เมื่อวานนี้ได้มีโอกาสไปร่วมแจมวงเสวนาในงาน Creative Talk Conference 2019 (#CTC2019) ที่มีแม่งานคือพี่เก่ง @sittipong แห่ง rgb72 ในเรื่องพอดแคสต์ (ตั้งชื่อหัวข้อเรียกแขกซะอลังการเลยว่า Podcast is the next big wave?)
บรรยากาศหนุกหนานอย่างที่คิด เหมือนเป็นการรวมรุ่นคนในวงการเว็บที่เราเคยอยู่เมื่อหลายปีก่อน แล้วเจอพี่ๆที่รู้จักเคารพรัก และน้องๆ รุ่นใหม่อีกเพียบ ใครที่พลาดงานนี้น่าเสียดายมากจริงๆ แต่ได้ข่าวว่ากดซื้อบัตรยากมาก ขนาดยากนะ ยังอุตส่าห์ไปถล่มศูนย์สิริกิติ์กันตั้ง 1,500 คน
สำหรับเซสชันพอดแคสต์ มีผู้ร่วมเสวนา 4 คนคือ (ก๊อปมาจากอีเมลเชิญ)
ดำเนินรายการโดยคุณสิทธิพงศ์ ศิริมาศเกษม (พี่เก่ง) ซึ่งเวลาจริงมันคร่อมกับอีกเวที พี่โจ้เลยโดดมาเป็นผู้ชงคำถามแทน
และเสียดายที่เวลาบนเวทีมีแค่ 40 นาที มันเลยไม่พอกับที่อยากพูด (มีโอกาสตอบเร็วๆ ประมาณครึ่งเดียว 5555) เลยขอเขียนบล็อกนี้เพื่อทบทวนเพิ่มเติมสักหน่อย อย่างน้อยก็เอาไว้อ่านย้อนหลังว่ากรอบเวลาปัจจุบันนี้ (ต้นปี 2019) นี้มันเกิดอะไรขึ้นกับวงการพอดแคสต์ไทยบ้าง จากมุมมองของเรา เริ่ม!
อธิบายอย่างง่ายที่สุดสำหรับคนขี้เกียจอ่าน พอดแคสต์คือยูทูบที่มีแต่เสียงน่ะครับ
ถ้ายาวขึ้นอีกหน่อย พอดแคสต์ (Podcast) มาจากคำว่า iPod + Broadcast แปลความหมายตรงตัวก็คือเป็นการพกเสียงไปฟังตามที่ต่างๆ เหมือนกับฟังเพลงนี่แหละ แต่อันนี้ไม่ใช่เพลง อาจเป็นรายการวิทยุแบบออนดีมานด์ คือเลือกเปิดฟังต่อนไหนที่ไหนก็ได้ เหมือนเรามีไฟล์ MP3 ธรรมะที่โหลดติดตัวไว้ฟัง
โดยพอดแคสต์นั้นเกิดขึ้นในโลกมาช่วงปี 2000 นิดๆ โดยผู้จัดรายการก็ทำตัวเหมือนดีเจวิทยุนั่นแหละครับ จัดเสร็จก็เก็บไฟล์เสียงไว้ให้โหลดไปฟังกัน ยังไม่มีแพลตฟอร์มอะไรรองรับ
จนเริ่มเป็นที่รู้จักในยุคที่แอปเปิลและไอโฟนเริ่มเรืองรอง เพราะมือถือค่ายนี้ทุกเครื่องจะมีแอปนึงที่เป็นไอคอนสีม่วงๆ รูปเสาอากาศติดมาอยู่แล้ว แล้วเคยกดฟังกันไหม ก็ไม่…
แต่ในต่างประเทศนั้น ความนิยมมันเริ่มก่อตัวขึ้นอย่างเงียบเชียบ จนทำไปทำมาเฮ้ยมันจุดติดเฉยเลยว่ะ (เดี๋ยวจะเล่าอีกที) ตอนนี้มีแพลตฟอร์มรองรับ มีระบบเอาไว้ค้นหา กระจายข้อมูล มีแอปฟังพอดแคสต์อื่นๆ ทั้ง iOS และแอนดรอยด์โผล่มาไม่ซ้ำหน้า รวมถึงเจ้าใหญ่ๆ อย่างกูเกิลหรือ Spotify ด้วย!
ส่วนของไทยนั้น กลุ่มคนที่รู้จักพอดแคสต์ (อย่าว่าแต่เป็นผู้ผลิตหรือผู้ฟังเลย เอาแค่คนรู้จักมันก็พอ) ยังน้อยมาก ซึ่งจะว่าไปมันก็เป็นเรื่องเกร๋ๆ นะคะคุณ เหมือนเพลงอินดี้ หนังอินดี้ ช่วงนี้มันยังไม่ได้เมนสตรีม
แต่ คุณ… เทรนด์มันกำลังมาว่ะ
เราทำงานดึก งานที่ทำก็พวกกราฟิกเอย งานเอกสารเอย
เราใช้เวลาขับรถและเดินทางนาน เราเบื่อเพลย์ลิสต์เพลงซ้ำๆ
เราไม่มีเวลาอ่านหนังสือเล่มหนาที่ซื้อมากองรออยู่เต็มบ้าน ขนาดการ์ตูนยังไม่มีเวลา
นานๆ ทีเราจะปั่นจักรยานออกไปเที่ยวเล่นนอกบ้าน
และหูเราว่าง แต่สมองบอกว่าอยากรับอะไรเข้ามาเติมอีกหน่อย
ใครก็ตามที่มีคุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่งแบบเดียวกับที่ว่ามาข้างบนนี้ โดยเฉพาะ “ความหูว่าง” อันน่าเสียดาย จนหลายคนเลือกเปิดเพลงเป็นเพื่อน หรือฟังวิทยุเป็นเพื่อน หรือฟังเดอะช็อกเป็นเพื่อนขณะทำกิจกรรมอื่นๆ
พอดแคสต์จึงเกิดมาเพื่ออุดรูรั่วตรงนี้ คือทำให้หูคุณหายว่าง ในขณะที่คุณเองก็จดจ่อกับสิ่งที่กำลังทำอยู่ต่อไป ผ้าก็ซักต่อไป น้ำก็อาบต่อไปได้โดยแทบไม่เสียสมาธิ ส่วนครั้นจะมีประโยชน์ในแง่อื่น เช่นเติมเต็มความรู้คู่ชีวิต หรือเพื่อความบันเทิงเริงหู อันนี้ก็แล้วแต่รายการที่จะฟัง
เชื่อเถอะว่ามันตอบโจทย์บางอย่างโดยที่คุณไม่รู้มาก่อน ว่าเฮ้ย ได้นี่หว่า
ถ้าใช้ไอโฟน มองหาแอปชื่อ Podcast เลยครับ จิ้มเข้าไปค้นชื่อรายการดูได้เลย (รายชื่อรายการจะกล่าวถึงต่อไป) พอกดสับตะไคร้ปั๊บ มันก็จะโหลดมาตุนไว้ในเครื่องเพื่อรอเราเปิดฟังได้เลย ดีเนอะ
ส่วนใครที่ใช้แอนดรอยด์ หรือระบบอื่นๆ แนะนำ SoundCloud ที่เอาไว้ฟังก็ได้ อัปโหลดรายการตัวเองก็ดี หรือแอปอื่นๆ เช่น Castbox (ผมใช้อยู่), Podcast Addict, Google Podcasts และ Spotify ที่เพิ่งมา
ความดีของการฟังก็คือเราสามารถกดเร่งสปีดได้นะ ถ้าชินแล้วจะเสียเวลาชีวิตน้อยลงอีก (ตอนนี้ผมตั้ง default ไว้ที่ 1.4x ครับ กำลังสบายหู เสียงไม่เพี้ยนมาก แต่เมียบ่นว่าฟังไม่ทัน)
ถ้าใช้ไอโฟน มองหาแอปชื่อ Podcast เลยครับ จิ้มเข้าไปค้นชื่อรายการดูได้เลย (รายชื่อรายการจะกล่าวถึงต่อไป) พอกดสับตะไคร้ปั๊บ มันก็จะโหลดมาตุนไว้ในเครื่องเพื่อรอเราเปิดฟังได้เลย ดีเนอะ
ส่วนใครที่ใช้แอนดรอยด์ หรือระบบอื่นๆ แนะนำ SoundCloud ที่เอาไว้ฟังก็ได้ อัปโหลดรายการตัวเองก็ดี หรือแอปอื่นๆ เช่น Castbox (ผมใช้อยู่), Podcast Addict, Google Podcasts และ Spotify ที่เพิ่งมา
ความดีของการฟังก็คือเราสามารถกดเร่งสปีดได้นะ ถ้าชินแล้วจะเสียเวลาชีวิตน้อยลงอีก (ตอนนี้ผมตั้ง default ไว้ที่ 1.4x ครับ กำลังสบายหู เสียงไม่เพี้ยนมาก แต่เมียบ่นว่าฟังไม่ทัน)
รายการคุยวิทย์ติดตลก พกไว้ฟังยามเปลี่ยวสมอง ดำเนินรายการโดยนักสื่อสารวิทยาศาสตร์อย่างแทนไท ประเสริฐกุล, ป๋องแป๋ง และอาบัน
ใครที่ไม่รู้จัก พอมาเห็นว่าเป็นรายการวิทยาศาสตร์ น่าจะเนิร์ดๆ อี๋ๆ ทื่อๆ ขอบอกว่าคุณคิดผิด! เพราะมันสนุกมากๆ ตลกสัสๆ ฟังเพลินโคตรๆ และได้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ตั้งแต่ง่ายสุดยันโคตรซับซ้อน แบบที่ไม่รู้สึกเลยว่าถูกยัดเยียดเลยสักนิด รายการแทบไม่หลุดคำหยาบเลย จึงปลอดภัยสำหรับผู้ฟังทุกเพศทุกวัย ที่สำคัญคือจัดมาตั้งแต่ปี 2012 แน่ะ! กลุ่มผู้ฟังจึงผูกพันรักใคร่ชื่นชม และบอกต่อกันมาโดยตลอด (ติ่งเยอะนั่นเอง …ผมก็คนนึง) ขอแสดงความนับถือทีมงานมา ณ ที่นี้ครับ
นอกนั้นยังมีรายการอื่นๆ ในเครือ เช่น Long Take (เรื่องหนังคุยยาว), WiTThai (สัมภาษณ์นักวิจัยไทย) ที่สนุกเหมือนกัน
แถมนิดนึง ขอบอกว่ารายการนี้แหละที่เป็นต้นแบบที่ทำให้ผมอยากลองจัดพอดแคสต์ดูบ้าง เพราะพี่แกคุยอะไรก็ได้เลย เรอก็ได้ รายการปล่อยยาวตอนนึงชั่วโมงๆ ยังได้ เอ้าถ้าแบบนี้ได้ ก็ได้วะ
เนื่องจากเป็นช่องที่มีอายุ 3-4 ปีแล้ว จึงมีทั้งรายการใหม่ รายการเก่า รายการเฉพาะกิจเยอะมาก เลือกฟังเอาได้เลยดังนี้
กลัวว่าบล็อกนี้จะยาวไป งั้นรายการอื่นๆ ในช่องนี้ผมขอสรุปย่อๆ นะ ได้แก่ พักกอง (รายการในวงการช่างภาพที่เจ้าของรายการขี้อายแต่กล้าไปสัมภาษณ์ตากล้องเก่งๆ มาเป็นพอดแคสต์ได้เฉยเลย), สลัดผัก (รายการน้องๆ นักเรียนนอก คุยเรื่องเนิร์ดๆ กันข้ามโลก), Death & Berries (รายการโรคจิต เม้าเรื่องฆาตกรต่อเนื่อง แล้วบอกว่าฟังก่อนนอนได้ บ้าเหรอ), MidLife ไก่ตอน (พุฒิภูมิจิตเข้าสู่วัยกลางคน เลยใช้ธีมนี้ไปไล่คุยกับคนแก่ๆ เพื่อหาความหมายของชีวิต), นอกนั้นก็ยังมีรายการใหม่ที่เปิดตัวในปีนี้เช่น Her Interview และอีกรายการที่ยังไม่รู้จะใช้ชื่ออะไร นี่ยังไม่นับรายการที่หยุดหรือพักไปแล้วด้วยนะ อย่างเย้อะ เห็นไหมแม่งเป็นจักรวาลจริงด้วย
อีกจักรวาลหนึ่งที่จริงจังมากขึ้นในแง่เนื้อหา แต่โปรดักชันก็ง่ายๆ สบายๆ อัดด้วยมือถืออะไรแบบนี้ โฮสต์โดยอาจารย์ลูกหมี ที่มีรายการในเครืออย่าง Infinity Podcast (หลายๆ เรื่องเหมือนอ่านบทความ), Movies Delight Club (เรื่องหนัง), คน ติด Cook (เรื่องคุก เอ๊ยกุ๊ก), ครูไวแคส (ครูบ้านนอกไฟแรงสูงมาเล่าเรื่องการศึกษาอย่างโคตรเฟี้ยว), Indie India (นินทาอินเดีย), Countdown นับถอยหลังวันเลือกตั้ง (ถ้ามี) (เชื่อรายการก็สุ่มเสี่ยงอยู่แล้ว แต่สนุกและกล้าหาญ), ฯลฯ เยอะไม่แพ้กัน!
เป็นเวอร์ชันเสียงของสื่อออนไลน์ยักษ์ใหญ่ของไทย มีพี่บิ๊กบุญเป็นหัวเรือ มีรายการเยอะมาก และโปรดักชันมาตรฐานสมชื่อช่อง รายการส่วนใหญ่ผลิตเป็นซีซันส์ๆ ไป เนื่องจากเนื้อหาส่วนใหญ่เหมาะกับมนุษย์ออฟฟิศในเมือง เราเลยขอเลือกหยิบเฉพาะที่ตัวเอง (ที่ไม่ได้อยู่ในเมืองและไม่ได้เป็นมนุษย์ออฟฟิศ) ติดตามจริงจังละกัน ได้แก่ คำนี้ดี (สอนภาษาอังกฤษแบบสนุกมากๆๆๆ), R U OK (สำรวจสุขภาพจิต), TOMORROW IS NOW (รายการไอทีที่เคลิ้มตั้งแต่ได้ยินเสียงซู่ชิงแล้ว), THE SECRET SAUCE (คุยกับเหล่าเจ้าของกิจการ), ฯลฯ มีอีกเยอะมาก ไปตามกันเอาเอง
ช่องรายการโดยพี่เก่ง แม่งาน CTC นี่แหละครับ คุยเรื่องที่คนทำงาน หรือเจ้าของกิจการที่เริ่มแก่แล้วอยากรู้อยากฟัง ช่องนี้ฟังเพลินถูกจริตมากครับ มีรายการอย่าง Creative Wisdom (เหมือนฟังบทความแนวนี้), Morning Call (พี่แกอัดรายการสั้นๆ ปลุกตอนเช้า ซึ่งดี), FounderCast (สัมฯ เจ้าของกิจการต่างๆ ให้หูลุกวาว)
ช่องรายการสำหรับวัยทำงาน (อีกแล้ว!) มีผู้ติดตามเยอะอยู่ เพราะนำโดยเซเล็บออนไลน์หลายท่าน เช่นพรี่หนอม TAXBugnoms (ความรู้ภาษี), OHMYFRIEND (สัมภาษณ์เพื่อนเก่า เราอยากทำรายการแบบนี้มานาน ก็ได้อาศัยฟังรายการนี้แหละ), ออฟฟิศ 0.4 (เรื่องของคนเมืองเนาะ ถึงเราไม่ได้ฟัง แต่คนฟังกันเยอะ) แต่ที่ชอบที่สุดคือรายการคนตกสีที่อยู่อีกฝั่งหนึ่ง ที่ทำไมไม่ทำเพลย์ลิสต์แยกเนี่ย
แตกตัวออกมาจากจักรวาล GetTalks เพื่อให้ผองเพื่อนแก๊งนี้ได้อาละวาดกันเต็มที่ เป็นช่องที่เนื้อหาเบาๆ ฟังเพื่อนด่ากันครับ มีรายการอย่าง สัพเพHEYไรว้าาา, อังรีดูหนัง, เตะปาก, แมนๆคุยกัน, เพลงเตะหู (แนะนำรายการเตะปาก ที่คนไม่ดูบอลอย่างผมยังชอบฟังมันด่ากันเลย พอเริ่มเข้าเรื่องบอลก็ปิด)
ช่องนี้คล้ายๆ ช่องตะกี้ คือเน้นเรื่องเพื่อนนั่งคุยกัน แล้วคนฟังไปเสือกอะไรด้วย คุณบอลลงทุนทำห้องอัด ซื้ออุปกรณ์มาเพื่อให้โปรดักชันรายการดีกว่าอัดกลางร้านข้าวต้มแบบช่องอื่น รายการที่ผมชอบก็คือ คุยไม่ได้ศัพท์
(คุยเรื่องโซเชียลมีเดีย โดยคนในวงการก็คือบอลนั่นเอง เนื้อหาลงลึกแบบที่ไม่ฉาบฉวย เพลิน), นอกนั้นก็มี เข้าหูซ้ายทะลุหูขวา (รีวิวเพลงเป็นอัลบั้ม), HangOver (รายการจากวงเหล้า), เที่ยวที่แล้ว (อวดว่าไปเที่ยวมา)
เหมือนเป็นอีกอวตารหนึ่งของวิทย์แคสต์ แต่มาเป็นกลุ่มเพื่อนที่คุยเรื่องอื่นนอกจากวิทยาศาสตร์ด้วย (เรื่องไอดอลยังมีเลย) ชอบในความแน่นของแต่ละท่านที่หมั่นเช็กข้อมูล เช็กตรรกะวิบัติกันอยู่ตลอดเวลา ถือเป็นพอดแคสต์ที่มีความน่าเชื่อถือสูง แต่ก็ฮาและฟังเพลิน
อีกหนึ่งสำนักคอนเทนต์ออนไลน์ที่ตามอ่านเหนียวแน่นตลอดมา เมื่อก่อนทำเป็นช่องยูทูบ แต่ผมไม่ถนัดดูไปทำงานไป จนมารู้ว่ามีพอดแคสต์เลยตามได้ถนัดหน่อย รายการมีทั้งแนววิชาการ สังคม การเมือง สัมภาษณ์หนักๆ และรายการเพื่อนเหล่า บ.ก.มานั่งคุยกันด่ากัน ขับรถไปฟังไปเพลินมาก
พอดแคสต์สายบันเทิงที่นำโดยคนสายดนตรี รายการมันจะแมนๆ หน่อย คือคุยเรื่องดนตรี เรื่องหนัง เรื่องบอล เรื่องซีรีส์ เป็นช่องใหม่ที่มีคนพูดถึงกันเยอะนะทำเป็นเล่นไป
พอดแคสต์แนวนักเรียนนอกอีกแล้ว นักเรียนนอกนี่ว่างกันนักใช่ไหม! ในทีมมีอยู่สองคนครับ จัดรายการกันเองบ้าง คุยกะคนอื่นบ้าง โดยเริ่มต้นจากการอยากทำรายการก่อน แล้วค่อยลุยหาแนวทางของตัวเอง จนตอนนี้เจอแล้ว และก็เป็นแนวทางท่ีเราชอบด้วย
โดยพี่หนุ่มโตมรแชมป์ทีปกร สองนักคิดนักเขียนชื่อดัง เนื้อหารายการเลยเป็นสิ่งที่สองคนนี้สนใจ (ยากๆ ทั้งนั้น) อ่านฟังดูแล้วเอามาย่อยให้เราฟัง ซึ่งสนุกและเนี้ยบ ขนาดที่สามารถเอาเนื้อหามาพิมพ์รวมเล่มได้เลยเหอะคิดดู ปัจจุบันนี้รายการนี้หยุดไปในซีซันส์ที่ 3 แต่ก็หาฟังย้อนหลังได้เสมอ
ไหนๆ ก็ขอแถมช่องและรายการที่หยุดพักหรือเลิกไปแล้ว หรือนานน้านนานจะมาที ถ้ามีลิงก์ก็น่าจะขุดหาฟังได้อยู่
จัดเลยครับ!
ใครถามก็บอกแบบนี้แหละครับ จัดเลย
หลักการของการจัดก็คือ อัดเสียง > หาที่ฝากไฟล์เสียง > เผยแพร่
อัดเสียงนี่ง่ายมาก แบบที่ง่ายที่สุดคือใช้มือถือเครื่องเดียว กดอัดเสียงได้เลย เสร็จปั๊บก็ได้ไฟล์เสียงมาแล้ว หรือถ้ามีงบมีทุนก็ซื้อไมค์ดีๆ ซื้อห้องอัด เช่าสตูจัดเลยยังได้ถ้ารวยส์พอ
เปรียบเทียบเหมือนกับเราเขียนบล็อกครับ เขียนดีก็มีคนอ่าน ถ้าไม่แคร์คนอ่านก็เขียนไว้อ่านคนเดียวก็ได้ (ผมเคยติดตามฟังไดอารี่ของน้องคนนึงที่จัดในแนวไดอารี่รายวันมาเป็นปีๆ คุยคนเดียว เล่าว่าวันนี้ไปเจออะไรที่ร้านชาบู หรือกรี๊ดดาราอะไรงี้ เออเพลินดีว่ะ เสียดายน้องเลิกจัดไปแล้ว)
ที่ฝากไฟล์เสียง ที่ตอนนี้ในบ้านเราฮิตกันก็คือ SoundCloud รองลงมาก็ PodBean (ที่เอาจริงๆ แล้วเหมาะกว่า แต่คนยังไม่เยอะ) ขอไม่สอนใช้นะ มันง่ายไป๊ หลักการเหมือนยูทูบเป๊ะๆ
ส่วนการเผยแพร่ พออัปโหลดแล้วอยากให้ฟังที่ไหนก็ได้ไม่ต้องเข้าสองเว็บนั้น ก็ทำได้ด้วยการ Publish ลงสองแหล่งหลักๆ ตอนนี้คือ Apple Podcasts directory (แอปอื่นๆ ตอนนี้ใช้ไอ้เจ้านี่แหละเป็นสารบัญ) กับ Spotify กดลิงก์ที่ทำไว้ไปดูได้เลยจ้า
เสร็จแล้วก็เอาไปทวีต ไปโพสต์ในเพจอะไรก็ว่าไปครับ เสร็จแล้ว
ในเฟซบุ๊กมีกรุ๊ปที่เป็นคอมมูนิตี้เล็กๆ แนะนำให้ผู้ฟังและผู้จัดได้เข้ามาโอภาปราศรัยกัน (ส่วนใหญ่จะเป็นมือสมัครเล่นที่อยากจัดก็จัดเลย ไม่ได้ทำเป็นอาชีพนะครับ) เชิญเข้าไปชมได้ที่ Podcasts and Podcasters Thailand ครับ
สำหรับจำนวนผู้ฟังตอนนี้ บอกเลยว่าไม่เยอะครับ! อีพีนึงถ้าคนฟังถึง 1,000 ครั้งก็ถือว่าประสบความสำเร็จมากแล้ว (ถ้าเป็นปีก่อนก็ 500 ครั้ง) อาจจะตกใจว่าตัวเลขมันน้อยจังเลยวะ ยูทูบเบอร์เขาดูกันเป็นแสนๆ วิว
ที่จริงนอกจากเรื่องคนฟังในบ้านเรายังไม่เยอะแล้ว ยังต้องบอกว่าจำนวนผู้ฟังไม่เยอะนี่แหละคือตัวเลขคุณภาพครับ เดี๋ยวรอฟังจากบันทึกจากเสวนาอีกที พี่บิ๊กแกอธิบายไว้ดีเลย
มิอาจฟันธงนะครับ เนื่องจากเป็นคนที่ไม่ได้อยู่กับสถิติข้อมูลตัวเลขอย่างคนที่คร่ำหวอดหรือลงมือศึกษา แต่ถ้าดูตามกรอบเวลาของปี 2018 ที่ผ่านมานั้นเห็นเลยว่าวงการพอดแคสต์ทั่วโลกตื่นตัวกันมาก อาจเป็นเพราะความลงตัวของกลุ่มผู้ฟังที่หลากหลาย มีรายการหลากหลายขึ้นมากๆ และเทคโนโลยี แพลตฟอร์มต่างๆ ที่เริ่มโดดเข้ามาเล่น หลังจากการขาดเจ้าภาพมานาน (ไอโฟนเองก็ไม่ได้ใส่ใจจะดัน)
จนเริ่มเห็นทิศทางจากกูเกิลที่เปิดตัว Google Podcasts (ที่เหมือนเปิดมาลองตลาดก่อน ยังไม่เห็นใครใช้เท่าไหร่เพราะแอปอื่นดีกว่า), เฟซบุ๊กที่ริทำ Facebook Live Audio ขึ้นมา แต่เกิดหรือเปล่ายังไม่รู้ ในไทยมีคนทดลองเล่นแล้วก็เลิกไป ไล้สดเอาดีฝ่า, Spotify ที่เปิดโหมดรองรับพอดแคสต์ปั๊บมีคนหันมาใช้เพียบ! และประกาศเมื่อ 3 วันก่อนนี้เอง ว่าจะเอาจริงแล้วนะปีนี้!, และอีกสัญญาณนึงคือกูเกิลก็เพิ่งเพิ่มโหมดพอดแคสต์ลงใน Android Auto ด้วย! (ตอบโจทย์การรถติดแล้วหาอะไรฟังนอกจากรายการอาจารย์วีระมาก!)
เดี๋ยวนะ อัปเดตล่าสุดคือ
ขนาดคุณทักษิณยังทำ podcast @YouToopNa นี่มีอิทธิพลจริงๆ https://t.co/T5nweTqono
— Natchanon M. (@natchanon) January 14, 2019
นั่นแหละครับ ในระดับโลก มันมาแล้ว ส่วนในไทย มันกำลังมา มาทีเถอะ อยากฟัง 5555
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in