เพราะความเป็นจักรวรรดินั่นเองค่ะ และนี่คือบุคคลที่ไปเอามานั่นเองค่ะ Alfred Percival Maudslay (1850-1931), ซึ่งเป็นทูตจากจักรวรรดิิอังกฤษ นักสำรวจ และนักโบราณคดีซึ่งเป็นคนแรกๆ ศึกษาอารยธรรมมายัน ถ้าสนใจเพิ่มเติมก็เรียนเชิญที่นี่เลยค่ะ ข้อมูลน่าเชื่อถือแน่นอนจาก Victoria&Albert Museum ซึ่งก็น่าไปเยี่ยมชมเหมือนกันนะ!
ต้องกล่าวก่อนว่าสังคมพม่าเนี่ยก่อนตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษนั้นเป็นสังคมที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นรัฏฐาธิปัตย์ผูกขาดอำนาจของรัฐ และด้วยความที่ไม่ได้แยกรัฐออกจากศาสนาทำให้พระพุทธศาสนาเนี่ยผูกพันกับวิถีชีวิต จารีตประเพณีของประชาชนเป็นอย่างมาก[1]และการปกครองของพม่าอยู่ภายใต้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์และการจัดระเบียบทางสังคมมีการแบ่งออกเป็นชนชั้นปกครองและผู้ถูกปกครอง ถ้าหากคิดภาพราชวงศ์ สภาพสังคมไม่ออกก็จะเป็นภาพประมาณละครเพลิงพระนางเลยค่ะ
ราชวงศ์และสังคมพม่าเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิงเมื่ออังกฤษเข้ามาปกครองพม่าในฐานะรัฐอาณานิคมก็ได้อ้างความชอบธรรมในการเป็นเจ้าอาณานิคมของตนด้วยอุดมการณ์เสรีนิยม[1]และภารกิจหลักของคนขาวซึ่งเป็นการจัดระเบียบสังคมตามแบบรัฐสมัยใหม่[2]ที่การปกครองจะแยกออกจากตัวผู้ปกครอง มีตรรกะทางเศรษฐกิจของทุนนิยมตะวันตก[3] พม่าซึ่งเป็นรัฐอาณานิคมจึงถือเป็นเครื่องมือในการสร้างความมั่งคั่งให้กับประเทศเจ้าอาณานิคมอย่างอังกฤษ ดังนั้นการปรับเปลี่ยนโครงสร้างด้านเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมจึงถือเป็นผลประโยชน์ในการผลิตสินค้าเพื่อส่งออกของอังกฤษเอง จึงจะเห็นได้ว่าประเทศอังกฤษเข้ามาควบคุมเศรษฐกิจ การเมือง สังคมของพม่าเพื่อหาประโยชน์มากกว่าจะเป็นไปเพื่อการพัฒนาประเทศอาณานิคม ด้วยเหตุนี้เพื่อเป็นการยกระดับประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจของสังคมพม่าจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคอย่างการคมนาคม การสาธารณสุข[4] และที่สำคัญอย่างยิ่งคือการเกิดการศึกษาเพื่อตอบสนองผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ
เครดิตภาพจาก : https://commons.trincoll.edu/edreform/2014/05/the-effects-of-the-colonial-period-on-education-in-burma/
โดยการที่เจ้าอาณานิคมอย่างอังกฤษปรับเปลี่ยนระบบการศึกษาของพม่าจากเดิมในยุคการศึกษาตามแบบจารีตไปเป็นการศึกษาในโรงเรียนที่ผู้เรียนจะสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ตามเป้าประสงค์ของอังกฤษเพื่อมุ่งเน้นการผลิตคนเข้าทำงานในระบบทุนนิยมเสรี[5] ระบบการศึกษาสมัยใหม่นี้มุ่งแยกรัฐออกจากศาสนาและมุ่งเน้นการผลิตกำลังคนส่งผลให้การสร้างโรงเรียนนั้นเป็นไปเพื่อผลิตประชากรผู้มีความรู้ตามความต้องการของรัฐ[6]
จะเห็นได้ว่าในการจัดตั้งสถาบันการศึกษาแบบสมัยใหม่จึงมีความแตกต่างจากสถาบันการศึกษาแบบพม่าดั้งเดิม เนื่องจากเจ้าอาณานิคมอย่างประเทศอังกฤษที่ประสงค์การผลิตเจ้าหน้าที่และลูกจ้างระดับล่างที่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้เพื่อตอบสนองความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและความมั่งคั่งของตนเอง[8] การศึกษาในพม่าจึงกลายเป็นสิ่งที่เปิดโอกาสทางเศรษฐกิจ เนื่องจากอังกฤษได้ทําให้ความมุ่งหวังต่อผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาจากเดิมที่เป็นผู้มีมาตรฐานจริยธรรมแบบชาวพุทธของพม่ามาสู่การเป็นเครื่องมือตอบสนองความเติบโตทางเศรษฐกิจและการเป็นพลเมืองที่ว่าง่ายของอาณานิคมอังกฤษจนนำไปสู่วิกฤตความเป็นตัวตนของพม่าที่ผูกพันกับพระพุทธศาสนาอย่างแนบแน่น อีกทั้งการศึกษาตามแบบตะวันตกยังถือเป็นเครื่องมือในการสร้างความเหลื่อมล้ำในสังคมพม่า อันมีที่มาจากการขาดแคลนทุนทรัพย์ในการเล่าเรียน[9] ทำให้ขาดทักษะภาษาอังกฤษซึ่งเป็นผลผลิตจากระบบการศึกษาแบบสมัยใหม่ ส่วนลูกของชนชั้นกลางหรือชาวอินเดียที่มีฐานะก็สามารถเข้าเรียนโรงเรียนตามแบบตะวันตกที่เรียกว่าโรงเรียนฆราวาสอันมีการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษควบคู่กับภาษาพม่า[10] การศึกษาตามแบบสมัยใหม่นำมาซึ่งโอกาสในการเลื่อนสถานะตนเองภายใต้ระบบทุนนิยมเสรีเนื่องจากภาษาอังกฤษก็ถูกใช้ทั่วไปในงานราชการเช่นกัน โดยเห็นได้จากตลอดยุคอาณานิคม แรงงานที่มีทักษะ ช่างฝีมือ ช่างเทคนิค และเจ้าหน้าที่ระดับสูงถึงกลางที่ต้องใช้ความรู้สูงล้วนเป็นชาวอินเดียและชาวตะวันตก[11] เป็นเหตุให้ชาวพม่าส่วนหนึ่งไม่พอใจจากการถูกทำให้เป็นคนชายขอบจากความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ประกอบกับปัจจัยทางการเมืองและเศรษฐกิจ จึงก่อให้เกิดการฟื้นคืนความเป็นชาตินิยมขึ้นในชาวพม่ารุ่นใหม่และเกิดการรวมตัวต่อสู้เพื่อเรียกร้องเอกราช
นิทรรศการเปิดมาด้วยจักรวาลวิทยา (cosmology) ของพระพุทธศาสนาที่ว่าด้วยสามโลกค่ะ และภาพข้างต้นก็คือสวรรค์นั่นเอง อย่างที่กล่าวไปข้างบนเนอะ การทำดี ทำชั่วเนี่ยก็เป็นหนึ่งในคอนเซ็ปต์ของการปกครองค่ะ พอคนฃเยอะๆ ถึงแม้จะคิดว่าเอ้อ ทำดีเพราะอยากไปสวรรค์ แต่เอาเข้าจริงก็ได้ผล รัฐพม่าในช่วงเวลานั้นจึงผูกเข้ากับศาสนาและทำให้ ทำให้กษัตริย์ได้รับอำนาจในฐานะสมมติเทพได้รับอำนาจจากสวรรค์เลยมีสิทธิธรรมในการปกครองและมีสิทธิ์ขาดในการชี้ชะตาชีวิตของคนในรัฐ
ภาพด้านล่างก็เป็นนรกของคริสต์ค่ะ มี"หม้อ" เหมือนกันเลย
ต่อที่ภาพของเนมิราชชาดกซี่งเป็นหนึ่งในทศชาติชาดกที่บำเพ็ญอธิษฐานบารมี แล้วที่เป็นภาพเช่นนี้คือพระเนมิราราชเนี่ยเค้าได้ไปท่องอีกสองภพภูมิมา คือ สวรรค์กับนรก
ภาพแรกที่นำมาแสดงถึงการไปสวรรค์ของพระเนมิราช
ภาพต่อมาคือพระเนมิราชไปนรกค่ะ สังเกตที่ "หม้อ" นะคะ
ลองเทียบกับของไทยที่วัดใหญ่อินทารามกันค่ะ
ภาพนี้นี่เอาภาพนี้นี่เอามาพร้อมคำบรรยายก็เป็นจะเรียกว่าอะไรดี เสื้อคลุมยันต์ลงอาคม ซึ่งจะสังเกตได้ว่ามีเทวดาถือกริช พระพุทธรูปหรือพระพุทธเจ้าก็อยู่รวมกันด้วย มีเลขประกอบ ความหมายตามที่ป้ายบรรยายไว้โดยสรุปก็คือ แจ๊คเก็ตยันต์ลงอาคมนี้แสดงให้เห็นถึงความเชื่อในเรื่องเหนือธรรมชาติ พลังของตัวเลข ความเชื่อเรื่องวิญญาณในท้องถิ่น โดยเสื้อคลุมนี้จะช่วยทำให้มีพลังฟันแทงไม่เข้า รวมถึงปกป้องจากลูกกระสุนได้ด้วย หรือความสามารถในการพูดที่เพิ่มมากขึ้นถ้าแบบไทยไทยก็คือสาริกาลิ้นทองอะไรแบบนี้ตามแต่คนใส่จะเลือก ก็ถือเป็นเสื้อคลุมที่ multifunction มาก
กล่าวโดยสรุปเลยแล้วกันเนอะ ไม่ค่อยจะพาทัวร์เลย เพราะว่าจริงๆแล้วมีเรื่องที่อยากจะมานำเสนอควบคู่ไปกับการทำทัวร์ก็คือเรื่องของจักรวรรดิและเรื่องความย้อนแย้งของการจัดแสดงสิ่งของผ่านพิพิธภัณฑ์ระดับโลกอย่าง British Museum แล้วก็แง่มุมของพุทธศิลป์ว่าทำไมถึงสำคัญและสะท้อนอะไรต่อการปกครองของพม่า อยากทำเยอะมากออกมาเป็นจับฉ่ายไปเลยจ้า สุดท้ายแล้วบทความนี้ก็ขอเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการยืนยันละกันว่ามันมีเรื่องราวเบื้องหลังมากกว่านี้และเฉลิมฉลองความยิ่งใหญ่ของเทคโนโลยีที่ว้าวมาก อีกทั้งภาพต่างๆ หรือสิ่งของที่นำมาจัดแสดงไม่ใช่แค่เป็นภาพออกมา หรือเป็นรูปปั้นก็จบ แต่ถ้าเรามาลองขบคิดดันต่อหรือรู้เรื่องราวเบื้องหลังก็จะพบว่ายังมีเรื่องราวมากมายภายใต้ศิลปะนั้นนั่นเอง จบสวยมาก55555 ยังไงลองไปเล่นกันดูนะคะ
[1] โรเบิร์ต เอช. เทย์เลอร์, รัฐในพม่า, trans. พรรณงาม เง่าธรรมสาร สดใส ขันติวงพงศ์ และศศิธร รัชนี ณ อยุธยา (สมุทรปราการ: มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย, 2550), 97.
[2] อ้างแล้ว.
[3] อ้างแล้ว., 103.
[4] อ้างแล้ว., 154.
[5] ตรี จตุรานน, “ความเป็นมาของการประกาศให้พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติของพม่าในค.ศ.1961,” 32.
[6] ธนภาษ เดชพาวุฒิกุล, “ผีอังกฤษ จิตวิญญาณพม่า: อาณานิคม ชาตินิยม และการเมืองของภาษาในนโยบายด้าน การศึกษาของพม่า ทศวรรษ 1920-80,” วารสารประวัติศาสตร์, (2559): 89.
[7] อ้างแล้ว.
[8] อ้างแล้ว.
[9] Ni, “The Nationalization of Education in Burma: A Radical Response to the Capitalist Development?,” 19.
[10] เทย์เลอร์, รัฐในพม่า, 157.
[11] ลลิตา (หิงคานนท์) หาญวงษ์, “หล่ะมยิ้น: บทสะท้อนความคิดทางสังคม-เศรษฐกิจของพม่า จากยุคอาณานิคมถึงยุคหลังอาณานิคม,” วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, no. 1 (มกราคม-มิถุนายน 2559): 157
[12] เทย์เลอร์, รัฐในพม่า, 229.
[13] ธนภาษ เดชพาวุฒิกุล, “ผีอังกฤษ จิตวิญญาณพม่า: อาณานิคม ชาตินิยม และการเมืองของภาษาในนโยบายด้าน การศึกษาของพม่า ทศวรรษ 1920-80,” 93.
[14] อ้างแล้ว., 9
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in