เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
ครั้งแรกที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้Jumino_ss
Pattani in my perspective (#1)
  • ครั้งแรกกับการลงมาที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้เริ่มจากปัตตานีก่อน เราขึ้นเครื่องที่เชียงใหม่ไปลงหาดใหญ่แล้วขึ้นรถตู้จากสนามบินหาดใหญ่ไปที่ปัตตานีใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่ง แม้ว่าปัจจุบันยังคงมีคนนอกที่มองเข้ามาแล้วกังวลเรื่องเหตุการณ์ความไม่สงบที่เคยเกิดขึ้น แต่พอได้เข้ามาสัมผัสจริงๆแล้วบรรยากาศเมืองปัตตานีเป็นไปด้วยความเรียบง่ายความชิลที่ไม่ต่างจากเชียงใหม่มากนัก พอมาถึงก็เข้าไปมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี (มอ.ปัตตานี) ขึ้นไปบนหอดูนกด้านหลังของมหาวิทยาลัย

                                                    บรรยากาศบนหอดูนกที่ มอ.ปัตตานี

    ลองจินตนาการดูว่า คนเชียงใหม่ที่วันๆเจอแต่ฝุ่นควันต้องใส่หน้ากากตลอดเวลาออกไปข้างนอกพอเจออากาศดีๆแบบนี้จะฟินขนาดไหน!!! ด้างล่างบริเวณรอบๆของหอดูนกก็จะล้อมรอบด้วยป่าโกงกางที่แทงรากขึ้นมาเผื่อหายใจบนพื้นดิน หลังจากสูดอากาศดีๆเข้าไปเต็มปอดก็ซ้อนมอเตอร์ไซค์เพื่อนไปกินโกโก้เย็นที่ร้านชาตาย้อย ร้านอยู่บริเวณหลังมอเพื่อนก็แนะนำว่าร้านนี้โกโก้อร่อยที่สุดในแถบนี้ พอถึงร้านก็ลองสั่งดาร์กโกโก้หวานน้อยและมันดาร์กมากจริงๆ (จริงๆหวานปกติก็อร่อยอยู่แล้วเพราะไม่ได้หวานมาก) สำหรับคนไม่ชอบหวานอย่างเราพอสั่งหวานน้อยก็ถูกใจมากเลย ราคาก็ 20 บาท!!! โคตรคุ้ม แต่ที่ชอบที่สุดคงจะเป็นสโลแกนร้านที่บอกว่า "อยากกิน กินเลย ตอนที่ยังมีลมหายใจ ตายไปไม่ได้กิน" 

      ร้านชาตาย้อย (Chatayoy) อยู่บริเวณด้านหลังของ มอ.ปัตตานี และดาร์กโกโก้หวานน้อย 

    เสร็จจากร้านชาตาย้อยตอนเย็นเพื่อนก็พาออกไปดื่มด่ำวัฒนธรรมของชาวมุสลิมที่มัสยิดกลางปัตตานี พอไปถึงโต๊ะอิหม่าม (หัวหน้านักบวชในศาสนาอิสลามมีหน้าที่สอนและปฏิบัติการละหมาด) กำลังสวดเรียกผู้คนเข้าไปในมัสยิดเผื่อเตรียมตัวละหมาดรอบเย็น (ชาวมุสลิมละหมาดวันละ เวลา เป็นกิจวัตรประจำวัน) บทสวดของโต๊ะอิหม่ามให้บรรยากาศเหมือนอยู่ตะวันออกกลาง เพื่อนเล่าให้ฟังว่าสำเนียงการสวดจะแตกต่างกันไปในแต่ละที่ ก็คือใช้บทสวดเดียวกันแต่ถ้าไปประเทศอื่นก็จะเป็นสำเนียงของประเทศนั้นๆ สำหรับชุดที่ผู้คนใส่ไปละหมาดก็มีหลากหลายไม่ได้มีแค่ชุดขาว อันนี้คงแล้วแต่แฟชั่นของแต่ละคนบางคนก็ใส้ผ้าถุงเหมือนผ้าขาวม้ามา ส่วนตอนเข้ามัสยิดทางเข้าของผู้หญิงกับผู้ชายจะแยกกัน เพราะว่าเวลาจะละหมาดเขาจะต้องทำความสะอาดร่างกายล้างมือ ล้างหน้า เรียกว่า ‘การอาบน้ำละหมาด แล้วถ้าเกิดผู้ชายกับผู้หญิงโดนตัวกันก็จะต้องอาบน้ำละหมาดใหม่ ดังนั้นเขาก็เลยต้องแยกทางเข้าซึ่งก็ถือเป็นความเชื่อทางศาสนา พอเข้าไปข้างในก็จะมีผ้าม่านกั้นเผื่อแบ่งฝั่งชาย-หญิง เรียกได้ว่าตลอดเวลาที่ละหมาดผู้ชายกับผู้หญิงจะไม่ได้เจอกัน นี่ก็เป็นอีกวัฒนธรรมนึงที่เราเพิ่งได้เข้าไปเรียนรู้ 

                                         มัสยิดกลางปัตตานี ตำบลอาเนาะรู อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 

           ตอนกลางคืนเพื่อนก็พาไปเดินเล่นที่ 'สะพานศักดิ์เสนีย์' เป็นแลนมาร์คอีกที่หนึ่งของจังหวัดปัตตานี และเป็นที่ๆทำให้เราเข้าใจเลยว่าจริงๆแล้วที่คนนอกมองเข้ามามันไม่ถูกต้องไปทั้งหมด 

         "ปัตตานีเป็นเมืองที่มีชีวิต" ตอนที่ไปเป็นเวลาประมาณ 2 ทุ่ม มีผู้คนออกมานั่งเล่นบริเวณริมแม่น้ำบางกลุ่มมาเป็นครอบครัวนั่งพูดคุยชมบรรยากาศ บางคนมากับคู่รัก บางคนมา เดิน-วิ่ง ออกกำลังกาย มีคนเอากีตาร์มานั่งร้องเพลง ยิ่งมีสายลมอ่อนๆพัดมายิ่งทำให้บรรยากาศดีเข้าไปใหญ่ 

            สะพานศักดิ์เสนีย์ เพื่อนเราเรียกมุมนี้ว่า 'เวนิสปัตตานี' ด้านซ้ายคือหอนาฬิกาสามวัฒนธรรม

         'หอนาฬิกาสามวัฒนธรรม' เป็นหอนาฬิกาที่ออกแบบโดยการผสมผสานศิลปวัฒนธรรมของ ไทย จีน มุสลิมเข้าด้วยกัน 

         นี่ก็เป็นบรรยากาศโดยรวมที่ได้ไปดื่มด่ำในวันแรกที่ไปถึงเมืองปัตตานี พาร์ทนี้พักไว้ตรงนี้ก่อน จากนี้จะผ่านไปยะลาแล้วลงไปตันหยงมัง อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส  และที่ขาดไม่ได้คือ food tour  ?











เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in