาษา เค้าบอกว่าการสร้าง output เนี่ยเป็นการทำให้ผู้เรียนได้รู้ gap ของตนเองว่า เราทำได้จริงเท่าไหร่ และ เราควรทำได้เท่าไหร่ นอกจากนั้นการสร้าง output ยังทำให้เกิดการตรวจสอบสมมติฐาน hypothesis testing หมายถึงการเช็คตัวเองว่าเรียนมาแล้วสื่อสารได้จริงหรือเปล่า เมื่อลองใช้แล้วจะต้องสังเกต ใส่ใจ และรับรู้ หรือมี noticing ซึ่งก็คือการเช็คดูการตอบสนองของคู่สนทนา เมื่อเราสังเกตแล้วจะทำให้เกิดการ restructing หรือการเรียบเรียงความเข้าใจของเราใหม่
output ยังก่อให้เกิดการเปรียบเทียบภาษาที่เราใช้กับคนที่ใช้ภาษาได้ดีกว่าเรา เช่น เจ้าของภาษา สิ่งนี้เรียกว่า cognitive comparison และเมื่อเราใช้บ่อย ๆ เราก็จะใช้ได้เร็ว แบบไม่ต้องเพ่งคิดพิจารณามากก็พูดได้เข้าใจดี อย่างนี้เรียกว่า automacity เหมือนกับตอนที่เล่นเกมอยู่แต่ยังสามารถคุยกับแม่ได้ว่าเดี๋ยวไปล้างจาน
เมื่อเข้าใจทฤษฎีแล้ว อาจารย์ก็ให้เรามาลองปฏิบัติจริงกันค่ะ โดยให้ภาพนี้มาแล้วให้เราเล่าเรื่องจากภาพ จากนั้นเอาสิ่งที่เราเล่ามาเทียบกับสิ่งที่เจ้าของภาษาเล่า จากนั้นนำมาสรุป
อันนี้เป็นสิ่งที่เราลองพูดออกมาแล้วจดไว้ ขอโทษสำหรับไวยกรณ์ที่ผิดพลาดค่ะ ;-; ความจริงมีคำว่า อะโนววว เยอะมากค่ะ จุดนี้ก็คิดว่าควรแก้เหมือนกัน
最近、面白いことがあったんだ。チェックイン日、ホテルのロビーで母を待ってた。となりにはつまんなさそう新聞が読んでいるおじさんが座っていた。「つまんないなぁ おじさんの生活…ぼくなんか、そんな新聞読みなくない」と思って、ただぼーっとしていた。すると、ある外国人の目に会っちゃった!「ソーリー・ノー・イングリッシュ」しか喋れないぼくはどうするかわかんなくて、そのままだと絶対聞かれるはずだった。結局、自分を隠すために、知らないとなりのおじさんと一緒に新聞を読むふりした。
ส่วนอันนี้คือที่คนญี่ปุ่นเล่าค่ะ
1 ホテルのロビーに、親子がソファーで座っている。そこに、一人の外国人が地図を持 ち、どこか行きたい場所を知りたいために、人を探していた。ソファーに座る子とその外 国人との目線が合い、外国人は、子供に近づいてきた。たまらず、子供の父親は、自分が 読んでいた新聞紙を子供に読んでいるふりをして、外国人に話をされるのを拒み、その外 国人は腹が立っていた。
2 僕は、ホテルのロビーのソファーに座ってくつろいでいました。隣には、同じくくつ ろいで新聞を読んでいるおじさんがいます。ぼーっとあたりを見回していると、ふと、一 人の男性と目が合ってしまいました。その人は、カメラを首からぶらさげ、地図を片手 に、どうやら道を探していたようです。「あっやばい!」と思った瞬間、その人が近づい てきました。「これはまずい!きっと僕に道を聞くつもりだ。めんどくさいことになる ぞ。どうしよう...。」とっさに僕は、隣のおじさんの新聞にかくれてしまいました。
5 ペエスケはホテルのロビーでソファーに座っていました。ペエスケの隣では男性が新 聞を広げて読んでいました。ペエスケがぼんやりしていると、地図を持って立ちつくして いる男性と目が合ってしまいました。どうやら、道に迷っているようです。やはりそうで す。男性はペエスケに近寄ってきました。道を尋ねられても、ペエスケだってこの地に詳 しいわけではありません。答えられず気まずい思いはしたくありません。どこかうまく逃 げられている場所はないでしょうか。ああ、ありました。なんと、ペエスケは隣の男性が 広げている新聞紙の中に隠れてしまいました。
8 待ち合い所(まちあいじょ)のソファーに座っているペエスケ。その隣には新聞を広 げて読んでいるおじさんがいる。すると、地図を広げて目的地を探している1人の外国人 の男性と、ペエスケは目が合ってしまった。外国人男性は、ペエスケに目的地がどこにあ るのかを説明してもらうために地図を片手にそばに寄ってきたが、外国語に自信がないペ エスケにとってはまさにやぶから棒で、困惑してしまう。そこでペエスケは、説明するの を避けるために、隣に座っているおじさんが読んでいる新聞のかげに隠れ、うまいことそ の難を避けることができた、というお話です。
สรุปว่าเราได้อะไรบ้างจากการเทียบในครั้งนี้ ส่วนที่เป็นสีฟ้าคือเค้าพูดได้ตรงใจเราเหลือเกิน เราอยากพูดแบบนี้แต่เรานึกไม่ออก จะจำเอาไว้ใช้ได้ และส่วนที่เราวิเคราะห์ออกมาแล้วไม่เหมือนกับคนญี่ปุ่นก็สามารถเอาไปปรับปรุงแก้ไขให้ภาษาญี่ปุ่นเราดีขึ้นได้ค่ะ ก่อนหน้านี้ไม่เคยรู้ว่าตัวเองมีปัญหาตรงไหนบ้าง วันนี้ก็ได้รู้แล้ว ที่มีปัญหามากที่สุดคิดว่าเป็นเรื่องการนึกคำไม่ออกจึงทำให้สิ่งที่อยู่ในหัวมันออกมาได้ไม่ชัดเจนเท่าที่ต้องการ เช่น คำแสดงอารมณ์ไก่แทบไม่มีเลย เรื่องเลยดูน่าเบื่อเมื่อเทียบกับของคนญี่ปุ่น และควรขมวดปมตอนท้ายเรื่องให้สวยงามอย่างคนญี่ปุ่น
ตารางสรุปของไก่ค่ะ
คำที่เราต้องการที่จะสื่อแต่สื่อออกไปไม่ได้
อยากพูดว่า | พูดไปว่า | คนญี่ปุ่นพูดว่า |
สบตากัน | 目が合う | 目線が合う |
ต้องโดนถามแน่ ๆ | 絶対聞かれるはずだった | きっと僕に道を聞くつもりだ |
คนต่างชาตินั้นก็เดินใกล้เข้ามาเรื่อย ๆ | ไม่ได้พูดเพราะนึกไม่ออก | 外国人は、子供に近づいてきた |
เพื่อจะได้ไม่ต้องอธิบาย | 自分を隠すために | 説明するの を避けるために |
ด้านการใช้คำ และการวางประโยค
จุดที่สังเกต | ตัวเรา | คนญี่ปุ่น |
การใช้คำท้ายประโยค | ไม่มีค่ะ เลยดูประโยคทื่อ ๆ | めんどくさいことになるぞ |
คำช่วย | ละคำช่วยไปเยอะมาก | คำช่วยครบถ้วนสมบูรณ์ |
คำกริยาวิเศษณ์แสดงอารมณ์ | ไม่ได้พูดเพราะนึกไม่ออก | どうやら、とっさに、 なんと |
การวางประโยค | คำนาม กริยา | คำขยาย คำนาม |
ด้านการเล่าเรื่อง
จุดที่สังเกต | ตัวเรา | คนญี่ปุ่น |
ความชัด | อธิบายว่าเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นเช่น 新聞が読んでいるおじさん | คนญี่ปุ่นจะอธิบายชัดเห็นภาพมากกว่าการทำอะไร แต่บอกด้วยว่าทำอย่างไร ขั้นไหน เช่น 新聞を広げて読んでいました |
ตอนจบ | จบแค่เท่าที่การกระทำนั้นจบ แล้วให้ไปคิดต่อเองว่าทำไมถึงทำเช่นนั้น | มีการสรุปตอนจบ เช่น うまいことそ の難を避けることができた หรือ มีการเล่าต่อถึงผลที่เกิดหลังจากนั้น เช่น その外国人は腹が立ってい |
ลองไปทำกันดูนะคะ แล้วมาเทียบกัน สุดท้ายนี้ อย่าลืมดูแลสุขภาพตัวเอง ออกไปนอกบ้านบ้างอย่างระมัดระวัง และมีสติอย่าตื่นตกใจเกินไปกับข่าวที่ไม่จริง ขอเป็นกำลังให้อาจารย์ที่กำลังฝึกใช้สอนออนไลน์ ขอเป็นกำลังใจให้เพื่อนๆ ที่หางานไม่ได้ในสภาวะแบบนี้ ขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนผ่านมันไปด้วยกัน สู้ ๆ นะ
ชอบที่พี่มีการเล่าว่า เป็นวันเช็คอิน กำลังรอมะม๊า ต่างกับที่หนูเล่ามากๆเลยค่ะ 5555 ของหนูนี่เล่าไปทื่อๆตามภาพเลย
ประทับใจค่ะ ติดตามอยู่นะคะ เย้ๆ